พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป (27 สิงหาคม พ.ศ.

2404 – 28 มกราคม พ.ศ. 2479) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง เป็นต้นราชสกุลชยางกูร ทรงเคยดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอธิบดีกรมพิพิธภัณฑ์พระองค์แรก

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป
อธิบดีกรมพิพิธภัณฑ์
ดำรงตำแหน่ง5 เมษายน พ.ศ. 2430
ประสูติ27 สิงหาคม พ.ศ. 2404
สิ้นพระชนม์28 มกราคม พ.ศ. 2479 (74 ปี)
พระราชทานเพลิง27 มกราคม พ.ศ. 2480
พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส
หม่อม7 คน
พระบุตร23 องค์
ราชสกุลชยางกูร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประทับยืนพระองค์ที่ 2 จากขวา

พระประวัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 55 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง พระสนมเอก (ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)) เมื่อวันอังคาร เดือน 9 แรม 6 ค่ำ ปีระกาตรีศก จ.ศ. 1223 ตรงกับวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2404 มีพระโสทรภราดาและพระโสทรภคินีได้แก่

  1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ
  2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสวตรวรลาภ
  3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ
  4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร
  5. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา
  6. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง
  7. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง
  8. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช
  9. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์

พระองค์มีศักดิ์เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี (พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเจ้าจอมมารดาทองสุก ในรัชกาลที่ 1) พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยพระองค์สืบเชื้อสายมาจากนายจำปา ณ เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าจอมมารดาทองสุก ที่เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอินทวงศ์แห่งเวียงจันทน์

ปี พ.ศ. 2417 ขณะมีพระชันษาได้ 13 ปี ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมา ปี พ.ศ. 2424 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมิวเซียมหลวง ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพิพิธภัณฑ์พระองค์แรก เมื่อ พ.ศ. 2430 ภายหลังจากที่ยกฐานะเป็นกรม หนึ่งในกระทรวงธรรมการ ทรงรับราชการกรมชลประทาน ทรงอำนวยการขุดคลองตั้งแต่คลองสิบสี่ถึงคลองยี่สิบเอ็ดในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นนายด่าน ควบคุมการซ่อมแปลงพระที่นั่ง ทรงทำฉัตรทองนาคเงิน 9 ชั้นในการพระเมรุกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และทรงปฏิสังขรณ์พระอารามต่าง ๆ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรี (เดิมคือ ปรีวีเคาน์ซิล) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 ในปี พ.ศ. 2445 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมรรคนายกวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร อีกทั้งยังทรงเป็นกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร โดยทรงดำรงตำแหน่งเป็นสภานายก เลขาธิการ สารานิยกร ผู้ช่วยเหรัญญิก และปฏิคม นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์หนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปทรงเปลื้องเครื่องพระศรีรัตนศาสดาราม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป มุสิกนาม ทรงศักดินา 15000 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 พร้อมทั้งพระราชทานเครื่องยศอันประกอบด้วย พระมาลาเส้าสะเทิน, ประคำทอง, ฉลองพระองค์เข้มขาบจีบเอว, เจียรบาด, พระแสงดาบญี่ปุ่นฝักถม, กากระบอกถาดรองทองคำ, และหีบหมากเสวยทองคำลงยาตรามงกุฏ

ต่อมาวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเปลี่ยนคำนำพระนามเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

การสิ้นพระชนม์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เมื่อวันอังคาร ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีกุน สัปตศก จ.ศ. 1297 ตรงกับวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2478 (หรือ พ.ศ. 2479 ตามปฏิทินใหม่) สิริพระชันษา 74 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2479 (หรือ พ.ศ. 2480 ตามปฏิทินใหม่)

สาเหตุการสิ้นพระชนม์นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงระบุไว้ใน สาส์นสมเด็จ ว่า "เกล้ากระหม่อมได้ไปเยี่ยมประชวรเมื่อวันที่ 27 ได้ความว่า ทรงรื่นเริงตรุษจีน มีการเลี้ยง เสวยหมูหันแล้วเที่ยวทรงรถกลางคืนตากอากาศหนาว ทำให้ประชวรพระอุทรเสียและพระปัปผาสะอักเสบ"

พระโอรสและธิดา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป มีหม่อม 7 คน ได้แก่

  • หม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา
  • หม่อมบัว ชยางกูร ณ อยุธยา
  • หม่อมพร้อม ชยางกูร ณ อยุธยา
  • หม่อมละม้าย ชยางกูร ณ อยุธยา
  • หม่อมถม ชยางกูร ณ อยุธยา
  • หม่อมศรี ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุญยมาลิก)
  • หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุญยมาลิก)

มีพระโอรส 15 องค์ และมีพระธิดา 8 องค์ รวม 23 องค์ ได้แก่

ลำดับ พระรูปและพระนาม เพศ พระมารดา ประสูติ สิ้นชีพิตักษัย เสกสมรส/คู่สมรส
1
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร ป.ช. ป.ม. ท.จ.ว. (องคมนตรี)
ช. หม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2424 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 หม่อมเจ้าผุดผ่องพรรณ ชยางกูร
หม่อมเนื่อง
หม่อมเชื้อ
2
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร
ช. หม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2430 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 หม่อมเจ้าเฉลียววรรณมาลา
หม่อมศิลา
3
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้าพักตร์พิสุทธิ์ ชยางกูร
ญ. หม่อมบัว ชยางกูร ณ อยุธยา 26 มกราคม พ.ศ. 2435 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508
4
ไฟล์:หม่อมเจ้าผุดผ่องพรรณ ชยางกูร.jpg
หม่อมเจ้าผุดผ่องพรรณ ชยางกูร
ญ. หม่อมพร้อม ชยางกูร ณ อยุธยา 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 พ.ศ. 2508 หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร
5
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้าฉันทวิเชียร ชยางกูร
ญ. หม่อมพร้อม ชยางกูร ณ อยุธยา พ.ศ. 2437 พ.ศ. 2464
6
ไฟล์:หม่อมเจ้าลักษณเลิศ.JPG
หม่อมเจ้าลักษณ์เลิศ ชยางกูร
ช. หม่อมละม้าย ชยางกูร ณ อยุธยา 6 ธันวาคม พ.ศ. 2439 1 เมษายน พ.ศ. 2518 หม่อมน้อมสิริ
7
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
พิศเพี้ยนแขไข หรือพิศเพียงแขไข วณิกสัมบัน
ญ. หม่อมพร้อม ชยางกูร ณ อยุธยา 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 พ.ศ. 2523 เพิ่ม วณิกสัมบัน
8
ไฟล์:หม่อมเจ้าประเสริฐศรี.JPG
หม่อมเจ้าประเสริฐศรี ชยางกูร ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว.
ช. หม่อมละม้าย ชยางกูร ณ อยุธยา 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 21 ตุลาคม พ.ศ. 2534 หม่อมเจริญศรี
9
ไฟล์:หม่อมเจ้านิลประภัศร.JPG
หม่อมเจ้าทวีผล ชยางกูร
ช. หม่อมละม้าย ชยางกูร ณ อยุธยา 10 ธันวาคม พ.ศ. 2444 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 หม่อมฉอ้อน
10
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้า
ช. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล 11 มิถุนายน พ.ศ. 2446
11
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้ามงคลอุดม ชยางกูร
ช. หม่อมละม้าย ชยางกูร ณ อยุธยา 4 ตุลาคม พ.ศ. 2446 2 กันยายน พ.ศ. 2518 หม่อมเจ้าอุบลเกษร
หม่อมลมูล
12
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
ประไพพงศ์ ศิริเวทิน
ญ. หม่อมถม ชยางกูร ณ อยุธยา 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ขุนสมบูรณ์ยุทธศิลป์ (สมบูรณ์ ศิริเวทิน)
13
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร
ช. หม่อมถม ชยางกูร ณ อยุธยา 19 เมษายน พ.ศ. 2452 19 สิงหาคม พ.ศ. 2530 หม่อมแมรี
หม่อมละไม
14
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้าทิพย์ลักษณ์สุดา ชยางกูร
ญ. หม่อมถม ชยางกูร ณ อยุธยา 10 เมษายน พ.ศ. 2454 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 ขุนประทนคดี
15
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้าโสภาเพียงจันทร์ จันทรทัต
ญ. หม่อมถม ชยางกูร ณ อยุธยา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2455 20 กันยายน พ.ศ. 2524 หม่อมเจ้าอุรคินทร์ จันทรทัต
16
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้าสรรพไชยา ชยางกูร
ช. หม่อมถม ชยางกูร ณ อยุธยา 20 มีนาคม พ.ศ. 2458 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2469
17
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้าจุฬาชัย ชยางกูร
ช. หม่อมศรี ชยางกูร ณ อยุธยา 27 มกราคม พ.ศ. 2463 5 ธันวาคม พ.ศ. 2534 หม่อมเสงี่ยม
หม่อมปลิว
18
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้าฤทัยเที่ยง ชยางกูร
ช. หม่อมศรี ชยางกูร ณ อยุธยา 22 มกราคม พ.ศ. 2465 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 หม่อมรจิต
19
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร
ช. หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา 30 เมษายน พ.ศ. 2467 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 หม่อมชมชื่น
20
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้าวราชัย ชยางกูร
ช. หม่อมศรี ชยางกูร ณ อยุธยา 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 เมษายน พ.ศ. 2558 หม่อมชูศรี
21
ไฟล์:หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร.jpg
หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร
ญ. หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา 1 มิถุนายน พ.ศ. 2473 ยังมีชนม์ชีพ
22
ไฟล์:หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช.JPG
หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร
ช. หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา 10 มกราคม พ.ศ. 2476 ยังมีชนม์ชีพ หม่อมจรุงใจ
23
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
หม่อมเจ้า
ช. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล

สถานที่และสิ่งสืบเนื่องด้วยพระนาม

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต (27 สิงหาคม พ.ศ. 2404 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

อ้างอิง

    เชิงอรรถ
    บรรณานุกรม
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 69. ISBN 978-974-417-594-6
  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป  กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
(24 – 28 มกราคม พ.ศ. 2479)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

Tags:

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป พระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป การสิ้นพระชนม์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป พระโอรสและธิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป สถานที่และสิ่งสืบเนื่องด้วยพระนามพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป พระเกียรติยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป พงศาวลีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป อ้างอิงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป แหล่งข้อมูลอื่นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหมวดหมู่:ราชสกุลชยางกูรองคมนตรีเจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารอนุดิษฐ์ นาครทรรพอิทธิบาท 4จังหวัดปทุมธานีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566หัสวีร์ ภัคพงษ์ไพศาลสมคิด จาตุศรีพิทักษ์อินดี จอห์นสันรายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากรศึกโลกเวทมนตร์คนพลังกล้ามสโมสรกีฬาฟุตบอลนาโปลีรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557สุรบถ หลีกภัยไทยลีกชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัคมหาวิทยาลัยกรุงเทพแฟนผมเป็นประธานนักเรียนจังหวัดสุราษฎร์ธานีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566สถานีกลางบางซื่อคนละขอบฟ้าวรินทร ปัญหกาญจน์ทรานส์ฟอร์เมอร์ส (ภาพยนตร์ชุด)สโมสรฟุตบอลเชลซีมิสแกรนด์แพร่ดาวิกา โฮร์เน่มิสแกรนด์ภูเก็ตห้างทอง ธรรมวัฒนะรัฐภูมิ โตคงทรัพย์สโมสรฟุตบอลคริสตัลพาเลซวงศ์ปลาวัวบาการาณภศศิ สุรวรรณจังหวัดตากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทราอริยสัจ 4แจ็กสัน หวังอิม จี-ย็อนขุนพันธ์ 3อายุที่มีสิทธิ์เลือกตั้งศาสนาอิสลามประเทศไทยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลดอลลาร์สหรัฐรายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)จัน ดารา (ภาพยนตร์ทวิภาค)บรรดาศักดิ์อังกฤษราชวงศ์ชิงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงโฟร์อีฟศรัณย์ ศิริลักษณ์เสกสกล อัตถาวงศ์ซน เย-จินเกาะเสม็ดวิชาญ มีนชัยนันท์มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2023สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2023ทวีพร พริ้งจำรัสปรภัสสร วรสิรินดาเกิร์ลลีเบอร์รีพฤษภาคมวรันธร เปานิลจังหวัดสงขลาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540แทยังอาตาลันตาแบร์กามัสกากัลโชฟุตบอลโลกภาคกลาง (ประเทศไทย)อัน ฮโย-ซ็อบวัดโสธรวรารามวรวิหารบ้านสราญแลนด์ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2565–66ฟุตบอลโลก 2022ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ชวลิต ยงใจยุทธไทยลีก 2ตี๋ลี่เร่อปาพานทองแท้ ชินวัตร🡆 More