ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง (อังกฤษ: Allies; ฝรั่งเศส: Alliés; รัสเซีย: Союзники, Soyuzniki; จีน: 同盟國, Tóngméngguó) เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

1939–1945
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
  •   ฝ่ายสัมพันธมิตร (และอาณานิคมของตน)
  •   พันธมิตร ที่เข้าร่วมหลังการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
  •   ฝ่ายอักษะ ชาติที่มีอริร่วม และอาณานิคมของตน
  •   ประเทศเป็นกลางและอาณานิคมของตน


ประเทศที่ถูกยึดครองและตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น:


อดีตอักษะหรือชาติที่มีอริร่วม
สถานะพันธมิตรทางการทหาร
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง
ก.พ. 1921
ส.ค. 1939
• สภาสงครามอังกฤษ-ฝรั่งเศส
ก.ย. 1939 – มิ.ย. 1940
• การประชุมระหว่างพันธมิตรครั้งแรก
มิ.ย. 1941
• พันธมิตรอังกฤษ-โซเวียต
ก.ค. 1941
ส.ค. 1941
• ปฏฺิญญาสหประชาชาติ
ม.ค. 1942
• สนธิสัญญาอังกฤษ-โซเวียต
พ.ค. 1942
พ.ย–ธ.ค. 1943
• การประชุมเบรตตันวูดส์
1–15 ก.ค. 1944
4–11 ก.พ. 1945
• จัดตั้งสหประชาชาติ
เม.ย.–มิ.ย. 1945
ก.ค.–ส.ค. 1945
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
"สามผู้ยิ่งใหญ่":
(ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต
(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ
(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักร
ในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามแปซิฟิก:
(ซ้าย) เจียง ไคเชก แห่งจีน
(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ
(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักร
ในการประชุมไคโร เมื่อ ค.ศ. 1943
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์, นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิล, และผู้เข้าร่วมการประชุมในกาซาบล็องกา, ค.ศ. 1943
descrdescrdescr
descrdescr
ผู้นำหลักสุดท้ายของฝ่ายสัมพันธมิตร: เคลเมนต์ แอตต์ลี (สหราชอาณาจักร), แฮร์รี เอส. ทรูแมน (สหรัฐ), โจเซฟ สตาลิน (สหภาพโซเวียต), เจียง ไคเชก (จีน) และชาร์ล เดอ โกล (ฝรั่งเศส)

แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง ค.ศ. 1941 ผู้นำสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพอังกฤษ, สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "สามผู้ยิ่งใหญ่" ถือความเป็นผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตร ในขณะนั้น จีนเองก็เป็นฝ่ายสัมพันธมิตรหลักเช่นกัน ฝ่ายสัมพันธมิตรอื่นมีเบลเยียม บราซิล เชโกสโลวาเกีย เอธิโอเปีย กรีซ อินเดีย เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์และยูโกสลาเวีย

ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ประธานาธิบดีสหรัฐ แฟรงกลิน โรสเวลต์ เสนอชื่อ "สหประชาชาติ" สำหรับฝ่ายสัมพันธมิตร เขาเรียกผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสามและจีนว่า "หน้าที่พิทักษ์ของผู้ทรงพลัง" (trusteeship of the powerful) และภายหลังเรียกว่า "สี่ตำรวจ" ปฏิญญาสหประชาชาติวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 เป็นรากฐานของสหประชาชาติสมัยใหม่ ที่การประชุมพอตสดัม เมื่อเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ค.ศ. 1945 ผู้สืบทอดของโรสเวลต์ แฮร์รี เอส. ทรูแมน เสนอว่ารัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา "ควรร่างสนธิสัญญาสันติภาพและการตกลงเขตแดนของยุโรป" ซึ่งนำไปสู่สภารัฐมนตรีต่างประเทศ

การเข้าร่วมของประเทศสมาชิก

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง 
"เครือจักรภพอังกฤษพร้อมด้วยพันธมิตร จะทำลายล้างทรราชนาซี" โปสเตอร์ของอังกฤษในปี 1941

ตามช่วงเวลาการบุกครองโปแลนด์

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ การบุกครองโปแลนด์

    กันยายน 1939
    เมษายน 1940
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  เดนมาร์ก: 9 เมษายน 1940 (วางตัวเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่สองจนกระทั่ง 29 สิงหาคม 1943)
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  นอร์เวย์: 9 เมษายน 1940 (แต่ยังไม่มีความร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตรจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1941)

ระหว่างและหลังสงครามลวง

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ สงครามลวง

หลังจากการรุกรานสหภาพโซเวียต

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

หลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

หลังจากประกาศก่อตั้งสหประชาชาติ

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ ปฏิญญาก่อตั้งสหประชาชาติ

หลังจากปฏิบัติการบากราติออนและวันดีเดย์

ดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ ปฏิบัติการบากราติออน และ ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

ประวัติ

ฝ่ายสัมพันธมิตรดั้งเดิม

ประเทศสัมพันธมิตรดั้งเดิม คือ กลุ่มประเทศที่ประกาศสงครามต่อนาซีเยอรมนี ในช่วงการบุกครองในปี 1939 อันประกอบด้วย

ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันจากเครือข่ายสนธิสัญญาป้องกันร่วมกัน และสนธิสัญญาในความร่วมมือพันธมิตรทางการทหารก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนความร่วมมือกันระหว่างสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสสามารถย้อนไปได้ถึง ความเข้าใจระหว่างอังกฤษ-ฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1904 และฝ่ายไตรภาคี ในปี ค.ศ. 1907 และดำเนินการร่วมกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนพันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ได้รับการลงนาม ในปีค.ศ. 1921 ซึ่งได้รับการแก้ไขในปี ค.ศ. 1927 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1939 ส่วนพันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์ ได้รับการลงนามในวันที่ 25 สิงหาคม 1939 ซึ่งประกอบไปด้วยสัญญาในการให้ความร่วมมือทางการทหารร่วมกันระหว่างชาติในกรณีถูกรุกรานโดยนาซีเยอรมนี

ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก

ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีได้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ในวันเดียวกัน ประเทศเครือจักรภพประกาศสงครามเข้ากับสหราชอาณาจักรด้วยเช่นกัน ต่อมาประเทศบางส่วนในยุโรปตะวันตกได้เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรหลังจากถูกกองทัพเยอรมันเข้ามารุกราน ได้แก่ เดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และลักเซมเบิร์ก

ในวันที่ 17 กันยายน สหภาพโซเวียตบุกครองโปแลนด์ทางทิศตะวันออก ต่อมา ในวันที่ 30 กันยายน สหภาพโซเวียตโจมตีฟินแลนด์ ภายในปีต่อมา สหภาพโซเวียตได้ผนวกเอาดินแดนของรัฐบอลติก ซึ่งประกอบด้วยเอสโตเนีย ลัตเวียและลิทัวเนีย ต่อมาสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนี-โซเวียตยุติลงภายหลังจากการรุกรานสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 จึงได้เข้าร่วมฝ่ายกับสัมพันธมิตรและทำการต่อสู้ในแนวรบตะวันออก

ส่วนสหรัฐได้ตั้งอยู่ในสถานะความเป็นกลางไม่ยุ่งกับสงครามแต่คอยช่วยเหลือสนับสนุนสัมพันธมิตรและสหภาพโซเวียตด้วยการให้ทรัพยากรต่าง ๆ และอาวุธยุโธปกณ์ต่าง ๆ แต่หลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ของจักรวรรดิญี่ปุ่นทำให้อเมริกาตัดสินใจเข้าร่วมสงคราม เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ต่อมาปฏิญญาแห่งสหประชาชาติในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกร่วมลงนามจำนวน 26 ประเทศ ถือได้ว่าเป็นประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวน 3 ประเทศ สหราชอาณาจักร สหรัฐและสหภาพโซเวียตถือได้ว่าเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม อย่างไม่เป็นทางการ

ประเทศสมาชิกหลัก

สหราชอาณาจักร

สหราชอาณาจักรได้เข้าร่วมสงครามเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรหลังจากที่เยอรมนีบุกโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1939 ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรเพียงไม่กี่ประเทศในยุโรปที่รอดพ้นจากการถูกเยอรมนียึดครองจนสิ้นสุดสงคราม

สหรัฐ

สหรัฐได้วางตัวเป็นกลาง แต่ก็ส่งเสบียงให้กับฝ่ายสัมพันธมิตร จนกระทั่งถูกญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล สหรัฐจึงเข้าร่วมสงครามเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1941 โดยทำสงครามต่อญี่ปุ่นและเยอรมนีจนสิ้นสุดสงคราม

สหภาพโซเวียต

สหภาพโซเวียตได้ร่วมมือกับนาซีเยอรมันในเรื่องการบุกเข้ายึดประเทศโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1939 โดยนาซีเยอรมันจะบุกจากทางตะวันตก ส่วนสหภาพโซเวียตบุกมาทางด้านตะวันออก ทำให้ประเทศโปแลนด์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยนาซีเยอรมันครอบครองโปแลนด์ทางตะวันตก ส่วนสหภาพโซเวียตครอบครองโปแลนด์ทางตะวันออก ต่อมาทั้งสองประเทศได้ทำสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพคือ การไม่รุกรานกัน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 1939 เพื่อหลังจากยึดโปแลนด์แล้ว นาซีเยอรมันก็จะทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรที่แนวรบตะวันตกได้เต็มที่โดยโซเวียตไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย แต่ทว่านาซีเยอรมันกลับฉีกสันธิสัญญาฉบับนี้ไป เมื่อส่งกองทัพบุกโจมตีสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา โซเวียตจึงได้เปลี่ยนฝ่ายเป็นสัมพันธมิตร

จีน

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 รัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งนำโดยจอมทัพเจียง ไคเช็คซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต และยังได้มีการช่วยเหลือการปรับปรุงภายในพรรคในเป็นไปตามแนวคิดลัทธิเลนิน อันประกอบด้วยการผสมกันอย่างลงตัวระหว่างพรรค รัฐและกองทัพ อย่างไรก็ตาม หลังจากการประกาศรวมชาติเมื่อปี ค.ศ. 1928 เจียง ไคเช็คได้กวาดล้างเอานักการเมืองหัวเอียงซ้ายออกจากพรรคและต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ขุนศึกในอดีตและฝ่ายอื่น ๆ ประเทศจีนในเวลานั้นมีความขัดแย้งกันและเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นกลืนกินดินแดนทีละน้อยโดยไม่สูญเสียกำลังทหารมากนัก จากเหตุการณ์กรณีมุกเดนในปี ค.ศ. 1931 นำไปสู่การจัดตั้งแมนจูกัว แต่รัฐบาลจีนยังคงมุ่งความสนใจไปยังการกำจัดพรรคคอมมิวนิสต์และขุนศึกต่อไป โดยแบ่งกองทัพเพียงส่วนน้อยมาทำการรบเพื่อต้านทานกองทัพญี่ปุ่น

ในช่วงต้นของคริสต์ทศวรรษ 1930 เยอรมนีและจีนได้ให้ความร่วมมือระหว่างกันทางทหารและอุตสาหกรรม โดยนาซีเยอรมนีได้กลายมาเป็นคู่ค้าอาวุธและวิทยาการรายใหญ่ของจีน หลังจากเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 จีนและญี่ปุ่นจึงเข้าสู่การทำสงครามเบ็ดเสร็จ ซึ่งดำเนินต่อไปจนกระทั่งยุติลงในปี ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตต้องการให้จีนต่อสู้กับญี่ปุ่น จึงให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่จีนจนถึงปี ค.ศ. 1941 หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาความเป็นกลางญี่ปุ่น เพื่อเตรียมตัวทำสงครามกับเยอรมนีในแนวรบด้านตะวันออก

ถึงแม้ว่าจีนจะเป็นประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรที่ทำการรบเป็นเวลายาวนานที่สุด แต่จีนได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการภายหลังการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ โดยจอมทัพเจียง ไคเช็คมีความเชื่อมั่นว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะสามารถชนะสงครามได้หลังจากการเข้าสู่สงครามของสหรัฐ

ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสมีส่วนร่วมกับการรบในแนวรบด้านตะวันตก นับตั้งแต่สงครามลวง และยุทธการฝรั่งเศส หลังจากความพ่ายแพ้ต่อกองทัพเยอรมัน ดินแดนฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็น "ฝรั่งเศสเขตยึดครอง" และ "วิชีฝรั่งเศส" ขณะที่รัฐบาลฝรั่งเศสลี้ภัยไปยังอังกฤษ และมีการก่อตั้งฝรั่งเศสเสรี ซึ่งมีส่วนร่วมในการปลดปล่อยฝรั่งเศสจนกระทั่งสงครามยุติ

ประเทศสมาชิกรอง

โปแลนด์

สงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปเริ่มต้นขึ้นเมื่อการบุกครองโปแลนด์ ในขณะนั้น กองทัพโปแลนด์มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สามของบรรดาประเทศในทวีปยุโรป รองจากสหภาพโซเวียตและสหราชอาณาจักร โปแลนด์ไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการต่อนาซีเยอรมนี และทำสงครามต่อภายใต้คณะรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์

กองทัพบ้านเกิดซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปนอกอาณาเขตของสหภาพโซเวียต และมีขบวนการเคลื่อนไหวใต้ดินอื่น ๆ ที่ได้ให้ข้อมูลข่าวกรองซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติการให้สำเร็จในสงครามระยะต่อมา และได้เปิดเผยการก่อาชญากรรมสงครามของนาซีเยอรมนีต่อฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก นอกจากนี้ กองกำลังโปแลนด์ยังได้มีส่วนช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตรในแนวรบด้านตะวันตก แนวรบทะเลทราย และแนวรบด้านตะวันออกอีกด้วย

เบลเยียม

เนเธอร์แลนด์

ลักเซมเบิร์ก

นอร์เวย์

เชโกสโลวาเกีย

กรีซ

ยูโกสลาเวีย

แคนาดา

ออสเตรเลีย

นิวซีแลนด์

แอฟริกาใต้

เม็กซิโก

คิวบา

สาธารณรัฐโดมินิกัน

บราซิล

กลุ่มออสโล

กลุ่มออสโลเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศที่เป็นกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในภายหลังได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในฐานะรัฐบาลพลัดถิ่น อันประกอบด้วย นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยมและลักเซมเบิร์ก

ฟินแลนด์ถูกรุกรานโดยสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ในภายหลังฟินแลนด์และเดนมาร์กได้เข้าร่วมกับสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลร่วมกับฝ่ายอักษะ ส่วนสวีเดนยังคงดำรงตนเป็นกลางตลอดช่วงเวลาของสงคราม หลังจากสนธิสัญญาสงบศึกในกรุงมอสโกเมื่อปี ค.ศ. 1944 ฟินแลนด์ได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรและหันมาต่อสู้กับเยอรมนีแทน และเกิดเป็นสงครามแลปแลนด์

ส่วนเดนมาร์กซึ่งถูกรุกรานโดยเยอรมนีเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1940 รัฐบาลเดนมาร์กไม่ได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีและยอมจำนนในวันเดียวกัน เนื่องจากว่ารัฐบาลยังคงมีอำนาจในการจัดการกิจการภายในประเทศได้อยู่ เดนมาร์กไม่ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นมา ชาวเดนมาร์กรบโดยอยู่ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ไอซ์แลนด์ หมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ซึ่งถือว่าเป็นอาณานิคมของเดนมาร์ก ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของสงคราม กองทัพอังกฤษรุกรานเกาะไอซ์แลนด์ในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 และใช้อำนวยความสะดวกให้กับนโยบายให้กู้-ยืม ส่วนกองกำลังจากสหรัฐอเมริกาได้ยึดครองเกาะกรีนแลนด์เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1941 หลังจากนั้นก็ได้ยึดครองเกาะไอซ์แลนด์ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 แม้ว่าจะคงดำรงตนเป็นกลางในสงครามก็ตาม ต่อมาไอซ์แลนด์ประกาศตนเป็นเอกราชจากเดนมาร์กในปี ค.ศ. 1944 แต่ไม่ได้ประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายอักษะใด ๆ

เครือจักรภพแห่งประชาชาติ

ประเทศเหล่านี้ถูกดึงเข้าสู่สงครามหลังจากการประกาศสงครามของสหราชอาณาจักร ซึ่งประเทศเหล่านี้ประกอบด้วย ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์และแอฟริกาใต้

สหภาพรวมอเมริกา

สมาชิกของสหภาพรวมอเมริกายังคงดำรงตนเป็นกลางในช่วงปี ค.ศ. 1939-1941 ได้สร้างสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันในที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กรุงอาบานา ระหว่างวันที่ 21-30 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 โดยมีตัวแทนประเทศ 21 ประเทศร่วมลงนาม อันประกอบด้วย

องค์การคอมมิวนิสต์สากล

องค์การสหประชาชาติ

หลังจากได้มีการลงนามในปฏิญญาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 โดยมีตัวแทนจาก 27 ประเทศร่วมลงนาม ประกอบด้วย

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง 
โปสเตอร์ช่วงสงครามของสหประชาชาติ ซึ่งได้ตีพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1943
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  ออสเตรเลีย
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  เบลเยี่ยม
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  บราซิล
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  สาธารณรัฐจีน
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  แคนาดา
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  โคลัมเบีย
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  คอสตาริกา
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  คิวบา
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  เชโกสโลวาเกีย
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  สาธารณรัฐโดมินิกัน
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  เอลซัลวาดอร์
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  กรีซ
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  กัวเตมาลา
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  เฮติ
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  ฮอนดูรัส
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  อินเดีย
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  ลักเซมเบิร์ก
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  เม็กซิโก
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  เนเธอร์แลนด์
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  นิวซีแลนด์
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  นิการากัว
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  นอร์เวย์
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  ปานามา
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  เปรู
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  ฟิลิปปินส์
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  โปแลนด์
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  แอฟริกาใต้
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  สหราชอาณาจักร
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  สหรัฐ
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  ยูโกสลาเวีย

ส่วนประเทศที่ลงนามในภายหลังได้แก่

การยอมแพ้ส่วนน้อย

ธง ชื่อ วันยอมแพ้
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  โปแลนด์ 10 ตุลาคม 1939
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  เดนมาร์ก 10 เมษายน 1940
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  เนเธอร์แลนด์ 15 พฤษภาคม 1940
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  เบลเยียม 28 พฤษภาคม 1940
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  นอร์เวย์ 10 มิถุนายน 1940
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  ฝรั่งเศส 22 มิถุนายน 1940
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  อินโดจีนของฝรั่งเศส 26 กันยายน 1940
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  ยูโกสลาเวีย 17 เมษายน 1941
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  กรีซ 1 มิถุนายน 1941
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  ฮ่องกง 25 ธันวาคม 1941
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  บริติชมาลายา 31 มกราคม 1942
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  หมู่เกาะอินเดียตะวันออก
ของเนเธอร์แลนด์
9 มีนาคม 1942
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  ฟิลิปปินส์ 8 พฤษภาคม 1942
ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง  พม่า 20 พฤษภาคม 1942

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


Tags:

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง การเข้าร่วมของประเทศสมาชิกฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประวัติฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศสมาชิกหลักฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศสมาชิกรองฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง กลุ่มออสโลฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เครือจักรภพแห่งประชาชาติฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพรวมอเมริกาฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง องค์การคอมมิวนิสต์สากลฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง องค์การสหประชาชาติฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง การยอมแพ้ส่วนน้อยฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ดูเพิ่มฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง อ้างอิงฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง แหล่งข้อมูลอื่นฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองฝ่ายอักษะภาษาจีนภาษาฝรั่งเศสภาษารัสเซียภาษาอังกฤษสงครามโลกครั้งที่สอง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

บรูนู ฟือร์นังดึชพิชิตรัก พิทักษ์โลกศุภวุฒิ เถื่อนกลางสถานีกลางบางซื่อพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขงูเขียวพระอินทร์ช้อปปี้จังหวัดกาฬสินธุ์สุทิน คลังแสงสาธุ (ละครโทรทัศน์)พิธา ลิ้มเจริญรัตน์จังหวัดบึงกาฬธนวรรธน์ วรรธนะภูติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเป็นต่อมหาวิทยาลัยสวนดุสิตข้าราชการพลเรือนสามัญชนิกานต์ ตังกบดีกองอาสารักษาดินแดนฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรรัมมี่สมศักดิ์ เทพสุทินเปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟินไค ฮาเวิทซ์รามาวดี นาคฉัตรีย์จังหวัดขอนแก่นรายชื่อตอนในโปเกมอนเผ่าภูมิ โรจนสกุลหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยจังหวัดตราดรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDอมีนา พินิจสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024รายชื่อตอนในอนิเมะเทพมรณะสราวุฒิ พุ่มทองรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสฤษดิ์ ธนะรัชต์เผ่า ศรียานนท์ฟุตซอลโลก 2016ประเทศปากีสถานพระพุทธชินราชเครือเจริญโภคภัณฑ์สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลรอยรักรอยบาปลานีญาชลิตา ส่วนเสน่ห์งูกะปะณัฐฐชาช์ บุญประชมแอน อรดีคดีพรหมพิรามพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)ซิลลี่ ฟูลส์ประเทศเกาหลีเหนือศิริลักษณ์ คองหลิว เจียหลิงจังหวัดร้อยเอ็ดรายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยสุรเชษฐ์ หักพาลทวิตเตอร์ศุภชัย โพธิ์สุจังหวัดกระบี่ปณิธาน บุตรแก้วพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคดอลลาร์สหรัฐเซเรียอา ฤดูกาล 2023–24อรรถกร ศิริลัทธยากรพิชัย ชุณหวชิรพิจักขณา วงศารัตนศิลป์ราชวงศ์จักรีวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารเครื่องคิดเลขกฤษฏ์ อำนวยเดชกรเกาะกูดมหัพภาคจังหวัดของประเทศเกาหลีใต้🡆 More