สงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สอง

สงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สอง เป็นความขัดแย้งทางอาวุธในภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคระหว่างอาเซอร์ไบจานซึ่งได้รับการสนับสนุนจากตุรกี กับสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค (อาร์ทซัค) ซึ่งประกาศตัวเองเป็นเอกราชและได้รับการสนับสนุนจากอาร์มีเนีย นับเป็นความขัดแย้งที่บานปลายครั้งล่าสุดในภูมิภาคซึ่งได้รับการรับรองจากนานาชาติว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน แต่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคและมีชาวอาร์มีเนียเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักที่อาศัยอยู่

สงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สอง
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค
สงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สอง
วันที่27 กันยายน – 10 พฤศจิกายน 2563 (1 เดือน 2 สัปดาห์)
สถานที่
แนวติดต่อนากอร์โน-คาราบัคและพรมแดนรัฐอาร์มีเนียอาเซอร์ไบจาน
ผล ชัยชนะของอาเซอร์ไบจาน
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
อาเซอร์ไบจานยึดที่มั่นบางแห่ง บางแห่งในจำนวนนั้นถูกยึดกลับคืนในภายหลัง (ข้อมูลจากอาร์มีเนีย)
อาเซอร์ไบจานยึดหมู่บ้าน 7 หมู่บ้านและยอดเขา 1 ยอด (ข้อมูลจากอาเซอร์ไบจาน)
คู่สงคราม

สงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สอง อาเซอร์ไบจาน
สงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สอง กองทัพแห่งชาติซีเรียa[›]
สนับสนุนโดย:
สงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สอง ตุรกี

ผู้จัดส่งอาวุธ:

สงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สอง สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค
สงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สอง อาร์มีเนีย
อาสาสมัครชาวอาร์มีเนียพลัดถิ่น

ผู้จัดส่งอาวุธ:
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อาเซอร์ไบจาน อิลฮัม แอลีเยฟ
(ประธานาบดีอาเซอร์ไบจาน, ผู้บัญชาการ)
อาเซอร์ไบจาน ซาคีร์ แฮแซนอฟ (รัฐมนตรีกลาโหมอาเซอร์ไบจาน)
อาเซอร์ไบจาน มาอิส แบร์คูดารอฟ (ผู้บัญชาการทหารบก)
อาร์มีเนีย นีกอล พาชินยัน
(นายกรัฐมนตรีอาร์มีเนีย, ผู้บัญชาการ)
อาร์มีเนีย ดาวิท ตอนอยัน (รัฐมนตรีกลาโหมอาร์มีเนีย)
นากอร์โน-คาราบัค อารายิก ฮารุทยุนยัน (ประธานาธิบดีสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค, ผู้บัญชาการ)
นากอร์โน-คาราบัค จาลัล ฮารุทยูนยัน [hy] (รัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค)
ความสูญเสีย

ข้อมูลจากอาเซอร์ไบจาน:

  • ไม่เป็นที่ทราบ (ทางการ)
  • ทหารเสียชีวิต 11 นาย (ศูนย์วิจัยคาซาร์)
  • เฮลิคอปเตอร์ถูกยิงตก 1 ลำ

ข้อมูลจากอาร์มีเนีย:

  • ทหารเสียชีวิต ~400 นาย
  • เฮลิคอปเตอร์ถูกยิงตก 4 ลำ
  • รถถัง/รถรบทหารราบถูกทำลาย 36 คัน
  • รถรบทหารราบ/ยานเกราะถูกยึด 11 คัน
  • โดรนถูกยิงตก 27 ลำ

ข้อมูลจากอาร์มีเนีย:

  • ทหารเสียชีวิต 59 นาย
  • ทหารบาดเจ็บ ~200 นาย
  • เครื่องบินโจมตี Su-25 ถูกยิงตก 1 ลำ

ข้อมูลจากอาเซอร์ไบจาน:

  • ทหาร 550+ นายเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ
  • รถถัง/รถรบทหารราบถูกทำลาย 24 คัน
  • อากาศยานไร้คนขับถูกยิงตก 18 ลำ
  • ปืนใหญ่ถูกทำลาย 8 กระบอก
  • คลังกระสุนถูกทำลาย 3 แห่ง
  • ปืนต่อต้านอากาศยานถูกทำลาย 15 กระบอก
พลเมืองอาเซอร์ไบจานเสียชีวิต 65 คน พลเมืองอาร์มีเนียเสียชีวิต 40 คน; พลเมืองอาเซอร์ไบจานบาดเจ็บ 297 คน พลเมืองอาร์มีเนีย 100 คนบาดเจ็บ
ผู้สื่อข่าวชาวรัสเซีย 3 คน ฝรั่งเศส 2 คน อาร์มีเนีย 1 คน อาเซอร์ไบจาน 1 คน ได้รับบาดเจ็บ
พลเมืองชาวอิหร่าน 1 คน ได้รับบาดเจ็บ

การปะทะเริ่มขึ้นในเช้าวันที่ 27 กันยายน ตามแนวติดต่อนากอร์โน-คาราบัคซึ่งได้รับการกำหนดขึ้นหลังสงครามนากอร์โน-คาราบัค (พ.ศ. 2531–2537) เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการปะทะครั้งนี้ อาร์มีเนียและสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคได้ประกาศกฎอัยการศึกและการระดมพลทั้งหมด ในขณะที่อาเซอร์ไบจานได้ประกาศกฎอัยการศึกและเคอร์ฟิว และต่อมาได้ประกาศการระดมพลบางส่วนในวันที่ 28 กันยายน ตุรกีให้การสนับสนุนทางทหารแก่อาเซอร์ไบจาน แม้ว่าขอบเขตของการสนับสนุนจะยังเป็นที่ถกเถียงก็ตาม เชื่อกันว่าการเข้ามามีส่วนร่วมของตุรกีเป็นความพยายามที่จะขยายเขตอิทธิพลของตนทั้งโดยการเสริมสถานะของอาเซอร์ไบจานในความขัดแย้งและโดยการลดอิทธิพลของรัสเซียในภูมิภาค

นักวิเคราะห์ระหว่างประเทศเชื่อว่าอาเซอร์ไบจานเป็นผู้เปิดฉากรุกก่อน และเป้าหมายหลักของการรุกน่าจะเป็นไปเพื่อยึดพื้นที่ตอนใต้ของนากอร์โน-คาราบัคซึ่งมีภูเขาน้อยกว่าและง่ายต่อการเข้ายึดมากกว่าพื้นที่ตอนในของภูมิภาคซึ่งมีการป้องกันอย่างดี ในสงครามครั้งนี้มีการโจมตีโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ เครื่องรับรู้ ปืนใหญ่พิสัยไกล และขีปนาวุธ ตลอดจนการโฆษณาชวนเชื่อโดยรัฐและการใช้บัญชีสื่อสังคมทางการในยุทธการข้อมูลข่าวสารออนไลน์ ผู้เสียชีวิตจากการสู้รบของทั้งสองฝ่ายรวมกันแล้วอาจอยู่ในระดับหลายพันคน

หลายประเทศและสหประชาชาติออกมาประณามอย่างรุนแรงต่อการใช้กำลังและเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายผ่อนคลายความตึงเครียดและกลับสู่การเจรจาที่มีนัยสำคัญโดยไม่รอช้า ข้อตกลงหยุดยิงเพื่อมนุษยธรรมตามแนวทางของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศซึ่งมีรัสเซียเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยและได้รับความเห็นชอบจากทั้งอาร์มีเนียและอาเซอร์ไบจานมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวถูกทั้งสองฝ่ายเพิกเฉยอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้แผนการส่งร่างผู้เสียชีวิตกลับประเทศและการแลกเปลี่ยนผู้บาดเจ็บและเชลยหยุดชะงัก

หลังจากอาเซอร์ไบจานเข้ายึดชูชาซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค มีการลงนามข้อตกลงสันติภาพระหว่างอิลฮัม แอลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน, นีกอล พาชินยัน นายกรัฐมนตรีอาร์มีเนีย และวลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ซึ่งยุติการสู้รบทั้งหมดในพื้นที่ตั้งแต่เวลา 00:00 น. ของวันที่ 10 พฤศจิกายน ตามเวลามอสโก อารายิก ฮารุทยุนยัน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค ตกลงที่จะยุติการสู้รบด้วยเช่นกัน ตามข้อตกลงดังกล่าว แต่ละฝ่ายจะยังคงปักหลักในพื้นที่ที่ตนเองควบคุมอยู่ในปัจจุบัน ในขณะที่ชาวอาร์มีเนียตกลงที่จะคืนดินแดนรอบภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคที่ตนเองยึดครองให้แก่อาเซอร์ไบจาน นอกจากนี้อาเซอร์ไบจานยังจะสามารถเข้าถึงดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันทางบกได้อีกด้วย ส่วนรัสเซียจะส่งทหารจำนวนเกือบ 2,000 นายไปเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพเพื่อคุ้มครองเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างอาร์มีเนียกับสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคเป็นเวลาอย่างน้อยห้าปี

อ้างอิง

Tags:

ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัคชาวอาร์มีเนียตุรกีนากอร์โน-คาราบัคสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคอาร์มีเนียอาเซอร์ไบจาน

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ใหม่ เจริญปุระวิทยุเสียงอเมริกากระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)เดนิส เจลีลชา คัปปุนความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลเยือร์เกิน คล็อพรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กราชวงศ์จักรีจังหวัดกระบี่จักรพรรดิคังซีอูราวะ เรดไดมอนส์จังหวัดสงขลาจังหวัดจันทบุรีธัญญ์ ธนากรธนินท์ เจียรวนนท์วัดพระศรีรัตนศาสดารามเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์กฤษณภูมิ พิบูลสงครามนิชคุณ ขจรบริรักษ์ธนวรรธน์ วรรธนะภูติธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญอนิเมะลวรณ แสงสนิทปวีณ พงศ์สิรินทร์วอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สัญญา คุณากรฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2022สมณศักดิ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่วัลลภ เจียรวนนท์อมีนา พินิจสมเด็จพระนารายณ์มหาราชต่อศักดิ์ สุขวิมลAสุภาพบุรุษจุฑาเทพมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติจิรวรรณ เตชะหรูวิจิตรรายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้อีเอฟแอลแชมเปียนชิปมิสอีโคอินเตอร์เนชันแนลสราวุฒิ พุ่มทองสังคหวัตถุ 4ยุทธการที่เซกิงาฮาระสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศอิสราเอลสโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดกรงกรรมโคตรเซียนมาเก๊า เขย่าเวกัส 2คิม ซู-ฮย็อนบางกอกอารีนาเฟซบุ๊กจังหวัดสกลนครเมียวดีซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์5ทวีปเอเชียปานวาด เหมมณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยจังหวัดปทุมธานีจังหวัดสุโขทัยสราลี ประสิทธิ์ดำรงภาคกลาง (ประเทศไทย)ศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนาอริยบุคคลจังหวัดตากนามสกุลพระราชทานไดโนเสาร์รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)ภาวะโลกร้อนอัสซะลามุอะลัยกุมเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงอิษยา ฮอสุวรรณ🡆 More