แอสไพริน

แอสไพริน (อังกฤษ: aspirin) (BAN, USAN) หรือกรดอะซีทัลซาลิซิลิก (อังกฤษ: acetylsalicylic acid, ASA) เป็นยาซาลิซิเลต มักใช้เป็นยาระงับปวด ยาลดไข้และยาแก้อักเสบ แอสไพรินยังมีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือดโดยยับยั้งการผลิตทรอมบ็อกเซน ซึ่งปกติเชื่อมโมเลกุลเกล็ดเลือดเข้าด้วยกันเพื่อสร้างปื้นเหนือผนังหลอดเลือดที่เสียหาย เนื่องจากปื้นเกล็ดเลือดสามารถใหญ่เกินไปได้และยังขัดขวางการไหลของเลือด ทั้งเฉพาะที่และที่อยู่หลังจากนั้น แอสไพรินยังใช้ระยะยาวที่ขนาดต่ำเพื่อช่วยป้องกันอาการหัวใจล้ม โรคหลอดเลือดสมองและการเกิดลิ่มเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเกิดลิ่มเลือด นอกจากนี้ อาจให้แอสไพรินขนาดต่ำทันทีหลังอาการหัวใจล้มเพื่อลดความเสี่ยงอาการหัวใจลมอีกหนและการตายของเนื้อเยื่อหัวใจ แอสไพรินอาจให้ผลป้องกันมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่

แอสไพริน
แอสไพริน
แอสไพริน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่ออื่น2-acetoxybenzoic acid
acetylsalicylate
acetylsalicylic acid
O-acetylsalicylic acid
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa682878
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: C
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด)
  • ในไตรมาสที่ 3 เป็น US category D
ช่องทางการรับยาส่วนใหญ่ทางปาก ไส้ตรง ไลซีนอะซีทัลซาลิซิลิกอาจให้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S2 (ในร้านยาเท่านั้น)
  • UK: General sales list (GSL, OTC)
  • US: OTC
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล80–100%
การจับกับโปรตีน80–90%
การเปลี่ยนแปลงยาตับ, (CYP2C19 และอาจ CYP3A), บ้างถูกสลายด้วยน้ำเป็นซาลิซิเลตในผนังลำไส้
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพขึ้นกับขนาด; 2–3 ชั่วโมง ณ ขนาดต่ำ, 15–30 ชั่วโมงสำหรับขนาดสูง
การขับออกปัสสาวะ (80–100%), เหงื่อ, น้ำลาย, อุจจาระ
ตัวบ่งชี้
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
PDB ligand
ECHA InfoCard100.000.059
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC9H8O4
มวลต่อโมล180.157 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
ความหนาแน่น1.40 g/cm3
จุดหลอมเหลว136 องศาเซลเซียส (277 องศาฟาเรนไฮต์)
จุดเดือด140 องศาเซลเซียส (284 องศาฟาเรนไฮต์) (สลายตัว)
การละลายในน้ำ3 mg/mL (20 °C)
SMILES
  • O=C (Oc1ccccc1C (=O) O) C
InChI
  • InChI=1S/C9H8O4/c1-6 (10) 13-8-5-3-2-4-7 (8) 9 (11) 12/h2-5H, 1H3, (H, 11, 12) checkY
  • Key:BSYNRYMUTXBXSQ-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
แอสไพริน สารานุกรมเภสัชกรรม

ฤทธิ์ข้างเคียงหลักของแอสไพริน คือ แผลกระเพาะและลำไส้ เลือดไหลในกระเพาะอาหารและเสียงในหู โดยเฉพาะในขนาดสูง ในเด็กและวัยรุ่น ไม่แนะนำแอสไพรินสำหรับอาการคล้ายหวัดหรือการเจ็บป่วยจากไวรัส เพราะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการไรย์ (Reye's syndrome)

แอสไพรินอยู่ในกลุ่มยารักษาโรคชื่อ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs) แต่กลไกออกฤทธิ์ของมันต่างจาก NSAIDs อื่นส่วนมาก แม้มันและยาอื่นที่มีโครงสร้างคล้ายกัน เรียก ซาลิซิเลต มีฤทธิ์คล้ายกับ NSAIDs (ลดไข้ แก้อักเสบ ระงับปวด) และยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส (cyclooxygenase, COX) ตัวเดียวกัน แต่แอสไพรินยับยั้งแบบผันกลับไม่ได้ และไม่เหมือนยาอื่น มีผลกับเอนไซม์ COX-1 มากกว่า COX-2

เอ็ดเวิร์ด สโตน แห่งวิทยาลัยวอแดม (Wadham College) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ค้นพบส่วนประกอบกัมมันต์ของแอสไพรินครั้งแรกจากเปลือกต้นวิลโลว์ใน ค.ศ. 1763 เขาค้นพบกรดซาลิไซลิก เมทาบอไลต์กัมมันต์ของแอสไพริน เฟลิกซ์ ฮอฟฟ์มันน์ นักเคมีแห่งบริษัทไบเออร์ เอจี ประเทศเยอรมนี สังเคราะห์แอสไพรินครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1897 แอสไพรินเป็นยารักษาโรคที่ใช้กันกว้างขวางที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง โดยมีการบริโภคประมาณ 40,000 ตันต่อปี ในประเทศซึ่ง "แอสไพริน" เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทไบเออร์ ชื่อสามัญคือ กรดซาลิซิลิก แอสไพรินอยู่ในรายการตัวแบบยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก (WHO Model List of Essential Medicines) ซึ่งเป็นยารักษาโรคสำคัญที่สุดซึ่งจำเป็นในระบบสุขภาพพื้นฐาน

ประวัติแอสไพริน

มีการกล่าวถึงยาที่ทำจากต้นวิลโลว์หรือพืชชนิดอื่นที่มีกรดซาลิซิลิกสูงในแผ่นจารึกดินเหนียวจากสมัยสุเมเรียนโบราณและในตำราการแพทย์ ebers papyrus ของอิยิปต์โบราณ แพทย์กรีกอย่างฮิปโปเครตีสก็เคยกล่าวถึงการใช้ชาซาลิซิลิกในการลดไข้ตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสตกาล และถูกบันทึกไว้เป็นส่วนหนึ่งของตำรามาตรฐานของการแพทย์ตะวันตกในยุคคลาสสิกและยุคกลาง

  • ค.ศ. 1763 เอ็ดวาร์ด สโตน (Edward Stone) แห่งออกฟอร์ดเชีย (Oxfordshire) ประเทศอังกฤษ พบว่าเปลือกหลิว (willow) มีสรรพคุณลดไข้ได้
  • ค.ศ. 1828 เฮนรี่ เลอร๊อกซ์ (Henri Leroux) เภสัชกรชาวฝรั่งเศส และ ราฟฟาเอล ปีเรีย (Raffaele Piria) นักเคมีชาวอิตาลีสามารถสกัด ซาลิซิน (salicin) ในรูปผลึกได้ซึ่งมีสมบัติทางเคมีเป็นกรดอย่างแรงในสารละลายที่อิ่มตัวจะมี pH = 2.4 และต่อมาพบว่าสารตัวนี้เป็น กรดซาลิไซลิก (salicylic acid) นั่นเอง
  • ค.ศ. 1897 ฟิลิกซ์ ฮอฟฟ์แมน (Felix Hoffmann) นักวิจัยของไบเออร์ได้เปลี่ยนแปลง หมู่ฟังก์ชันไฮดรอกซิล ของกรดซาลิไซลิกด้วยอะซิทิล กรุ๊ฟ ได้เป็น อะซิทิล เอสเตอร์ (acetyl ester) หรือ อะซิทิลซาลิไซลิก แอซิด (acetylsalicylic acid) ซึ่งเป็นสารเคมีที่สังเคราะห์ขึ้นโดยไม่เลียนแบบธรรมชาติเป็นตัวแรกของโลกด้วย และที่สำคัญสารเคมีตัวใหม่มีผลข้างเคียงน้อยกว่าเดิมมาก ฟิลิกซ์ได้ทดลองยาตัวนี้กับพ่อของเขาซึ่งเป็น โรคข้ออักเสบ ปรากฏว่าได้ผลดีและไม่มีอาการข้างเคียงด้วย เขาจึงเสนอบริษัทฯ ให้ทำตลาดยาตัวนี้
  • 6 มีนาคม ค.ศ. 1899 ไบเออร์ได้จดสิทธิบัตรยาตัวนี้โดยใช้ชื่อการค้าว่า "แอสไพริน"
แอสไพริน 
โครงสร้างทางเคมี 3 มิติ ของแอสไพริน
โครงสร้างทางเคมี 3 มิติ ของแอสไพริน 
แอสไพริน 
ตัวอย่างยาแอสไพริน
ตัวอย่างยาแอสไพริน 
กลไกการออกฤทธิ์ของแอสไพริน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • "Aspirin". Drug Information Portal. U.S. National Library of Medicine.
  • Ling G (2005). "Aspirin". How Products Are Made. Vol. 1. Thomson Gale.

Tags:

USANชื่อยาที่ได้รับอนุญาตของอังกฤษภาษาอังกฤษมะเร็งมะเร็งลำไส้ใหญ่ยาระงับปวดยาลดไข้หัวใจอาการหัวใจล้มเกล็ดเลือดโรคหลอดเลือดสมอง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ช่องวัน 31ข้าราชการไทยมิถุนายนกองอาสารักษาดินแดนนักเรียนฮันเตอร์ x ฮันเตอร์วรันธร เปานิลรอย อิงคไพโรจน์เปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2536)ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีหน้าไพ่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีศาสนาพุทธIสุพิศาล ภักดีนฤนาถสินจัย เปล่งพานิชสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียจัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกโป๊กเกอร์ข้าราชการพลเรือนสามัญประเทศรัสเซียไคลี เจนเนอร์ซิลลี่ ฟูลส์คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทวิตเตอร์สำนักพระราชวังกระทรวงในประเทศไทยกาจบัณฑิต ใจดีประเทศบังกลาเทศรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)กองบัญชาการตำรวจนครบาลการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475สถานีกลางบางซื่อสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีฟุตบอลทีมชาติไทยจังหวัดหนองคายจังหวัดนครสวรรค์รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยปีเตอร์ เดนแมนไพรวัลย์ วรรณบุตรประวัติศาสตร์ไทยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกรายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยอาลิง โฮลันญีนา ซาลาสทศศีลลำไย ไหทองคำหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลชานน สันตินธรกุลหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์บรรดาศักดิ์ไทยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติเกย์ปีนักษัตรไดโนเสาร์วันมูหะมัดนอร์ มะทาเกาะกูดใบแดงจังหวัดลำปางจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์จังหวัดสุรินทร์พระพุทธชินราชFธัญญ์ ธนากรทะเลทรายสะฮาราการบินไทย🡆 More