สงครามอิรัก–อิหร่าน

สงครามอิรัก–อิหร่าน (อังกฤษ: Iran–Iraq War; เปอร์เซีย: جنگ ایران و عراق; อาหรับ: الحرب الإيرانية العراقية) เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านและประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 1980 ถึงสิงหาคม 1988 มีการประเมินว่าสงครามครั้งนี้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกันกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.6 ล้านล้านบาท)

สงครามอิรัก–อิหร่าน
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งที่อ่าวเปอร์เซีย
สงครามอิรัก–อิหร่าน
บนซ้ายไปล่างขวา:
  • ทหารเด็กชาวอิหร่านถูกประจำการเป็นกองหน้า
  • ทหารอิหร่านในสนามเพลาะสวมหน้ากากเพื่อป้องกันตนเองจากการโจมตีด้วยสารเคมีของอิรัก
  • การอัปปางของเรือรบ ยูเอสเอส Stark ซึ่งถูกโจมตีโดยขีปนาวุธอิรักโดยความเข้าใจผิด
  • กองกำลัง MEK ที่สนับสนุนอิรักถูกฆ่าในช่วงปฏิบัติการเมร์ซอด
  • เชลยสงครามอิรัก
  • ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ZU-23-2 ถูกใช้งานโดยกองทัพอิหร่าน
วันที่22 กันยายน ค.ศ. 1980 – 20 สิงหาคม ค.ศ. 1988
(7 ปี 10 เดือน 4 สัปดาห์ 1 วัน)
สถานที่
ผล

เอาชนะกันไม่ได้; ทั้งสองฝ่ายอ้างชัยชนะ

  • อิรักไม่สามารถยึดครองดินแดนของอิหร่าน และไม่สามารถหนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดฆูเซสถานของอิหร่านได้อีกต่อไป
  • อิหร่านไม่สามารถโค่นซัดดัม ฮุสเซน และไม่สามารถทำลายแสนยานุภาพทางทหารของอิรักได้
  • หยุดยิงตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ไม่มีการเปลี่ยนดินแดน
คู่สงคราม

สงครามอิรัก–อิหร่าน อิหร่าน


  • สงครามอิรัก–อิหร่าน KDP
  • สงครามอิรัก–อิหร่าน PUK
  • สงครามอิรัก–อิหร่าน มูจาฮิดีนเคิร์ด
  • ISCI
  • สงครามอิรัก–อิหร่าน พรรคดะอ์วะฮ์อิสลาม
สนับสนุนโดย:

สงครามอิรัก–อิหร่าน อิรัก


สนับสนุนโดย:
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

อิหร่าน รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี
(ผู้นำสูงสุดอิหร่าน)

คนอื่น ๆ:
  • อิหร่าน แอโบลแฮแซน แบนีแซดร์
    (ประธานาธิบดีอิหร่าน เดิมดำรงตำแหน่งจอมทัพ ถูกถอดถอนใน ค.ศ. 1981)
  • อิหร่าน โมแฮมแมด-แอลี แรจออี
    (ประธานาธิบดีอิหร่าน ถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 1981)
  • อิหร่าน แอลี ฆอเมเนอี
    (ประธานาธิบดีอิหร่าน)
  • อิหร่าน แอคแบร์ ฮอเชมี แรฟแซนจอนี
    (ประธานรัฐสภาและสมาชิกสภาป้องกันแห่งชาติสูงสุด ภายหลังตำรงตำแหน่งจอมพล)
  • อิหร่าน โมแฮมแมด-แจวอด บอโฮแนร์
    (นายกรัฐมนตรีอิหร่าน ถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 1981)
  • อิหร่าน มีร์-โฮเซย์น มูแซวี
    (นายกรัฐมนตรีอิหร่าน)
  • อิหร่าน พลจัตวา Valiollah Fallahi
    (เสนาธิการ เสียชีวิตตอนเครื่องบินตกใน ค.ศ. 1981)
  • อิหร่าน พลจัตวา Qasem-Ali Zahirnejad
    (เสนาธิการ)
  • อิหร่าน พันเอก เอสมอเอลี โซฮ์รอบี
    (เสนาธิการ)
  • อิหร่าน พลจัตวา แอลี แชฮ์บอซี
    (เสนาธิการ)
  • อิหร่าน โมฮ์เซน เรซอยี
    (ผู้บัญชาการ IRGC)
  • สงครามอิรัก–อิหร่าน มัสอูด บัรซะนี
    (หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยเคอร์ดิสถาน)
  • สงครามอิรัก–อิหร่าน ญะลาล ฏอละบานี
    (หัวหน้าสหภาพปิตุภูมิเคอร์ดิสถาน)
  • สงครามอิรัก–อิหร่าน Chenar Faraj
    (หัวหน้าเพชเมร์กา)
  • สงครามอิรัก–อิหร่าน เนาชิรวาน มุสตะฟา
    (รองเลขาธิการทั่วไปแห่งสหภาพปิตุภูมิเคอร์ดิสถาน)
  • มุฮัมมัด บากิร อัลฮะกีม
    (หัวหน้าสภาอิสลามสูงสุดแห่งอิรัก)
  • อับดุลอะซีซ อัลฮะกีม
    (หัวหน้าฝ่ายทหาร ISCI)

อิรัก ซัดดัม ฮุสเซน
(ประธานาธิบดีอิรัก)

คนอื่น ๆ:
  • อิรัก อิซซัต อิบรอฮีม อัดดูรี
    (รองประธานสภาคณะบัญชาการคณะปฏิวัติ)
  • อิรัก อะลี ฮะซัน อัลมะญีด
    (หัวหน้าหน่วยข่าวกรองอิรัก)
  • อิรัก ฏอฮา ยาซีน เราะมะฎอน
    (เลขาธิการและรองเลขาธิการพรรค)
  • อิรัก อะบิดิลฮะมีด มะห์มูด
    (พลโท)
  • อิรัก เศาะลาห์ อะบูด มะห์มูด
    (พลเอก)
  • อิรัก ฏอริก อะซีซ
    (รัฐมนตรีว่าการการะทรวงต่างประเทศและสมาชิกสภาคณะบัญชาการคณะปฏิวัติ)
  • อิรัก อัดนาน ค็อยรุลลอฮ์
    (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)
  • อิรัก ศ็อดดาม กามิล
    (ผู้บัญชาการกองกำลังพิทักษ์สาธารณรัฐ)
  • อิรัก อุดัย ฮุซัยน์
    (ลูกชายของซัดดัม ฮุสเซน)
  • อิรัก กุศ็อย ฮุซัยน์
    (ลูกชายของซัดดัม ฮุสเซน)
  • อิรัก มาฮัร อับดุรเราะชีด
    (พลเอก)
  • สงครามอิรัก–อิหร่าน แมสอูด แรแจวี
    (ประธานNational Council of Resistance of Iran)
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
ดูลำดับสงคราม ดูลำดับสงคราม
กำลัง

เริ่มต้น:
ทหาร 110,000–150,000 นาย

เพิ่มเติม:
  • รถถัง 1,700–2,100 คัน
    (ใช้งานได้ 500 คัน)
    รถหุ้มเกราะ 1,000 คัน
    ปืนใหญ่ 300 อัน
    เครื่องบินรบ-ทิ้งระเบิด 485 ลำ
    (ใช้งานได้เต็มที่ 205 ลำ)
    เฮลิคอปเตอร์ 750 ลำ

    ใน ค.ศ. 1982:
    ทหาร 350,000 นาย
    รถถัง 700 คัน
    รถหุ้มเกราะ 2,700 คัน
    ปืนใหญ่ 400 อัน
    อากาศยาน 350 ลำ
    เฮลิคอปเตอร์ 700 ลำ

    ใน ค.ศ. 1988:
    ทหาร 600,000 นาย
    รถถังมากกว่า 1,500 คัน,
    รถหุ้มเกราะ 800 คัน
    ปืนใหญ่หนัก 600 อัน
    เครื่องบินรบ-ทิ้งระเบิด 60–80 ลำ
    เฮลิคอปเตอร์ 70–90 ลำ

เริ่มต้น:
ทหาร 200,000 นาย

เพิ่มเติม:
  • รถถัง 2,800 คัน

    APC 4,000 อัน
    ปืนใหญ่ 1,400 อัน
    เครื่องบินรบ-ทิ้งระเบิด 380 ลำ

    เฮลิคอปเตอร์ 350 ลำ

    ใน ค.ศ. 1982:
    ทหาร 175,000 นาย
    รถถัง 1,200 คัน
    รถหุ้มเกราะ 2,300 คัน
    ปืนใหญ่ 400 อัน
    อากาศยาน 450 ลำ
    เฮลิคอปเตอร์ 180 ลำ

    ใน ค.ศ. 1988:
    ทหาร 1,500,000 นาย
    รถถังประมาณ 5,000 คัน
    APC 8,500–10,000 อัน
    ปืนใหญ่ 6,000–12,000 อัน
    เครื่องบินรบ-ทิ้งระเบิด 900 ลำ
    เฮลิคอปเตอร์ 1,000 ลำ
ความสูญเสีย

ทหารเสียชีวิต:
200,000–600,000 นาย

เพิ่มเติม:
  • 123,220–160,000 KIA,
    60,711 MIA
    (อิหร่านอ้าง)
    ถูกฆ่า 800,000 นาย
    (อิรักอ้าง)

    320,000–500,000 WIA
    40,000–42,875 POW
    พลเมืองเสียชีวิต 11,000–16,000 คน

    เศรษฐกิจเสียหาย:
    627 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทหารเสียชีวิต:
105,000–500,000 นาย

เพิ่มเติม:
  • 400,000 WIA
    70,000 POW

    เศรษฐกิจเสียหาย:
    561 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
พลเมืองเสียชีวิต: มากกว่า 100,000 คน
สงครามอิรัก–อิหร่าน
สงครามอิรัก–อิหร่าน - 22 กันยายน 1980 - เตหะราน

สงครามอิรัก–อิหร่านเริ่มขึ้นเมื่ออิรักทำการรุกรานอิหร่านในวันที่ 22 กันยายน 1980 อันเนื่องมาจากข้อพิพาททางชายแดนที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน หลังการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ได้ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของอิหร่านและประกาศตนเป็นผู้นำอิสลามนิกายชีอะห์ ทำให้มุสลิมชีอะฮ์อันเป็นคนส่วนมากในอิรักขึ้นมาก่อจลาจลต่อต้านการปกครองของรัฐบาลนิกายซุนนี ขณะเดียวกัน อิรักก็มีความพยายามจะขึ้นมามีอิทธิพลครอบงำภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแทนที่อิหร่าน แม้ว่าอิรักจะใช้โอกาสที่อิหร่านกำลังวุ่นวายนี้เข้าโจมตีอิหร่านโดยไม่ประกาศก่อน แต่เข้ายึดครองยังได้ไม่มากก็ถูกโต้กลับอย่างรวดเร็ว อิหร่านสามารถชิงดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดคืนมาได้ภายในเดือนมิถุนายน 1982 และตลอดหกปีจากนี้ อิหร่านก็กลายเป็นฝ่ายรุกไล่เข้าไปในดินแดนอิรัก

แม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ร้องให้มีการหยุดยิงนับสิบ ๆ ครั้ง แต่การสู้รบก็ดำเนินไปจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 1988 และสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598 ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับคำขอหยุดยิง ซึ่งภายหลังข้อสรุปนี้ กองทัพอิหร่านต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการถอนกำลังออกจากดินแดนอิรักโดยยึดเอาหลักเขตแดนก่อนสงคราม เชลยสงครามคนสุดท้ายของสงครามนี้ถูกส่งตัวกลับประเทศตนในปี 2003

สงครามครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่าหนึ่งล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายใดได้หรือสูญเสียดินแดนเลย สงครามครั้งนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในแง่ของกลยุทธ ทั้งการใช้แท่นปืนกล, การโจมตีแบบคลื่นมนุษย์, การใช้อาวุธเคมีจำนวนมากโดยกองทัพอิรัก ประเทศอิสลามจำนวนมากอยู่ฝ่ายเดียวกับชาติตะวันตกในสงครามครั้งนี้ นั่นคือการสนับสนุนอิรักโดยการให้เงินกู้, ยุทโธปกรณ์ และภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงที่อิรักโจมตีอิหร่าน ซึ่งในระหว่างสงคราม มีการวิจารณ์จากสื่อว่า "ประชาคมโลกต่างพากันเงียบกริบตอนอิรักใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงต่ออิหร่านและชาวเคิร์ด" และกว่าคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นจะประกาศให้อิรักเป็นผู้ก่อสงครามก็ล่วงเลยไปถึงวันที่ 11 ธันวาคม 1991 สิบสองปีให้หลังจากที่อิรักทำการรุกรานอิหร่าน และเป็นเวลาสิบหกเดือนหลังอิรักรุกรานคูเวต ซึ่งบานปลายเป็นสงครามอ่าว

เบื้องหลัง

ความขัดแย้งอิรัก-อิหร่าน

อิหร่านและอิรักมีความขัดแย้งกันจากปัญหาเชื้อชาติ ประชากรส่วนใหญ่ของอิรักมีเชื้อสายอาหรับใช้ภาษาอารบิก ในขณะที่ส่วนน้อยมีเชื้อสายเปอร์เซียใช้ภาษาเปอร์เซีย คนเชื้อสายเปอร์เซียในอิรักมีสถานะเป็นรองเชื้อสายอาหรับอยู่เสมอและมักถูกกดขี่โดยคนเชื้ออาหรับ ทำให้ชาวอิรักเชื้อสายเปอร์เซียเหล่านี้เกิดความคับแค้นใจต่อชาวอิรักเชื้อสายอาหรับ ปัญหาเช่นนี้เกิดในอิหร่านเช่นกัน ประชากรของอิหร่านมีเชื้อสายเปอร์เซียกับอาหรับอย่างละครึ่ง แต่ชนชั้นปกครองในอิหร่านเกือบทั้งหมดเป็นเชื้อสายเปอร์เซีย ฉะนั้นในอิหร่านเองก็มีความไม่พอใจของคนเชื้อสายอาหรับต่อคนเชื้อสายเปอร์เซีย

คนอิหร่านเชื้อสายอาหรับส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตะวันตกของประเทศในจังหวัดฆูเซสถานติดกับพรมแดนอิรัก ซึ่งจังหวัดฆูเซสถานนี้เป็นแหล่งน้ำมันที่สำคัญที่สุดของอิหร่าน ขณะเดียวกัน อิรักก็พยายามอ้างอยู่เสมอว่าจังหวัดดังกล่าวเป็นดินแดนของอิรัก ถึงกับตั้งชื่อให้ว่า จังหวัดอราเบแซน ทหารของสองประเทศมักมีการปะทะกันย่อม ๆ อยู่เสมอในจังหวัดนี้

นอกจากนี้ยังมีปัญหาชนกลุ่มน้อยที่เรียกว่า "ชาวเคิร์ด" เป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายอารยัน ไม่มีประเทศเป็นของตนเองแต่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของอิรัก, อิหร่าน, ตุรกี และสหภาพโซเวียต ชาวเคิร์ดได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งรัฐอิสระของตนเองขึ้นในอิหร่าน ชาวเคิร์ดได้ก่อจลาจลขึ้นในอิหร่านในปี 1930 และถูกรัฐบาลอิหร่านปราบปรามอย่างรุนแรง ชาวเคิร์ดจำนวนมากหลบหนีเข้าไปยังอิรัก การปราบปราบอย่างรุนแรงทำให้ชาวเคิร์ดหมดหวังที่จะตั้งรัฐอิสระของตนในอิหร่าน และตั้งเป้าหมายที่จะตั้งรัฐอิสระขึ้นในอิรักแทน จนกระทั่งในปี 1969 ชาวเคิร์ดในอิรักกลายเป็นปัญหามากขึ้นเมื่อพระเจ้าชาห์แห่งอิหร่านได้ให้ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน, การทูต และด้านอื่น ๆ แก่ชาวเคิร์ดในอิรัก ต่อมาในปี 1974 รัฐบาลอิรักเข้าประนีประนอมกับรัฐบาลอิหร่านเนื่องจากเห็นว่าขณะนั้นอิหร่านเป็นชาติแข็งแกร่งและยังเป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา การเจรจาดังกล่าวกลายเป็น "สนธิสัญญาแอลเจียร์ ค.ศ. 1975" ที่ทางอิหร่านจะยุติให้การสนับสนุนแก่ชาวเคิร์ดแลกกับการที่อิรักเสียส่วนหนึ่งของปากแม่น้ำชัฏฏุลอะร็อบแก่อิหร่าน

จากสนธิสัญญาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า อิหร่านไม่ได้มีส่วนแก้ปัญหาชาวเคิร์ดในอิรักเลย แต่อิรักกลับต้องเสียดินแดนส่วนหนึ่งแก่อิหร่าน อิรักมองว่าสนธิสัญญาดังกล่าวหาความเป็นธรรมไม่ได้

จุดยืนของสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกาถือเป็นมิตรประเทศของประเทศอิหร่านก่อนการปฏิวัติ แม้กระทั่งหลังการปฏิวัติอิหร่านแล้ว รัฐบาลของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ ก็ยังคงมองอิหร่านเป็นปราการเพื่อต่อต้านอิรักและสหภาพโซเวียต สหรัฐมีการเจรจาเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับรัฐบาลเฉพาะกาลของอิหร่าน มีการอนุมัติความร่วมมือด้านข่าวกรองระหว่างสองประเทศในปี 1979 ทั้งสหรัฐและอิหร่าน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ-อิหร่าน ขาดสะบั้นลงเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน และอิหร่านยังกล่าวหาสหรัฐว่าอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารอิหร่านในปี 1953 สหรัฐได้ตัดทางการทูตเป็นการตอบโต้ ในขณะที่บรรดาผู้นำของอิหร่านรวมทั้งรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีต่างเชื่อทฤษฎีสมคบคิดที่ว่าสหรัฐให้ "ไฟเขียว" แก่ซัดดัม ฮุสเซน ในการบุกอิหร่าน และยังสงสัยว่าสหรัฐจะใช้อิรักเป็นหมากในการแก้แค้นเรื่องวิกฤตตัวประกัน ตามบันทึกของประธานาธิบดีคาร์เตอร์เองก็ได้ระบุในไดอารีของเขาว่า "พวกผู้ก่อการร้ายอิหร่านกำลังจะทำเรื่องบ้า ๆ อย่างฆ่าตัวประกันชาวอเมริกันถ้าพวกเขาถูกบุกโดยอิรัก ที่เขาบอกว่าเป็นหุ่นเชิดของอเมริกา"

ความพร้อมของอิรัก

อิรักได้วางแผนโจมตีอิหร่านโดยเชื่อมั่นอย่างมากว่าจะประสบความสำเร็จ เนื่องจากรัฐบาลอิหร่านในขณะนั้นยังขาดเสถียรภาพและแตกออกเป็นสองขั้วระหว่างขั้วอเมริกันกับขั้วอังกฤษ อิรักมีศักยภาพในการจัดกองพลยานเกราะได้ 12 กองพล และตลอดช่วงทศวรรษที่ 1970 ซัดดัมได้เสริมสร้างแสนยานุภาพของอิรักด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ที่สุดจากสหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต

นอกจากนี้ แม่น้ำชัฏฏุลอะร็อบก็ไม่ถือเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนกำลังพลของอิรัก เนื่องจากกองทัพอิรักมีสะพานสำเร็จรูปที่ประกอบได้อย่างรวดเร็ว อิรักยังคาดการณ์ได้อย่างถูกต้องว่าแนวป้องกันของอิหร่านบริเวณแม่น้ำคาร์เคและแม่น้ำคารุนนั้นมีกำลังทหารไม่เพียงพอ ทำให้อิรักสามารถข้ามแม่น้ำได้โดยง่าย การข่าวกรองของอิรักยังยืนยันอีกว่า กำลังทหารอิหร่านในจังหวัดฆูเซสถานนั้นมียุทโธปกรณ์ที่ล้าหลังและประสิทธิภาพต่ำ และมีเพียงรถถังเพียงหยิบมือเท่านั้นที่ใช้งานได้

สิ่งเดียวที่อิรักเป็นกังวลก็คือกำลังทางอากาศของอิหร่านซึ่งมีศักยภาพ นั่นเองจึงทำให้ผู้บัญชาการทหารของอิรัก ตัดสินใจที่จะทำการโจมตีแบบฉาบฉวยต่อฐานทัพและโครงสร้างพื้นฐานทางอากาศของอิหร่านก่อนเพื่อเป็นการเบิกทางให้กับการรุกรานทางบก

ความพร้อมของอิหร่าน

กองทัพอิหร่านในขณะนั้นกำลังอยู่ในสภาพอ่อนแอ นายทหารจำนวนมากถูกประหารโดยศาลปฏิวัติอิสลามในช่วงการปฏิวัติอิหร่าน กองทัพขาดอาวุธยุทโธปกรณ์และอะไหล่ที่ผลิตโดยสหรัฐ-อังกฤษอย่างรุนแรง ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงกันยายน 1979 รัฐบาลอิหร่านประหารนายพลระดับสูงกว่า 85 ราย และบังคับนายพลคนอื่นๆที่เหนือรวมถึงเหล่าผู้บัญชาการกองพลน้อยให้เกษียณก่อนกำหนด

ก่อนเดือนกันยายน 1980 รัฐบาลอิหร่านปลดเจ้าหน้าที่ทหารกว่า 12,000 นาย การปลดครั้งนี้ได้ลดศักยภาพความพร้อมรบของกองทัพอิหร่านลงอย่างรุนแรง กำลังทหารปกติของอิหร่าน (ซึ่งเคยได้รับการยอมรับว่ามีกองทัพบกที่ทรงแสนยานุภาพที่สุดประเทศหนึ่งของโลกในปี 1978) อ่อนแอลงอย่างมาก อัตราการหนีทหารสูงลิบกว่า 60% นายทหารและนักบินทักษะสูงส่วนใหญ่ต่างลี้ภัย, ถูกจำคุก หรือถูกประหาร นับเป็นภาวะสมองไหลที่ส่งผลต่อศักยภาพกองทัพอิหร่านมาจนถึงปัจจุบัน

อิหร่านยังถูกขัดขวางไม่ให้เข้าถึงอาวุธหนักอย่างรถถังหรืออากาศยานได้ ซึ่งเป็นผลจากการแทรงแซงโดยสหรัฐและสหราชอาณาจักร เมื่ออิรักเริ่มทำการบุก มีการปล่อยตัวนักบินและนายทหารจำนวนมากออกจากคุก หรือเปลี่ยนโทษประหารเป็นส่งไปรบกับอิรักแทน นอกจากนี้ ยังได้มีการเลื่อนขั้นทหารรุ่นใหม่จำนวนมากขึ้นเป็นนายพล ทำให้กองทัพอิหร่านมีความเป็นเนื้อเดียวกับรัฐบาลมากขึ้นตั้งแต่สิ้นสุดสงครามจวบจนปัจจุบัน แม้จะถูกแทรกแซงจากมหาอำนาจภายนอก แต่อิหร่านก็ยังคงมีรถถังที่ใช้งานได้อย่างน้อยกว่า 1,000 คันรวมถึงอากาศยานอีกหลายร้อยเครื่อง ทำให้สามารถใช้ชิ้นส่วนของเครื่องที่มีอยู่เป็นอะไหล่ได้อยู่บ้าง

หมายเหตุ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

ข้อมูล

อ่านเพิ่ม

  • Cooper, Tom (July–August 2002). "'Floggers" in Action: Early MiG-23s in Operational Service". Air Enthusiast. No. 100. pp. 56–67. ISSN 0143-5450.
  • Murray, Williamson; Woods, Kevin (2014). The Iran–Iraq War: A Military and Strategic History. New York, NY: Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-06229-0. OCLC 877852628.
  • Razoux, Pierre; Elliott, Nicholas (2015). The Iran–Iraq War. Cambridge, MA: The Belknap Press of Harvard University Press. ISBN 978-0-674-08863-4. OCLC 907204345.

This article uses material from the Wikipedia ไทย article สงครามอิรัก–อิหร่าน, which is released under the Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 license ("CC BY-SA 3.0"); additional terms may apply (view authors). เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 4.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น Images, videos and audio are available under their respective licenses.
®Wikipedia is a registered trademark of the Wiki Foundation, Inc. Wiki ไทย (DUHOCTRUNGQUOC.VN) is an independent company and has no affiliation with Wiki Foundation.

Tags:

สงครามอิรัก–อิหร่าน เบื้องหลังสงครามอิรัก–อิหร่าน ความพร้อมของอิรักสงครามอิรัก–อิหร่าน ความพร้อมของอิหร่านสงครามอิรัก–อิหร่าน หมายเหตุสงครามอิรัก–อิหร่าน ดูเพิ่มสงครามอิรัก–อิหร่าน อ้างอิงสงครามอิรัก–อิหร่าน อ่านเพิ่มสงครามอิรัก–อิหร่านดอลลาร์สหรัฐประเทศอิรักประเทศอิหร่านภาษาอังกฤษภาษาอาหรับภาษาเปอร์เซีย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสำนักงานอัยการสูงสุด (ประเทศไทย)พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวหลานม่าประเทศเกาหลีใต้มินนี่ (นักร้อง)ขุนณรงค์ ประเทศรัตน์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจนี่ อัลภาชน์กรุงเทพมหานครและปริมณฑลศาสนาคริสต์ลำไย ไหทองคำฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินากฤษดา สุโกศล แคลปป์ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)จังหวัดสุราษฎร์ธานีสกีบีดีทอยเล็ตโลจิสติกส์แพทองธาร ชินวัตรหมากรุกมาซาตาดะ อิชิอิสายัณห์ สัญญาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สโมสรฟุตบอลโอเดนเซรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยปฏิจจสมุปบาทจัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)ภาษาญี่ปุ่นอาณาจักรล้านนาราณี แคมเปนนิวรณ์ธนวรรธน์ วรรธนะภูติสหรัฐชีอะฮ์ธีรเดช เมธาวรายุทธไทยลีกพัก จี-ซ็องประเทศคาซัคสถานกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์ที-อาราพระพรหมเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารประเทศเช็กเกียโมเสสรายการรหัสไปรษณีย์ไทยแทททูคัลเลอร์รายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตจรูญเกียรติ ปานแก้วสุภโชค สารชาติประเทศอินเดียภาสวิชญ์ บูรณนัติสืบคดีปริศนา หมอยาตำรับโคมแดงจรินทร์พร จุนเกียรติละหมาดร็อดดี ไพเพอร์Aปิยวดี มาลีนนท์บัลลังก์ลูกทุ่งสมณศักดิ์จังหวัดกาญจนบุรีFBนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์นิโคลัส มิคเกลสันหมาล่าเครยอนชินจังประเทศมาเลเซียอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาพจมาน ณ ป้อมเพชรแบตเตอรี่มรรคมีองค์แปด🡆 More