ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ

ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ ไม่มีการสำรวจสำมะโนครัวประชากรอย่างเป็นทางการและประเทศนี้เป็นประเทศไม่มีศาสนา ข้อมูลที่มีมาจากการประมาณการจากสถิติช่วงปลาย ค.ศ.

ศาสนาในเกาหลีเหนือ (พ.ศ. 2556)
ศาสนา ร้อยละ
ไม่มีศาสนา
  
64.3%
ชินโด
  
16%
ช็อนโด
  
13.5%
พุทธ
  
4.5%
คริสต์
  
1.7%

1990 และ ค.ศ. 2000 ประชากรส่วนใหญ่ไม่มีศาสนา ส่วนประชากรที่นับถือศาสนา โดยมากนับถือศาสนาพื้นเมืองเกาหลีคือลัทธิชินโดและลัทธิช็อนโด มีประชากรจำนวนน้อยที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ ทั้งนี้ลัทธิช็อนโดถือเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลยิ่ง มีพรรคการเมืองเป็นของตนเองคือพรรคดรุณมิตรสวรรคมรรค ทั้งยังได้รับการยกย่องจากรัฐบาลว่าเป็น "ศาสนาประจำชาติ" เกาหลี เพราะได้รับความนิยม และเป็นขบวนการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม

ประวัติ

ก่อน พ.ศ. 2488

ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ 
พระสงฆ์ที่วัดยูจมซา ราว พ.ศ. 2447

เดิมชาวเกาหลีนับถือศาสนาพื้นเมืองคือลัทธิมูหรือชินโด ต่อมารัฐโคกูรยอรับศาสนาพุทธจากรัฐฉินเมื่อ พ.ศ. 915 และพัฒนาจนมีรูปแบบเป็นของตนเอง ในช่วงเวลานั้นคาบสมุทรเกาหลีแบ่งออกเป็นสามอาณาจักร คือ โคกูรยอทางเหนือ แพ็กเจทางตะวันตกเฉียงใต้ และชิลลาทางตะวันออกเฉียงใต้ ศาสนาพุทธแพร่หลายไปยังรัฐชิลลาในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และเพียงระยะเวลาไม่นาน ศาสนาพุทธได้รับการยอมรับนับถือเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 1095 ศาสนาพุทธเป็นที่นิยมมากในชิลลาและแพร่หลายไปยังรัฐแพ็กเจ (รัฐทั้งสองตั้งอยู่ในเขตประเทศเกาหลีใต้ในปัจจุบัน) ขณะที่รัฐโคกูรยอ (ตั้งอยู่ในเขตประเทศเกาหลีเหนือในปัจจุบัน) ยังนิยมนับถือศาสนาพื้นเมืองอยู่อย่างเหนียวแน่น กระทั่ง พ.ศ. 1461 มีการรวบรวมรัฐทั้งสามก่อตั้งเป็นรัฐโครยอ ศาสนาพุทธก็ยิ่งโดดเด่นและพระสงฆ์เริ่มมีอำนาจทางการเมือง

เมื่อถึงยุคราชวงศ์โชซ็อนเรืองอำนาจช่วงปลายศตวรรษที่ 14 พวกเขานับถือลัทธิขงจื๊อใหม่อย่างเคร่งครัด จึงมีการลดอำนาจและปราบปรามทั้งศาสนาพุทธ และลัทธิชินโด อารามในพุทธศาสนาหลายแห่งถูกทำลาย จากที่เคยมีอยู่หลายร้อยแห่ง หลงเหลืออารามเพียงสามสิบหกแห่ง ศาสนาพุทธถูกกำจัดออกจากตัวเมืองอย่างเบ็ดเสร็จ ภิกษุและภิกษุณีล้วนถูกกีดกันและผลักดันไปยังพื้นที่ภูเขาอันห่างไกล นโยบายกีดกันนี้กินเวลาจนถึงศตวรรษที่ 19 จากสภาวการณ์ดังกล่าว ศาสนาคริสต์มีการเผยแผ่อย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มิชชันนารีได้รับการสนับสนุนจากปัญญาชนเกาหลีด้วยแนวคิด ซอฮัก และ ซิลฮัก จนกระทั่งปลายศตวรรษต่อมา ศาสนาคริสต์จึงได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์และกลุ่มชนชั้นปัญญาชน ที่ต้องการพัฒนาเกาหลีในช่วงที่รัฐโชซ็อนกำลังล่มสลาย ปลายศตวรรษที่ 19 โชซ็อนมีสถานะทางการเมืองและวัฒนธรรมย่ำแย่ กลุ่มปัญญาชนจึงมองหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อกอบกู้วิกฤติชาติ ในช่วงเวลานี้พวกเขาได้ติดต่อมิชชันนารีตะวันตกให้ช่วยเสนอวิธีแก้ปัญหาให้ชาวเกาหลี เดิมเกาหลีมีชุมชนชาวคริสต์มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 และ พ.ศ. 2423 รัฐบาลอนุญาตให้มิชชันนารีจำนวนมากเผยแผ่ศาสนาในประเทศอย่างเสรี มิชชันนารีเหล่านี้ก่อตั้งโรงเรียน โรงพยาบาล และโรงพิมพ์ เหล่าพระราชวงศ์เองก็ให้การสนับสนุนศาสนาคริสต์เสียด้วย

ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ 
คริสตจักรโปรเตสแตนต์ในโซแรเมื่อ พ.ศ. 2438

ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนแถบตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรเกาหลี โดยเฉพาะที่เมืองเปียงยาง กลายเป็นแหล่งอาศัยของคริสต์ศาสนิกชนขนาดใหญ่ เปียงยางจึงมีสมญาว่า "เยรูซาเลมแห่งบูรพาทิศ" ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวเกาหลีส่วนใหญ่นับถือลัทธิชินโด บูชาผีบรรพบุรุษ และประกอบพิธีกรรมของลัทธิขงจื๊อ ขณะที่ศาสนาพุทธใกล้สูญหายเต็มที แม้จะมีประวัติศาสตร์เหนือคาบสมุทรเกาหลีมายาวนาน พระสงฆ์เหลือจำนวนน้อย เพราะถูกรัฐบาลโชซ็อนซึ่งนับถือลัทธิขงจื๊อใหม่ปราบปรามมายาวนานถึง 500 ปี และไม่ได้ทำนุบำรุงศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิม

ในยุคเกาหลีตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น มีการเชื่อมโยงระหว่างศาสนาคริสต์กับลัทธิชาตินิยมเกาหลีอย่างเหนียวแน่น หลังรัฐบาลญี่ปุ่นพยายามกลืนลัทธิชินโดรวมเข้ากับชินโตรัฐ รวมทั้งการผนวกศาสนาพุทธแบบเกาหลีเข้ากับศาสนาพุทธแบบญี่ปุ่น ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนปฏิเสธที่จะเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาของชินโต ในเวลาเดียวกันก็เกิดขบวนการศาสนาจำนวนมากตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ซึ่งเกิดจากความพยายามที่จะปฏิรูปศาสนาพื้นเมืองเกาหลี โดยเฉพาะลัทธิช็อนโด ส่วนศาสนาคริสต์เฟื่องฟูมากทางตอนเหนือของคาบสมุทร เช่นเดียวกับลัทธิช็อนโด ที่เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านอิทธิพลของศาสนาคริสต์

พ.ศ. 2488—ปัจจุบัน

ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ 
หญิงเกาหลียืนหน้าหอควานุม วัดโพฮย็อนซา เมื่อ พ.ศ. 2561

หลังการแบ่งคาบสมุทรเกาหลีออกเป็นสองประเทศ รัฐทางเหนือปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ส่วนรัฐทางใต้ต่อต้านระบอบคอมมิวนิสต์ คริสต์ศาสนิกชนเกาหลีกว่าครึ่งจากเกาหลีเหนืออพยพลงเกาหลีใต้ ประมาณการผู้อพยพลงใต้นี้อาจมากกว่าหนึ่งล้านคน ส่วนผู้ที่นับถือลัทธิช็อนโดยังกระจุกตัวอยู่ในเกาหลีเหนือหลังการแยกดินแดน ช่วงแรกของการแยกประเทศมีศาสนิกชนช็อนโดราว 1.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของประชากรในประเทศเกาหลีเหนือ พวกเขาก่อตั้งพรรคการเมืองชื่อ "ดรุณมิตรสวรรคมรรค" (Young Friends of the Heavenly Way) เมื่อ พ.ศ. 2537 คณะกรรมการกลางของลัทธิช็อนโดในเกาหลีเหนือได้จัดพิธีกรรมอย่างยิ่งใหญ่ที่สุสานของทันกุน (ผู้สร้างชาติเกาหลีในตำนาน) ใกล้เปียงยาง ส่วนชาวแชกาซึง ซึ่งเป็นชาติพันธุ์หนึ่งที่นับถือศาสนาพุทธสายอรัญวาสี มีอัตลักษณ์พิเศษคือนักบวชสามารถมีภรรยาและบุตรสืบตระกูลได้ ถูกรัฐบาลเกาหลีเหนือสั่งปิดอารามเพราะมองว่ามีแนวคิดขัดกับหลักสังคมนิยม ปัจจุบันชาวแชกาซึงถูกกลืนเข้ากับชาวเกาหลีทั่วไปจนสิ้นอัตลักษณ์เดิม

จากการประมาณการประชากรเกาหลีเหนือ ใน พ.ศ. 2548 มีชาวเกาหลีนับถือลัทธิชินโดราว 3,846,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 16, ลัทธิช็อนโดราว 3,245,000 หรือคิดเป็นร้อยละ 13.5, ศาสนาพุทธราว 1,082,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 4.5 และศาสนาคริสต์ราว 406,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 1.7

ใน พ.ศ. 2550 มีศาสนสถานของลัทธิช็อนโดประมาณ 800 แห่งทั่วประเทศ และมีโบสถ์กลางอยู่ที่เปียงยาง วัดพุทธ 60 แห่ง (ถูกรักษาไว้ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่าใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา) โบสถ์คริสต์ 5 แห่ง (แบ่งเป็นโบสถ์โปรเตสแตนต์ 3 แห่ง, โรมันคาทอลิกและรัสเซียออร์ทอดอกซ์อย่างละแห่ง) โดยโบสถ์คริสต์ทั้งหมดตั้งอยู่ในเปียงยาง ต่อมาใน พ.ศ. 2556 มีการก่อสร้างมัสยิดอัรเราะฮ์มานของนิกายชีอะฮ์ในเปียงยาง เมื่อ พ.ศ. 2556

ศาสนาหลัก

ลัทธิช็อนโด

ลัทธิช็อนโด (천도교, 天道教 แปลว่า "วิถีแห่งสวรรค์") เป็นลัทธิที่มีพื้นฐานมาจากลัทธิขงจื๊อกับลัทธิชินอันเป็นศาสนาพื้นเมืองเดิมของเกาหลีด้วยแนวคิดแบบ ทงฮัก (동학, 東學 แปลว่า "การเรียนรู้อย่างตะวันออก") เพื่อให้ต่างจาก ซอฮัก ของคาทอลิก ก่อตั้งโดยชเว เจ-อู (최제우, 崔濟愚) ชนชั้นสูง เมื่อ พ.ศ. 2403 เพื่อต่อต้านศาสนาของพวกต่างด้าว ซึ่งหมายรวมไปถึงศาสนาพุทธและคริสต์ โดยชเว เจ-อูอ้างว่าตนหายจากอาการเจ็บป่วยก็ด้วยอำนาจของ ซังเจ หรือ ฮานึลลิม เทพเจ้าสวรรค์ตามความเชื่อลัทธิพื้นบ้านเกาหลี จนลัทธินี้มีอิทธิพลแพร่หลายไปทั่ว แต่กระนั้นช็อนโดยังดัดแปลงองค์ประกอบทางประเพณีของลัทธิเต๋าและพุทธมาปรับใช้เป็นของตนด้วย สุดท้ายชเวถูกรัฐบาลโชซ็อนประหารชีวิตใน พ.ศ. 2407

ครั้น พ.ศ. 2437 ขบวนการของลัทธินี้เติบโตขึ้นและเกิดการปฏิวัติชาวนาและมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่น หลังการแบ่งประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ใน พ.ศ. 2488 ศาสนิกชนของช็อนโดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเกาหลีเหนือ ในประเทศเกาหลีใต้ประวัติของขบวนการทงฮักและลัทธิช็อนโดไม่ใคร่เป็นที่ปรากฏนัก ผิดกับเกาหลีเหนือที่มองการก่อกบฏทงฮักในทัศนคติเชิงบวก ลัทธิช็อนโดได้รับความพึงใจจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ มีพรรคการเมืองของตนชื่อดรุณมิตรสวรรคมรรค โดยลัทธิช็อนโดได้รับการยกย่องว่าเป็น "ศาสนาประจำชาติเกาหลี"

ลัทธิมูหรือชิน

ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ 
ศาลเจ้าแห่งหนึ่งริมแม่น้ำยาลู่ เมื่อ พ.ศ. 2459

ลัทธิมู (เกาหลี: 무교 แปลว่า "ลัทธิเชมัน") หรือ ลัทธิชิน (신교 แปลว่า "ลัทธิเทพเจ้า") บ้างเรียก ชินโด (신도 แปลว่า "วิถีแห่งเทพ") เป็นศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิมของชาวเกาหลี ทั้งสองชื่อนี้แม้จะสื่อถึงลัทธิเชมันแบบเกาหลี แต่อี ช็อง-ย็อง อธิบายว่า "ชินโด" เป็นประเพณีของคนทรง และ "มู" เป็นรูปแบบหนึ่งของ "ชินโด" และลัทธิพื้นบ้านนี้ไม่เคยได้รับการยอมรับว่าเป็นศาสนาประจำชาติอย่างลัทธิวูของจีน และลัทธิชินโตของญี่ปุ่น

ความเชื่อหลักคือต้องนับถือ ฮานึลลิม หรือ ฮวันอิน ว่าเป็น "ผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง" และ "ของเทพเจ้าทั้งหมดในธรรมชาติ" มีตำนานมาว่าเหล่ามูดังคือสืบสันดานลงมาจากราชาสวรรค์ พระโอรสของพระชนนี [แห่งราชาสวรรค์] การสืบทอดการเป็นคนทรงจะส่งผ่านทางสายผู้หญิง ส่วนตำนานอื่น ๆ มักเชื่อมโยงความเชื่อดั้งเดิมเข้ากับเรื่องทันกุน พระโอรสของราชาสวรรค์ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งชาติเกาหลี นอกจากนี้ยังเชื่อว่ามีจิตวิญญาณสิงสถิตอยู่ในสิ่งที่เคลื่อนไหวได้และเคลื่อนไหวไม่ได้ แต่หลังการเข้ามาของศาสนาที่มีความซับซ้อนกว่า เช่น ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื๊อ และศาสนาพุทธ ศาสนาพื้นบ้านนี้ก็ไม่ได้จางหายไปไหน หากแต่ผสมกลมกลืนไปกับศาสนานั้น ๆ เกิดเป็นองค์ประกอบความเชื่อที่หลากหลาย

ชาวเกาหลีเรียกคนทรงเพศหญิงว่า "มู" (, ) หรือ "มูดัง" (무당, 巫堂) หากเป็นคนทรงเพศชายจะเรียกว่า "พักซู" หรือจะเรียกชื่ออื่นก็ได้ เช่น "ดันก็อล" (당골) โดยคนทรงในภาษาเกาหลีหรือเรียกว่า "มู" นั้น ตรงกับคำจีนว่า "วู" (จีน: ; พินอิน: ) ใช้เรียกคนทรงได้ไม่จำแนกเพศ โดยมูดังทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างวิญญาณ, เทพเจ้า และมนุษย์ ผ่านพิธีกรรมที่เรียกว่า "กุต" (เกาหลี굿) เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์

ยุคปลายราชวงศ์โชซ็อน มิชชันนารีโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลสูงมาก และเริ่มทำลายล้างศาสนาพื้นบ้านด้วยการรณรงค์ผ่านสื่อต่าง ๆ เนื้อหาบ่งถึงความพยายามในการถอนรากถอนโคนความเชื่อพื้นเมืองให้สิ้น แต่ความเชื่อในลัทธิพื้นเมืองนี้ยังคงแทรกยาดำและอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่ปัจจุบันไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับลัทธิชินโดร่วมสมัยในเกาหลีเหนือเลย คนทรงจากเกาหลีเหนือหลายคนลี้ภัยไปยังเกาหลีใต้ โดยคนทรงของเกาหลีเหนือมีธรรมเนียมปฏิบัติคล้ายคลึงกับคนทรงทางภาคเหนือและภาคกลางของเกาหลีใต้

ศาสนากลุ่มน้อย

ศาสนาพุทธ

ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ 
เจดีย์วัดโพฮย็อนซา เมื่อ พ.ศ. 2561
ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ 
พระสงฆ์ที่วัดควาบ็อบซา เมื่อ พ.ศ. 2556

ศาสนาพุทธ (불교, 佛敎) เข้าสู่ดินแดนเกาหลีตั้งแต่ยุคสามอาณาจักร หรือราวคริสต์ศตวรรษที่ 4 แพร่หลายจากอินเดียผ่านจีนก่อนเข้าถึงคาบสมุทรเกาหลี เป็นนิกายมหายานซึ่งได้รับอิทธิพลจากความเชื่อพื้นเมืองและระบบเทววิทยาต่าง ๆ เข้าไว้ มีลักษณะพิเศษคือเป็นปรัชญาเพื่อการหลุดพ้น เลี่ยงการเกิดใหม่ในวัฏสงสารเพื่อมุ่งสู่นิพพาน จากการอุปถัมภ์ของกษัตริย์ ศาสนาพุทธมีความรุ่งเรืองมาก มีการส่งพระภิกษุเกาหลีจาริกไปจีนและอินเดียเพื่อศึกษาพระไตรปิฎก ครั้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 มีพระสงฆ์และศิลปินจากเกาหลีอพยพไปเผยแผ่ศาสนาพุทธในญี่ปุ่น ถือเป็นศาสนาที่ทรงอิทธิพลและมีความโดดเด่นมาตั้งแต่ยุครัฐเหนือใต้ และในสมัยรัฐโครยอให้การสนับสนุนศาสนาพุทธเต็มที่ แต่ก็อุปถัมภ์ลัทธิขงจื๊อไปด้วย เพราะพระสงฆ์เข้าเป็นนักการเมืองและขุนนาง และมีจำนวนหนึ่งก่อการฉ้อราษฎร์บังหลวง แม้ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองไปด้วยศาสนสถาน พระพุทธรูป ศิลปะ และจิตรกรรม มีการแกะแม่พิมพ์พระไตรปิฎกด้วยไม้จำนวน 80,000 แผ่น เพื่ออาศัยพุทธานุภาพขับไล่อิทธิพลมองโกลออกไป ปัจจุบันพระไตรปิฎกฉบับเกาหลีนี้ประดิษฐานไว้ ณ วัดแฮอินซา ในประเทศเกาหลีใต้ แต่ศาสนาพุทธก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศเสื่อมโทรม เพราะพระสงฆ์มีอำนาจราชศักดิ์มากเกินไป ทำให้เกิดความขัดแย้งหลายฝ่าย ทั้งระหว่างขุนนางฝ่ายนักรบกับขุนนางฝ่ายนักปราชญ์ และระหว่างขุนนางพุทธกับขุนนางขงจื๊อ ทำให้อาณาจักรอ่อนแอลงมาก จนถูกมองโกลรุกรานและปกครองเกาหลีอยู่เกือบศตวรรษ ครั้นเข้าสู่ยุครัฐโชซ็อน มีการยกย่องลัทธิขงจื๊อใหม่เป็นศาสนาประจำชาติ เป็นหลักชี้นำของรัฐ และเป็นความถูกต้องแห่งศีลธรรมจรรยาของราชวงศ์ มีการริบทรัพย์สินของวัดพุทธที่สั่งสมมาตั้งแต่ยุคโครยอเป็นของรัฐ ศาสนาพุทธถูกปราบปรามนานถึง 500 ปี แม้จะมีความพยายามในการฟื้นฟูศาสนาพุทธขึ้นมาอยู่เนือง ๆ แต่ก็ถูกเหล่านักปราชญ์และขุนนางที่นับถือลัทธิขงจื๊อต่อต้านอยู่เสมอ จนถึงยุคปลายของราชวงศ์โชซ็อน

หลังการแยกประเทศ พุทธศาสนิกชนกลายเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศเกาหลีเหนือ ขนบธรรมเนียมและประเพณีถูกพัฒนาด้วยพลวัตทางสังคมผิดจากเกาหลีใต้ ศาสนาพุทธในเกาหลีเหนืออยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของสหพันธ์พุทธศาสน์เกาหลี (조선불교도련맹, 朝鮮佛敎徒聯盟) ซึ่งเป็นองค์กรในกำกับของรัฐบาลเกาหลีเหนือ พระสงฆ์ทั้งหมดต้องพึ่งพาอามิสปัจจัยจากรัฐเพื่อการดำรงอยู่ของวัด รวมทั้งยอมจำนนต่ออำนาจรัฐเพื่อกำกับการปฏิบัติศาสนกิจ สำนักข่าวย็อนฮับรายงานว่า ศาสนาพุทธในเกาหลีเหนือเป็นนิกายโชกเย พระสงฆ์มีจำนวน 300 รูป ทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่จากพรรคแรงงานที่ผ่านการอบรมด้านศาสนาจากมหาวิทยาลัยคิมอิลซ็อง พระสงฆ์ไม่ต้องโกนศีรษะและไม่จำวัดอย่างพระในเกาหลีใต้ พวกเขามีบ้านมีครอบครัว สวมสูทสีดำไปวัดทุกเช้า เมื่ออยู่ในวัดก็จะห่มจีวรสีแดงคลุมชุดสูท หลายคนแต่งงานมีครอบครัวแล้ว ฝ่ายเกาหลีใต้ไม่เรียกนักบวชเหล่านี้ว่า "พระ" แต่เรียกว่า "ผู้จัดการวัด" เพราะมิได้บำเพ็ญพรตหรือบำเพ็ญตบะ และแทบมิได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเลย ใน พ.ศ. 2552 ยู ยง-ซุน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำของสหพันธ์พุทธศาสน์เกาหลี

ปัจจุบันมีพุทธสถานในประเทศทั้งหมดเพียง 60 แห่ง จากเดิมในยุคอาณานิคมของญี่ปุ่น แผ่นดินเกาหลีเหนือเคยมีวัดพุทธมากกว่า 400 แห่ง วัดเหล่านี้ถูกรัฐบาลมองว่าเป็นโบราณสถานหรือโบราณวัตถุยุคโบราณของเกาหลีมากกว่าเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีวิทยาลัยอบรมพระสงฆ์หลักสูตรสามปี การฟื้นฟูศาสนาพุทธในเกาหลีเหนือเป็นไปอย่างจำกัดจำเพาะ รวมไปถึงการจัดตั้งสถาบันศาสนาพุทธและตีพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับเกาหลีจำนวน 25 เล่ม ซึ่งทั้งหมดแกะสลักจากไม้จำนวน 80,000 แผ่น ถูกเก็บรักษาไว้ ณ วัดมโยฮยังซัน บริเวณภาคกลางของประเทศเกาหลีเหนือ เมื่อไม่นานมานี้ ผู้นำพุทธศาสนิกชนชาวเกาหลีใต้ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าไปเกาหลีเหนือ เพื่อเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และให้ทุนสงเคราะห์แก่พลเรือน

แม้ว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือจะมีท่าทีไม่เป็นมิตรต่อศาสนาอย่างเป็นทางการ แต่ทั้งศาสนาพุทธและลัทธิขงจื๊อยังคงทรงอิทธิพลเหนือชาวเกาหลีเหนือ เพราะเป็นศาสนาดั้งเดิมของชาวเกาหลี และองค์กรพุทธในเกาหลีเหนือถือว่าเป็นองค์กรที่กระตือรือร้นและทรงอำนาจที่สุด เพราะไม่ถูกมองว่าเป็นศาสนาของคนนอก ผิดกับศาสนาพุทธในเกาหลีใต้ที่ต้องแย่งชิงศาสนิกกับศาสนาคริสต์ วันประสูติของพระพุทธเจ้าไม่เป็นวันหยุดราชการในเกาหลีเหนือ ทำให้มีพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมพิธีบางตาเมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ กระนั้นพระชง บย็อก แห่งวัดโพฮย็อนซา อ้างว่ามีพุทธศาสนิกชนมาประกอบศาสนกิจราวราว 2,000 คน เพื่อมาอธิษฐานในวัดสำคัญทางพุทธศาสนา หรือมาทำบุญเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญของตนเอง

ศาสนาคริสต์

ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ 
อาสนวิหารชังชุง

ศาสนาคริสต์ (그리스도교) เข้าถึงดินแดนเกาหลีครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2334 หรือสิบปีหลังการกลับมาของอี ซึง-ฮุน ชาวเกาหลีคนแรกที่ผ่านการบัพติศมาที่ปักกิ่ง ประเทศจีน งานเขียนของมัตเตโอ ริชชี มิชชันนารีเยสุอิตซึ่งอาศัยอยู่ในราชสำนักปักกิ่งถูกนำไปสู่เกาหลีตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 แล้ว นักวิชาการขงจื๊อที่เรียกว่า ซิลฮัก (실학, 實學 แปลว่า "การเรียนรู้เชิงปฏิบัติ") สนใจในหลักคำสอนคาทอลิก และเป็นผู้เผยแผ่ความเชื่ออย่างคาทอลิกอย่างแพร่หลายในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ปัจจุบันมีการเผยแผ่หลากหลายนิกายมาก เช่น โรมันคาทอลิก (천주교, 天主敎), เพรสไบทีเรียน (장로교), เมทอดิสต์ (감리교), แบปทิสต์ (침례교) และนิกายย่อยอีกจำนวนมาก

แนวคิดอย่างตะวันตกและศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกในเกาหลีถูกนำเสนอในชื่อ ซอฮัก (서학, 西學 แปลว่า "การเรียนรู้อย่างตะวันตก") จากการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2344 พบว่าครึ่งหนึ่งของครอบครัวที่เปลี่ยนไปเข้ารีตนิกายคาทอลิกมีความเชื่อมโยงกับซอฮัก ผู้เข้ารีตส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะร่วมพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษของลัทธิขงจื๊อ จากนั้นรัฐบาลโชซ็อนจึงประกาศห้ามเผยแผ่ศาสนาคริสต์ คริสต์ศตวรรษที่ 19 คริสต์ศาสนิกชนจำนวนมากถูกประหาร แต่กฎหมายนี้ไม่ได้บังคับใช้อย่างเข้มงวดนัก คริสต์ศาสนิกชนเกาหลีส่วนใหญ่จึงกระจุกตัวอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทร ซึ่งอิทธิพลของลัทธิขงจื๊อไม่เข้มข้นเท่าภาคใต้ โดยนิกายโรมันคาทอลิกเคยรุ่งเรืองมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ถึง 1980 หลังจากนั้นนิกายโปรเตสแตนต์ที่ได้เข้ามามีบทบาทตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังบาทหลวงคาทอลิกสามารถทำให้ชาวเกาหลีกลับใจไปนับถือศาสนาคริสต์ได้จำนวนมาก มิชชันนารีโปรเตสแตนต์ได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์เกาหลีที่กำลังอ่อนแอ ในช่วงเวลานั้นเกาหลีไม่มีศาสนาประจำชาติอย่างจีนและญี่ปุ่น จึงเป็นช่องทางให้มีการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ได้อย่างอิสระ มิชชันนารีเมทอดิสต์และเพรสไบทีเรียนประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ศาสนาอย่างงดงาม พวกเขาก่อตั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการรังสรรค์ความเจริญให้กับเกาหลี

ก่อน พ.ศ. 2491 เปียงยางถือเป็นศูนย์กลางของชาวคริสต์ หนึ่งในหกของประชากรราว 300,000 คน คือผู้เข้ารีตศาสนาคริสต์ จนได้รับสมญาว่า "เยรูซาเลมแห่งบูรพาทิศ" จากความเสื่อมโทรมของศาสนาพุทธที่ถูกปราบปรามถึง 500 ปี ศาสนาคริสต์ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีการศึกษา สมาชิกของคริสตจักรมีผู้บทบาทเรียกร้องการปกครองตนเองในช่วงอาณานิคม และการเชื่อมโยงศาสนาคริสต์กับลัทธิชาตินิยมเกาหลี ชาวคอมมิวนิสต์ในเกาหลีเหนือส่วนใหญ่มีปูมหลังเป็นคริสต์ศาสนิกชนมาก่อน ดังเช่น คัง พัน-ซ็อก มัคนายิกาในโบสถ์ ผู้มารดาของคิม อิล-ซ็อง หลังการก่อตั้งรัฐคอมมิวนิสต์ทางตอนบนของคาบสมุทรเกาหลี คริสต์ศาสนิกชนจำนวนมากอพยพไปยังดินแดนทางใต้เพื่อหลบหนีการกดขี่ทางศาสนา เพราะรัฐบาลเกาหลีเหนือมองว่าคริสต์ศาสนิกชนมีความเกี่ยวข้องกับสหรัฐ

ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ 
โบสถ์พระตรีเอกภาพให้ชีวิต
ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ 
ศาสนิกชนภายในโบสถ์ชิลก็อล

ปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 เกาหลีเหนือตีพิมพ์พระคัมภีร์ไบเบิลเป็นของตนเอง ซึ่งมิชชันนารีจากทางใต้ต้องใช้พระคัมภีร์ฉบับนี้ในการเผยแผ่ในดินแดนทางเหนือ ปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 คริสต์ศาสนิกชนทำงานให้กับชนชั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ในช่วงนั้นมีการก่อสร้างโบสถ์โปรเตสแตนต์สองแห่ง และคาทอลิกหนึ่งแห่ง ทั้งหมดตั้งอยู่ในเปียงยาง

มีการส่งสัญญาณอันแสดงออกถึงทัศนคติที่เปลี่ยนไปของรัฐบาลต่อศาสนาคริสต์ คือ "การจัดสัมมนาคริสต์ศาสนิกชนเหนือและใต้ เพื่อสันติภาพและการรวมชาติเกาหลี" (International Seminar of Christians of the North and South for the Peace and Reunification of Korea) ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2531 มีการอนุญาตให้ผู้แทนของสมเด็จพระสันตะปาปาเข้าร่วมพิธีเปิดอาสนวิหารชังชุงในปีเดียวกัน และส่งโนวิซสองรูปไปศึกษาที่กรุงโรม และสำนักเซมินาร์ในเปียงยางได้อบรมสั่งสอนผู้นำในอนาคตของเกาหลีเหนือ ศิษยาภิบาลเกาหลีเหนือรายงานในการประชุมสภาคริสตจักรแห่งชาติในวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อ พ.ศ. 2532 ระบุว่าในเกาหลีเหนือมีชาวโปรเตสแตนต์จำนวน 10,000 คน โรมันคาทอลิก 1,000 คน และมีศาสนิกชนประกอบพิธีกรรมภายในบ้านจำนวน 500 ครอบครัว มีคริสต์ศาสนิกชนไม่เกิน 12,000–15,000 คน ใน พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2537 บิลลี เกรแฮม ผู้ประกาศข่าวประเสริฐชาวอเมริกันเดินทางไปยังเกาหลีเหนือ เขามีโอกาสได้พบกับคิม อิล-ซ็อง และมอบไบเบิลแก่เขาสองเล่ม ทั้งยังได้ไปเทศนาที่มหาวิทยาลัยคิมอิลซ็อง และหลังจากนั้นใน พ.ศ. 2561 แฟรงคลิน เกรแฮม บุตรชายของบิลลีได้เยือนเกาหลีเหนือเช่นกัน พ.ศ. 2534 รัฐบาลเกาหลีเหนือเคยเชิญสมเด็จพระสันตะปาปามาเยือน และ พ.ศ. 2561 รัฐบาลเกาหลีเหนือเชิญสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเยือนเกาหลีเหนือด้วย

สหพันธ์คริสต์ศาสนิกชนเกาหลี เป็นผู้แทนของคริสต์ศาสนิกชนเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นองค์กรในกำกับของรัฐบาลเกาหลีเหนือ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการติดต่อกับคริสตจักรและรัฐบาลต่างประเทศ มีโบสถ์ห้าหลังในเปียงยาง และมีโบสถ์ล่าสุดคือโบสถ์พระตรีเอกภาพให้ชีวิต เป็นของนิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2549 และมีความพยายามอย่างยิ่งยวดของมิชชันนารีเกาหลีใต้ที่เข้าไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเกาหลีเหนือปรากฏให้เห็นบ่อยครั้ง

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปียงยาง เปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2553 มีระบบการดำเนินงานด้วยแนวคิดแบบคริสต์ มีองค์กรสงเคราะห์ของคริสต์หลายแห่งที่ทำการในการเกาหลีเหนือ เช่น คณะกรรมการบริการเพื่อนชาวอเมริกัน (American Friends Service Committee), คณะกรรมการกลางเมนโนไนท์ (Mennonite Central Committee) และศุภนิมิต (World Vision) ได้รับการอนุญาตให้ดำเนินการในประเทศได้ แต่ห้ามเปลี่ยนศาสนาของผู้คน ต่อมา พ.ศ. 2559 มีการเฉลิมฉลองคริสต์มาส แต่ถูกบังคับให้ลดเสียงพิธีกรรมทางศาสนา และ พ.ศ. 2561 สภานักศาสนาเกาหลีเหนือ (North Korean Council of Religionists) ส่งข้อความอวยพรวันคริสต์มาสให้เกาหลีใต้ โดยเนื้อหาเขียนไว้ว่า "จับมือกันเพื่อสันติภาพและสามัคคี เต็มเปี่ยมด้วยพระพรแห่งพระเยซูเจ้า"

ขณะที่รายงานขององค์กรโอเพนดอส์ (Open Doors) ระบุว่าประเทศเกาหลีเหนือเป็นดินแดนที่ข่มเหงคริสต์ศาสนิกชนมากที่สุด

ศาสนาอิสลาม

สำนักวิจัยพิว รายงานว่าใน พ.ศ. 2553 ประเทศเกาหลีเหนือมีอิสลามิกชนอาศัยอยู่ 3,000 คน เพิ่มจากเดิมคือ พ.ศ. 2533 มีอิสลามิกชนเพียง 1,000 คน มีมัสยิดเพียงแห่งเดียวในประเทศคือมัสยิดอัรเราะฮ์มาน ตั้งอยู่ภายในสถานทูตอิหร่านในกรุงเปียงยาง สำหรับรองรับเจ้าหน้าที่สถานทูต และอาจรองรับชาวต่างชาติอื่น ๆ ที่นับถือศาสนาอิสลามด้วย

อ้างอิง

Tags:

ศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ ประวัติศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ ศาสนาหลักศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ ศาสนากลุ่มน้อยศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือ อ้างอิงศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือลัทธิจักรวรรดินิยมลัทธิช็อนโดลัทธิเชมันแบบเกาหลีศาสนาคริสต์ศาสนาประจำชาติศาสนาพุทธไม่มีศาสนา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เสกสรรค์ ศุขพิมายจังหวัดสุราษฎร์ธานีเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์วชิรวิชญ์ ชีวอารีเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ปวิช เวียงนนท์ภาคเหนือ (ประเทศไทย)ภัทรานิษฐ์ ลิ้มปติยากรจักรพรรดิเฉียนหลงนวลพรรณ ล่ำซำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทยธัญชนก กู๊ดรายชื่อมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทยเรียงตามการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่องหัวใจ ไม่ไหวอย่าฝืนจังหวัดสุโขทัยรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรอาตาลันตาแบร์กามัสกากัลโชประเทศสวิตเซอร์แลนด์เบนจามิน จุง ทัฟเนลจังหวัดฉะเชิงเทรา1จักรพรรดินโปเลียนที่ 1สุทัตตา อุดมศิลป์เอริก เติน ฮัคสูตรลับตำรับดันเจียนรายชื่อตอนในเป็นต่อหม่อมเอลิสะเบธ จักรพงษ์ ณ อยุธยาภีรนีย์ คงไทยภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืนประเทศพม่าคิม ซู-ฮย็อนเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนจังหวัดเชียงใหม่ประเทศสิงคโปร์ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาวัทธิกร เพิ่มทรัพย์หิรัญเครื่องคิดเลขกรุงเทพมหานครและปริมณฑลธงไชย แมคอินไตย์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)สินจัย เปล่งพานิชสโมสรฟุตบอลชลบุรีเกาะกูดนาโปลีโฟร์อีฟสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดบริษัทจังหวัดขอนแก่นเว็บไซต์พรหมวิหาร 4วิทยุเสียงอเมริกาทักษอร ภักดิ์สุขเจริญชลน่าน ศรีแก้วอะโกโก้อภิรัชต์ คงสมพงษ์สุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)นิภาภรณ์ ฐิติธนการช่อง 3 เอชดีวิรไท สันติประภพญาณี จงวิสุทธิ์มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชภาพอาถรรพณ์ราชมังคลากีฬาสถานโดราเอมอนปลากระโห้อำเภอพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรฮาร์วีย์ เอลเลียตคัทลียา แมคอินทอชปณิธาน บุตรแก้วคริสเตียโน โรนัลโดจุฑาวัชร วิวัชรวงศ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว🡆 More