สงครามรัสเซีย–ยูเครน

สงครามรัสเซีย–ยูเครน (ยูเครน: російсько-українська війна, อักษรโรมัน: rosiisko-ukrainska viina) เป็นสงครามต่อเนื่องระหว่างรัสเซีย (พร้อมกับกองกำลังแบ่งแยกดินแดนที่สนับสนุนรัสเซีย) และยูเครน มันถูกเริ่มต้นขึ้นโดยรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.

2014 ภายหลังจากการปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรีของยูเครน และจุดสำคัญในช่วงแรกไปที่สถานะของไครเมียและดอนบัส ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่าเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน แปดปีแรกของความขัดแย้งครั้งนี้ รวมไปถึงรัสเซียได้ผนวกรวมแหลมไครเมีย (ค.ศ. 2014) และสงครามในดอนบัส (ค.ศ. 2014–ปัจจุบัน) ระหว่างยูเครนและฝ่ายแบ่งแยกดินแดนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย ตลอดจนถึงอุบัติการณ์ทางเรือ สงครามไซเบอร์ และความตึงเครียดทางการเมือง ตามมาด้วยการรวมตัวกันของกองทัพรัสเซียบนบริเวณชายแดนรัสเซีย-ยูเครน ตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 2021 ความขัดแย้งครั้งนี้ได้ขยายออกไปอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อรัสเซียเปิดฉากการรุกรานยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022

สงครามรัสเซีย–ยูเครน
สงครามรัสเซีย–ยูเครน
สถานการณ์ทางทหาร ณ วันที่ 24 เมษายน 2024
      ควบคุมโดยยูเครน
      ควบคุมโดยรัสเซียและกองทัพที่สนับสนุนรัสเซีย
วันที่20 กุมภาพันธ์​ 2014–ปัจจุบัน​
สถานที่
สถานะ

ดำเนินอยู่

  • กองทหารรัสเซียเข้ายึดครองไครเมียท่ามกลางความขัดแย้งนิยมรัสเซียในประเทศยูเครน หลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 2014
  • การแทรกแซงของรัสเซียในสงครามในดอนบัส
  • รัสเซียผนวกไครเมียและบางส่วนของแคว้นปกครองตนเองยูเครนตะวันออกเฉียงใต้ 4 แห่งในปี 2014 และ 2022 ตามลำดับ
  • รัสเซียยึดครองดินแดนยูเครนประมาณ 18% ณ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565
คู่สงคราม
สงครามรัสเซีย–ยูเครน เบลารุส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
รายละเอียดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องในประเด็นสำคัญของสงคราม:
ความสูญเสีย
  • เสียชีวิต 4,619 ราย
  • บาดเจ็บ 9,700–10,700 คน
  • สูญหาย 70 คน
  • ตกเป็นเชลย 2,768 คน
  • เข้าร่วมกองกำลังรัสเซีย 9,268 คน
  • รถถังที-64เสียหายมากกว่า 300 คัน
  • เสียชีวิต 5,768 คน
  • บาดเจ็บ 12,700–13,700 คน
สงครามรัสเซีย–ยูเครน
จุดที่ถูกขีปนาวุธโจมตีในเคียฟ (24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022)

ภายหลังจากการประท้วงของยูโรไมดานและการปฏิวัติได้ส่งผลทำให้ถอดถอนประธานาธิบดี วิกตอร์ ยานูกอวึช ที่สนับสนุนรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 มีการก่อความไม่สงบของฝ่ายที่สนับสนุนรัสเซียได้ปะทุขึ้นในบางส่วนของยูเครน ทหารรัสเซียที่ไม่มีเครื่องยศได้เข้าควบคุมตำแหน่งทางยุทธศาสตร์และโครงสร้างพื้นฐานในดินแดนไครเมียของยูเครนและเข้ายึดรัฐสภาไครเมีย รัสเซียจัดให้มีการลงประชามติที่มีการโต้เถียงกัน ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาคือ ไครเมียจะต้องถูกเข้าร่วมกับรัสเซีย สิ่งนี้นำไปสู่การผนวกไครเมีย ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 การเดินขบวนของกลุ่มที่สนับสนุนรัสเซียในดอนบัสได้ก่อให้เกิดบานปลายจนกลายเป็นสงครามระหว่างกองทัพยูเครนและกองกำลังฝ่ายแบ่งแยกดินแดนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียของสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ซึ่งประกาศตนเป็นอิสระ

ยานพาหนะทางทหารของรัสเซียที่ไม่เครื่องหมายได้ก้าวข้ามชายแดน สู่สาธารณรัฐดอแนตส์ สงครามโดยไม่ได้มีการประกาศได้เริ่มขึ้นระหว่างกองกำลังยูเครนในฝ่ายหนึ่งและฝ่ายแบ่งแยกดินแดนที่ได้ผสมปนเปกับทหารรัสเซียในอีกฝ่ายหนึ่ง แม้ว่ารัสเซียจะพยายามหลบซ่อนในการมีส่วนร่วม สงครามได้จบลงด้วยความขัดแย้งคงที่ กับความพยายามในการเรียกร้องให้มีการหยุดยิงซึ่งประสบความล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่า ใน ค.ศ. 2015 รัสเซียและยูเครนได้ลงนามในข้อตกลงมินสค์ 2 แต่มีข้อพิพาทหลายประการที่คอยขัดขวางจนไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างเต็มที่ ใน ค.ศ. 2019 ประมาณ 7% ของยูเครนถูกจัดประเภทโดยรัฐบาลยูเครนว่าเป็นดินแดนที่ถูกยึดครองเป็นการชั่วคราว

ใน ค.ศ. 2021 และต้นปี ค.ศ. 2022 มีการรวมตัวกันของกองทัพรัสเซียครั้งใหญ่บริเวณรอบชายแดนยูเครน เนโทได้กล่าวหาว่ารัสเซียทำการวางแผนในการรุกรานซึ่งได้ให้การปฏิเสธ วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซียได้วิจารณ์ว่า การขยายตัวของเนโทเป็นภัยคุกคามต่อประเทศของเขา และต้องการห้ามเพื่อไม่ให้ยูเครนเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางทหารมาโดยตลอด นอกจากนี้ เขายังได้แสดงมุมมองของลัทธิการทวงดินแดนกลับคืนมา(irredentist) ได้ตั้งคำถามถึงสิทธิในการดำรงอยู่ของยูเครน และได้บอกกล่าวที่เป็นเท็จว่ายูเครนถูกก่อตั้งขึ้นโดยวลาดีมีร์ เลนิน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 รัสเซียได้ให้การรับรองอย่างเป็นทางการแก่ทั้งสองรัฐฝ่ายแบ่งแยกดินแดนซึ่งประกาศตนเป็นอิสระในดอนบัส และส่งกองกำลังทหารเข้าไปในดินแดนอย่างเปิดเผย สามวันต่อมา รัสเซียเข้ารุกรานยูเครน ประชาคมระหว่างประเทศส่วนใหญ่ได้กล่าวประณามรัสเซียอย่างหนักสำหรับการกระทำของตนในยูเครน โดยกล่าวหาว่าได้ทำการละเมิดกฏหมายระหว่างประเทศและรุกล้ำอธิปไตยของยูเครนอย่างร้ายแรง หลายประเทศได้ดำเนินการในการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย บุคคลหรือบริษัทที่มาจากรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภายหลังการรุกราน ค.ศ. 2022

หมายเหตุ

อ้างอิง

Tags:

การผนวกไครเมียโดยสหพันธรัฐรัสเซียการรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565ดอนบัสภาษายูเครนยูเครนรัสเซียวิกฤตการณ์รัสเซีย–ยูเครน (พ.ศ. 2564–2565)สงครามในดอนบัสสงครามไซเบอร์ไครเมีย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

คอมมิวนิสต์กูเกิล แผนที่ครูพิเศษจอมป่วน รีบอร์น!รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)มรรคมีองค์แปดสายัณห์ สัญญาสมัยการบูรณะน้ำอสุจิจังหวัดเชียงรายซาอุดีอาระเบียต่อศักดิ์ สุขวิมลรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครรายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้สมณศักดิ์คิม จี-ว็อน (นักแสดง)ฟินแลนด์เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีจังหวัดเพชรบุรีสะพานโกลเดนเกตสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567หมากรุกไทยข้อมูลอาณาจักรสุโขทัยแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)พระพุทธชินราชศาสนาฮินดูสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)รายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์จังหวัดระยองหมาล่าฟุตซอลแอน ทองประสมแคพิบารากวนอิมเอก อังสนานนท์ประวัติศาสตร์ไทยรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรีคีอานู รีฟส์อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะดวงจันทร์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ญีนา ซาลาสบรรดาศักดิ์อังกฤษชิตพล ลี้ชัยพรกุลประเทศแคนาดาสะพานแฟรนซิส สก็อต คีย์ (บอลทิมอร์)ฟาโรห์โซเบกเนเฟรูภาคใต้ (ประเทศไทย)พริสตีนาธฤษณุ สรนันท์สงครามโลกครั้งที่ 2รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดี (พ.ศ. 2560–2567)พวงเพ็ชร ชุนละเอียดรายนามรองประธานาธิบดีสหรัฐสงครามโลกครั้งที่หนึ่งลิทัวเนียสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์จังหวัดภูเก็ตแบล็กพิงก์ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือไวยาวัจกรสุทัตตา อุดมศิลป์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวศุภชัย ใจเด็ดเอ็กซ์โอเอ็กซ์โอเอนเตอร์เทนเมนต์ประเทศจีนฟุตซอลไทยลีก ฤดูกาล 2566การฆ่าตัวตายเว็บไซต์🡆 More