ธงชาติจอร์เจีย: ธงชาติ

ธงชาติจอร์เจีย (จอร์เจีย: : საქართველოს სახელმწიფო დროშა, sakartvelos sakhelmtsipo drosha) ที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่ธงที่มีชื่อเรียกว่า ธงห้ากางเขน หรือ ธงห้ากากบาท (The five-cross flag) ซึ่งได้นำมาใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.

2547 หลังธงนี้ได้เลิกใช้มานานถึง 500 ปี ในอดีตธงนี้เป็นธงของอาณาจักรจอร์เจียโบราณในยุคกลางของทวีปยุโรป และเคยใช้เป็นสัญลักษณ์ของพรรคการเมืองจอร์เจียที่มีชื่อว่า พรรคขบวนการเอกภาพแห่งชาติ หรือพรรค ENM (ย่อมาจาก Ertiani Natsionaluri Modzraoba)


ธงชาติจอร์เจีย
ธงชาติจอร์เจีย: ประวัติ, การออกแบบ, พัฒนาการ
ชื่ออื่น ธงห้ากางเขน, ธงห้ากากบาท (The five-cross flag)
การใช้ ธงพลเรือน, ธงเรือราษฎร์, ธงราชการและธงเรือรัฐบาล
สัดส่วนธง 2:3 (100:150)
ประกาศใช้ 25 มกราคม พ.ศ. 2547 (20 ปี)
ลักษณะ ธงพื้นสีขาว มีกางเขนสีแดงพาดผ่าน ในพื้นสีขาวทั้งสี่ช่องมีรูปกางเขนสีแดงช่องละ 1 รูป
ธงชาติจอร์เจีย: ประวัติ, การออกแบบ, พัฒนาการ
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ ธงกองทัพ
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ พ.ศ. 2547
ลักษณะ พื้นธงใช้สีกลับกันจากธงชาติ (พื้นสีแดง กากบาทสีขาว) กลางธงมีตราโล่ของกระทรวงกลาโหมจอร์เจียภายใต้มงกุฎสีเหลือง
ธงชาติจอร์เจีย: ประวัติ, การออกแบบ, พัฒนาการ
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ ธงนาวี
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ พ.ศ. 2547
ลักษณะ ธงพื้นสีน้ำเงิน กลางธงมีกากบาทสีแดง ซ้อนทับด้วยกากบาททแยงสีขาวอีกชั้นหนึ่ง

ประวัติ

แต่เดิมมาธงขาวมีรูปกางเขนแห่งนักบุญจอร์จได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของอาณาจักรจอร์เจียมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยพระเจ้าวากห์ตัง จอร์กาซาลี (Vakhtang Gorgasali) ต่อมาในสมัยศตวรรษที่ 13 ซึ่งนับว่าเป็นยุคทองของจอร์เจียโบราณ พระราชินีทามาร์แห่งจอร์เจีย (Queen Tamar of Georgia) ได้ทรงเปลี่ยนธงชาติจากธงกางเขนนักบุญจอร์จ มาเป็นธงห้ากางเขน ลักษณะดังที่ปรากฏเป็นธงชาติจอร์เจียในปัจจุบัน โดยกางเขนใหญ่ตรงกลางหมายถึงนักบุญจอร์จในศาสนาคริสต์ ผู้เป็นนักบุญประจำประเทศจอร์เจีย (ซึ่งธงลักษณะอย่างเดียวกันนี้ก็ปรากฏในธงชาติอังกฤษและมีการใช้ในความหมายเดียวกันด้วย) ส่วนกางเขนขนาดเล็กอีก 4 รูปนั้น จิออร์จี กาเบสกีเรีย (Giorgi Gabeskiria) กล่าวว่า รูปดังกล่าวอาจเพิ่มขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งจอร์เจีย ผู้ทรงสามารถขับไล่กองทัพมองโกลให้พ้นไปจากแผ่นดินจอร์เจียได้ ทั้งนี้ธงนี้ยังใช้เป็นสัญลักษณ์ของนักรบครูเสดในระยะเวลาเดียวกัน เพื่อเป็นเครื่องหมายถึงการตรึงกางเขนของพระเยซูคริสต์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์

หลังสมัยกลางของยุโรป ธงนี้ก็ได้เลิกใช้เป็นธงชาติจอร์เจีย แต่ขบวนการชาวจอร์เจียผู้รักชาติซึ่งเรียกร้องเอกราชจากสหภาพโซเวียตได้นำธงนี้กลับมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของจอร์เจียอีกครั้งในปี พ.ศ. 2534 โดยชาวจอร์เจียส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายต่าง ๆ ได้สนับสนุนให้มีการใช้ธงนี้เป็นธงชาติจอร์เจียอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 รัฐสภาจอร์เจียได้ผ่านกฎหมายฟื้นฟูการใช้ธงห้ากางเขนเป็นธงชาติจอร์เจีย แต่ประธานาธิบดีเอดูอาร์ด เชวาร์ดนัดเซ (Eduard Shevardnadze) ปฏิเสธให้การรับรองกฎหมายดังกล่าว พรรคขบวนการเอกภาพแห่งชาติหรือพรรค ENM ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล จึงได้นำธงห้ากางเขนมาใช้เป็นธงสัญลักษณ์ของการต่อต้านการปกครองของประธานาธิบดีเชวาร์ดนัดเซ

ธงห้ากางเขนได้ผ่านการรับรองเป็นธงชาติจอร์จเจียจากรัฐสภาจอร์เจียเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2547 และได้ผ่านการลงนามรับรองจากประธานาธิบดีมีเคอิล ซาคัชวีลี เมื่อวันที่ 25 มกราคม ปีเดียวกัน โดยไม่มีการโต้แย้งใด ๆ จากทุกฝ่าย แม้จะมีการวิจารณ์ว่าการรับรองธงนี้ซึ่งเคยใช้เป็นธงพรรคการเมืองมาก่อนเป็นธงชาติถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นประชาธิปไตยก็ตาม

การออกแบบ

ธงชาติสาธารณรัฐจอร์เจีย, ตามคำสั่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจอร์เจีย เลขที่. 31 วันที่ 25 มกราคม, 2547:

Scheme สีแดง สีขาว
RGB 255-0-0 255-255-255
CMYK 0-100-100-0 0-0-0-0
Web #FF0000 #FFFFFF
ธงชาติจอร์เจีย: ประวัติ, การออกแบบ, พัฒนาการ 
แบบการสร้างธงชาติจอร์เจีย (ธงห้ากางเขน)

พัฒนาการ

สาธารณรัฐประชาธิปไตยจอร์เจีย (พ.ศ. 2461 - 2464, พ.ศ. 2533 - 2547)

ในช่วงที่จอร์เจียเป็นรัฐเอกราชระยะเวลาสั้นๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2461-2464 ภายใต้ชื่อว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยจอร์เจีย" ได้มีการใช้ธงชาติเป็นธงสามสี ลักษณะเป็นธงพื้นสีแดงเข้ม ที่มุมธงบนด้านคันธงเป็นแถบสีแนวนอนสองสี แถบบนสีดำ แถบล่างสีขาว ธงนี้เป็นแบบธงที่ชนะเลิศการประกวดแบบธงชาติ โดยเป็นผลงานของช่างทาสีชื่อ จาคอบ นิโคลาดเซ (Jakob Nikoladze) ต่อมาได้ถูกห้ามใช้เมื่อสหภาพโซเวียตเข้ามามีอำนาจปกครองจอร์เจียในปี พ.ศ. 2464 แต่ภายหลังได้มีการฟื้นฟูการใช้ธงนี้อีกครั้งโดยสภาสูงสุดแห่งสาธารณรัฐจอร์เจียเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 หลังจากนั้นธงนี้ก็ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาแห่งความยุ่งเหยิงและนองเลือดจากการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชของจอร์เจียจากสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรดาชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย (พ.ศ. 2464 - 2533)

ในสมัยภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต จอร์เจียได้ใช้ธงแดงหลากหลายรูปแบบตามความนิยมของประเทศภายใต้การปกครองของลัทธิคอมมิวนิสต์ ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2465 ใช้ธงพื้นแดงมีอักษรซีริลลิกแบบไม่มีเชิงเป็นข้อความ "ССРГ" (ถอดเป็นอักษรโรมันคือ "SSRG") ซึ่งเป็นอักษรย่อชื่อประเทศ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 สหภาพโซเวียตจัดการปกครองให้จอร์เจียรวมกับดินแดนอาร์มีเนียและอาเซอร์ไบจานเป็นประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคเชีย (Transcaucasian Socialist Federal Soviet Republic) จอร์เจียจึงใช้ธงของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคเชียจนถึง พ.ศ. 2479 จอร์เจียจึงได้เป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองอีกครั้ง ในปีถัดมา (พ.ศ. 2480) จอร์เจียก็ได้กำหนดธงของตนเองใช้ขึ้นใหม่ แต่ยังคงลักษณะพื้นฐานของธงแดงคอมมิวนิสต์เช่นเดิม โดยธงแดงแบบนี้มีอักษรจอร์เจียเขียนชื่อประเทศว่า "საქართველოს სსრ" (ถอดเป็นอักษรโรมันคือ "Sakartvelos SSR") อยู่ที่มุมธงบนด้านคันธง ในช่วงต่อมาระหว่างคริสต์ทศวรรษที่ 1940 (พุทธทศวรรษที่ 2483) ก็ได้มีการแก้ไขอักษรย่อบนธงชาติใหม่เหลือเพียง "სსსრ" ("SSSR") เท่านั้น

การแก้ไขแบบธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจียครั้งสุดท้ายมีขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2494 ซึ่งจะเป็นแบบที่ใช้สืบมาจนถึงยุคการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534 ธงนี้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปค้อนเคียวสีแดงและดาวแดงอยู่ภายในดวงอาทิตย์สีฟ้า ซึ่งเปล่งรัศมีออกเป็นแนวกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ถัดมาทางด้านข้างแนวกรอบสี่เหลี่ยมนั้นมีแถบสีฟ้าพาดตามแนวนอนบนพื้นสีแดง ส่วนที่ด้านหลังธงนั้นมีลักษณะคล้ายด้านหน้าดังบรรยายข้างต้น แต่ที่ด้านหลังนั้นจะไม่มีรูปค้อนเคียวและดาวแดง

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


Tags:

ธงชาติจอร์เจีย ประวัติธงชาติจอร์เจีย การออกแบบธงชาติจอร์เจีย พัฒนาการธงชาติจอร์เจีย อ้างอิงธงชาติจอร์เจีย ดูเพิ่มธงชาติจอร์เจีย แหล่งข้อมูลอื่นธงชาติจอร์เจียทวีปยุโรปธงชาติประเทศจอร์เจียภาษาจอร์เจียยุคกลาง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

อชิรญา นิติพนปริญ สุภารัตน์รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครศุภนันท์ บุรีรัตน์ทวีปแอฟริกาธงประจำพระองค์ทวีปอเมริกาเหนืออินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนธฤษณุ สรนันท์สีประจำวันในประเทศไทยสุจาริณี วิวัชรวงศ์บิ๊กแอสพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์เนย์มาร์เพื่อน(ไม่)สนิทแคพิบารารายชื่อโรงเรียนในจังหวัดระยองรหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีนิวรณ์พรีเมียร์ลีกธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญกวนอิมจังหวัดสุราษฎร์ธานีเอ็กซ์โอเอ็กซ์โอเอนเตอร์เทนเมนต์ปิยวดี มาลีนนท์ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษอุษามณี ไวทยานนท์ทัศน์พล วิวิธวรรธน์กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจังหวัดลำปางมณฑลของประเทศจีนอินเทอร์เน็ตฮ่องกงนายกรัฐมนตรีไทยศึกโลกเวทมนตร์คนพลังกล้ามฮันเตอร์ x ฮันเตอร์เมตาพาทิศ พิสิฐกุลผู้หญิง 5 บาปป๊อกเด้งจังหวัดร้อยเอ็ดยุกต์ ส่งไพศาลบอลทิมอร์ประเทศมาเลเซียประเทศไต้หวันแอริน ยุกตะทัตบูมเมอแรง (ประเทศไทย)พัก จี-ซ็องเครื่องคิดเลขเหี้ยนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นประเทศเกาหลีใต้ประเทศเปรูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยสยาม ศิริมงคล4 KINGS 2Face Off แฝดคนละฝามาตาลดาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประยุทธ์ จันทร์โอชาลิโอเนล เมสซิจังหวัดเพชรบูรณ์โช กยู-ซ็องบรูซ วิลลิสฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนยุโรปอาณาจักรธนบุรีประเทศจอร์เจียสุภาพร วงษ์ถ้วยทองสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ🡆 More