อภิรัชต์ คงสมพงษ์

พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ (เกิด 23 มีนาคม พ.ศ.

2503) ชื่อเล่น แดง เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกไทยคนที่ 41 ในอดีตเคยได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานกรรมการคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และสมาชิกวุฒิสภา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพระราชวัง และรองผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

อภิรัชต์ คงสมพงษ์
อภิรัชต์ คงสมพงษ์
อภิรัชต์ในปี 2564
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกโดยตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563
(1 ปี 142 วัน)
ถัดไปพลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน พ.ศ. 2557 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(4 ปี 223 วัน)
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563
(1 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท
ถัดไปพลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้
เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
(0 ปี 288 วัน)
ก่อนหน้าพลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มีนาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
คู่สมรสอมฤดา คงสมพงษ์ (หย่า)
รองศาสตราจารย์ กฤษติกา คงสมพงษ์
บุตรพันตรี พิรพงศ์ คงสมพงษ์
พันตรีหญิง แพทย์หญิง อมรัชต์ คงสมพงษ์
บุพการี
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ไทย
สังกัด
ประจำการพ.ศ. 2527–2563
ยศอภิรัชต์ คงสมพงษ์ พลเอก
บังคับบัญชากองทัพบกไทย
ผ่านศึกความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

อภิรัชต์ถือว่าเป็นนายทหารที่ถูกจับตามองมาโดยตลอดเนื่องจากเป็นผู้บังคับหน่วยกำลังรบที่มีความสำคัญในกรุงเทพมหานคร และเป็นบุตรของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งเป็นคณะรัฐประหาร ระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 เขาเป็นผู้ที่ออกมาแสดงจุดยืนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และกล่าวประณามผู้ประท้วงว่าคิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งทำให้เกิดกระแสโจมตีเนื่องจากความไม่เป็นกลาง

ประวัติ

อภิรัชต์เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2503 เป็นบุตรชายคนโตของพล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ (อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) และ พันเอกหญิง (พิเศษ) คุณหญิงอรชร คงสมพงษ์

เขาจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 20 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 31 จบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเซาท์อีสเทิร์น และเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 57

การรับราชการ

หลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เขาเข้ารับราชการในตำแหน่งนักบินตอนขนส่งอากาศ กองบินปีกหมุนที่ 3 ศูนย์การบินทหารบก จังหวัดลพบุรี ระหว่างปฏิบัติหน้าที่นักบิน อภิรัชต์ ได้เข้ารับการศึกษาดังต่อไปนี้

เขาได้เข้ารับศึกษาในหลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 73 ซึ่งหลังจากจบหลักสูตรเสนาธิการทหารบก เขาอภิรัชต์ ได้เข้ารับราชการในกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ในตำแหน่งที่สำคัญ เช่น ฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ รองเสนาธิการ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เสนาธิการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์และรองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ตามลำดับ ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เขาได้ไปปฏิบัติราชการสนามที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในเหตุการณ์ความไม่สงบในหน่วยเฉพาะกิจที่ 14 จังหวัดยะลา

หลังจากนั้น เขาดำรงตำแหน่งตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ และรองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และขึ้นเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15 และผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์

ต่อมาดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 แม่ทัพน้อยที่ 1 และขึ้นเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 ในปี พ.ศ. 2559 ในห้วงนี้ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล กรรมการอิสระ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ ที่ปรึกษา สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต่อมา พล.อ. อภิรัชต์ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และ ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกในปี 2561 ซึ่งทำให้ได้รับตำแหน่งประธานกรรมการ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) โดยตำแหน่ง เขาเกษียณราชการเมื่อ 30 ตุลาคม 2563

ชีวิตส่วนตัว

เขาใช้ชีวิตคู่ร่วมกับรองศาสตราจารย์ กฤษติกา คงสมพงษ์ (สกุลเดิม ศิริจรรยา) อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตพิธีกรรายการโทรทัศน์รายการ The Weakest Link กำจัดจุดอ่อน ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และรายการฝ่าวิกฤตกับกฤษติกา ทางช่อง PPTV มีบุตร 2 คน คือ

  1. พันตรี พิระพงศ์ คงสมพงษ์
  2. พันตรีหญิง แพทย์หญิง อมรัชต์ คงสมพงษ์

บทบาทการเมือง

ตำแหน่งทางการเมือง

หลังจากการรัฐประหารในปี 2557 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยรับตำแหน่งในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ และคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น เมื่อเขาขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกในปี 2561 ทำให้ได้รับตำแหน่งเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติในวาระเดียวกัน และหลังจากการเลือกตั้งในปี 2562 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 12 โดยตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดซึ่งหมดวาระเมื่อพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

ตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน

นอกเหนือจากตำแหน่งทางทหาร และการเมือง เขายังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญในรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่สำคัญต่าง ๆ เมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ. 2543 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2543 หลังจากนั้นในปี 2545 เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ในปี 2557 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และเมื่อ 1 พฤษภาคม 2558 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อให้มาแก้ไขปัญหาการจำหน่ายสลากเกินราคา นอกจากนี้ พล.อ.อภิรัชต์ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในปีเดียวกัน และเมื่อ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เขารับการแต่งตั้งเป็นกรรมการธนาคาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

แผนปฏิรูปกองทัพ

หลังเหตุการณ์กราดยิงหมู่ที่นครราชสีมาเมื่อปี 2563 ซึ่งมีผู้ก่อเหตุเป็นนายทหารและมีมูลเหตุจูงใจความเครียดในการถูกหลอกซื้อบ้านที่ใช้เงินกู้จากกรมสวัสดิการกองทัพบก เขาในฐานะผู้บังคับบัญชาทหารบกออกโครงการปฏิรูปกองทัพโดยมีโครงการสำคัญหนึ่งคือการเปิด “สายด่วนรับฟังข้อร้องเรียนจากนายทหารชั้นผู้น้อย ที่พบเรื่องผิดปกติแต่ไม่กล้ารายงานขึ้นมาแต่ผ่านมาแล้วครึ่งปี” และในการร้องเรียนนั้น “ข้อมูลจะถูกปกปิดเป็นความลับ” ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตามได้ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า “ความสำเร็จเป็นรูปธรรมไม่เห็น”

ต่อมาในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 สิบเอก ณรงค์ชัย อินทรกวี ซึ่งในขณะนั้นสังกัดศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก ได้เข้าร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ร้องเรียนกรณีทหารชั้นผู้น้อยถูกโกงเบี้ยเลี้ยง โดยมีหลักฐานที่ชัดเจนและพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง แรกเริ่มนั้นหมู่อาร์มได้ร้องเรียนกับศูนย์คอลเซ็นเตอร์ซึ่งอภิรัชต์ได้ตั้งขึ้นก่อนหน้า แต่ข้อมูลไม่ได้ถูกปกปิดเป็นความลับตามที่อภิรัชต์ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ในครั้งเปิดโครงการ และตัวเขาเองมิได้ออกมาชี้แจง จนไม่มีความคืบหน้าจนกระทั่งเขาเกษียณอายุราชการ

บทบาทหลังพ้นตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

เขาเกษียณอายุราชการเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 ซึ่งก่อนหน้านั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุมัติรับโอน เขามาบรรจุเป็นข้าราชการในพระองค์ฝ่ายพลเรือนในตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง สำนักพระราชวัง เมื่อ 12 กันยายน พ.ศ. 2563 และเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเขาเป็น รองผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563 อภิรัชต์ได้ไปบวชเป็นภิกษุที่วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ได้รับฉายา "อภิรัชตโน" แปลว่า "ผู้มีพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง" และในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2564 ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นรองประธาน​กรรมการ โครงการราชทัณฑ์​ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์​

รางวัลที่ได้รับ

  • รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2562

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  • อภิรัชต์ คงสมพงษ์  รัฐยะโฮร์:
    • พ.ศ. 2563 - อภิรัชต์ คงสมพงษ์  เครื่องราชอิสริยาภรณ์สุลต่านอิบราฮิมแห่งยะโฮร์ ชั้นที่ 1
  • อภิรัชต์ คงสมพงษ์  สิงคโปร์:
    • พ.ศ. 2566 - อภิรัชต์ คงสมพงษ์  เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ประวัติอภิรัชต์ คงสมพงษ์ บทบาทการเมืองอภิรัชต์ คงสมพงษ์ บทบาทหลังพ้นตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ รางวัลที่ได้รับอภิรัชต์ คงสมพงษ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ลำดับสาแหรกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ อ้างอิงอภิรัชต์ คงสมพงษ์ แหล่งข้อมูลอื่นอภิรัชต์ คงสมพงษ์ผู้บัญชาการทหารบกสมาชิกวุฒิสภา

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)ฟุตซอลโลกสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์อแมนด้า ออบดัมประวัติศาสตร์จีนกกรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กรณิดา เตชสิทธิ์ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ข้าราชการไทยพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีเกิดชาตินี้พี่ต้องเทพงูกะปะนิวจีนส์เฌอปราง อารีย์กุลจังหวัดลพบุรีใหม่ เจริญปุระกองอาสารักษาดินแดนมัณฑนา หิมะทองคำนิษฐา คูหาเปรมกิจลองของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024เขตการปกครองของประเทศพม่าจังหวัดนนทบุรีประเทศอินโดนีเซียดูไบวัดโสธรวรารามวรวิหารโฟร์อีฟประชาธิปไตยอีเอฟแอลแชมเปียนชิปภาษาญี่ปุ่นบยอน อู-ซ็อกหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)พัฒน์ชัย ภักดีสู่สุขคำอุปสรรคเอสไอณราวิชญ์ เลิศรัตน์โกสุมภ์บิ๊กแอสพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวคาราบาวเงินตราสล็อตแมชชีนซิตี้ฮันเตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์ปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนักเรียนพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต18ประเทศลาวรายพระนามพระพุทธเจ้ามุกดา นรินทร์รักษ์รายชื่อตอนในนารูโตะ ตำนานวายุสลาตันช้อปปี้นามสกุลพระราชทานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคริสเตียโน โรนัลโดจังหวัดของประเทศไทยเหี้ยบรูนู ฟือร์นังดึชธัญญ์ ธนากรรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDธนวรรธน์ วรรธนะภูติพ.ศ. 2565คินน์พอร์ชสกีบีดีทอยเล็ตรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สโอมเนื้อหนังมังผี🡆 More