กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467

กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 เป็นกฎหมายกำหนดลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ไทย ภายใต้การปกครองของราชวงศ์จักรี เรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ก่อนสิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปี 2475 เป็นที่ถกเถียงกันโดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ถึงพุทธศตวรรษที่ 24 ในปี 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทรงตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์เพื่อให้เรื่องผู้สืบราชบัลลังก์มีความชัดเจน ซึ่งประกาศและมีผลใช้บังคับในเดือนพฤศจิกายน ปี 2467 ส่วนหนึ่งเป็นความพยายามที่จะขจัดความคลุมเครือเกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์และเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งก่อนหน้านี้อย่างเป็นระบบ ในปี 2475 หลังจากที่สยามยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลายเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ได้มีการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสืบราชสันตติวงศ์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 อาศัยกฎมณเฑียรบาลฉบับนี้ในการบัญญัติหมวดว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ แต่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ไม่ได้กล่าวถึงการสืบราชสันตติวงศ์ คำปรารภของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยกเว้นหมวดที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์และการสืบราชสันตติวงศ์

กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467
กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ตราพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันตรา10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467
วันประกาศ10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467
วันเริ่มใช้11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467
การแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (มาตรา 20-21)
ภาพรวม
สืบราชบัลลังก์ของประเทศไทย

ปูมหลัง

กฎมณเฑียรบาลฉบับเดิมซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ปี 1903 ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาซึ่งเกี่ยวข้องกับการสืบราชสันตติวงศ์ไม่มีระบบที่ชัดเจนในการกำหนดผู้สืบราชสันตติวงศ์เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต โดยทั่วไปแล้ว กษัตริย์องค์ใหม่จะเป็นพระราชโอรสของอดีตกษัตริย์ซึ่งประสูติจากพระมเหสีหรือพระสนม หรือหนึ่งในพระเชษฐา/พระอนุชาของพระองค์ กฎหมายยังกำหนดให้บุคคลที่ไม่ใช่พระราชโอรสหรือพระเชษฐา/พระอนุชาของอดีตกษัตริย์สามารถขึ้นครองราชย์ได้

อย่างไรก็ตาม กฎมณเฑียรบาลไม่ได้รับประกันการสืบทอดที่ราบรื่นเสมอไป อย่างน้อยหนึ่งในสามของการสืบราชสันตติวงศ์ของกรุงศรีอยุธยาจบลงด้วยการนองเลือด เนื่องจากเกิดการแย่งชิงอำนาจบ่อยครั้งระหว่างสมาชิกราชวงศ์และขุนนางซึ่งขัดขวางความปรารถนาสุดท้ายของกษัตริย์ที่เพิ่งจากไป

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งสยามพระองค์ใหม่โดยสิทธิของผู้ชนะ หลังจากที่พระองค์พิชิตกองทัพพม่าในยุทธการที่ค่ายโพธิ์สามต้นเมื่อปี 2310 อย่างไรก็ตาม พระองค์สนับสนุนคณะสงฆ์เพื่อรักษาความชอบธรรมในการครองราชย์ แต่ในที่สุด พระองค์ก็ถูกโค่นราชบัลลังก์ด้วยการรัฐประหารในปี 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเดินทัพไปยังกัมพูชาเพื่อปราบปรามการก่อจลาจลและยกสมาชิกราชวงศ์เขมรผู้สนับสนุนสยามขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา เมื่อทราบถึงสถานการณ์ที่ร้ายแรงเต็มทีแล้ว พระองค์จึงได้ยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและโค่นล้มสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และก่อตั้งราชวงศ์จักรีขึ้นในปี 2325 โดยสถาปนาพระองค์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาพระองค์สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชโดยสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) จากวัดระฆังโฆสิตาราม กลับคืนสู่ตำแหน่ง หลังถูกปลดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรับสั่งให้ราชบัณฑิตรวบรวมและปรับปรุงกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่สูญหายและกระจัดกระจายภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายใหม่ กฎมณเฑียรบาลเป็นส่วนหนึ่งของประมวลกฎหมายใหม่ที่เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 1 ทรงตรัสไว้ว่า เพราะกฎหมายเก่ามักคลาดเคลื่อนและนำไปสู่ความอยุติธรรม

การส่งต่อราชบัลลังก์ในราชวงศ์จักรีซึ่งปฏิบัติตามกฎหมายตราสามดวงแทบไม่มีการนองเลือดเลย ส่วนหนึ่งคือการยึดถือแนวความคิดที่ว่าผู้สืบราชสันตติวงศ์ควรเป็นบุคคลที่ฉลาดและมีความสามารถมากที่สุด ทำให้การสืบราชบัลลังก์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นไปอย่างราบรื่นไม่มีการนองเลือด

การแก้กฎมณเฑียรบาล

ความจากหมวดที่ 7 ว่าด้วยการแก้กฎมณเฑียรบาลได้บัญญัติไว้ว่า

มาตรา 19 พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตรากฎมณเฑียรบาลนี้ไว้ให้เป็นราชนิติธรรมอันมั่นคง เพื่อดำรงพระบรมราชจักรีวงศ์ไว้ชั่วกาลนาน และได้ทรงใช้พระวิจารณญาณโดยสุขุม ประชุมทั้งโบราณราชประเพณีแห่งกรุงสยามตามที่ได้เคยมีปรากฏมาในโบราณราชประวัติทั้งประเพณีตามที่โลกนิยมในสมัยนี้เข้าไว้พร้อมแล้วฉะนั้นหากว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใดในอนาคตสมัยทรงพระราชดำริจะแก้ไขหรือเพิกถอนข้อหนึ่งข้อใดแห่งกฎมณเฑียรบาลนี้ก็ให้ทรงคำนึงถึงพระอุปการะคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ผู้ทรงตรากฎมณเฑียรบาลนี้ขึ้นไว้แล้วและทรงปฏิบัติตามข้อความในมาตรา 20 แห่งกฎมณเฑียรบาลนี้เถิด

มาตรา 20 ถ้าแม้เมื่อใดสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่ามีเหตุจำเป็นที่จะต้องแก้ไขหรือเพิกถอนข้อความใด ๆ แม้แต่ส่วนน้อยหนึ่งในกฎมณเฑียรบาลนี้ไซร้ท่านว่าให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนัดประชุมองคมนตรีสภา ให้มีองคมนตรีมาในที่ประชุมนั้นไม่น้อยกว่า 2 ส่วนใน 3 แห่งจำนวนองคมนตรีทั้งหมด แล้วและพระราชทานข้อความอันมีพระราชประสงค์จะให้แก้ไขหรือเพิกถอนนั้นให้สภาปรึกษากันและถวายความเห็นด้วยความจงรักภักดีซื่อสัตย์สุจริต ถ้าและองคมนตรีมีจำนวนถึง 2 ส่วนใน 3 แห่งผู้ที่มาประชุมนั้นลงความเห็นว่าควรแก้ไขหรือเพิกถอนตามพระราช ประสงค์ได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงค่อยมีพระบรมราชโองการให้แก้ไขหรือเพิกถอน แต่ถ้าแม้ว่าองคมนตรีที่มาประชุมนั้นมีผู้เห็นควรให้แก้ไขหรือเพิกถอนเป็นจำนวนไม่ถึง 2 ใน 3 แล้วไซร้ก็ขอให้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระขันติระงับพระราชดำริที่จะทรงแก้ไขหรือเพิกถอนนั้นไว้เถิด


หมายเหตุและแหล่งที่มา
เครื่องหมาย แหล่งที่มาของรายการหรือหมายเหตุเกี่ยวกับข้อยกเว้นการสืบราชสันตติวงศ์
กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467
1. ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลง และเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 แล้ว หากมิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้ ตาม"รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560" หมวด 2 พระมหากษัตริย์ มาตรา 21

2. การเสนอพระนามพระราชธิดาต่อราชบัลลังก์ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 แล้ว ดังนั้นจึงนับพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นต้นมา ในการสืบราชสันตติวงศ์ ตามรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวด้วย

หมายเหตุ

อ้างอิง

  • Aryan, Gothan (15 – 16 September 2004), Thai Monarchy, International Institute for Democracy and Electoral Assistance, Retrieved on 5 July 2006, presented in Kathmandu, Nepal
  • Grossman, Nicholas (EDT) and Faulder, Dominic (2011) King Bhumibol Adulyadej : A Life's Work: Thailand's Monarchy in Perspective. Editions Didier Millet (Succession: p. 325–333).
  • The Constitution of the Kingdom of Thailand (1997), Section 20

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ปูมหลังกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 การแก้กฎมณเฑียรบาลกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 หมายเหตุกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 อ้างอิงกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ดูเพิ่มกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 แหล่งข้อมูลอื่นกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครธงประจำพระองค์นริลญา กุลมงคลเพชรราชินีแห่งน้ำตากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ศิริลักษณ์ คองชวินโรจน์ ลิขิตเจริญสกุลตุรกีจังหวัดของประเทศไทยจังหวัดสระบุรีเพลงเอก (ฤดูกาลที่ 3)นิชคุณ ขจรบริรักษ์จริยา แอนโฟเน่ประเทศเกาหลีใต้อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์รายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่บุญชัย เบญจรงคกุลมหาวิทยาลัยขอนแก่นประเทศนิวซีแลนด์จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลจังหวัดชัยภูมิณเดชน์ คูกิมิยะบ้านฉัน..ตลกไว้ก่อน (พ่อสอนไว้)เนลสัน แมนเดลาดวงใจเทวพรหมจุลจักร จักรพงษ์วิกิพีเดียจังหวัดสมุทรปราการพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดระยองพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)กวนอิมอินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนพระโคตมพุทธเจ้าซาอุดีอาระเบียTurkeyภัณฑิรา พิพิธยากรวินัย ไกรบุตรตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภาษาสเปนเข็มทิศธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญแอน อรดีเกาหลีเหนือจังหวัดน่านเนย์มาร์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475แบตเตอรี่นาฬิกาหกชั่วโมงลุกวอตยูเมดมีดูพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรฟุตบอลทีมชาติจีนGeorge W. BushX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)28 มีนาคมจังหวัดปทุมธานีมาซาตาดะ อิชิอิแบล็กพิงก์จังหวัดพิษณุโลกณัฐธิชา นามวงษ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีโดราเอมอนปีนักษัตรนนท์ อัลภาชน์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)ราณี แคมเปนหม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุลสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลวรกมล ชาเตอร์ราชมังคลากีฬาสถานประเทศเม็กซิโก🡆 More