ปาปริกา

ปาปริกา (อังกฤษ: Paprika) เป็นเครื่องเทศที่ทำจากพริกแดงแห้งและบด โดยปรกติจะทำจากพริกในชนิดพันธุ์ Capsicum annuum พริกที่ใช้ทำปาปริกามักจะรสเบากว่าและมีเนื้อบางกว่าพริกที่รับประทานกันทั่วไป

ปาปริกา
ปาปริกา
ปาปริกา pimentón tap de cortí ของมาจอร์กา
พลังงาน
(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม)
282 กิโลแคลอรี (1181 กิโลจูล)
คุณค่าทางโภชนาการ
(ต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม)
โปรตีน14 กรัม
ไขมัน13 กรัม
คาร์โบไฮเดรต54 กรัม

พริกพันธุ์ต่าง ๆ สามารถสืบเชื้อสายได้ถึงบรรพบุรุษในอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเม็กซิโกกลาง ซึ่งมีการปลูกพริกมานานหลายศตวรรษ ต่อมาพริกได้ถูกนำมาสู่โลกเก่า โดยสเปนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เครื่องปรุงรสนี้ใช้เพื่อเพิ่มสีสันและรสชาติให้กับอาหารหลายประเภทในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก

การค้าขายปาปริกาขยายจากคาบสมุทรไอบีเรียไปยังแอฟริกาและเอเชีย: 8  และในที่สุดก็ไปถึงยุโรปกลางผ่านคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของออตโตมัน ซึ่งสามารถอธิบายเหตุผลที่ว่าทำไมคำว่าปาปริกามีที่มาจากภาษาฮังการี ในภาษาสเปนปาปริการู้จักกันในชื่อ pimentón ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 พริกนี้กลายเป็นส่วนผสมทั่วไปในอาหารของแคว้นเอซเตรมาดูราตะวันตก: 5, 73  แม้จะปรากฏในยุโรปกลางตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการยึดโดยออตโตมัน แต่ปาปริกาก็ไม่ได้รับความนิยมในฮังการีจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19

ปาปริกามีความเผ็ดตั้งแต่เผ็ดน้อยถึงเผ็ดมาก รสชาติแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่พืชที่ปลูกเกือบทั้งหมดมักจะมีความหวาน ปาปริกาหวานส่วนใหญ่ประกอบด้วยเปลือกพริกโดยเอาเมล็ดออกมากกว่าครึ่งหนึ่ง ในขณะที่ปาปริกาเผ็ดประกอบด้วยเมล็ด ก้าน ออวุล และกลีบเลี้ยง การที่ปาปริกามีสีแดง ส้ม หรือเหลือง เป็นเพราะสารแคโรทีนอยด์

ประวัติและศัพทมูลวิทยา

พริกเป็นวัตถุดิบในการผลิตพริกปาปริกา มีต้นกำเนิดมาจากอเมริกาเหนือ ซึ่งปลูกในป่าในเม็กซิโกกลาง และได้รับการเพาะปลูกมาเป็นเวลาหลายศตวรรษโดยชาวเม็กซิโก ต่อมาได้แนะนำมาสู่โลกเก่าที่สเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนโคลัมเบีย

พริกที่ใช้ทำปาปริการูปแบบฮังการีปลูกในปี ค.ศ. 1569 โดยชาวตุรกีที่บูดอ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบูดาเปสต์ เมืองหลวงของฮังการี) ปาปริกาในยุโรปกลางมีรสชาติเผ็ดจนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 1920 เมื่อเกษตรกรที่เซเกดพบพริกที่มีรสหวานจึงได้ทำการทาบกิ่งเข้ากับต้นอื่น ๆ

คำว่า ปาปริกา ในภาษาไทยเป็นการทับศัพท์มาจากคำว่า paprika ในภาษาอังกฤษ พบการใช้คำว่า paprika ในภาษาอังกฤษครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1896 แม้ว่าจะมีการอ้างอิงถึงปาปริกาของตุรกีก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 1831 คำนี้มาจากคำว่า paprika ในภาษาฮังการี ซึ่งเป็นคำที่มาจาก piper ในภาษาละติน หรือ πιπέρι (piperi) ในภาษากรีกสมัยใหม่ ซึ่งสืบทอดมาจากคำว่า पिप्पलि (pippali) ในภาษาสันสกฤต

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ปาปริกา ประวัติและศัพทมูลวิทยาปาปริกา ระเบียงภาพปาปริกา อ้างอิงปาปริกา แหล่งข้อมูลอื่นปาปริกาCapsicum annuumพริกภาษาอังกฤษเครื่องเทศ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์24 เมษายนนิวคาสเซิลอะพอนไทน์รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์เจาะมิติพิชิตบัลลังก์รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กราณี แคมเปนภาษาไทยถิ่นเหนือรายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระบุพเพสันนิวาสสุทัตตา อุดมศิลป์สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์จูด เบลลิงงัมพระพุทธเจ้าลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลฟุตซอลโลกจังหวัดเชียงใหม่กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์สุจาริณี วิวัชรวงศ์เปรม ติณสูลานนท์ธนวรรธน์ วรรธนะภูติจักรพรรดิคังซีสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ดFรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 15ICD-10เศรษฐศาสตร์ฟุตซอลทีมชาติไทยกรรชัย กำเนิดพลอยพรหมลิขิตพิชิตรัก พิทักษ์โลกเพลงอาณาจักรธนบุรีคาราบาวท่าอากาศยานสุวรรณภูมิรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยสำนักพระราชวังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเนย์มาร์ชา อึน-อูรายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์ปีเตอร์ เดนแมนทศศีลรายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยดาวิกา โฮร์เน่ไค ฮาเวิทซ์กาจบัณฑิต ใจดีพันทิป.คอมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยจังหวัดลพบุรีเอซี มิลานยูฟ่ายูโรปาลีกรัฐของสหรัฐทักษิณ ชินวัตรยุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์ประเทศอิตาลีสโมสรฟุตบอลเชลซีโรงพยาบาลในประเทศไทยสามเหลี่ยมเบอร์มิวดานายกรัฐมนตรีไทยมหาวิทยาลัยสวนดุสิตไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)เพลงชาติไทยจังหวัดสุรินทร์ประเทศสิงคโปร์ธี่หยดสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)นฤมล พงษ์สุภาพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีรายชื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทยลานีญาฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024🡆 More