ภาษาจาวา

จาวา (อังกฤษ: Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (อังกฤษ: Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.

2534">พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน

ภาษาจาวา
โลโก้ของภาษาจาวา

และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้

จุดมุ่งหมาย

จุดมุ่งหมายหลัก 4 ประการ ในการพัฒนาจาวา คือ

  1. ใช้ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ
  2. ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม (สถาปัตยกรรม และ ระบบปฏิบัติการ)
  3. เหมาะกับการใช้ในระบบเครือข่าย พร้อมมีไลบรารีสนับสนุน
  4. เรียกใช้งานจากระยะไกลได้อย่างปลอดภัย

จาวาแพลตฟอร์ม และ ภาษาจาวา

เนื่องจากชื่อที่เหมือนกัน และการเรียกขานที่มักจะพูดถึงพร้อมกันบ่อยๆ ทำให้คนทั่วไป มักสับสนว่า ภาษาจาวา และ จาวาแพลตฟอร์ม เป็นสิ่งเดียวกัน

ในความเป็นจริงนั้น ทั้งสองสิ่ง แม้จะทำงานเสริมกัน แต่ก็เป็นสิ่งที่แยกออกจากกัน

โดย ภาษาจาวานั้น คือภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง ดังที่ได้อธิบายไปข้างต้น ส่วน จาวาแพลตฟอร์มนั้น คือสภาพแวดล้อมสำหรับการใช้งานโปรแกรมจาวา โดยมีองค์ประกอบหลักคือ จาวาเวอร์ชวลแมชีน (Java virtual machine) และ ไลบรารีมาตรฐานจาวา (Java standard library)

โปรแกรมที่ทำงานบนจาวาแพลตฟอร์มนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสร้างด้วยภาษาจาวา เช่น อาจจะใช้ ภาษาไพทอน (Python) หรือ ภาษาอื่นๆ ก็ได้

ส่วนภาษาจาวานั้น ก็สามารถนำไปใช้พัฒนาโปรแกรมสำหรับแพลตฟอร์มอื่นได้เช่นเดียวกัน เช่น คอมไพเลอร์ gcj สามารถคอมไพล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาจาวา ให้ทำงานได้ โดยไม่ต้องใช้ จาวาเวอร์ชวลแมชีน

ประวัติ

รุ่นต่าง ๆ ของภาษาจาวา

  • 1.0 (ค.ศ. 1996) — ออกครั้งแรกสุด
  • 1.1 (ค.ศ. 1997) — ปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยเพิ่ม inner class
  • 1.2 (4 ธันวาคม, ค.ศ. 1998) — รหัส Playground ด้านจาวาแพลตฟอร์มได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน API และ JVM (API สำคัญที่เพิ่มมาคือ Java Collections Framework และ Swing; ส่วนใน JVM เพิ่ม JIT compiler) แต่ตัวภาษาจาวานั้น เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (เพิ่มคีย์เวิร์ด strictfp) และทั้งหมดถูกเรียกชื่อใหม่ว่า "จาวา 2" แต่ระบบเลขรุ่นยังไม่เปลี่ยนแปลง
  • 1.3 (8 พฤษภาคม, ค.ศ. 2000) — รหัส Kestrel แก้ไขเล็กน้อย
  • 1.4 (13 กุมภาพันธ์, ค.ศ. 2002) — รหัส Merlin เป็นรุ่นที่ถูกใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน (ขณะที่เขียน ค.ศ. 2005)
  • 5.0 (29 กันยายน, ค.ศ. 2004) — รหัส Tiger (เดิมทีนับเป็น 1.5) เพิ่มคุณสมบัติใหม่ในภาษาจาวา เช่น Annotations ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่านำมาจากภาษาซีชาร์ป ของบริษัทไมโครซอฟท์, Enumerations, Varargs, Enhanced for loop, Autoboxing, และที่สำคัญคือ Generics
  • 6.0 (11 ธันวาคม, ค.ศ. 2006) [1] — รหัส Mustang เก็บถาวร 2007-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เป็นรุ่นในการพัฒนาของ Java SDK 6.0 ที่ออกมาให้ทดลองใช้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004
  • 7.0 — รหัส Dolphin กำลังพัฒนา [2] เก็บถาวร 2006-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • 8.0เริ่มใช้แล้ว

ตัวอย่าง

// ประกาศ class public class MyClass {     // ประกาศ Method ชื่อ main เพราะ java จะเรียกหา Method main เป็น Method แรก     public static void main(String[] args) {         System.out.println("Hello World!"); // แสดงข้อความว่า Hello World!     System.out.println(5+9);//นำ 5+9 มาคำนวณแล้วแสดงออกทางหน้าจอ     } } 

ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง

รายชื่อของซอฟต์แวร์เสรีที่เกี่ยวข้องกับจาวา

คอมไพเลอร์และเวอร์ชวลแมชีน

  • JDK คอมไพเลอร์มาตรฐานของซัน ไมโครซิสเต็มส์
  • GCJ คอมไพเลอร์ภาษาจาวาของโครงการ GCC หรือ GNU Compiler Collection
  • Jikes คอมไพเลอร์ที่เดิมพัฒนาโดยไอบีเอ็ม
  • GNU Classpath ชุดไลบรารีสำหรับจาวาแพลตฟอร์ม โอเพนซอร์ส
  • Kaffe
  • SableVM
  • IKVM คอมไพเลอร์ภาษาจาวาบน .NET แพลตฟอร์ม
  • SuperWaba
  • JRockit JDK พัฒนาโดย บีอีเอ ซิสเต็มส์

สภาพแวดล้อมสำหรับการพัฒนา (IDE)

  • BlueJ เป็น IDE ที่เหมาะกับการศึกษา โดยเน้นที่แนวคิดเรื่องการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
  • ฺBorland JBuilder
  • Eclipse โอเพนซอร์ส
  • IntelliJ IDEA
  • JDeveloper ของบริษัทออราเคิล
  • JEdit (เป็นเอดิเตอร์ แต่สามารถติดตั้งปลั๊กอินเพื่อเพิ่มความสามารถด้าน IDE ได้)
  • JLab ของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฟรีและเล็กเหมาะกับการศึกษา ดูรายละเอียดเพิ่มเติ่มที่ http://www.cp.eng.chula.ac.th/~somchai/JLab/
  • NetBeans โอเพนซอร์ส
  • Rational Application Developer ของไอบีเอ็ม
  • Sun Java Studio ของซัน ไมโครซิสเต็มส์
  • ฺVisual Age ของไอบีเอ็ม (ปัจจุบันเลิกพัฒนาแล้ว ถูกแทนที่ด้วย Rational Application Developer)
  • ฺVisual Cafe' ของบริษัท Symantec
  • WebSphere Studio Application Developer ของไอบีเอ็ม ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย Rational Application Developer

ดูเพิ่ม

  • RTSJ เรียลไทม์สเปคซิฟิเคชั่นสำหรับJava

แหล่งข้อมูลอื่น

  • java.com ข้อมูลจาวา สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
  • java.sun.com ข้อมูลจาวา สำหรับนักพัฒนา

Tags:

ภาษาจาวา จุดมุ่งหมายภาษาจาวา จาวาแพลตฟอร์ม และ ภาษาจาวา ประวัติภาษาจาวา ตัวอย่างภาษาจาวา ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องภาษาจาวา ดูเพิ่มภาษาจาวา แหล่งข้อมูลอื่นภาษาจาวาซัน ไมโครซิสเต็มส์พ.ศ. 2534พ.ศ. 2538ภาษาซีพลัสพลัสภาษาอังกฤษภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซีภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุวิศวกรเจมส์ กอสลิง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ธี่หยด 2จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์ชวลิต ยงใจยุทธสโมสรฟุตบอลฟีออเรนตีนาณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่า...รักจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกาะกูดเสกสรรค์ ศุขพิมายจังหวัดพิษณุโลกประเทศอิตาลีมหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)ธัญญ์ ธนากรอินสตาแกรมพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประเทศจีนประเทศกัมพูชาวันชนะ สวัสดีไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)จิรวัฒน์ สอนวิเชียรกองอาสารักษาดินแดนสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศลสำราญ นวลมาปฏิจจสมุปบาทพระพุทธชินราชรามาวดี นาคฉัตรีย์แปลก พิบูลสงครามหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินปวีณ พงศ์สิรินทร์ฐากูร การทิพย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยอาเอฟเซ อายักซ์ณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์กูเกิล แปลภาษาประเทศอิสราเอลรายชื่อตอนในเป็นต่อพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์เจสัน สเตธัมทวีปเอเชียสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถวิทยุเสียงอเมริกานกกะรางหัวขวานเธอ ฟอร์ แคช สินเชื่อ..รักแลกเงินภาษาในประเทศไทยจังหวัดเชียงใหม่ผู้หญิง 5 บาปอารยา เอ ฮาร์เก็ตจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์เรวัช กลิ่นเกษรเจนนีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์วันพีซจีเอ็มเอ็มทีวีนามสกุลพระราชทานรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ICD-10จุลจักร จักรพงษ์ตัวเลขโรมันสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกรณิศ เล้าสุบินประเสริฐลิซ่า (แร็ปเปอร์)ความเสียวสุดยอดทางเพศกรงกรรมพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวปรียาดา สิทธาไชยสหราชอาณาจักรฉัตรมงคลเอสเธอร์ สุปรีย์ลีลาสโมสรฟุตบอลเซนิตเซนต์ปีเตอส์เบิร์กต้นตะวัน ตันติเวชกุลประวัติศาสตร์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทานนายกรัฐมนตรีไทยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ🡆 More