ชาวมลายูเคป

ชาวมลายูเคป (อาฟรีกานส์: Kaapse Maleiers, کاپز ملیس ในอักษรอาหรับ) บ้างเรียก ชาวมุสลิมเคป หรือเรียก มลายู เฉย ๆ เป็นชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์หรือชุมชนที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศแอฟริกาใต้ ชาวมลายูเคปมีบรรพบุรุษเป็นผู้อพยพจากเอเชียใต้ อุษาคเนย์ มาดากัสการ์ และชนพื้นเมืองแอฟริกาที่อาศัยในเคป ช่วงอาณานิคมของดัตช์และบริเตน

ชาวมลายูเคป
Kaapse Maleiers  (อาฟรีกานส์)
มุสลิมเคป
ชาวมลายูเคป
เจ้าสาวและเพื่อนเจ้าสาวชาวมลายูเคปในประเทศแอฟริกาใต้
ประชากรทั้งหมด
325,000 คน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
ชาวมลายูเคป แอฟริกาใต้
จังหวัดเวสเทิร์นเคป, จังหวัดเคาเต็ง
ภาษา
อาฟรีกานส์, อังกฤษแบบแอฟริกาใต้
อดีต: มลายู, มากัซซาร์, ดัตช์, อาหรับอาฟรีกานส์
ศาสนา
อิสลามนิกายซุนนี
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชวา, มลายู, อินเดีย, คอยคอย, มาลากาซี, ดัตช์เคป, ดัตช์, ผิวสีเคป, บูกิส

บรรพชนของชาวมลายูเคปกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาสู่เคป เป็นทาสชาวชวามาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ (ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย) และสมรสข้ามชาติพันธุ์กับทาสมาดากัสการ์ อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกาอื่น ๆ ต่อมามีผู้โดยสารเชื้อสายชายชาวอินเดียมุสลิมตั้งถิ่นฐานในเคปและสมรสกับหญิงมลายูเคป ลูกหลานของพวกเขาก็ถูกนับว่าเป็นชาวมลายูเคปด้วย โดยชื่อ "มลายู" นี้ เป็นการเรียกชาวมุสลิมแบบรวม ๆ โดยมิได้จำแนกชาติพันธุ์หรือแหล่งกำเนิด ทั้งนี้พวกเขาใช้ภาษามลายูเป็นภาษากลางสำหรับการเผยแผ่ศาสนา อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ชุมชนนี้ถูกเรียกว่า "มลายู" อย่างไรก็ตามพวกเขามองว่าอัตลักษณ์ความเป็นมุสลิมนั้นโดดเด่นกว่าความเป็นมลายู จึงเรียกตนเองอีกอย่างว่า "ชาวมุสลิมเคป"

ชาวมลายูเคปส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองเคปทาวน์ อาหารของชาวมลายูเคปส่งอิทธิพลอย่างสูงต่ออาหารแอฟริกาใต้ และมีบทบาทสำคัญต่อการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในแอฟริกาใต้ พวกเขาได้พัฒนาภาษาอาฟรีกานส์เป็นภาษาเขียนโดยใช้อักษรอาหรับ และสร้างมัสยิดแห่งแรกในดินแดนแอฟริกาใต้ แต่ปัจจุบันชาวมลายูเคปส่วนใหญ่พูดภาษาอาฟรีกานส์และภาษาอังกฤษด้วย แต่ไม่มีใครพูดภาษามลายูอีกแล้ว ยังหลงเหลือเพียงคำหรือวลีมลายูสั้น ๆ ที่ใช้อยู่บ้างในชีวิตประจำวัน

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

เอกลักษณ์ของชาวมลายูเคปมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์และชุมชน ชาวมลายูเคปมีเอกลักษณ์ในความเป็นมุสลิมโดดเด่นกว่าบรรพบุรุษ "ชาวมลายู" ของพวกเขา ในบางบริบท ชาวมลายูเคปก็ถูกเรียกว่า "มาเลย์" และ มุสลิมเคป โดยประชากรทั้งในและนอกชุมชน บรรพบุรุษของชาวมลายูเคปมีที่มาจากเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาดากัสการ์ และแอฟริกาซึ่งเป็นชาติพันธุ์ท้องถิ่น เวลาต่อมา ชายมุสลิมชาวอินเดีย ("Passenger Indian") ได้อพยพมาที่เดอะเคปและสมรสกับชาวมลายูเคป ซึ่งบุตรของพวกเขาจะถูกนับว่าเป็นชาวมลายูเคป

อ้างอิง


Tags:

ประเทศแอฟริกาใต้ภาษาอาฟรีกานส์มาดากัสการ์ศาสนาอิสลามอักษรอาหรับสำหรับภาษาอาฟรีกานส์อุษาคเนย์เอเชียใต้

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

รายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26ศาสนาอิสลามอาณาจักรล้านนากรงกรรมชีวิตเพื่อชาติ รักนี้เพื่อเธอสโมสรฟุตบอลเซบิยากาจบัณฑิต ใจดีระเบียบรัตน์ พงษ์พานิชอุรัสยา เสปอร์บันด์บีบีซี เวิลด์นิวส์เจ้าชายอัลมุห์ตาดี บิลละห์ มกุฎราชกุมารแห่งบรูไนกัญญ์ณรัณ วงศ์ขจรไกลกรุงเทพมหานครรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยอนาคามีสนุกเกอร์พรรคก้าวไกลปีเตอร์ เดนแมนท่าอากาศยานดอนเมืองลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยจิรวรรตน์ สุทธิวณิชศักดิ์4 KINGS อาชีวะ ยุค 90จังหวัดเลยพิมประภา ตั้งประภาพรสโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโนยูเอสเอส นิมิตซ์ (CVN-68)ราชมังคลากีฬาสถานพรหมลิขิตกองทัพอากาศไทยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)การทำฝนเทียมจังหวัดสงขลารายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์Aสุภาพร มะลิซ้อนชียากู ซิลวาเมตาแคพิบาราสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสินจัย เปล่งพานิชจีเอ็มเอ็มทีวีชวลิต ยงใจยุทธธีรเดช เมธาวรายุทธอสมทสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าฟุตซอลโลกเครื่องคิดเลขพระศิวะทอร์นาโดอารยา เอ ฮาร์เก็ตปานปรีย์ พหิทธานุกรฟุตบอลทีมชาติไทยไททานิค (ภาพยนตร์)พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ประเทศบรูไนยิ่งลักษณ์ ชินวัตรโฟร์อีฟบัตเตอร์ฟลาย (วงดนตรี)รายชื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคถนนเพชรเกษมศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนาบรรดาศักดิ์อังกฤษจังหวัดตากอนิเมะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนาจีรนันท์ มะโนแจ่มหม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิตวิกิพีเดียยงยุทธ วิชัยดิษฐสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)🡆 More