ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศไทยทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมนานาประการ ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเรื่องอากาศ, การลดลงของประชากรสัตว์ป่า, การทำลายป่า, การชะล้างพังทลายของดิน, การขาดแคลนน้ำ และปัญหาขยะ ตามข้อมูลบ่งชี้ใน พ.ศ.

2547 ค่าใช้จ่ายด้านมลพิษทางอากาศและน้ำของประเทศมีขนาดเพิ่มขึ้นไปจนถึงที่ประมาณ 1.6–2.6 เปอร์เซนต์ของจีดีพีต่อปี การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจึงก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมดังที่ปรากฏ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
ไฟป่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เดือนมีนาคม พ.ศ. 2553

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) ของประเทศไทยเตือนว่า "ในปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศกำลังเสื่อมโทรม และกลายเป็นจุดอ่อนในการรักษาพื้นฐานของการผลิต, บริการ และการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน มีการใช้ต้นตอทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากเพื่อการพัฒนา ส่งผลให้เกิดการกร่อนสลายอย่างต่อเนื่อง ป่าได้หมดลง และความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคาม ในขณะที่แสดงความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในอนาคต การจัดหาน้ำที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ ได้ ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดจากการจัดสรรของการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรม ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เพิ่มขึ้นพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการทำให้กลายเป็นเมือง ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและเพิ่มความเสียหายทางเศรษฐกิจมากขึ้น":14-15,132

อากาศเปลี่ยนแปลง

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 
กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2444 ถึง พ.ศ. 2564

นักวิจัยพบว่าอุณหภูมิของประเทศไทยสูงขึ้นในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา มีความแปรปรวนบางอย่างในการประเมินของพวกเขา กรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทยรายงานว่าอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในประเทศไทยสูงขึ้นประมาณหนึ่งองศาเซลเซียสจาก พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2550:231 การศึกษาอื่นพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 0.95 องศาเซลเซียสระหว่าง พ.ศ. 2498 และ พ.ศ. 2552 มากกว่าอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 0.69 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดรายปีเพิ่มขึ้น 0.86 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิต่ำสุดรายปีลดลง 1.45 องศาเซลเซียสตลอด 55 ปีที่ผ่านมา จาก พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2551 ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยได้เพิ่มขึ้น 3–5 มม. ต่อปีเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก 1.7 มม. ต่อปี ศาสตราจารย์แดนนี มาร์ก ที่ปรึกษาด้านสภาพภูมิอากาศแก่มูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ ได้เตือนว่า "การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อโลก และประเทศไทยน่าจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์, เศรษฐกิจ และระดับการพัฒนา":231 ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นภัยคุกคามที่สำคัญสำหรับประเทศไทย

การทำลายป่า

พื้นที่ป่าในประเทศไทยลดลงอย่างมาก เนื่องจากผู้คนเปลี่ยนพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรม หรือพื้นที่สาธารณะที่ไม่เหมาะสมสำหรับการใช้งานส่วนตัว โดยมีการประมาณการที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป มูลนิธิสืบนาคะเสถียรรายงานว่า 53 เปอร์เซ็นต์ของประเทศไทยถูกปกคลุมด้วยป่าใน พ.ศ. 2504 แต่พื้นที่ป่าลดลงเหลือ 31.6 เปอร์เซ็นต์ใน พ.ศ. 2558 การประเมินโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลได้สรุปว่าระหว่าง พ.ศ. 2516 ถึง 2552 ป่าไม้ของประเทศไทยลดลง 43 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง พ.ศ. 2544–2555 ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่าไปหนึ่งล้านเฮกตาร์ ในขณะที่ฟื้นฟูพื้นที่ 499,000 เฮกตาร์ ระหว่าง พ.ศ. 2533 ถึง 2548 ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่า 9.1 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 1,445,000 เฮกตาร์ และ ณ พ.ศ. 2559 ประเทศไทยมีอัตราการทำลายป่าเฉลี่ยต่อปีที่ 0.72 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพื้นที่ชุ่มน้ำถูกแปลงเป็นนาข้าวและมีการขยายตัวของเมือง ด้วยมาตรการของรัฐบาลในการห้ามตัดไม้ อัตราการตัดไม้ทำลายป่าลดลง แต่ยังรู้สึกได้ถึงผลกระทบของการตัดไม้ทำลายป่า

ตัวเลขของรัฐบาลไทยแสดงการเพิ่มขึ้นของขอบเขตของป่าไม้ไทย โดยตัวเลขจากศูนย์ข้อมูลการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แสดงการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2549–2558 (จาก 99 ล้านไร่ เป็น 103 ล้านไร่) โดยมีการใช้ที่ดินประเภทอื่นลดลง ซึ่งใน พ.ศ. 2019 กรมป่าไม้กล่าวว่าพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากมาตรการต่อต้านการบุกรุกภายใต้นโยบายการเรียกคืนที่ดินป่าไม้ของรัฐบาล จากข้อมูลของกรมฯ พื้นที่ป่าไม้ของประเทศใน พ.ศ. 2561 ครอบคลุมพื้นที่ 102.4 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 330,000 ไร่ ซึ่งเพิ่มขึ้นเทียบเท่ากับพื้นที่ขนาดจังหวัดภูเก็ต โดยเพิ่มพื้นที่ป่าเป็น 31.58 เปอร์เซ็นต์ของที่ดินทั้งหมดของประเทศ

ในต้น พ.ศ. 2560 รัฐบาลได้ยืนยันอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นใน พ.ศ. 2518 ที่จะเพิ่มพื้นที่ป่าเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 20 ปี จุดมุ่งหมายคือเพื่อให้ "ป่าสงวน" ครอบคลุม 25 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ และ 15 เปอร์เซ็นต์ปกคลุมด้วย "ป่าเชิงพาณิชย์" ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ใน พ.ศ. 2561 ประเทศไทยจะต้องแปลงพื้นที่ 27 ล้านไร่ให้เป็นป่า ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่สีเขียวสามตารางเมตรต่อคน ส่วนสิงคโปร์มีพื้นที่ 66 ตารางเมตรต่อคน และมาเลเซียมี 44 ตารางเมตรต่อคน

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ฝนตกหนักได้ชะล้างดินของเนินที่เพิ่งตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ หมู่บ้านและที่ดินทำกินถูกท่วม ผู้คนเกือบ 400 คนและสัตว์เลี้ยงหลายพันตัวต้องตาย รัฐบาลไทยสั่งห้ามตัดไม้เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2532 โดยเพิกถอนสัมปทานการตัดไม้ทั้งหมด ผลที่ตามมารวมถึงราคาไม้ที่เพิ่มขึ้นสามเท่าในกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้การตัดไม้อย่างผิดกฎหมายเพิ่มขึ้น

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 เมื่อภัยแล้งรุนแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เรียกร้องให้เกษตรกรละทิ้งการปลูกข้าวครั้งที่สองเพื่อประหยัดน้ำ โดยเขาถือว่าความแห้งแล้งมาจากการตัดไม้ทำลายป่าครั้งใหญ่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าพื้นที่ป่าอย่างน้อย 26 ล้านไร่ (4.2 ล้านเฮกตาร์) โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าบนภูเขาทางตอนเหนือได้ถูกทำลาย โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าป่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการผลิตน้ำฝน

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 บทบรรณาธิการของบางกอกโพสต์สรุปประเด็นป่าไม้ของประเทศไทย ดังนี้ "ป่าไม้ลดลงอย่างรวดเร็วภายใต้นโยบายของรัฐในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ การตัดไม้, การทำเหมืองแร่, ยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อความไม่สงบ, การส่งเสริมพืชเศรษฐกิจบนที่ราบสูง, การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ และการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การทุจริตยังหยั่งรากลึกในระบบราชการป่าไม้" ส่วนไม้เนื้อแข็งที่มีมูลค่าสูง เช่น พะยูง กำลังถูกตัดออกมาอย่างผิดกฎหมายเพื่อจำหน่าย ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดเฟอร์นิเจอร์ในประเทศจีน ต้นไม้เหล่านี้มีค่ามากจนผู้ลักลอบถึงกับติดอาวุธและเตรียมพร้อมต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ โดยที่ทั้งคนเฝ้าป่าและผู้ลักลอบต่างถูกสังหารในการดวลปืน รวมถึงอัตราการตัดไม้ตอนนี้คุกคามไม้พะยูงด้วยการสูญพันธุ์ภายใน 10 ปี ตามรายงานของสำนักข่าวอัลญะซีเราะฮ์ใน พ.ศ. 2557

มลพิษทางอากาศ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 
ไฟป่าในทิวเขาขุนตาน ที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

ธนาคารโลกประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตในประเทศไทยจากมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้นจาก 31,000 คนใน พ.ศ. 2533 เป็น 49,000 คนใน พ.ศ. 2556

การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศซึ่งอยู่ในระดับสูงสำหรับประเทศไทย ยานพาหนะและโรงงานได้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร

ปัญหาหมอกควันและไฟป่าเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อภาคเหนือของประเทศเป็นประจำ โดยจังหวัดเชียงใหม่ติดอันดับคุณภาพอากาศเลวที่สุดอันดับต้น ๆ ของโลกจากฝุ่นละออง PM2.5 ยอดผู้ป่วยเฉพาะ 3 เดือนใน พ.ศ. 2564 เนื่องจากปัญหาดังกล่าวมีจำนวนถึง 30,000 คน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเผาป่าในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำไร่ข้าวโพดของบริษัทขนาดใหญ่ ขณะที่ข้าราชการบางส่วนโทษว่าการเผาป่ามีสาเหตุจากการเก็บของป่า

ช่องโหว่และการตอบสนองของภาครัฐ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 
สัญญาณเตือนไฟป่าด้านหน้าทุ่งที่เพิ่งถูกไฟไหม้

ระบบนิเวศเขตร้อนบางแห่งกำลังถูกทำลายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเร็วกว่าที่คาดไว้—การฟอกขาวของพืดหินปะการังเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง—ในขณะที่ถิ่นที่อยู่ของพืชหรือสัตว์อื่น ๆ อีกมากอาจเสียหายได้เมื่อเวลาผ่านไป ระบบนิเวศเขตร้อนดูเหมือนจะมีความเสี่ยงเป็นพิเศษเนื่องจากสปีชีส์เขตร้อนมีวิวัฒนาการภายในเฉพาะเจาะจงมากในช่วงอุณหภูมิที่แคบ ด้วยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น พวกมันอาจไม่รอด ตามรายงานฉบับหนึ่ง ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบอย่างไม่เป็นสัดส่วน จากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความร้อนสุดขีดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบันลดชั่วโมงทำงานลง 15–20 เปอร์เซนต์ และตัวเลขนั้นสามารถเพิ่มเป็นสองเท่าภายใน พ.ศ. 2593 เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงดำเนินต่อไป ตามรายงานที่ตีพิมพ์ในเอเชีย-แปซิฟิก เจอร์นัลออฟพับลิคเฮลธ์ ระบุว่า โครงการเอกสารสูญเสียร้อยละหกของจีดีพีของประเทศไทยภายใน พ.ศ. 2573 เนื่องจากการลดชั่วโมงการทำงานจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ โดยโมรา และคณะ คาดการณ์ว่า "...สิ่งต่าง ๆ จะเริ่มรวนในเขตร้อนที่ [ตามต้นฉบับ] ประมาณปี พ.ศ. 2563..." นักวิทยาศาสตร์บางคนคาดการณ์ว่าภายใน พ.ศ. 2643 "...เขตละติจูดต่ำและกลางส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ไม่ได้ เพราะความเครียดจากความร้อนหรือภัยแล้ง..."

นาซารายงานว่า พ.ศ. 2559 จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดที่เคยบันทึกไว้ใน 136 ปีของการเก็บบันทึกสมัยใหม่ ส่วนภายในประเทศ กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่าอุณหภูมิในจังหวัดแม่ฮ่องสอนสูงถึง 44.6 องศาเซลเซียสในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559 ซึ่งทำลายสถิติ "วันที่ร้อนที่สุด" ของประเทศไทย:20 โดยทั่วไปแล้วเดือนเมษายนในประเทศไทยจะร้อน แต่สภาพอากาศร้อนของ พ.ศ. 2559 ได้สร้างสถิติสำหรับคลื่นความร้อนที่ยาวที่สุดในเวลาอย่างน้อย 65 ปี ในแถลงการณ์ดับเบิลยูเอ็มโอ เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศโลกใน พ.ศ. 2559 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกยืนยันว่า พ.ศ. 2559 เป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศไทย:6-7

กลุ่มวิเคราะห์ผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศที่สถาบันการศึกษาทางอวกาศก็อดดาร์ดของนาซาได้วิเคราะห์ข้อมูลสภาพภูมิอากาศสำหรับเมืองใหญ่ทั่วโลก พบว่ากรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2503 มี 193 วันที่มีอุณหภูมิเท่ากับหรือสูงกว่า 32 องศาเซียลเซียส ส่วนกรุงเทพมหานครสามารถประมาณการณ์ได้ที่ 276 วันที่มีอุณหภูมิเท่ากับหรือสูงกว่า 32 องศาเซลเซียส กลุ่มได้คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นโดย พ.ศ. 2643 สู่โดยเฉลี่ย 297 ถึง 344 วันที่มีอุณหภูมิเท่ากับหรือสูงกว่า 32 องศาเซียลเซียส สถานการณ์สัตว์น้ำและการประมงในโลก พ.ศ. 2559 ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติรายงานว่าการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารในเอเชียช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งนับการประมงของไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางลบมากที่สุดเมื่อพิจารณาจากสภาพแวดล้อมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการประมงน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล:133

นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย การศึกษาบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่าอุณหภูมิมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร โดยทำนายว่า จากแนวโน้มในปัจจุบันรายได้ทั่วโลกจะลดลง 23 เปอร์เซนต์ในช่วงปลายศตวรรษกว่าที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดลงของรายได้นั้นไม่ได้กระจายเท่า ๆ กันเนื่องจากภูมิภาคเขตร้อนได้รับผลกระทบมากที่สุด การศึกษาประเมินว่าจีดีพีของประเทศไทยจะลดลง 90 เปอร์เซนต์ใน พ.ศ. 2642 เมื่อเทียบกับจีดีพี พ.ศ. 2559 แม้แต่ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบก็อาจได้รับผลกระทบ เช่น การท่องเที่ยวพืดหินปะการังทั่วโลก—มูลค่า 36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2562—อาจลดลง 90 เปอร์เซนต์ในประเทศไทยและอีกสี่จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวแนวปะการังภายใน พ.ศ. 2643

การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทยต่อคนเพิ่มขึ้นจาก 0.14 ตันใน พ.ศ. 2503 เป็น 4.5 ตันใน พ.ศ. 2556 ในขณะที่ประชากรเพิ่มขึ้นจาก 27 ล้านคนเป็น 67 ล้านคนในช่วงเวลาเดียวกัน แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2554-2593 ของรัฐบาลไทยเล็งเห็นว่า "ประเทศไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจ, สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกภายใน พ.ศ. 2593 โดยไม่ขัดขวางผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศ หรือลดการเติบโตของขีดความสามารถในการพัฒนาและความสามารถในการแข่งขัน"

ความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเทศไทยได้ยื่นเสนอแผนสนับสนุนในระดับประเทศอย่างมุ่งมั่น (การมีส่วนร่วมของประเทศในการลดแก๊สเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ; อักษรย่อ: INDC) ต่อกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 โดยให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกลง 20–25 เปอร์เซ็นต์ภายใน พ.ศ. 2573 ประเทศไทยส่งผู้แทน 81 คนเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 (COP 21 หรือ CMP 11) ที่ปารีส เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน–11 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามในความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 ในพิธีลงนามอย่างเป็นทางการ และให้สัตยาบันการปฏิบัติตามสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

คำมั่นสัญญาระดับชาติในปารีสเท่ากับอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น 3 องศาเซลเซียสตามที่นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศระบุ โดยผู้เจรจาในปารีสได้พยายามทำให้สิ่งนี้ลดลงถึง 2 องศาเซลเซียส แต่ถึงแม้ตัวเลขที่ต่ำกว่านี้อาจ "... เป็นภัยพิบัติสำหรับกรุงเทพฯ" ซึ่งบังคับให้มีการละทิ้งเมืองภายใน พ.ศ. 2743 อย่างช้าที่สุด และภายใน พ.ศ. 2588–2613 อย่างเร็วที่สุด ในบทความที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 นักวิจัยด้านสภาพภูมิอากาศ เจมส์ แฮนเซน และมากิโกะ ซาโต ระบุว่า "เขตร้อน...ในฤดูร้อนกำลังตกอยู่ในอันตราย ที่จะไม่สามารถอยู่อาศัยได้จริงภายในสิ้นคริสต์ศตวรรษนี้ หากการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิลในเชิงธุรกิจยังคงดำเนินต่อไป..." โดยใน พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานครมีอุณหภูมิเฉลี่ย 29.6 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าปกติ 1.6 องศาเซลเซียส

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 มูลนิธินิเวศวิทยาสากล (FEU) ซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกที่ตั้งอยู่ในบัวโนสไอเรส ได้เผยแพร่การประเมินคำมั่นสัญญาด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศ โดยตัดสินว่าการมีส่วนร่วมในระดับประเทศของไทย "ไม่เพียงพอ" ในความตกลงปารีส ประเทศไทยให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนลง 20 เปอร์เซ็นต์ซึ่งต่ำกว่าการปล่อยก๊าซแบบ "ทุกอย่างเป็นปกติ" (BAU) ที่คาดการณ์ไว้ โดยใช้การปล่อยมลพิษใน พ.ศ. 2548 เป็นพื้นฐานภายใน พ.ศ. 2573 รวมทั้งลดลงอีก 5 เปอร์เซ็นต์โดยขึ้นอยู่กับการได้รับความช่วยเหลือจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ในทางตรงกันข้าม มูลนิธินิเวศวิทยาสากลคำนวณว่าการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของไทยลง 20 เปอร์เซ็นต์ภายใน พ.ศ. 2573 จะทำให้การปล่อยแก๊สเรือนกระจกเพิ่มขึ้น 39 เปอร์เซ็นต์จาก พ.ศ. 2556 การประเมินของมูลนิธินิเวศวิทยาสากลได้ตัดสินว่าคำมั่นสัญญาของทุกประเทศในอาเซียนนั้นไม่เพียงพอ: ซึ่งพม่าไม่ได้กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อย ส่วนกัมพูชาและลาวจะไม่ยอมลดหย่อนใด ๆ เว้นแต่จะได้รับความช่วยเหลือจากนานาชาติ ขณะที่บรูไนและฟิลิปปินส์ยังมีประกาศแผนสนับสนุนในระดับประเทศอย่างมุ่งมั่นใน พ.ศ. 2562 รายงานของมูลนิธินิเวศวิทยาสากลนั้นตรงกันข้ามกับคำบรรยายของนายกรัฐมนตรีไทยและประธานสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการประชุมสุดยอดว่าด้วยการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. 2019 เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 โดยเขาอ้างว่าภูมิภาคนี้ได้ลดการใช้พลังงานลง 22 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับ พ.ศ. 2548

ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของรัฐบาลไทย (DMCR) ได้คำนวณว่าการกัดเซาะทำให้ประเทศสูญเสียพื้นที่ชายฝั่ง 30 ตร.กม.ของทุกปี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นหนึ่งเมตรในอีก 40 ถึง 100 ปีข้างหน้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งอย่างน้อย 3,200 ตร.กม. โดยมีมูลค่าความเสียหายต่อประเทศไทยถึงสามพันล้านบาท ส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ 17 เปอร์เซ็นต์ของประชากรไทย ซึ่งมีมากกว่า 11 ล้านคน

พื้นดินใต้กรุงเทพมหานครกำลังจมประมาณสามเซนติเมตรต่อปี จากการสร้างขึ้นบนที่ราบตะกอนน้ำพาของดินเหนียวอ่อน การทรุดตัวได้รุนแรงขึ้นจากการสูบน้ำบาดาลมากเกินไปโดยอุตสาหกรรม และโดยน้ำหนักของอาคารขนาดใหญ่ จากข้อมูลของสภาปฏิรูปแห่งชาติของประเทศไทย (NRC) หากไม่มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน กรุงเทพมหานครอาจจมอยู่ใต้น้ำภายใน พ.ศ. 2573 อันเนื่องมาจากการรวมกันของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น, การสกัดน้ำบาดาล และน้ำหนักของอาคารในเมือง แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจะเตือนรัฐบาลไทยเป็นประจำว่าชายฝั่งทะเลของประเทศไทยและกรุงเทพมหานคร กำลังเผชิญกับภัยพิบัติน้ำท่วมต่อเนื่องเช่นเดียวกับอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 โดยนักวิจารณ์โต้แย้งว่ารัฐบาลกำลังดำเนินการช้าเกินไปที่จะจัดการกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Hamilton, John; Pratap, Chatterjee, 1991. "Developing disaster: The World Bank and deforestation in Thailand", in: Food First Action Alert, Summer issue.
  • Hunsaker, Bryan, 1996. "The political economy of Thai deforestation", in Loggers, Monks, Students, and Entrepreneurs, Center for Southeast Asian Studies, Northern Illinois University, DeKalb, Illinois, USA.
  • SUPONGPAN KULDILOK, KULAPA (October 2009). AN ECONOMIC ANALYSIS OF THE THAILAND TUNA FISH INDUSTRY (PDF). Newcastle University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Dissertation)เมื่อ 2020-05-22. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย  บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากประเทศศึกษา หอสมุดรัฐสภา

Tags:

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย อากาศเปลี่ยนแปลงปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย การทำลายป่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย มลพิษทางอากาศปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ดูเพิ่มปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย อ้างอิงปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย อ่านเพิ่มปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย แหล่งข้อมูลอื่นปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยการกร่อนการทำลายป่าความเติบโตทางเศรษฐกิจประเทศไทยปัญหาสิ่งแวดล้อมมลพิษทางอากาศ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

วิกิพีเดียกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย)รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDGเอกซ์เจแปนอรรถกร ศิริลัทธยากรไทยรัฐป๊อกเด้งชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์พชร จิราธิวัฒน์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถีเจมส์ มาร์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชาสโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดมิตร ชัยบัญชาภาษาไทยศิริลักษณ์ คองมหาเวทย์ผนึกมารธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติจังหวัดสุรินทร์พระยศเจ้านายไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรชลน่าน ศรีแก้วความเสียวสุดยอดทางเพศทุเรียนสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)บีทีเอส (กลุ่มนักร้อง)กันต์ กันตถาวรสราลี ประสิทธิ์ดำรงระบบสุริยะมณฑลของประเทศจีนอวตาร (ภาพยนตร์)หญิงรักร่วมเพศจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาคิม ซู-ฮย็อนภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืนประเทศจีนลมเล่นไฟลองของเบบีมอนสเตอร์จังหวัดฉะเชิงเทราเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์สหประชาชาติการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดี (พ.ศ. 2560–2567)ประวัติศาสตร์ประเทศอังกฤษจังหวัดตราดสะดุดรักยัยแฟนเช่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารจนกว่าจะได้รักกันเอลนีโญจังหวัดตากรายชื่อตัวละครในเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วจักรพรรดินโปเลียนที่ 1สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์รายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครพระไตรปิฎกพันทิป.คอมจังหวัดปราจีนบุรีราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนเขตพื้นที่การศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์สีประจำวันในประเทศไทยวชิรวิชญ์ ชีวอารีจิรภพ ภูริเดชสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดทายาทไหทองคำสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีไคลี เจนเนอร์เผ่าภูมิ โรจนสกุลตระกูลเจียรวนนท์เพลิงพรางเทียน🡆 More