อิหร่านปาห์ลาวี

อิหร่านปาห์ลาวี, มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ รัฐจักรวรรดิแห่งเปอร์เซีย จนถึง ค.ศ.

1935 และ รัฐจักรวรรดิอิหร่าน ตั้งแต่ ค.ศ. 1935 จนถึง ค.ศ. 1979, เป็นรัฐอิหร่านภายใต้การปกครองของราชวงศ์ปาห์ลาวี ราชวงศ์นี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1925 และดำรงอยู่จนถึงปี ค.ศ. 1979 เมื่อราชวงศ์ปาห์ลาวีถูกโค่นล้มอันเป็นผลมาจากการปฏิวัติอิสลาม ซึ่งยกเลิกระบอบกษัตริย์ของอิหร่านและสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในปัจจุบัน

รัฐจักรวรรดิแห่งอิหร่าน

کشور شاهنشاهی ایران
ค.ศ. 1925–ค.ศ. 1979
คำขวัญمرا داد فرمود و خود داور است
Marā dād farmud o Khod dāvar ast
"Justice He bids me do, as He will judge me"
เพลงชาติ(ค.ศ. 1925–1933)
Salāmati-ye Dowlat-e Elliye-ye Irān
(เพลงคารวะรัฐอันประเสริฐยิ่งแห่งเปอร์เซีย)

(ค.ศ. 1933–1979)
Sorude Šâhanšâhiye Irân
(สดุดีจักรพรรดิอิหร่าน)
แผนที่อิหร่านในสมัยราชวงศ์ปาห์ลาวี
แผนที่อิหร่านในสมัยราชวงศ์ปาห์ลาวี
สถานะราชอาณาจักร
เมืองหลวงเตหะราน
ภาษาทั่วไปภาษาเปอร์เซีย
การปกครองรัฐเดี่ยว
ระบบรัฐสภา
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
(ทางนิตินัย) ภายใต้ลัทธิอำนาจนิยม รัฐพรรคการเมืองเดียว (1975–78)
พระเจ้าชาห์ 
• ค.ศ. 1925–1941
พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี
• ค.ศ. 1941–1979
พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ. 1925 - 1926
โมฮัมหมัด-อาลี ฟารุฆี (คนแรก)
• ค.ศ. 1979
ชาปูร์ บัคเตียร์ (คนสุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวี
15 ธันวาคม ค.ศ. 1925
• สนธิสัญญาไตรมิตรอิหร่าน-อังกฤษ-โซเวียต
17 กันยายน ค.ศ. 1941
• รัฐประหารอิหร่าน
19 สิงหาคม ค.ศ. 1953
• การปฏิวัติขาว
26 มกราคม ค.ศ. 1963
• การปฏิวัติอิหร่าน (การปฏิวัติอิสลาม)
11 มกราคม ค.ศ. 1979
• การปฏิวัติอิสลาม
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979
สกุลเงินเรียล
ก่อนหน้า
ถัดไป
อิหร่านปาห์ลาวี อิหร่านกอญัร
รัฐบาลชั่วคราวอิหร่าน อิหร่านปาห์ลาวี

ราชวงศ์ปาห์ลาวีได้ขึ้นสู่อำนาจในปี ค.ศ. 1925 โดยเรซา ชาห์ อดีตนายพลจัตวาแห่งกองพลคอซแซคเปอร์เซีย ซึ่งสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าชาห์ อะห์หมัด ชาห์ กอญัร จักรพรรดิอิหร่านพระองค์สุดท้ายภายใต้ราชวงศ์กอญัร ซึ่งต่อมาอิหร่านได้ถูกสหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียตรุกรานประเทศ ซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง และพระองค์ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติโดยสหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียตภายหลังทั้งสองกองทัพได้รุกรานอิหร่าน เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1941 และใน ค.ศ. 1935 ชาห์ เรซาได้ทรงขอให้ผู้แทนจากต่างประเทศใช้นามแฝงอิหร่านแทนคำว่าเปอร์เซียเมื่อกล่าวถึงประเทศในการติดต่ออย่างเป็นทางการ

หลังจากการสละราชบัลลังก์ของพระเจ้าชาห์ เรซา โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระราชโอรสของพระองค์ได้สืบทอดพระราชบัลลังก์ซึ่งกลายเป็นชาห์พระองค์สุดท้ายของอิหร่าน ภายใน ค.ศ. 1953 การปกครองของพระองค์ได้มีความเป็นเผด็จการมากขึ้นและให้สอดคล้องกับกลุ่มตะวันตกในช่วงสงครามเย็นหลังเหตุการณ์รัฐประหารในอิหร่านเมื่อปี ค.ศ. 1953 ซึ่งได้รับการออกแบบแนวคิดโดยสหราชอาณาจักรและสหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับทิศทางนโยบายต่างประเทศของอิหร่าน ทำให้อิหร่านจึงกลายเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาเพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียต และสิ่งนี้ทำให้พระองค์มีทุนทางการเมืองในการออกกฎหมายด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตของชาวอิหร่านผ่านการปฏิวัติขาว ผลที่ตามมาคืออิหร่านประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในทุกๆ ด้าน รวมถึงการรู้หนังสือ สุขภาพ และมาตรฐานกค่าครองชีพ อย่างไรก็ตาม ภายใน ค.ศ. 1978 พระองค์ต้องทรงเผชิญกับความไม่พอใจของประชาชนที่เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นขบวนการปฏิวัติที่นำโดย รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี และทำให้พระองค์ต้องทรงลี้ภัยพร้อมกับพระราชวงศ์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1979 ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากมายที่นำไปสู่การสิ้นสุดระบอบกษัตริย์อย่างรวดเร็ว และการสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1979 หลังจากสวรรคตของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ใน ค.ศ. 1980 เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวีพระราชโอรสของพระองค์ ได้เป็นผู้นำราชวงศ์ปาห์ลาวีในเวลาต่อมา

ประวัติศาสตร์

การก่อตั้งราชวงศ์

ประวัติศาสตร์อิหร่านแผ่นดินใหญ่
อิหร่านปาห์ลาวี 
กษัตริย์แห่งเปอร์เชีย
ก่อนยุคใหม่
ก่อน อิสลาม
ก่อนคริสต์ศักราช
ก่อนประวัติศาสตร์
วัฒนธรรมก่อนเอลาไมท์ 3200–2800
จักรวรรดิเอลาไมท์ 2800–550
แหล่งโบราณคดีบัคเตรีย-มาร์เกียนา 2200–1700
ราชอาณาจักรมานไน ศตวรรษที่ 10-7
จักรวรรดิมีเดีย 728–550
จักรวรรดิอคีเมนียะห์ 550–330
จักรวรรดิซิลูซิด 330–150
ราชอาณาจักรกรีก-บัคเตรีย 250-125
จักรวรรดิพาร์เธีย 248–ค.ศ.  224
หลังคริสต์ศักราช
จักรวรรดิกุษาณะ 30–275
จักรวรรดิซาสซานิยะห์ 224–651
จักรวรรดิเฮพธาไลท์ 425–557
เฮพธาไลท์-กุษาณะ 565–670
หลัง อิสลาม
อาณาจักรกาหลิป 637–651
จักรวรรดิอุมัยยะฮ์ 661–750
จักรวรรดิอับบาซียะฮ์ 750–1258
จักรวรรดิทาฮิริยะห์ 821–873
ราชวงศ์อาลาวิยะห์ 864–928
จักรวรรดิซัฟฟาริยะห์ 861–1003
จักรวรรดิซามานิยะห์ 819–999
จักรวรรดิไซยาริยะห์ 928–1043
จักรวรรดิไบอิยะห์ 934–1055
จักรวรรดิกาสนาวิยะห์ 975–1187
จักรวรรดิกอร์ 1149–1212
จักรวรรดิเซลจุค 1037–1194
จักรวรรดิควาเรซเมีย 1077–1231
ราชวงศ์คาร์ติยะห์ 1231-1389
จักรวรรดิข่านอิล 1256–1353
ราชวงศ์มุซาฟฟาริยะห์ 1314–1393
ราชวงศ์จุพานิยะห์ 1337–1357
ราชวงศ์จาไลยิริยะห์ 1339–1432
ราชวงศ์เตมือร์ 1370–1506
คารา โคยันลู เตอร์โคมันส์ 1407–1468
อัค โคยันลู เตอร์โคมันส์ 1378–1508
จักรวรรดิซาฟาวิยะห์ 1501–1722*
จักรวรรดิโมกุล 1526–1857
ราชวงศ์โฮทาคิ 1722–1738
จักรวรรดิอาฟชาริยะห์ 1736–1750
* หรือ 1736
ยุคใหม่
สสซ = สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
จักรวรรดิดุรรานี 1747–1823
เอมิเรตอัฟกานิสถาน 1823–1929
อิทธิพลของบริติชและรัสเซีย 1826–1919
อิสรภาพและสงครามกลางเมือง 1919–1929
สมัยปกครองของมุฮัมมัดเมดไซ 1929–1973
สาธารณรัฐอัฟกานิสถาน 1973–1978
สาธารณรัฐประชาธิปไตยอัฟกานิสถาน 1978–1992
ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถานสมัยปัจจุบัน ตั้งแต่ 1992
ลำดับเหตุการณ์
อาณาจักรข่านแห่งคอเคซัส 1722–1828
ภายใต้การปกครองของรัสเซีย 1828–1917
สาธารณรัฐประชาธิปไตย 1918–1920
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต 1920–1991
สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ตั้งแต่ 1991
ราชวงศ์ซานด์ 1750–1794
ราชวงศ์กอญัร 1781–1925
ราชวงศ์ปาห์ลาวี 1925–1979
การปฏิวัติอิหร่าน 1979
รัฐบาลชั่วคราว 1979
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ตั้งแต่ 1979
อีรักออตโตมัน 1632–1919
กษัตริย์ฮาชิไมท์ 1920–1958
การปฏิวัติและสาธารณรัฐ 1958–2003
สาธารณรัฐอิรัก ตั้งแต่ 2004
เอมิเรตบูคารา 1785–1920
สาธารณรัฐประชาชนโซเวียตบุฮารา / อุซเบก 1920–1929
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอิสระทาจิก 1929
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก 1929–1991
สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ตั้งแต่ 1991

ใน ค.ศ. 1921 พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นนายทหารในกองทัพเปอร์เซีย ได้ใช้กองทหารของเขาในการสนับสนุนการรัฐประหารราชวงศ์กอญัร ภายในช่วงระยะเวลาสี่ปี เขาได้กลายเป็นผู้ที่มีอำนาจที่สุดในประเทศด้วยการปราบปรามการก่อจลาจลและจัดระเบียบเสียใหม่ ใน ค.ศ. 1925 ในที่ประชุมสามัญได้มีมติให้ถอดถอนพระเจ้าชาห์ อะหมัด กอญัร และตั้งเรซา ข่าน (พระนามเดิม) ขึ้นเป็นพระเจ้าชาห์องค์ใหม่ โดยใช้พระนามสำหรับราชวงศ์ว่า ปาห์ลาวี

พระเข้าชาห์ทรงมีความตั้งใจที่จะพัฒนาอิหร่านให้เป็นประเทศที่ทันสมัยแบบประเทศต่าง ๆ ในยุโรป โดยทรงวางแผนที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ สร้างระบบทางรถไฟ ริเริ่มระบบการศึกษา ปฏิรูประบบศาล และปรับปรุงระบบการแพทย์ ทรงเชื่อว่า ถ้าหากรวมอำนาจในการปกครองประเทศเข้าสู่ศูนย์กลาง และดำเนินการโดยบุคคลที่มีการศึกษา จะทำให้แผนการที่วางไว้สำเร็จได้

พระเจ้าชาห์ได้ส่งชาวปอร์เซียนหลายร้อยคนรวมถึงพระราชโอรสไปรับการศึกษาและการฝึกฝนในยุโรป ในช่วง ค.ศ. 1925 - 1941โครงการในพระราชดำริได้ทำให้อิหร่านพัฒนาขึ้นเป็นอันมาก ระบบการศึกษาดำเนินการอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นในสังคม คือชนชั้นกลางและชนชั้นกรรมาชีพ

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 การปกครองแบบเผด็จการของพระเจ้าชาห์ได้ทำให้คนบางกลุ่มไม่พอใจ (โดยเฉพาะพวกอิมาม) ใน ค.ศ. 1935 ได้ทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกร้องให้ชาวต่างชาติเรียกประเทศของพระองค์ว่า "อิหร่าน" (ในขณะนั้น ชาวต่างชาตินิยมใช้คำว่า "เปอร์เซีย" มากกว่า) แต่ก็มีนักวิชาการออกมาต่อต้าน มกุฎราชกุมารโมฮัมหมัด เรซา (พระอิสริยยศในขณะนั้น) จึงได้ออกมาประกาศว่า ทั้งสองชื่อมีความหมายเหมือนกันและสามารถใช้แทนกันได้

พระเจ้าชาห์ เรซ่าทรงพยายามที่จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับทั้งอังกฤษและโซเวียต แม้ว่าโครงการพัฒนาประเทศหลายโครงการจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติก็ตาม ทรงหลีกเลี่ยงที่จะทำสัญญากับบริษัทจากทั้งสองประเทศ แม้ว่าบริษัทน้ำมันแองโกล-อิหร่านออยล์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ควบคุมแหล่งน้ำมันของประเทศทั้งหมด จะเป็นบริษัทของอังกฤษก็ตาม แต่ก็ทรงเลือกที่จะขอความช่วยเหลือทางเทคนิคจากเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และประเทศอื่น ๆ ในยุโรปแทน การตัดสินใจของพระองค์เช่นนี้สร้างปัญหาในเวลาต่อมา เมื่อเยอรมนีและอังกฤษประกาศสงครามกันในสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ว่าจะทรงประกาศว่าอิหร่านเป็นประเทศที่เป็นกลาง แต่อังกฤษก็อ้างว่าวิศวกรและช่างเทคนิคชาวเยอรมันเป็นสายลับ และพยายามจะบ่อนทำลายเครื่องไม้เครื่องมือของอังกฤษในบ่อน้ำมันทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่าน อังกฤษได้เรียกร้องให้อิหร่านเนรเทศพลเมืองชาวเยอรมันทั้งหมดออกนอกประเทศ แต่พระเจ้าชาห์ เรซาทรงปฏิเสธ โดยทรงอ้างว่าการเนรเทศชาวเยอรมันเหล่านั้นออกนอกประเทศจะทำให้โครงการน้ำมันของอิหร่านต้องหยุดชะงัก

สงครามโลกครั้งที่สอง

หลังจากที่เยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 แล้ว อังกฤษและสหภาพโซเวียตก็เป็นพันธมิตรกัน และทั้งสองประเทศก็เริ่มให้ความสนใจกับอิหร่าน โดยทั้งสองประเทศต่างก็เห็นว่าจะสามารถใช้ทางรถไฟของอิหร่านในการขนส่งจากอ่าวเปอร์เซียมายังสหภาพโซเวียตได้ แต่เนื่องจากพระเจ้าชาห์ เรซาปฏิเสธที่จะเนรเทศชาวเยอรมัน อังกฤษและสหภาพโซเวียตจึงรุกรานอิหร่าน และปลดพระเจ้าชาห์ออกจากตำแหน่งและเข้าควบคุมการรถไฟของอิหร่านในเดินสิงหาคม ค.ศ. 1941 ต่อมาใน ค.ศ. 1942 สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นพันธมิตรกับทั้งสองประเทศได้ส่งกำลังทหารเข้าช่วยดูแลระบบรถไฟของอิหร่าน และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือน ทั้งสามประเทศก็เข้าควบคุมแหล่งน้ำมันของอิหร่านเพื่อผลประโยชน์ของประเทศของตน อำนาจของพระเจ้าชาห์ เรซาจึงสิ้นสุดลง แต่ทั้งสามประเทศก็อนุญาตให้พระโอรสของพระเจ้าชาห์ เรซาขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ได้

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 ทั้งสามประเทศได้ลงนามในข้อตกลงกับอิหร่านว่าจะยอมรับเอกราชของอิหร่าน และจะถอนกองกำลัทั้งหมดภายในหกเดือนหังจากสงครามสิ้นสุดลง สหรัฐอเมริกาได้ยืนยันข้อตกลงเดิมอีกครั้งใน ค.ศ. 1943 ในการประชมุที่จัดขึ้นในเตหะราน แต่ในปีค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตก็ยังปฏิเสธที่จะประกาศกำหนดเวลาที่จะถอนกำลังออกจากจังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันตกและอาเซอร์ไบจานตะวันออก ที่ซึ่งสหภาพโซเวียตสนับสนุนการเคลื่อนไหวที่จะปกครองตัวเอง ในขณะเดียวกัน พรรคตูเดห์ที่เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ที่เริ่มมีอิทธิพลและมีที่นั่งในสภา เริ่มแข็งแกร่งมากขึ้นโดยเฉพาะในภาคเหนือของอิหร่าน รัฐบาลอิหร่านจึงพยายามส่งกองทัพเข้าไปจัดระเบียบในภาคเหนือของประเทศ แต่พื้นที่ในภาคเหนือของอิหร่านส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่ในความควบคุมของพรรคการเมืองพรรคนี้

ในที่สุด สหภาพโซเวียตก็ถอนกำลังออกจากอิหร่านในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1946 แต่สถานการณ์ก็ยังคงตึงเครียดต่อมาอีกหลายเดือน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เป็นตัวการเร่งให้เกิดสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต

ระบบการเมืองของอิหร่านได้เริ่มเปิดกว้างมากขึ้น และพรรคการเมืองต่าง ๆ ก็พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ ใน ค.ศ. 1944 ได้มีการเลือกตั้งที่เป็นการแข่งขันกันอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในรอบยี่สิบปี บริษัทน้ำมันอังกฤษ - อิหร่าน ซึ่งรัฐบาลอังกฤษเป็นเจ้าของก็เริ่มผลิตและขายน้ำมันอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1930 ชาวอิหร่านบางคนได้เริ่มสนับสนุนให้โอนกิจการน้ำมันมาเป็นของชาติ และหลังจาก ค.ศ. 1946 เป็นตนมา แนวคิดดังกล่าวก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง


Tags:

อิหร่านปาห์ลาวี ประวัติศาสตร์อิหร่านปาห์ลาวี ดูเพิ่มอิหร่านปาห์ลาวี อ้างอิงอิหร่านปาห์ลาวีการปฏิวัติอิหร่านประเทศอิหร่านราชวงศ์ปาห์ลาวี

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

โหราศาสตร์ไทยรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดี (พ.ศ. 2560–2567)กฤษณภูมิ พิบูลสงครามรายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยธงประจำพระองค์ทวีปยุโรปพิชิตรัก พิทักษ์โลกเซเรียอาสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าท่าอากาศยานดอนเมืองหลานม่าหน้าหลักเผ่า ศรียานนท์FBสงครามโลกครั้งที่สองสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)ธนวรรธน์ วรรธนะภูติประเทศบังกลาเทศอนิเมะมหาวิทยาลัยมหิดลแอน อรดีรายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้วิดีโออุณหภูมิสหประชาชาติรัสมุส ฮอยลุนด์รายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันเปรม ติณสูลานนท์บยอน อู-ซ็อกรัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรฮ่องกงณัฐภัสสร สิมะเสถียรรายการรหัสไปรษณีย์ไทยจังหวัดสมุทรสาครยากูซ่าลานีญาประเทศอิสราเอลงูกะปะไทยนกกะรางหัวขวานตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรงเมลดา สุศรีนายกรัฐมนตรีไทยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากรสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตเครือเจริญโภคภัณฑ์จรินทร์พร จุนเกียรติจังหวัดจันทบุรีสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)จักรทิพย์ ชัยจินดาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรประเทศแคนาดาการรถไฟแห่งประเทศไทยเซเรียอา ฤดูกาล 2023–24ปานปรีย์ พหิทธานุกรภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2022พระโคตมพุทธเจ้ารายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยหีวอลเลย์บอลประเทศมัลดีฟส์อสมท4 KINGS 2พิศวาสฆาตเกมส์อาลิง โฮลันศรีรัศมิ์ สุวะดีเสกสรรค์ ศุขพิมายร่างทรง (ภาพยนตร์)อีเอฟแอลคัพสล็อตแมชชีนสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีประเทศพม่ารถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา🡆 More