สาธารณรัฐไวมาร์

สาธารณรัฐไวมาร์ (เยอรมัน: Weimarer Republik  ( ฟังเสียง)) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สาธารณรัฐเยอรมนี (Deutsche Republik) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกประเทศเยอรมนีในยุคสาธารณรัฐระหว่างปีค.ศ.

1918 ถึง 1933 ชื่อของสาธารณรัฐนั้นตั้งตามชื่อเมืองไวมาร์ ที่ซึ่งรัฐสภาได้ประชุมกันเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังจากจักรวรรดิเยอรมันล่มสลายลงหลังพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนชื่ออย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐไวมาร์คือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) ซึ่งใช้มาตั้งแต่ยุคจักรวรรดิ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ได้ยกเลิกอภิสิทธิของขุนนางเยอรมนีทิ้ง ลูกหลานของขุนนางเยอรมนีไม่สามารถสืบตำแหน่งได้อีกต่อไป สืบได้เพียงทรัพย์สินและนามสกุลเท่านั้น

ไรซ์เยอรมัน

Deutsches Reich
ค.ศ. 1918–ค.ศ. 1933
ธงชาติสาธารณรัฐไวมาร์
ธงชาติ
(ค.ศ. 1919–1933)
ตราแผ่นดิน (ค.ศ. 1919–1928)ของสาธารณรัฐไวมาร์
ตราแผ่นดิน
(ค.ศ. 1919–1928)
คำขวัญEinigkeit und Recht und Freiheit
("สามัคคี ยุติธรรม เสรีภาพ")
สาธารณรัฐไวมาร์ในปี ค.ศ. 1930
สาธารณรัฐไวมาร์ในปี ค.ศ. 1930
รัฐของสาธารณรัฐไวมาร์ในคริสต์ทษวรรษที่ 1920 (สีน้ำเงินคือปรัสเซียและมณฑลของปรัสเซีย)
รัฐของสาธารณรัฐไวมาร์ในคริสต์ทษวรรษที่ 1920 (สีน้ำเงินคือปรัสเซียและมณฑลของปรัสเซีย)
เมืองหลวงเบอร์ลิน
ภาษาทั่วไปทางการ:
เยอรมัน
ศาสนา
จากการสำมะโนใน ค.ศ. 1925:
การปกครอง
ประธานาธิบดี 
• ค.ศ. 1919–1925
ฟรีดริช เอเบิร์ท
• ค.ศ. 1925–1933
เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ. 1919 (คนแรก)
ฟิลลิพ ไชเดอมัน
• ค.ศ. 1933 (คนสุดท้าย)
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
สภานิติบัญญัติไรช์ทาค
ไรซ์ราท
ยุคประวัติศาสตร์สมัยระหว่างสงคราม
• ก่อตั้ง
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
• ใช้รัฐธรรมนูญ
11 สิงหาคม ค.ศ. 1919
• เริ่มต้นการปกครองโดยกฤษฎีกา
29 มีนาคม ค.ศ. 1930
• ฮิตเลอร์ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
30 มกราคม ค.ศ. 1933
27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933
23 มีนาคม ค.ศ. 1933
พื้นที่
ค.ศ. 1925468,787 ตารางกิโลเมตร (181,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 1925
62,411,000 คน
133.129 ต่อตารางกิโลเมตร (344.8 ต่อตารางไมล์)
สกุลเงิน
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐไวมาร์ จักรวรรดิเยอรมัน
นาซีเยอรมนี สาธารณรัฐไวมาร์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

เยอรมนีได้กลายเป็นสาธารณรัฐโดยพฤตินัย เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เมื่อไคเซอร์(จักรพรรดิ) วิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีได้สละบังลังก์แห่งเยอรมนีและปรัสเซียโดยไม่ได้มีการตกลงที่จะสืบราชบังลังก์โดยพระราชโอรสของพระองค์คือ เจ้าชายวิลเฮล์ม มกุฎราชกุมาร และได้กลายเป็นสาธารณรัฐโดยพฤตินัยในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 เมื่อตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีได้ถูกก่อตั้งขึ้น สภาแห่งชาติได้มีการประชุมกันในเมืองไวมาร์ ที่รัฐธรรมนูญใหม่สำหรับเยอรมนีได้เขียนและประกาศใช้ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1919 ในช่วงเวลาสิบสี่ปี สาธารณรัฐไวมาร์ต้องประสบปัญหามากมาย,รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง การเมืองที่มีแต่ความรุนแรง(ด้วยกองกำลังกึ่งทหาร-ทั้งฝ่ายซ้ายและขวา) เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ที่โต้แย้งกับผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยความไม่พอในเยอรมนีที่มีต่อสนธิสัญญาแวร์ซายที่รุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิ์ทางการเมืองที่พวกเขาโกรธแค้นต่อผู้ที่ลงนามในสนธิสัญญาและส่งเพื่อปฏิบัติตามเงื่อนไข สาธารณรัฐไวมาร์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขส่วนใหญ่ของสนธิสัญญาแวร์ซาย แม้ว่าจะไม่เคยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการลดอาวุธทั้งหมดและท้ายที่สุดก็ได้จ่ายเพียงเล็กน้อยของการชดเชยค่าปฏิกรรมสงคราม(โดยการปรับโครงสร้างหนี้สองครั้งผ่านด้วยแผนการดอวส์และแผนการยัง) ภายใต้สนธิสัญญาโลคาร์โน เยอรมนีจะต้องยอมรับเขตชายแดนตะวันตกของประเทศโดยยกเลิกการอ้างสิทธิ์บนดินแดนฝรั่งเศสและเบลเยียม แต่ยังคงมีการโต้เถียงกันในเรื่องเขตชายแดนตะวันออกและได้พยายามที่จะโน้มน้าวให้ออสเตรียที่มีคนพูดภาษาเยอรมันเพื่อเข้าร่วมกับเยอรมนีในฐานะหนึ่งในรัฐเยอรมนี

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา ประธานาธิบดี เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ได้ใช้อำนาจฉุกเฉินเพื่อหนุนหลังนายกรัฐมนตรี ไฮน์ริช บรือนิง, ฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน และควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์ ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่, ความรุนแรงจากนโยบายของบรือนิงจากภาวะเงินฝืด ได้นำไปสู่การว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1933 ฮินเดินบวร์คได้แต่งตั้งให้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีกับพรรคนาซีได้เป็นส่วนหนึ่งในรัฐบาลผสม นาซีได้แค่สองในสิบที่นั่งในคณะรัฐมนตรีที่เหลืออยู่ ฟ็อน พาเพิน ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีตั้งใจที่จะเป็น Éminence grise(ผู้มีอำนาจอยู่เบื้องหลัง) ที่คอยเฝ้าจับตาดูฮิตเลอร์ให้อยู่ภายใต้การควบคุม โดยใช้การเชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฮินเดินบวร์ค ภายในเวลาไม่กี่เดือน กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาคและรัฐบัญญัติมอบอำนาจ ปี ค.ศ. 1933 ได้นำไปสู่ภาวะฉุกเฉินของรัฐ: ได้ลบล้างการจัดการปกครองตามรัฐธรรมนูญและเสรีภาพของประชาชน การเถลิงอำนาจของฮิตเลอร์(มัคท์แอร์ไกรฟุง) ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลโดยกฤษฎีกาซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในนิติบัญญัติ ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้ยุคสาธารณรัฐสิ้นสุดลง-ระบอบประชาธิปไตยล่มสลาย การก่อตั้งรัฐที่มีพรรคเดียวได้เป็นจุดเริ่มต้นของยุคนาซี

ประวัติของสาธารณรัฐ

ภูมิหลัง

จักรวรรดิเยอรมันและฝ่ายฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามจบลงด้วยชีวิตของทหารและพลเรือนประมาณ 20 ล้านคน โดยเป็นทหารเยอรมนีประมาณ 2,037,000 นาย และพลเรือนประมาณ 424,000-763,000 คน ส่วนมากเสียชีวิตจากโรคและความอดอยากซึ่งเป็นผลมาจากการปิดล้อมทางทะเลของฝ่ายสัมพันธมิตร

หลังจากสี่ปีของสงครามในหลายแนวรบในยุโรปและทั่วโลก การรุกคืบครั้งสุดท้ายในปฏิบัติการการรุกร้อยวันของฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1918 และทำให้ของเยอรมนีและฝ่ายมหาอำนาจกลางระส่ำระส่ายลงและนำไปสู่การเรียกร้องสันติภาพ หลังจากข้อเสนอแรกถูกปฏิเสธโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ความอดอยากในช่วงสงครามหลายปีบวกกับการรับรู้ถึงความพ่ายแพ้ทางการทหารได้ช่วยจุดชนวนการปฏิวัติเยอรมัน ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ได้มีการประกาศตั้งสาธารณรัฐ และจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ประกาศการสละราชสมบัติ เป็นการสิ้นสุดจักรวรรดิเยอรมันและการเริ่มต้นของสาธารณรัฐไวมาร์ ตามมาด้วยการสงบศึกการสู้รบลงนามเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918

เยอรมนีพ่ายแพ้ฝ่ายสัมพันธมิตรสงครามเนื่องจากต้องเผชิญความพ่ายแพ้ทางการทหารและทรัพยากรทางเศรษฐกิจกำลังหมดลงในขณะที่ปลายฤดูร้อนปี 1918 กองทหารสหรัฐที่เพิ่งมาถึงฝรั่งเศสในจำนวน 10,000 นายต่อวัน ในขณะที่การสนับสนุนของประชาชนเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 1916 และในกลางปี ​​1918 ชาวเยอรมันจำนวนมากต้องการให้สงครามยุติลง จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เริ่มมีการเชื่อมโยงกับการเมืองฝ่ายซ้าย เช่น พรรคสังคมประชาธิปไตยและพรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระที่มีแนวคิดหัวรุนแรงนซึ่งเรียกร้องให้ยุติสงคราม เมื่อเป็นที่ประจักษ์แก่บรรดานายพลว่าความพ่ายแพ้ใกล้เข้ามาแล้ว นายพลเอริช ลูเดินดอร์ฟได้โน้มน้าวให้จักรพรรดิเห็นว่าเยอรมนีจำเป็นต้องสงบศึก แม้ว่ากำลังล่าถอย กองทัพเยอรมนียังคงอยู่ในดินแดนของฝรั่งเศสและเบลเยียมเมื่อสงครามสิ้นสุดลงในวันที่ 11 พฤศจิกายน เอริช ลูเดินดอร์ฟและเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์คจึงเริ่มประกาศว่าการยอมรับความพ่ายแพ้ของพลเรือน โดยเฉพาะพวกสังคมนิยมนั้นทำให้ความพ่ายแพ้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ตำนานแทงข้างหลังถูกเผยแพร่โดยฝ่ายขวาตลอดช่วงทศวรรษที่ 1920 ทำให้มั่นใจว่ากลุ่มนิยมกษัตริย์และกลุ่มอนุรักษนิยมจำนวนมากจะปฏิเสธที่จะสนับสนุนรัฐบาลที่พวกเขาเรียกว่า "อาชญากรพฤศจิกายน" ผลกระทบที่ไม่มั่นคงจากตำนานแทงข้างหลังมีต่อระบอบประชาธิปไตยไวมาร์เป็นปัจจัยสำคัญในการผงาดขึ้นของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยม

หมายเหตุ

อ้างอิง

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

ภูมิประวัติศาสตร์

  • Fritzsche, Peter. "Did Weimar Fail?," Journal of Modem History 68 (1996): 629–656. in JSTOR
  • Graf, Rüdiger. "Either-Or: The Narrative of 'Crisis' in Weimar Germany and in Historiography," Central European History (2010) 43#4 pp. 592–615

แหล่งข้อมูลอื่น


This article uses material from the Wikipedia ไทย article สาธารณรัฐไวมาร์, which is released under the Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 license ("CC BY-SA 3.0"); additional terms may apply (view authors). เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 4.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น Images, videos and audio are available under their respective licenses.
®Wikipedia is a registered trademark of the Wiki Foundation, Inc. Wiki ไทย (DUHOCTRUNGQUOC.VN) is an independent company and has no affiliation with Wiki Foundation.

Tags:

สาธารณรัฐไวมาร์ ประวัติของสาธารณรัฐสาธารณรัฐไวมาร์ หมายเหตุสาธารณรัฐไวมาร์ อ้างอิงสาธารณรัฐไวมาร์ หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาธารณรัฐไวมาร์ แหล่งข้อมูลอื่นสาธารณรัฐไวมาร์De-WeimarRepublic.oggจักรวรรดิเยอรมันประเทศเยอรมนีภาษาเยอรมันสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสาธารณรัฐไฟล์:De-WeimarRepublic.oggไรช์เยอรมันไวมาร์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

มินนี่ (นักร้อง)โลก (ดาวเคราะห์)เมแทบอลิซึมพันทิป.คอมจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีFโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)เงินตราโรงเรียนวัดสุทธิวรารามประเทศฝรั่งเศสอนุทิน ชาญวีรกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยนวลพรรณ ล่ำซำเกิดชาตินี้พี่ต้องเทพกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)อาลิง โฮลันปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)พรรคภูมิใจไทยผลิตโชค อายนบุตรสาว สาว สาวสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรจังหวัดลำปางภาษาไทยแพทองธาร ชินวัตรวรกมล ชาเตอร์มหาวิทยาลัยรังสิตโลจิสติกส์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแคพิบาราคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติบรูโน มาส์กองทัพบกไทยกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พ.ศ. 2566โทโยโตมิ ฮิเดโยชิเมืองพัทยาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีมุกดา นรินทร์รักษ์รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยต่าย อรทัยดวงใจเทวพรหมมิตร ชัยบัญชารายการสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์สงกรานต์ในประเทศไทยตราประจำพระองค์ในประเทศไทยระบบสุริยะจัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ฟุตบอลโลกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกรณิศ เล้าสุบินประเสริฐประยุทธ์ จันทร์โอชาหัวใจไม่มีปลอมรายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดลำไย ไหทองคำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลโรงพยาบาลในประเทศไทยวอลเลย์บอลณเดชน์ คูกิมิยะสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)อัสซะลามุอะลัยกุมกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)กองทัพอากาศไทยจังหวัดกำแพงเพชรวันศุกร์ประเสริฐยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกประเทศเนเธอร์แลนด์ฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศสพิจิตตรา สิริเวชชะพันธ์โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย🡆 More