พระกาลี

กาลี (/ˈkɑːliː/; สันสกฤต: काली, IAST: Kālī, ISO: Kālī) หรือ กาลิกา (สันสกฤต: कालिका, Kālikā, ISO: Kālikā) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู ผู้นำของมหาวิทยา กลุ่มตันตรเทวีสิบองค์ซึ่งเป็นปางต่าง ๆ ของพระแม่ปารวตี

กาลี
เทวีแห่งเวลา, การสร้าง, การทำลาย และพลังอำนาจ
ส่วนหนึ่งของ ทศมหาวิทยา
พระกาลี
สังหารกาลี โดย ราชา รวิ วรรมา
ส่วนเกี่ยวข้องปารวตี, มหากาลี, มหาวิทยา, เทวี, มหาเทวี,ภัทรกาลี,พระแม่จามุณฑา, ปรัตยังคิรา, กาลราตรี
ที่ประทับเมรุ (อาจแตกต่างไปนามการตีความ), มณีทวีป
มนตร์โอม ชยันตี มังคลากาลี ภัทรกาลี กะปาลินี ดูรากา ศะมา ศิวาธาตรี สวาฮา สวาธา นะโม สตุเต
อาวุธซีมีตาร์, ดาบ, ตรีศูล
เพศสตรี
เทศกาลกาลีบูชา, นวราตรี
คู่ครองพระศิวะ

ปางดั้งเดิมของพระแม่กาลีคือเป็นผู้ทำลายล้างพลังชั่วร้าย และถือกันว่าพระนางเป็นศักติองค์ที่มีพลังอำนาจมากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในสี่กาวลมรรค ตามธรรมเนียมตันตระของลัทธิไศวะ ความเชื่อพื้นฐานคือพระนางเป็นผู้ทำลายความชั่วร้ายและปกป้องผู้บริสุทธิ์ ในยุคถัด ๆ มา มีการเคารพบูชาพระแม่กาลีในสถานะต่าง ๆ ทั้งในฐานะเทวีสูงสุด, พระมารดาแห่งเอกภพ, อาทิศักติ หรือ อาทิปรศักติ ธรรมเนียมศักตะและตันตระบางธรรมเนียมบูชาพระนางเป็นความจริงสูงสุด ("พรหม") นอกจากนี้ยังถือว่าพระนางเป็นเทวดาผู้พิทักษ์บุคคลผู้ที่เข้าสู่โมกษะ (การหลุดพ้น) รูปเคารพทั่วไปของพระแม่กาลีมักแสดงพระนางกำลังยืนหรือร่ายรำอยู่บนร่างกายของพระศิวะ คู่ครองของพระนาง ซึ่งนอนอย่างสงบเสงี่ยมอยู่เบื้องใต้ มีการบูชาพระนางในบรรดาศาสนิกชนของศาสนาฮินดูทั้งในอินเดีย, เนปาล และหลายแห่งทั่วโลก

ศัพทมูล

กาลี (Kālī) เป็นรูปสตรีของคำว่า กาล (Kāla) ซึ่งแปลว่า "เวลา" หรือ "ความเติมเต็มของเวลา") และอาจตีความได้ว่าเวลาในบริบทนี้หมายถึง "การเปลี่ยนแปลงนิรันดร์ของธรรมชาติ ซึ่งท้ายที่สุดจะนำพาทุกสิ่งไปสู่ความตาย" นามรองอื่น ๆ ที่ปรากฏ เช่น กาลราตริ (Kālarātri; "ค่ำคืนมืดมิด") และ กาลิกา (Kālikā; "ผู้มีกายดำ")

คำพ้องรูปพ้องเสียง กาละ (kāla; เวลา) นั้นต่างกับ กาละ (สีดำ) โดยสิ้นเชิง แต่ต่อมาได้ถูกนำมาเกี่ยวกันผ่านศัพทมูลสมัยนิยม การนำมาเกี่ยวกันนี้พบปรากฏในความตอนหนึ่งในมหาภารตะ ซึ่งแทนภาพของตัวละครสตรีซึ่งทำหน้าที่ขนย้ายวิญญาณของนักรบที่ถูกสังหารและสัตว์ ด้วยชื่อ กาลีมาตา ("มารดาสีดำ") และ กาลี ซึ่งนักวิชาการ คอเบิร์น ระบุว่าสามารถอ่านคำนี้ได้ทั้งในรูปของวิสามานยนาม หรือในแง่ว่าเป็นคำอธิบายของ "ผู้ซึ่งมีสีน้ำเงินเข้ม" นอกจากนี้ กาละ ยังเป็นนามรองหนึ่งของพระศิวะ คู่ครองของพระแม่กาลีเช่นกัน

อ้างอิง

Tags:

IASTปารวตีภาษาสันสกฤตมหาวิทยาศาสนาฮินดูสัทอักษรสากลเทวี

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ศุภชัย โพธิ์สุภาษาอังกฤษณเดชน์ คูกิมิยะจังหวัดฉะเชิงเทราสำนักพระราชวังกรุงเทพมหานครลวรณ แสงสนิทมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒภาคเหนือ (ประเทศไทย)จังหวัดชัยภูมิ4 KINGS 2มหาวิทยาลัยบูรพาราชวงศ์ชิงงูกะปะชา อึน-อูทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีกรมราชเลขานุการในพระองค์มิถุนายนใหม่ เจริญปุระจักรราศีประเทศอิหร่านตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรงประยุทธ์ จันทร์โอชารายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากรธนินท์ เจียรวนนท์วรกมล ชาเตอร์หลานม่า26 เมษายนประเทศจีนโทกูงาวะ อิเอยาซุเกย์อะพอลโล 13รอย อิงคไพโรจน์คิม ซู-ฮย็อนไฮบ์คอร์ปอเรชันFเลือดมังกรรอยรักรอยบาปประเทศออสเตรียเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์อินดอร์ สเตเดียม หัวหมากกองบัญชาการตำรวจนครบาลชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวชไทโอยูเรียการ์ตูนณัฐฐชาช์ บุญประชมสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศยูฟ่ายูโรปาลีกกองทัพเรือไทยเนย์มาร์จังหวัดศรีสะเกษรายชื่อสัตว์กรมการปกครองการ์ลัส ปุดจ์ดาโมนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดกาฬสินธุ์เครื่องคิดเลขพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขดาบพิฆาตอสูรบอดี้สแลมศุกลวัฒน์ คณารศณัฐภัสสร สิมะเสถียรสุรเชษฐ์ หักพาลสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกหนังสือรุ่นพลอยรายชื่อช่องที่มียอดติดตามสูงสุดในยูทูบเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสเกศริน ชัยเฉลิมพลกำแพงเมืองจีนมัณฑนา หิมะทองคำชาบี อาลอนโซประเทศมาเลเซียจังหวัดเพชรบุรีรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทย🡆 More