สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1: พระมหากษัตริย์ไทย

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ พระเจ้าอู่ทอง (3 เมษายน พ.ศ.

1857 – พ.ศ. 1912) เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา: 222  ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 1912 ทรงพระนามว่าพระเจ้าอู่ทองก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 1893 มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับภูมิหลังของพระเจ้าอู่ทอง รวมทั้งอาจเป็นเชื้อสายของพ่อขุนมังราย

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1: พระปรมาภิไธย, พระราชประวัติ, พระราชกรณียกิจ
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์12 มีนาคม พ.ศ. 1893 – 1912 (19 ปี 0 วัน)
ก่อนหน้าสถาปนาอาณาจักร
ถัดไปสมเด็จพระราเมศวร
พระราชสมภพ3 เมษายน พ.ศ. 1857
สวรรคตพ.ศ. 1912 (55 พรรษา)
มเหสีไม่ปรากฏพระนาม (พระกนิษฐาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1)
พระราชบุตรสมเด็จพระราเมศวร
ราชวงศ์อู่ทอง

พระปรมาภิไธย

  • สมเด็จพระรามาธิบดี (หลังจากขึ้นครองราชย์)
  • พระเจ้าอู่ทอง (กษัตริย์ผู้ครองเมืองอู่ทองแคว้นสุพรรณภูมิ)
  • สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทร บรมมหาจักรพรรดิศรราชาธิราช (ในโองการแช่งน้ำ)
  • สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสุนทรบรมจักรพัตราธิราช (ในกฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์)
  • สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุรินทร บรมจักรพรรดิศร บวรมหาธรรมิกราชาธิราช (ในกฎหมายลักษณะอาญาหลวง)

พระราชประวัติ

จดหมายเหตุโหรระบุว่าพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีเสด็จพระราชสมภพวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จ.ศ. 676 (ตรงกับวันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 1857) ได้ทรงสถาปนาเมืองหลวงขึ้นในบริเวณที่หนองโสนเมื่อ จ.ศ. 712 ปีขาล โทศก วันศุกร์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 เวลา 3 นาฬิกา 9 บาท ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 หรือ 12 มีนาคม พ.ศ. 1893 ตามปฏิทินไทยสากลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เมื่อครองราชย์ได้รับเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ถึงปีระกา พ.ศ. 1912 เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 19 ปี

แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าพระองค์พระราชสมภพที่ไหน และมาจากเมืองไหน เอกสารทางประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ทั้งไทยและต่างประเทศขัดแย้งกัน โดยมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับที่มาของพระเจ้าอู่ทองสรุปได้ดังนี้

    แนวความคิดที่ 1

จดหมายเหตุลาลูแบร์ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ ระบุว่าพระเจ้าอู่ทองอพยพมาจากเชียงแสน

    แนวความคิดที่ 2

จดหมายเหตุวันวลิตระบุว่าทรงอพยพมาจากเมืองเพชรบุรี

    แนวความคิดที่ 3

ชินกาลมาลีปกรณ์และพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ว่าพระเจ้าอู่ทองมาจากละโว้

    ตามหลักฐานและโบราณคดี

ทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ในแนวคิดที่ 4 5 และ 6 สามารถผนวกรวมกันได้ กล่าวคือ เมื่อพิจารณาตำนานทั้งหลายแล้ว เจ้าชายวรเชษฐ์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมราชา กษัตริย์แห่งอาณาจักรละโว้ (แนวความคิดที่ 6) ต่อมาพระราชชนกโปรดให้ไปครองเมืองพริบพรี (แนวความคิดที่ 4) และหลังจากพระราชชนกเสด็จสวรรคตแล้ว ทรงกลับมาครองเมืองอโยธยา (แนวความคิดที่ 5) จากนั้นจึงเกิดโรคระบาด จึงทรงย้ายที่ตั้งเมืองมายังตำแหน่งปัจจุบัน

พระราชกรณียกิจ

การสถาปนากรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712 ตรงกับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี แล้วโปรดให้ขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระมเหสีเป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ไปครองเมืองสุพรรณบุรี ส่วนพระราเมศวร รัชทายาทให้ไปครองเมืองลพบุรี

การสงครามกับเขมร

ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระองค์ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย แม้กระทั่ง ขอม ซึ่งก็เป็นมาด้วยดีจนกระทั่งกษัตริย์ขอมสวรรคต เนื่องจากการปฏิวัติขอมของนายแตงหวาน ชนชั้นแรงงานได้ยึดอำนาจจากชนชั้นปกครอง และครองเมืองแทนซึ่งรู้จักในนาม พระบาทตระซ็อกประแอม หรือ (เขมร: ត្រសក់ផ្អែម) หรือพระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 (ព្រះបាទស្រីសុរិយោពណ៌ទី១) ซึ่งพระราชนัดดานาม พระบรมลำพงศ์ ทรงขึ้นครองราชย์ ซึ่งพระบรมลำพงศ์ก็แปรพักตร์ไม่เป็นไมตรีดังแต่ก่อน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จึงให้สมเด็จพระราเมศวรยกทัพไปตีกัมพูชา และให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ทรงยกทัพไปช่วย เพื่อเป็นการล้างแค้นให้กับพระสหาย พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 จึงสามารถตีเมืองนครธมแตกได้ พระบรมลำพงศ์สวรรคตในศึกครั้งนี้ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงแต่งตั้ง พระราชโอรสเป็นกษัตริย์ปกครองอังกอร์ .. จนกระทั่งเมื่อน้องชายของพระบรมลำพงศ์ซึ่งไปลี้ภัยในประเทศลาวได้ยึดเมืองกลับคืนมาและได้สวมมงกุฎที่นั่นในนามพระเจ้าศรยวงศ์ที่ 1

ตรากฎหมาย

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงประกาศใช้กฎหมายถึง 10 ฉบับ ในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่

  • พระราชบัญญัติลักษณะพยาน
  • พระราชบัญญัติลักษณะอาญาหลวง
  • พระราชบัญญัติลักษณะรับฟ้อง
  • พระราชบัญญัติลักษณะลักพา
  • พระราชบัญญัติลักษณะอาญาราษฎร์
  • พระราชบัญญัติลักษณ์โจร
  • พระราชบัญญัติเบ็ดเสร็จว่าด้วยที่ดิน
  • พระราชบัญญัติลักษณะผัวเมีย
  • พระราชบัญญัติลักษณะโจรว่าด้วยโจร

ในประวัติศาสตร์บางแหล่งบอกว่ามีมากกว่านี้ แต่เท่าที่หาหลักฐานได้ มีเพียงเท่านี้เท่านั้น

การศาสนา

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างวัดต่าง ๆ เช่น วัดพุทไธศวรรย์ (สร้างปี พ.ศ. 1876) วัดป่าแก้ว (สร้างปี พ.ศ. 1900) และวัดพระราม (สร้างปี พ.ศ. 1912)

การสงครามกับสุโขทัย

รัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยานั้นคาบเกี่บวกับรัชสมัยของ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย ช่วงนั้นเป็นช่วงที่สุโขทัยมิอาจต้านทานความแข็งแกร่งของอยุธยาได้ แม้ว่าพระมหาธรรมราชาลิไท จะเสด็จไปประทับที่สองแคว (พิษณุโลก) เพื่อเตรียมรับศึกอยุธยาแล้วก็ตาม

แต่สุดท้ายพระมหาธรรมราชาลิไทก็ได้เจรจาประนีประนอมยอมให้กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีคู่กับสุโขทัย และทั้งสองนครนี้ก็เป็นไมตรีต่อกันมาจนตลอดรัชกาลของพระองค์

การค้าขาย และสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ

ในด้านไมตรีกับต่างประเทศในสมัยเมื่อสร้างกรุงศรีอยุธยานั้น ฝรั่งกับญี่ปุ่นยังไม่มีมาค้าขาย แต่การไปมาค้าขายกับเมืองจีน, แขก, จาม, ชวา, มลายู ตลอดจนอินเดีย, เปอร์เซีย และ ลังกานั้นไปถึงกันมานานแล้ว

สำหรับการค้าขายกับจีนนั้น ราชวงศ์อู่ทองของไทย ตรงกับราชวงศ์หมิงของจีน พระเจ้าหงอู่ แห่งราชวงศ์หมิงเมื่อทราบว่ากรุงศรีอยุธยาตั้งเป็นอิสรภาพก็แต่งให้ หลุย จงจุ่น เป็นราชทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรีถึงกรุงศรีอยุธยา พระองค์จึงแต่งให้ราชทูตออกไปเมืองจีนพร้อมกับราชทูตจีน เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนในคราวนั้นด้วย

พระโอรส

อ้างอิง

    เชิงอรรถ
    บรรณานุกรม
  • จิตร ภูมิศักดิ์. ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา. ดวงกมล : กรุงเทพฯ, 2524. ISBN 9742103429
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ถัดไป
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1: พระปรมาภิไธย, พระราชประวัติ, พระราชกรณียกิจ  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1: พระปรมาภิไธย, พระราชประวัติ, พระราชกรณียกิจ 
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์อู่ทอง

(พ.ศ. 1893-1912)
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1: พระปรมาภิไธย, พระราชประวัติ, พระราชกรณียกิจ  สมเด็จพระราเมศวร
(พ.ศ. 1912-1913)

Tags:

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระปรมาภิไธยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระราชประวัติสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระราชกรณียกิจสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระโอรสสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 อ้างอิงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ดูเพิ่มสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1พ่อขุนมังรายอาณาจักรอยุธยา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เสกสรรค์ ศุขพิมายภาคภูมิ ร่มไทรทองมรรคมีองค์แปดพฤษภาคมรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยกพล ทองพลับอีเอฟแอลแชมเปียนชิปเฟซออฟบิวตีอินเตอร์เนชันแนลสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวชสโมสรฟุตบอลฌีรงแด็งเดอบอร์โดธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์นิชคุณ ขจรบริรักษ์นฤมล พงษ์สุภาพจังหวัดตราดอมีนา พินิจสาธุ (ละครโทรทัศน์)สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าสมณะโพธิรักษ์เดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์ฟุตซอลทีมชาติไทยหมากรุกไทยรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครอแมนด้า ออบดัมเนย์มาร์สาวิกา ไชยเดชโชเซ มูรีนโยพิจักขณา วงศารัตนศิลป์อุรัสยา เสปอร์บันด์จักรพรรดิเฉียนหลงประเทศจอร์เจียรายชื่อตอนในโปเกมอนเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์วันไหลทักษิณ ชินวัตรพระพุทธเจ้าสุภัคชญา ชาวคูเวียงสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดทุเรียนปีนักษัตรจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นคริสเตียโน โรนัลโดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไค ฮาเวิทซ์1ภรภัทร ศรีขจรเดชารายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)รายชื่อบริษัทมหาชนในประเทศไทยจังหวัดมหาสารคามสหรัถ สังคปรีชาต่าย อรทัยพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดพะเยาซีเนดีน ซีดานสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลจังหวัดสมุทรปราการตะวัน วิหครัตน์จังหวัดอำนาจเจริญมหาเวทย์ผนึกมารร่างทรง (ภาพยนตร์)รายชื่อตัวละครในกังฟูแพนด้าประเทศรัสเซียพิศวาสฆาตเกมส์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอนภาคกลาง (ประเทศไทย)รามาวดี นาคฉัตรีย์ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองICD-10วันวิสาขบูชาวอน (สกุลเงินเกาหลีใต้)การบินไทยการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475อนุทิน ชาญวีรกูล🡆 More