ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ

ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Linguistics Olympiad: IOL) เป็นสาขาหนึ่งของโอลิมปิกวิชาการของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้รู้ทางด้านภาษาศาสตร์วรรณนา ภาษาศาสตร์ทฤษฎี และภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์เพื่อตอบโจทย์ โดยที่ความรู้ทางภาษาใดภาษาหนึ่งของผู้เข้าแข่งขันไม่ได้ช่วยให้มีข้อได้เปรียบในการตอบโจทย์ที่เกี่ยวกับภาษาที่ตนรู้เท่าใดนัก

รูปแบบการแข่งขัน

รูปแบบการแข่งขันของภาษาศาสตร์โอลิมปิกแตกต่างจากโอลิมปิกวิชาการแขนงอื่น ๆ เนื่องจากจะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การแข่งขันแบบรายบุคคลและแบบทีม การแข่งขันประเภทบุคคลประกอบด้วยโจทย์ 5 ข้อ และมีเวลาในการแข่งขัน 6 ชั่วโมง โดยโจทย์ครอบคลุมเนื้อหาของสาขาหลักของภาษาศาสตร์วรรณนา ภาษาศาสตร์ทฤษฎี และภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น สัทศาสตร์ วิทยาหน่วยคำ วากยสัมพันธ์ อรรถศาสตร์ และภาษาศาสตร์สังคม เป็นต้น

การแข่งขันประเภททีมประกอบด้วยโจทย์ที่มีความยากและใช้เวลามาก 1 ข้อ ตั้งแต่การแข่งขั้นภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ 2 ซึ่งในแต่ละทีมประกอบด้วยนักเรียนทั้งหมด 4 คน และมีเวลาในการแก้โจทย์ 3 ถึง 4 ชั่วโมง

ประเทศไทยในการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ

ประเทศไทยได้เริ่มส่งนักเรียนผู้แทนประเทศเข้าร่วมการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2565 ณ เมืองแคสเซิลทาวน์ ไอล์ออฟแมน โดยมีการคัดเลือกผ่านการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย (ภอท.) และการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก โดยมีมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) และภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดูแล

สถานที่จัดการแข่งขัน

ครั้งที่ ปีที่จัดการแข่งขัน สถานที่จัดการแข่งขัน วันที่จัดการแข่งขัน จำนวนประเทศที่เข้าร่วม ผู้เข้าแข่งขัน เว็บไซต์ทางการ
1 2003 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  บอรอแวตส์ บัลแกเรีย 6 – 12 กันยายน 6 33 [1]
2 2004 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  มอสโก รัสเซีย 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 7 43 [2]
3 2005 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  ไลเดน เนเธอร์แลนด์ 8 – 12 สิงหาคม 9 50
4 2006 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  ตาร์ตู เอสโตเนีย 1–6 สิงหาคม 9 51 [3] เก็บถาวร 2011-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
5 2007 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัสเซีย 31 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 9 61 [4] เก็บถาวร 2012-12-21 ที่ archive.today
6 2008 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  สเลินแชฟเบรียก บัลแกเรีย 4–9 สิงหาคม 11 63 [5] เก็บถาวร 2012-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
7 2009 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  วรอตสวัฟ โปแลนด์ 26–31 กรกฎาคม 17 86 [6]
8 2010 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  สต็อกโฮล์ม สวีเดน 19–24 กรกฎาคม 18 99 [7]
9 2011 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  พิตต์สเบิร์ก สหรัฐ 24–30 กรกฎาคม 19 102 [8] เก็บถาวร 2013-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
10 2012 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  ลูบลิยานา สโลวีเนีย 29 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 26 131 [9] เก็บถาวร 2013-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
11 2013 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  แมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร 22–26 กรกฎาคม 26 138
12 2014 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  ปักกิ่ง จีน 21–25 กรกฎาคม 28 152
13 2015 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  บลากอแอฟกรัต บัลแกเรีย 20–24 กรกฎาคม 29 166
14 2016 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  ไมซอร์ อินเดีย 25–29 กรกฎาคม 31 167
15 2017 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  ดับลิน ไอร์แลนด์ 31 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 29 180
16 2018 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  ปราก เช็กเกีย 25–31 กรกฎาคม 29 192
17 2019 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  ยงอิน เกาหลีใต้ 29 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 35 209
18 2021 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  แว็นตส์ปิลส์ ลัตเวีย 19–23 กรกฎาคม 34 216 [10][ลิงก์เสีย]
19 2022 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  แคสเซิลทาวน์ ไอล์ออฟแมน 25–29 กรกฎาคม 32 185 [11] เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
20 2023 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  บันสโก บัลแกเรีย 24–28 กรกฎาคม 38 204 [12]
21 2024 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  บราซิเลีย บราซิล
22 2025 ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ  ไทเป ไต้หวัน

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ รูปแบบการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประเทศไทยในการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ สถานที่จัดการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ แหล่งข้อมูลอื่นภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ภาษาอังกฤษโอลิมปิกวิชาการ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2023นพชัย ชัยนามเอฟเอคัพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพรรคชาติไทยสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีเขตพื้นที่การศึกษาอัสนี โชติกุลสีประจำวันในประเทศไทยเมษายนประเทศออสเตรเลียมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์โรงเรียนนายร้อยตำรวจอิซานามิสุชาติ ตันเจริญกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)ทิศตะวันออกศาสนาพุทธคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62การโฆษณาพ.ศ. 2565สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิศาสนาอิสลามเร็ว..แรงทะลุนรก 7ณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสมุทรสาครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครสงครามเวียดนามสหประชาชาติรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)พิษสวาทพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลศึกโลกเวทมนตร์คนพลังกล้ามอิทธิบาท 4ธัญญาเรศ เองตระกูลชวลิต ยงใจยุทธแทททูคัลเลอร์มะกล่ำตาหนูลอนดอนจังหวัดปทุมธานีชัชชาติ สิทธิพันธุ์มามาอะวอดส์หลัว ยฺหวินซีกลุ่มบริษัทไทยซัมมิทเมลดา สุศรีสโมสรวอลเลย์บอลหญิงไดมอนด์ฟู้ดจังหวัดเชียงรายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566ช่อง 8อี โด-ฮย็อนสุชาติ ชมกลิ่นรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยนายกรัฐมนตรีไทยกูเกิลสมเด็จพระเพทราชาบุญบั้งไฟพรีเมียร์ลีกชลธี ธารทองจังหวัดสุพรรณบุรีประเทศพม่าจังหวัดเชียงรายฟุตบอลโลก 2022วิสเซล โคเบะจังหวัดตากพรรคไทยสร้างไทยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพรรคเพื่อไทยชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดร้อยเอ็ดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566ไทยลีก 2แคพิบาราพัก อึน-บินการล้างแค้นของผู้กล้าสายฮีลทวีพร พริ้งจำรัสฮันนี่ ศรีอีสานหม่ำ จ๊กมก🡆 More