กรมวิทยาศาสตร์บริการ

กรมวิทยาศาสตร์บริการ (The Department of Science Service: DSS) เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีหน้าที่และอำนาจ เกี่ยวกับการให้บริการทางวิทยาศาสตร์ โดยกำกับดูแล ส่งเสริม วิจัยพัฒนา ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน กรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นสมาชิกของสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (IUPAC)

กรมวิทยาศาสตร์บริการ
Department of Science Service
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2434; 133 ปีที่แล้ว (2434)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • หน่วยวิเคราะห์แร่
  • สถานปฏิบัติการวิเคราะห์แร่
  • ศาลาแยกธาตุ
  • กรมวิทยาศาสตร์
เขตอำนาจประเทศไทย
สำนักงานใหญ่75/7 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เว็บไซต์www.dss.go.th

ประวัติ

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2434 โดยเป็น สถานปฏิบัติการวิเคราะห์แร่ ในสังกัด กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา ต่อมาได้โอนย้ายไปสังกัด กรมกษาปณ์สิทธิการ โดยมีหน้าที่หลักคือควบคุมดูแลเนื้อโลหะที่ใช้ในการทำ เหรียญกษาปณ์

ต่อมาในปี 2468 ได้ยกกองแยกธาตุ (ชื่อในขณะนั้น) ขึ้นเป็น ศาลาแยกธาตุ (The Government Laboratory) มีสถานะเป็นกรมหนึ่ง ขึ้นกับ กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าการพัฒนาเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของไทย ให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศนั้น จำเป็นที่จะต้องนำวิชาสมัยใหม่เช่นวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง ”ศาลาแยกธาตุ” สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำทรัพยากรในประเทศไทยมาผลิตเป็นสินค้าสำหรับส่งออก รวมทั้งเพื่อสนองความต้องการใช้สินค้าภายในประเทศ ทดแทนการนำเข้า อันเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญมั่งคั่งอย่างมั่นคง

นอกจากนี้ ศาลาแยกธาตุ ยังมีหน้าที่ให้บริการแก่หน่วยงานอื่นๆ ในการตรวจสอบ วิเคราะห์สารประกอบทางเคมี และแร่ธาตุ ด้วยเครื่องมือและวิธีทางการวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ต่อกิจการต่างๆ อย่างกว้างขวาง

ตัวอย่างผลงานของศาลาแยกธาตุ ที่ได้ดำเนินการโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่

- การทดลองคั้นน้ำมันจากเมล็ดพืชต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้

- การวิเคราะห์พืชสมุนไพรที่อาจใช้ทำยาได้

- การวิเคราะห์ตรวจสอบดิน สารอาหารในดิน และสิ่งที่จะใช้ในการทำปุ๋ยเคมี

- การศึกษาเพื่อตรวจสอบหาวัตถุดิบที่จะใช้ในการฟอกหนัง และการทำกระดาษ

- การวิเคราะห์น้ำให้แก่กรมรถไฟหลวง เพื่อตรวจสอบน้ำที่เหมาะแก่การใช้กับหม้อน้ำรถไฟ โดยไม่ทำให้เกิดคราบและตะกรัน

- การแยกธาตุเงินตราของกรมกษาปณ์ เพื่อเปลี่ยนแปลงส่วนผสมเนื้อเงินใหม่ให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ

- การตรวจสอบส่วนผสมของยาต่างประเทศ และยาที่โอสถศาลาของรัฐบาลปรุงเอง ว่ามีคุณสมบัติตามตำรับยาหรือไม่

- การตรวจสอบความบริสุทธิ์ของน้ำประปา

ศาลาแยกธาตุ ซึ่งกำเนิดขึ้นจากพระราชญาณทัศนะของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ว่าสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจ ยังเป็นรากฐานของกิจการกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในปัจจุบัน

ปี 2475 หลังจากการเปลื่ยนแปลงการปกครอง ก็ได้เปลื่ยนชื่อ จากศาลาแยกธาตุ เป็น กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงเกษตรพาณิชยการ โดยมี ตั้ว ลพานุกรม ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์คนแรก

โดยกรมได้ริเริ่มงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยได้จัดตั้ง กองเภสัชกรรม เพื่อวิจัยสมุนไพร ที่สามารถนำมาเป็นยารักษาโรคได้ สถานศึกษาเคมีปฏิบัติ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่ออบรมบุคลากร ให้มีความรู้ในเชิงเคมีป และสามารถเข้ารับราชการในกรม หรือ หน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ ได้ รวมไปถึงการจัดทำวารสารวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า Siam Science Bulletin เพื่อเผยแพร่งานวิจัยในประเทศ และแลกเปลี่ยนความรู้ เชิงวิชาการกับต่างประเทศ

ต่อมาเมื่องานของกรม ได้ขยายมากขึ้น ทำให้ต้องมีการแยกออกจากรม เช่น องค์การเภสัชกรรม ในปี 2482, สถาบันวิจัยแห่งชาติ ในปี 2499, สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ในปี 2505, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ในปี 2506, สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ในปี 2522 เป็นต้น

และเมื่อมีการจัดตั้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ การพลังงาน ในปี 2522 กรมก็เป็นส่วนราชการหนึ่งของกระทรวง จนกระทั่งในปี 2535 จึงได้เปลื่ยนชื่อเป็น กรมวิทยาศาสตร์บริการ จวบจนปัจจุบัน และในปี 2541 งานด้านมาตรวิทยาแห่งชาติที่ริเริ่มและดำเนินการอยู่ในกองฟิสิกส์และวิศวกรรม ได้จัดตั้งเป็น สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

ต่อมาภายหลังมีการปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กรม สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

และเมื่อ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ ลงในราชกิจจานุเบกษา มีผลทำให้จัดตั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรม ก็เข้ามาเป็นส่วนราชการหนึ่งของกระทรวง และกำหนดให้ต้องดำเนินการจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน ภายใน 3 ปี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ประเทศอาร์เจนตินาเครยอนชินจังศรุต วิจิตรานนท์นักเตะแข้งสายฟ้าโช กยู-ซ็องอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์บรูซ วิลลิสธี่หยดยิ่งลักษณ์ ชินวัตรสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าFBงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)โรงพยาบาลในประเทศไทยรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรีสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)จังหวัดหนองบัวลำภูรายชื่อตัวละครในเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกองบัญชาการตำรวจนครบาลเด่นคุณ งามเนตรอัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์โรงเรียนนายร้อยตำรวจเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)ราชมังคลากีฬาสถานศาสนาฮินดูจังหวัดนครราชสีมาการฆ่าตัวตายพ่อขุนรามคำแหงมหาราชกองทัพอากาศไทยบรรดาศักดิ์ไทยดวงจันทร์พัชราภา ไชยเชื้อรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กโยอาโซบิรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยฟุตบอลโลก 2022สกูบี้-ดูทวารวดีโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567หีพระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ)โลโมโซนิกอินนาลิลลาฮิวะอินนาอิลัยฮิรอญิอูนฮันเตอร์ x ฮันเตอร์อินสตาแกรมคิม มิน-แจ (นักฟุตบอล)ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์Aอุรัสยา เสปอร์บันด์ฟุตซอลการรถไฟแห่งประเทศไทยประเทศอินโดนีเซียภูภูมิ พงศ์ภาณุภาคจำนวนเฉพาะสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์บาป 7 ประการและสิ่งสุดท้ายสี่อย่างไกรศักดิ์ ชุณหะวัณบรูโน มาส์เบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)ธฤษณุ สรนันท์เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีสามก๊กเหี้ยX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กสายัณห์ สัญญาแหลม มอริสันธีรศิลป์ แดงดาจังหวัดอุบลราชธานีสโมสรฟุตบอลเชลซีโรงเรียนชลกันยานุกูลดนุพร ปุณณกันต์พิชชาภา พันธุมจินดาสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโรประเทศเกาหลีใต้🡆 More