สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พ.ศ.

2254 – 2311) พระนามเดิม ทองดี เป็นสมเด็จพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องด้วยทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พระราชานุสาวรีย์ ณ เขาสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี
สมุหนายกเมืองพิษณุโลก
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2310 - 2311
รัชสมัยพระเจ้าพิศณุโลก (เรือง)
พระเจ้าพิศณุโลก (จัน)
พระราชสมภพพ.ศ. 2254
บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี อาณาจักรอยุธยา
ทองดี
สวรรคตพ.ศ. 2311 (57 ปี): 110 
เมืองพิษณุโลก ชุมนุมพิษณุโลก
ถวายพระเพลิงพ.ศ. 2339
พระเมรุมาศ ทุ่งพระเมรุ
บรรจุพระบรมอัฐิหอพระธาตุมณเฑียร
พระชายาพระอัครชายา
พระน้องนางของพระอัครชายา
เจ้าจอมมารดามา
พระราชบุตร
วัดประจำรัชกาล
วัดสุวรรณดาราราม: 24 
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระยาราชนิกูล
ศาสนาเถรวาท

พระราชประวัติ

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เสด็จพระราชสมภพที่บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี เป็นบุตรพระองค์ใหญ่ของพระยาราชนิกูล (ทองคำ): 118, 134 : 102–103  ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย: 13  (บ้างก็ว่า กรมนา[ใคร?][ต้องการอ้างอิง]) ในรัชกาลสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เสนาบดีพระคลังในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นออกพระวิสุทธสุนทร และได้เดินทางไปถวายพระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยังราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2228

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ทรงรับราชการในกรมมหาดไทย รับบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงพินิจอักษร และ พระอักษรสุนทรศาสตร์ ในตำแหน่งเสมียนตรากรมมหาดไทย มีหน้าที่ร่างพระราชสาส์นโต้ตอบกับหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเก็บรักษาพระราชลัญจกร และทรงรับบรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็น เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ ที่เมืองพิษณุโลก ได้รับสถาปนาบรรดาศักดิ์โดยเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) พระบุตร ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงนำนามตำแหน่ง เจ้าพระยาจักรี ของพระราชบิดา และตำแหน่ง เจ้าพระยาจักรี ของพระองค์ซึ่งรับราชกาลมาแต่ครั้งกรุงธนบุรีมาตั้งเป็นนามราชวงศ์จักรี: 13 

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เสกสมรสกับสองพี่น้องบุตรีของคหบดีชาวจีน คนพี่ชื่อว่า ดาวเรือง (หรือ หยก) ส่วนคนน้อง ไม่ทราบนาม ตั้งบ้านเรือนอยู่ภายในกำแพงพระนคร ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณป้อมเพชร ซึ่งเป็นย่านอาศัยของชาวจีน

พระราชโอรส-ธิดา

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก มีพระโอรส-ธิดา กับพระอัครชายา (หยก) 5 พระองค์ คือ

  1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (พ.ศ. 2272 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342)
  2. สมเด็จพระเจ้าขุนรามณรงค์
  3. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (สิ้นพระชนม์ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2342)
  4. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (20 มีนาคม พ.ศ. 2280 – 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
  5. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (19 กันยายน พ.ศ. 2286 – 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2346)

มีพระธิดาอีก 1 พระองค์ ที่ประสูติแต่พระน้องนางของพระอัครชายา คือ

  1. พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (สิ้นพระชนม์ราว พ.ศ. 2370)

และมีพระโอรสอีก 1 พระองค์ เกิดแต่บาทบริจาริกาชื่อว่า มา คือ

  1. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา (พ.ศ. 2303 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2350)

สวรรคต

ช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 ก่อนที่จะเสียกรุง พระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) พร้อมด้วยคุณมา ภรรยา (ต่อมาคือ เจ้าจอมมารดามา) และนายลา (ต่อมาสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา) บุตรคนสุดท้องลี้ภัยออกจากกรุงศรีอยุธยาไปรับราชการกับเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ซึ่งตั้งตนเป็นกษัตริย์อยู่ทางเหนือ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายกเสนาบดี ที่เมืองพิษณุโลก รับราชการกระทั่งชุมนุมพิษณุโลก (เรือง) ตกไปเป็นของชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ไม่นานนักเจ้าพระยาจักรี (ทองดี) จึงได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2311: 110  นายลาและมารดา จึงได้ทำการฌาปนกิจศพตามสมควรในเวลานั้น ต่อมาจึงเชิญอัฐิบรรจุในมหาสังข์ มามอบแด่พระยาอไภยรณฤทธิ์ (รัชกาลที่ 1) ที่กรุงธนบุรี

พระมหาสังข์องค์นี้เป็นสังข์เวียนซ้าย ความยาว 20 เซนติเมตร ริ้วเวียนรอบหัวสังข์และปากสังข์เลี่ยมทองคำสลักลายฝังพลอย ข้างในท้องสังข์มีดอกมะเขือฝังนพเก้า ร่องปลายปากสังข์จารึกอักขระ อุมีมังสีทองคำลงยารองรับ ถือเป็นพระมหาสังข์คู่บ้านคู่เมือง ใช้หลั่งน้ำพระราชทานแก่ราชสกุล ในงานสมรสพระราชทาน กราบถวายบังคมลาไปปฏิบัติราชการต่างประเทศ ในรัชกาลต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิของพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2338 เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่ และมีเครื่องมหรสพสมโภช เหมือนอย่างงานพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา

พระเมรุมาศก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2339 ได้มีพิธีแห่พระบรมอัฐิออกสู่พระเมรุมาศ มีมหรสพสมโภชเป็นเวลา 7 วัน เมื่อถวายพระเพลิง ไม่ได้ถวายพระเพลิงมากจะถวายพระเพลิงแต่พอควรเพราะแต่เดิมแล้วเป็นพระบรมอัฐิ เมื่อเสร็จพระราชพิธีถวายพระเพลิงแล้วได้อญเชิญพระบรมอัฐิกลับมาประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยังได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมากรปางห้ามสมุทร หุ้มทองคำประดับเนาวรัตน์ขึ้นองค์หนึ่ง ถวายพระนามว่าพระพุทธจักรพรรดิ ทรงอุทิศส่วนพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระพุทธรูปพระองค์นี้ประดิษฐานไว้ ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

พระราชานุสาวรีย์

จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประดิษฐานอยู่ ณ เขาแก้ว (เขาสะแกกรัง-ปัจจุบัน) ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ทอดขนานกับแม่น้ำสะแกกรัง เมื่อ พ.ศ. 2514 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2522

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

มีนักแสดงผู้รับบท สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ได้แก่

พระอิสริยยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
การทูลใต้ฝ่าละอองพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้า/เพคะ

บรรดาศักดิ์

    สมัยกรุงศรีอยุธยา
  • ทองดี (พ.ศ. 2254 – พ.ศ. 2275)
  • หลวงพินิจอักษร: 103  (รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
  • พระพินิจอักษร: 8  หรือ พระอักษรสมบูรณ์: 41  (รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
  • พระอักษรสุนทรศาสตร์: 103  (พ.ศ. 2301 – พ.ศ. 2310)
    สมัยกรุงธนบุรี

ระหว่างการจลาจลหลังเสียงกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พ.ศ. 2310–11

  • เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี อภัยพิริยบรากรมภาหุ: 144  (พ.ศ. 2310 – พ.ศ. 2311) ที่เมืองพิษณุโลก

พระอิสริยยศ

    สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 1

  • สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก หรือ สมเด็จพระเจ้าปฐมบรมมหาชนก: 23 : 45  (พ.ศ. 2339)

พงศาวลี

อ้างอิง

    เชิงอรรถ
    บรรณานุกรม
  • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปฐมวงศ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, 2470. 75 หน้า.
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. ISBN 978-974-417-594-6

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระราชประวัติสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระราชโอรส-ธิดาสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สวรรคตสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ในวัฒนธรรมสมัยนิยมสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระอิสริยยศสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พงศาวลีสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก อ้างอิงสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก แหล่งข้อมูลอื่นสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชราชวงศ์จักรี

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พ.ศ. 2564ประเทศไต้หวันจิรภพ ภูริเดชFace Off แฝดคนละฝาธนาคารไทยพาณิชย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเก็จมณี วรรธนะสินอนิเมะรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชโลจิสติกส์รายชื่อสัตว์Aฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปกูเกิล แผนที่ประเทศมัลดีฟส์โดราเอมอนพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมตาเรโทรสเปกต์จังหวัดเชียงรายบรูโน มาส์อนุทิน ชาญวีรกูลกีบ (สกุลเงิน)สืบคดีปริศนา หมอยาตำรับโคมแดงชานน สันตินธรกุลชีอะฮ์สติปัฏฐาน 4ระบบคิม จี-ว็อน (นักแสดง)อี โด-ฮย็อนจังหวัดนครราชสีมาก็อตซิลลาฟุตบอลทีมชาติบราซิลโทกูงาวะ อิเอยาซุไวยาวัจกรประเทศเนเธอร์แลนด์ละหมาดพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดร้อยเอ็ดมุฮัมมัดสงครามเย็นจีเมลเขตพื้นที่การศึกษาชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองศิรพันธ์ วัฒนจินดาสุภโชค สารชาติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศอินเดียดนุพร ปุณณกันต์รายชื่อเครื่องดนตรีชาติชาย ชุณหะวัณไดโนเสาร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บรูซ วิลลิสกรุงเทพมหานครและปริมณฑลธนวรรธน์ วรรธนะภูติหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกราณี แคมเปนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีหน้าหลักสโมสรฟุตบอลเชลซีชวน หลีกภัยจังหวัดชุมพรสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโรประเทศเปรูสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พระพรหมซิลลี่ ฟูลส์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีประเทศอังกฤษอินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเอก อังสนานนท์เมธวิน โอภาสเอี่ยมขจรโรงเรียนสตรีวิทยา🡆 More