พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (25 สิงหาคม พ.ศ.

2434 - 5 กันยายน พ.ศ. 2519) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน รวมถึงเป็นผู้ร่วมสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า และทรงเสนอให้คณะรัฐมนตรีสมัยคณะราษฎรจัดตั้ง "โรงเรียนการเมืองชั้นสูง" (เป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง) พระปรีชาสามารถในด้านการทูตและการต่างประเทศเป็นที่ยอมรับในระดับโลก และทรงมีชื่อเสียงการบัญญัติศัพท์ในภาษาไทย ทั้งยังทรงเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ในการบัญญัติศัพท์ภาษาต่างประเทศด้วยคำบาลีและสันสกฤต อาทิคำว่า รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย วัฒนธรรม สื่อสารมวลชน นโยบาย ปฎิวัติ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2499 – พ.ศ. 2500
ก่อนหน้ารูเดซินโด ออร์เตกา
ถัดไปเลสลี มันโร
ประธานสมัชชาแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
11 ธันวาคม – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2516
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าศิริ สิริโยธิน (ในฐานะประธานรัฐสภา)
ถัดไปหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (ในฐานะประธานรัฐสภา)
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล
ถัดไปพระองค์เอง
ถนอม กิตติขจร
ดำรงตำแหน่ง
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ถนอม กิตติขจร และประภาส จารุเสถียร
นายกรัฐมนตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าพระองค์เอง
ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล
ถัดไปประภาส จารุเสถียร
พจน์ สารสิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
28 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
พจน์ สารสิน
ถนอม กิตติขจร
รัฐมนตรีช่วยเขมชาติ บุณยรัตพันธุ์
รักษ์ ปันยารชุน
วิสูตร อรรถยุกติ
ก่อนหน้านายวรการบัญชา
ถัดไปถนัด คอมันตร์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2514
นายกสภาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
สุกิจ นิมมานเหมินท์
ก่อนหน้าถนอม กิตติขจร
ถัดไปสัญญา ธรรมศักดิ์
ประสูติ25 สิงหาคม พ.ศ. 2434
เมืองพระนคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)
สิ้นพระชนม์5 กันยายน พ.ศ. 2519 (85 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พระชายาหม่อมเจ้าพิบูลเบญจางค์ กิติยากร
หม่อมพร้อยสุพิณ บุนนาค
พระนามเดิม
หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร
พระบุตรหม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ
หม่อมราชวงศ์วิวรรณ เศรษฐบุตร
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลวรวรรณ
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
พระมารดาหม่อมหลวงต่วนศรี มนตรีกุล
ศาสนาเถรวาท
อาชีพทหาร นักการเมือง นักวิชาการ
ลายพระอภิไธยพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
การศึกษา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ชั้นยศพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พลตรี

พระประวัติและการศึกษา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2434 ที่ตำบลบ้านตะนาว อำเภอสำราญราษฎร์ จังหวัดพระนคร มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร หรือ พระองค์วรรณ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และ หม่อมหลวงต่วนศรี (มนตรีกุล) วรวรรณ

หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร ทรงเริ่มศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และย้ายมาที่โรงเรียนราชวิทยาลัยสมัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในปี พ.ศ. 2442 ต่อมาเมื่อเกิดโรคระบาด โรงเรียนปิดชั่วคราว จึงย้ายไปเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 1 ปี (ที่จริงคือตามไปใช้สถานที่เรียน) ต่อมาเมื่อโรงเรียนราชวิทยาลัย สมัยสายสาวลี เปิดทำการจึงย้ายมาศึกษาต่อ และสอบได้ทุน King's scholarship ได้เดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ โดยเข้าอยู่ประจำที่ 'วิทยาลัยแบเลียล' (Balliol College) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในระดับเกียรตินิยมและปริญญาโท จากคณะบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) สาขาวิชาภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ที่สถาบันตะวันออก มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ท่านจึงมีความสามารถในการบัญญัติศัพท์ กระทั่งเป็นผู้วางกฎเกณฑ์การบัญญัติศัพท์โดยใช้คำบาลีและสันสกฤตให้ราชบัณฑิตยสถาน และใช้มาจนกระทั่งทุกวันนี้

มีคำศัพท์มากมายที่ทรงบัญญัติและยังคงใช้อยู่ในปัจจุบันเช่น

  • อัตโนมัติ (automatic)
  • รัฐธรรมนูญ (constitution)
  • ประชาธิปไตย (democracy)
  • โทรทัศน์ (television)
  • วิทยุ (radio)

เสกสมรส

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพิบูลเบญจางค์ กิติยากร พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ กับหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร มีบุตร คือ

  1. หม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ สมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงทิพพากร อาภากร
    1. หม่อมหลวงเกียรติกร วรวรรณ
    2. หม่อมหลวงสุทธิ์ธรทิพย์ วรวรรณ

และต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ สมรสอีกครั้งกับหม่อมพร้อยสุพิณ (บุนนาค) วรวรรณ มีธิดา คือ

  • ท่านผู้หญิงวิวรรณ เศรษฐบุตร (วรวรรณ)

สิ้นพระชนม์

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2519 สิริพระชันษา 85 ปี

ลำดับตำแหน่งหน้าที่การงาน

พระเกียรติคุณ

  • พลตรี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานยศทหาร และเป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์และราชองครักษ์พิเศษ ในปี พ.ศ. 2496
  • ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านวัฒนธรรมระดับโลก โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศพระเกียรติคุณในฐานะปูชนียบุคคลสำคัญประจำปี พ.ศ. 2534
  • รางวัลนราธิป โดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 ในโอกาสสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยก่อตั้งครบ 30 ปี และครบรอบ 100 ปีแห่งชาตะกาลของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
  • ห้องประชุมวรรณไวทยากร โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ปรับปรุงตึกโดม ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่เป็นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และตั้งชื่อห้องประชุมที่ปรับปรุงใหม่เพื่อเป็นเกียรติแด่พระองค์ ในปี พ.ศ. 2548

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • พ.ศ. 2434 - หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ
  • พ.ศ. 2482 - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร
  • พ.ศ. 2486 - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร
  • พ.ศ. 2495 - พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พระยศ

พระยศทางทหาร

  • 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2496: พลตรี นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และราชองครักษ์พิเศษ

สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม

  • อำเภอวรรณไวทยากร (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศลาวและประเทศกัมพูชา)

พงศาวลี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • พระราชประวัติ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
  • มูลนิธินราธิปประพันธ์พงศ์-วรวรรณ "วิทยทัศน์พระองค์วรรณฯ ครบ 110 ปี วันประสูติ 25 สิงหาคม 2544" กรุงเทพฯ:มูลนิธินราธิปประพันธ์พงศ์-วรวรรณ, พิมพ์ครั้งที่1 2544
  • ธารา กนกมณี (บรรณาธิการ) “100 ปี พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์” กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, พิมพ์ครั้งที่ 1 2534
  • นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น "งานบัญญัติศัพท์ ของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์" ธนาคารกรุงเทพ จำกัด พิมพ์ถวายเป็นอนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ณ เมรุพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 28 ตุลาคม 2519 กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พิฆเณศ, 2519
  • นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น "บัญญัติศัพท์.คณะกรรมการบัญญัติศัพท์" กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2516
  • [Wan 1970] Wan Waithayakon, Prince "Coining Thai Words" in: Tej Bunnag und Michael Smithies (Hg.) In Memoriam Phya Anuman Rajadhon. Bangkok: Siam Society, 1970
  • มานวราชเสวี, พระยา (ผู้รวบรวม) "ชุมนุมนิพนธ์ เพื่อถวายพระเกียรติแด่ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์" กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พระจันทร์, 2506
  • นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น "บัญญัติศัพท์ ของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์" ประทานให้พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระประมวลวินิจฉัย (ชัติ สุวรรณทัต) ณ เมรุวัดโสมนัสวิหาร วันที่ 3 มิถุนายน 2499

Tags:

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระประวัติและการศึกษาพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เสกสมรสพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ สิ้นพระชนม์พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ลำดับตำแหน่งหน้าที่การงานพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระเกียรติคุณพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระเกียรติยศพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พงศาวลีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อ้างอิงพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แหล่งข้อมูลอื่นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์คณะราษฎรประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รองนายกรัฐมนตรีราชบัณฑิตยสถานสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูฟุตซอลไทยลีก ฤดูกาล 2566สายัณห์ สัญญารามาวดี นาคฉัตรีย์ติ๊กต็อกบาร์เซโลนา1สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์มรรคมีองค์แปดลอสแอนเจลิสสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลจังหวัดสุพรรณบุรีบางระจันTurkeyไทยแอร์เอเชียพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567มินนี่ (นักร้อง)ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษประเทศซาอุดีอาระเบียรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรีมหาวิทยาลัยรามคำแหงนาฬิกาหกชั่วโมงจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดนครศรีธรรมราชน้ำอสุจิพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคจังหวัดนนทบุรีอาร์เจนตินาเพลงเอก (ฤดูกาลที่ 3)ราชวงศ์หมิงพฤษภาคมสราวุธ ประทีปากรชัยสนธิสัญญาแวร์ซายคีอานู รีฟส์พระเยซูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หลุมดำจังหวัดพิจิตรรางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่งสมัยการบูรณะนริลญา กุลมงคลเพชรจังหวัดชัยภูมิจังหวัดของประเทศเกาหลีใต้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพรายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกHอริสมันต์ พงศ์เรืองรองเกมพีระมิด (ละครโทรทัศน์เกาหลีใต้)หอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2จังหวัดพิษณุโลกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พระโคตมพุทธเจ้าพันธุวิศวกรรมกูเกิล โครมเกียรติศักดิ์ เสนาเมืองชมรมรัก คลับมหาสนุกอัลติเมทไฟต์ติงแชมเปียนชิพณเดชน์ คูกิมิยะรายชื่อเครื่องดนตรีโลกเวทมนตร์แจ็กสัน หวังรายชื่อธนาคารในประเทศไทยผู้หญิง 5 บาปสโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโนเอกซ์เจแปนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย0โรมบรูโน มาส์สินจัย เปล่งพานิชอิษยา ฮอสุวรรณระบบสิงโตฮังการี🡆 More