โอลิมปิกฤดูร้อน 2000

มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 27 ประจำปี ค.ศ.

2000 (พ.ศ. 2543) หรือในอีกชื่อว่า มหกรรมกีฬาแห่งสหัสวรรษ เป็นงานกีฬาระดับโลกจัดขึ้นที่นครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ถือได้ว่าเป็นการแข่งขันกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติในห้วงรอยต่อของสหัสวรรษ ซึ่งกว่าการแข่งขันจะเริ่มต้นในวันที่ 15 กันยายน 2543 และไฟในกระถางคบเพลิงดับลงในวันที่ 1 ตุลาคม ของปีเดียวกัน ทีมงานจัดการแข่งขันได้ทำการบ้านอย่างหนักตลอดเวลา 7 ปีนับแต่ได้รับมอบสิทธิ์ให้เป็นผู้รับหน้าเสื่อจัดการแข่งขัน

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 27
Games of the XXIV Olympiad
โอลิมปิกฤดูร้อน 2000
เมืองเจ้าภาพออสเตรเลีย ซิดนีย์ ออสเตรเลีย
คำขวัญแบ่งปันจิตใจ กล้าที่จะฝัน เกมแห่งสหัสวรรษใหม่
(อังกฤษ: Share the Spirit Dare to Dream The Games of New Millennium)
ประเทศเข้าร่วม199 (+ นักกีฬาอิสระ 4 คน (IOA))
นักกีฬาเข้าร่วม10,651 (6,582 ชาย 4,069 หญิง)
กีฬา28 ชนิด
พิธีเปิด15 กันยายน พ.ศ. 2543
พิธีปิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ประธานพิธีวิลเลียม ดีนน์
(ผู้สำเร็จราชการแห่งออสเตรเลีย)
นักกีฬาปฏิญาณเรเชลล์ ฮอกส์
ผู้ตัดสินปฏิญาณปีเตอร์ เคอรร์
ผู้จุดคบเพลิงคาธี ฟรีแมน
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาออสเตรเลีย

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 ในการประชุมใหญ่ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี.) ครั้งที่ 101 ที่โมนาโก วันนั้นได้ถูกกำหนดให้เป็นวันชี้ชะตาถึงเมืองจากประเทศต่างๆ ที่ได้เสนอตัวเข้าชิงชัยสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 27 ซึ่งเมืองในกลุ่มนั้น ประกอบด้วย ซิดนีย์ของออสเตรเลีย ปักกิ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน เบอร์ลินของเยอรมัน อิสตันบูลของตุรกี แมนเชสเตอร์ของอังกฤษ โดยมีบราซิเลียของบราซิล มิลานของอิตาลี รวมถึงทัชเคนต์ของอุซเบกิสถาน ที่ได้ถอนตัวก่อนการตัดสินรอบแรก

และเป็นนครซิดนี่ย์ ของออสเตรเลีย ที่สามารถเอาชนะคู่แข่งสำคัญอย่าง กรุงปักกิ่ง ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ในการประกาศผลรอบสุดท้ายด้วยคะแนนฉิวเฉียด 45 : 43 โดยเหตุผลสำคัญๆ ที่คณะกรรมการรณรงค์การเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ 2543 ของซิดนีย์ ใช้เป็นไพ่ตายนอคกรุงปักกิ่ง คือ เรื่องของเศรษฐกิจ และระบบการปกครอง รวมถึงการดึงเรื่องของสิทธิประโยชน์มาเป็นจุดขาย กล่าวคือ นักกีฬาและเจ้าหน้า ที่จากทุกชาติที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกของสหพันธ์กีฬาระดับนานาชาติมาแล้วนั้น คณะกรรมการโอลิมปิกแต่ละชาติไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายการเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหารเลยนั่นเอง

คะแนนผลการตัดสินคัดเลือกประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพ
เมือง ประเทศ รอบ 1 รอบ 2 รอบ 3 รอบ 4
ซิดนีย์ โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  ออสเตรเลีย 30 30 37 45
ปักกิ่ง โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  จีน 32 37 40 43
แมนเชสเตอร์ โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  สหราชอาณาจักร 11 13 11 -
เบอร์ลิน โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  เยอรมนี 9 9 - -
อิสตันบูล โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  ตุรกี 7 - - -

สัญลักษณ์

สำหรับมัสค็อต หรือสัตว์นำโชคของการแข่งขันซิดนี่ย์เกมส์ 2543 ครั้งนี้มากันเป็นชุดมีทั้งสิ้น 3 ตัว ประกอบด้วย

  • "เม่นน้อย" น่ารักน่าชัง ที่ชื่อเก๋ไก๋ว่า "มิลลี่" มีที่มาจาก มิลเลนเนี่ยม (สหัสวรรษ)
  • "นกคูคาบูร่า" ที่ชื่อ "โอลลี่" ที่มาจาก "โอลิมปิก"
  • "ตุ่นปากเป็ด" ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ซิด" ที่บ่งบอกถึง "ซิดนี่ย์" สังเวียนชิงชัยหลักนั่นเอง

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน

ประเทศที่ร่วมแข่งขัน

โอลิมปิกฤดูร้อน 2000 
แผนที่แสดงประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน (สีเขียว)

สรุปเหรียญการแข่งขัน

    ตารางสรุปเหรียญรางวัล 10 อันดับแรก
 อันดับ  ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  สหรัฐ 40 24 33 97
2 โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  รัสเซีย 32 28 28 88
3 โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  จีน 28 16 15 59
4 โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  ออสเตรเลีย (เจ้าภาพ) 16 25 17 58
5 โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  เยอรมนี 13 17 26 56
6 โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  ฝรั่งเศส 13 14 11 38
7 โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  อิตาลี 13 8 13 34
8 โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  เนเธอร์แลนด์ 12 9 4 25
9 โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  คิวบา 11 11 7 29
10 โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  สหราชอาณาจักร 11 10 7 28

อ้างอิง

ก่อนหน้า โอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ถัดไป
โอลิมปิกฤดูร้อน 1996
(แอตแลนตา สหรัฐ)
โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
(15 กันยายน - 1 ตุลาคม ค.ศ. 2000)
โอลิมปิกฤดูร้อน 2000  โอลิมปิกฤดูร้อน 2004
(เอเธนส์ กรีซ)

Tags:

โอลิมปิกฤดูร้อน 2000 การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 สัญลักษณ์โอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ชนิดกีฬาที่แข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ประเทศที่ร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 สรุปเหรียญการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 อ้างอิงโอลิมปิกฤดูร้อน 2000ซิดนีย์ประเทศออสเตรเลียรัฐนิวเซาท์เวลส์สหัสวรรษ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตรมิถุนายนภูมิธรรม เวชยชัยรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีคิม ซู-ฮย็อนอาลิง โฮลันจังหวัดสมุทรสาครการอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิกอึ่งอ่างกองทัพ พีคชา อึน-อูสโมสรฟุตบอลคริสตัลพาเลซเล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ไพศาล พืชมงคลจีเอ็มเอ็มทีวีสีประจำวันในประเทศไทยประเทศไทยสุภาพบุรุษจุฑาเทพ7 พฤษภาคมจัน ดารา (ภาพยนตร์ทวิภาค)มหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)เข็มทิศลำไย ไหทองคำจังหวัดร้อยเอ็ดรายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)ญาณี จงวิสุทธิ์คารม พลพรกลางปรีชญา พงษ์ธนานิกรณัฏฐ์ กิจจริตภูวรินทร์ คีแนนพรหมลิขิตสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)กวนอิมจังหวัดกาญจนบุรีพัชราภา ไชยเชื้อเศรษฐกิจพอเพียงฤดูกาลสวลี ผกาพันธุ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีพระโคตมพุทธเจ้าภูริ หิรัญพฤกษ์สหรัฐที-84สังโยชน์คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63ประเทศแคนาดาหม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุลศาสนาอิสลามเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์มิวนิกพิชิต ชื่นบานพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยประเทศคาซัคสถานสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาวิทยาลัยบูรพาเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคสหราชอาณาจักรหมากรุกไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทยอาณาจักรแห่งพิภพวานรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรีจังหวัดสระบุรีปีนักษัตรจังหวัดสมุทรสงครามพ.ศ. 2565วิลลี่ แมคอินทอชจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นจังหวัดกาฬสินธุ์ราชกิจจานุเบกษารัมมี่ทวีปเอเชียธีรเดช เมธาวรายุทธรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา🡆 More