ประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (อังกฤษ: Ministry of Science and Technology) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ราชอาณาจักรไทย
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Ministry of Science and Technology
ประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
หน่วยงานก่อนหน้า
  • กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (2522-2535)
  • กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (2535-2545)
ยุบเลิก2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
หน่วยงานสืบทอด
เขตอำนาจทั้งประเทศ
สำนักงานใหญ่ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี9,725.674 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)
ลูกสังกัดหน่วยงาน
เว็บไซต์www.most.go.th

ประวัติ

สืบเนื่องจากการประชุม คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 9/2519 มีมติให้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการวางนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยมี ศ.ดร.ชุบ กาญจนประกร เป็นประธานอนุกรรมการ และ ศ.ดร.สง่า สรรพศรี เป็นรองประธาน โดยจัดทำรายงานเรื่อง "การปฏิรูประบบบริหารราชการของรัฐ" โดยมีการเสนอแนะให้จัดตั้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงานขึ้น ในสมัยรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร แต่ยังไม่ได้ข้อยุติก็เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเสียก่อน

ต่อมา เมื่อมีรัฐบาลใหม่ ในปี 2520 และในปี 2522 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้มีการพิจารณาการตั้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ขึ้น โดยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประกาศคณะปฏิวัติ และได้รับความเห็นชอบจาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประกาศใช้ใน ราชกิจจานุเบกษา มีผลตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2522

ในภายหลัง เมื่อ สถานการณ์สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงได้มุ่งเน้น และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น โดยได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติ่ม เช่น กรมควบคุมมลพิษ, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม โดยทั้งสามหน่วยงานนี้จัดตั้งตามพันธกิจ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยรับโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พร้อมกับเปลี่ยนนามกระทรวงเสียใหม่ เป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2535

ต่อมาในสมัยรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ให้ทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสอดคล้องกับงานที่มากขึ้น ทำให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีบทบาทที่ชัดเจนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545

ในวันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือในวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ส่งผลให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกยุบลงและควบรวมเข้ากับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นกระทรวงใหม่ชื่อว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

รายนามปลัดกระทรวง

รายนาม ช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
1 สมพร บุณยคุปต์ 24 มี.ค. 2522 - 3 มิ.ย. 2522
2 ศ.ดร. สง่า สรรพศรี 4 มิ.ย. 2522 - 5 มิ.ย. 2522
3 ดร. ประพฤทธิ์ ณ นคร 6 มิ.ย. 2522 - 30 ก.ย. 2524
2 ศ.ดร. สง่า สรรพศรี 1 ต.ค. 2524 - 20 มี.ค. 2535
4 เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 20 มี.ค. 2535 - 5 ต.ค. 2541
5 สันทัด สมชีวิตา 5 ต.ค. 2541 - 30 ก.ย. 2547
6 ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ 1 ต.ค. 2547 - 30 ก.ย. 2548
7 ดร. ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช 1 ต.ค. 2548 - 30 ก.ย. 2550
8 ดร. สุจินดา โชติพานิช 1 ต.ค. 2550 - 30 ก.ย. 2553
9 ดร. พรชัย รุจิประภา 1 ต.ค. 2553 - 30 ก.ย. 2555
10 รศ.ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ 1 ต.ค. 2555 - 30 ก.ย. 2559
11 รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม 1 ต.ค. 2559 - 1 พ.ค. 2562
12 เพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ 1 ต.ค. 2566 - ปัจจุบัน

พันธกิจ

  1. เสนอแนะนโยบาย จัดทำยุทธศาสตร์และแผนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม
  2. ริเริ่ม เร่งรัด ผลักดันและดำเนินการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ และสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
  3. ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ สร้างคนดีและเก่งในทุกระดับ รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้แพร่หลายและเป็นที่ยอมรับ
  4. สร้างระบบสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถสร้างปัญญา เข้าถึงความรู้ใหม่ๆ และนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ผสมผสานกันได้
  5. สนับสนุนให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างนวัตกรรมให้แก่ภาคการผลิตและบริการ รวมทั้งบริการสังคมด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มผลิตภาพทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน

หน่วยงานในสังกัด

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประวัติประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายนามปลัดกระทรวงประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พันธกิจประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยงานในสังกัดประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อ้างอิงประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดูเพิ่มประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แหล่งข้อมูลอื่นประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาอังกฤษ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ศาสนาฮินดูธนินท์ เจียรวนนท์พลพล พลกองเส็งยูทูบหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินรายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากธฤษณุ สรนันท์ภรภัทร ศรีขจรเดชาระบบสุริยะจักรภพ ภูริเดชกีลียาน อึมบาเปทวีปอเมริกาใต้ประเทศลาวรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สประเทศออสเตรียธงไชย แมคอินไตย์คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์คิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัสฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่นพิศณุ นิลกลัดสถานีกลางบางซื่อพรหมลิขิตสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาลาลิกา ฤดูกาล 2018–19ฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกสแจร์ดัน ชาชีรีอันดับโลกฟีฟ่าโรงเรียนชลประทานวิทยาโปรแกรมเลียนแบบงูสามเหลี่ยมธนาคารกรุงไทยรายชื่อนักฟุตบอลทีมชาติไทยสโมสรฟุตบอลเชลซีกรงกรรมหมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยซามูไรสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีรายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครจุดทิศหลักมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกณรัชต์ เศวตนันทน์อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ธนภพ ลีรัตนขจรซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์เว็บไซต์โรงเรียนชลราษฎรอำรุงจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีแฮร์รี่ พอตเตอร์จังหวัดตากธี่หยดฟุตบอลทีมชาติบราซิลวิดีโอระบบธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญรุ่งนภา พงศ์ทิพย์สุคนธ์หลิน เกิงซินพรีเมียร์ลีกโอดะ โนบูนางะกังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรใหม่ เจริญปุระสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาฟุตบอลโลกรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีเอกซ์เจแปนรายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดติ๊กต็อกเรโทรสเปกต์ไทยลีกไดโนเสาร์รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล🡆 More