องค์การมหาชน

องค์การมหาชน เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทยประเภทที่สาม นอกเหนือจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เริ่มตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.

2542 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรและบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ตลอดจนเพื่อบูรณาการให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าร่วมกันทำงานอย่างมีเอกภาพ และประสานงานกันเพื่อความรวดเร็วในการดำเนินงาน ซึ่งต้องอาศัยความเร่งด่วน

การจัดตั้งองค์การมหาชน

  1. รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนตามมาตรา 5 พ.ร.บ.องค์การมหาชน พ.ศ. 2542
  2. ออกพระราชบัญญัติเฉพาะสำหรับหน่วยงานนั้นๆ โดยกำหนดให้เป็นองค์การมหาชน

แนวคิดและหลักการขององค์การมหาชน

องค์การมหาชน เป็นองค์กรของรัฐประเภทหนึ่งที่กำหนดขึ้นเพื่อทำบริการสาธารณะที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องการประสิทธิภาพสูง โดยมิได้กำไรจากการบริการ มีวัฒนธรรมองค์กรเหมือนภาคธุรกิจ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งไม่สามารถ ดำเนินการได้ในส่วนราชการซึ่งเป็นองค์การแบบราชการ (Bureaucratic model)

องค์การมหาชนมีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อรับผิดชอบภารกิจของรัฐในการให้บริการสาธารณะหรือดำเนินกิจกรรมเฉพาะด้านที่ภาครัฐยังจำเป็นต้องดำเนินการและจัดให้มี หรือภาครัฐต้องมีบทบาทให้การสนับสนุนในเรื่องงบประมาณเพื่อให้เกิดการดำเนินงาน เป็นบริการในส่วนที่รัฐต้องการส่งเสริม หรือเป็นบทบาทของรัฐในการให้บริการ การแทรกแซงตลาด หรือบริการที่ภาคเอกชนยังไม่สนใจหรือมีศักยภาพที่จะดำเนินการ

หลักเกณฑ์พื้นฐานในการจัดตั้งองค์การมหาชนได้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ซึ่งสามารถแยกแยะองค์ประกอบในการจัดตั้งได้ 3 ประการ คือ

  1. เมื่อรัฐบาลมีนโยบายด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ
  2. แผนงานการจัดทำบริการสาธารณะนั้นมีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งหน่วยงานบริหารขึ้นใหม่ที่แตกต่างไปจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
  3. การจัดตั้งหน่วยบริหารขึ้นใหม่นั้นมีความมุ่งหมายให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

รายชื่อองค์การมหาชน

องค์การมหาชน แบ่งออกเป็นองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกา จำนวน 39 แห่ง และองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน 15 แห่ง อีกทั้งยังหมายความรวมถึงสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล จำนวน 16 แห่งด้วย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

Tags:

องค์การมหาชน การจัดตั้งองค์การมหาชน แนวคิดและหลักการขององค์การมหาชน รายชื่อองค์การมหาชน ดูเพิ่มองค์การมหาชน อ้างอิงองค์การมหาชนรัฐวิสาหกิจส่วนราชการ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ฟุตบอลโลก 2026จิรภพ ภูริเดชกรภพ จันทร์เจริญประวัติศาสตร์สหรัฐอินเทอร์เน็ตเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีเอลวิส เพรสลีย์จิรายุ ตั้งศรีสุขพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสามก๊กวิกิพีเดียอาเลฆันโดร การ์นาโชการบัญชีสีประจำวันในประเทศไทย0จังหวัดตากพลังงานนิวเคลียร์เรวัช กลิ่นเกษรสมัคร สุนทรเวชเฟซบุ๊กมรรคมีองค์แปดจังหวัดฉะเชิงเทราเรโทรสเปกต์หมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยพ.ศ. 2553หลิน เกิงซินกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศดาบรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)จังหวัดภูเก็ตจารุพงศ์ เรืองสุวรรณมหาเวทย์ผนึกมารสุธิตา ชนะชัยสุวรรณการรถไฟแห่งประเทศไทยเมืองพัทยาศุภชัย ใจเด็ดรายชื่อประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด)มหาวิทยาลัยรังสิตพรรคก้าวไกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือดอนัลด์ ทรัมป์มหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สราชวงศ์จักรีเนโทพ.ศ. 2564ประเทศเวียดนามรายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยประเทศนิวซีแลนด์บางระจัน 2 (ภาพยนตร์)ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองรายการสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ศุภณัฏฐ์ เหมือนตาFโรมมาตาลดาภาคเหนือ (ประเทศไทย)ภาษาเกาหลีไททานิค (ภาพยนตร์)ประเทศอินโดนีเซียอีสเตอร์บาสเกตบอลราณี แคมเปนเนย์มาร์ฟุตบอลโลกอี โด-ฮย็อนอิษยา ฮอสุวรรณแบตเตอรี่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรร็อดดี ไพเพอร์สยาม ศิริมงคลจังหวัดเพชรบูรณ์โรงพยาบาลในประเทศไทยธนาคารกรุงไทยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคอุษามณี ไวทยานนท์🡆 More