ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต

ในคณิตศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีจำนวน ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต, ทฤษฎีบทหลักมูลของเลขคณิต หรือ ทฤษฎีบทการแยกตัวประกอบได้อย่างเดียว (อังกฤษ: fundamental theorem of arithmetic หรือ unique factorization theorem) เป็นข้อความซึ่งกล่าวว่าจำนวนเต็มบวกทุกจำนวนที่มากกว่า 1 สามารถเขียนอยู่ในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะได้วิธีเดียวเท่านั้นโดยไม่สนใจการเรียงลำดับ ตัวอย่างเช่น เราสามารถเขียน

    6936 = 23 · 3 · 172   หรือ   1200 = 24 · 3 · 52

และไม่มีทางที่จะแยกตัวประกอบของ 6936 หรือ 1200 ได้เป็นอย่างอื่น ถ้าเราไม่สนใจลำดับของตัวประกอบ

เงื่อนไขที่ว่าตัวประกอบที่สนใจเป็นตัวประกอบเฉพาะนั้นจำเป็น หากเขียนในรูปผลคูณของตัวประกอบที่ไม่ใช่ตัวประกอบเฉพาะอาจไม่ได้มีเพียงแบบเดียว เช่น

ทฤษฎีบทนี้เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำไม 1 จึงไม่ถือว่าเป็นจำนวนเฉพาะ เพราะถ้าหาก 1 เป็นจำนวนเฉพาะ แล้วการแยกตัวประกอบเฉพาะจะไม่ได้มีแบบเดียว เช่น

ทฤษฎีบทนี้สามารถขยายไปยังโครงสร้างเชิงพีชคณิตอื่นที่เรียกว่า โดเมนแยกตัวประกอบได้แบบเดียว (unique factorization domain หรือ UFD) ซึ่งรวมไปถึงโดเมนไอดีลมุขสำคัญ (principal ideal domain หรือ PID) โดเมนยูคลิเดียน (Euclidean domain) และริงพหุนามเหนือฟีลด์ ด้วยเหตุที่ทฤษฎีบทการแยกตัวประกอบได้อย่างเดียวไม่จำเป็นจริงต้องเป็นจริงในริงทั่ว ๆ ไป เป็นหนึ่งที่ทำให้ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาซับซ้อน

เพื่อที่จะให้ทฤษฏีบทนี้ใช้ได้กับจำนวน 1 เราจะถือว่า 1 เป็นผลคูณของของจำนวนเฉพาะศูนย์จำนวน (ดูใน ผลคูณว่าง)

ประวัติ

ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิตสามารถพิสูจน์ได้จากประพจน์ที่ 30, 31 และ 32 เล่ม VII และประพจน์ 14, เล่ม IX ในตำราเอเลเมนส์ของยุคลิด ยุคลิดเป็นผู้แรกที่เขียนถึงการมีอยู่ของการแยกตัวประกอบเฉพาะ ในขณะที่อัล-ฟาริสีเป็นบุคคลแรกที่พิจารณาการมีแบบเดียว และระบุข้อความของทฤษฎีบทหลักมูลของเลขคณิตที่รวมทั้งการมีอยู่และการมีได้แบบเดียว (existence and uniqueness)

เกาส์ได้เขียนไว้ใน Article 16 (ข้อที่ 16) ในหนังสือ Disquisitiones Arithmeticae ถึงรูปแบบสมัยใหม่อันแรกของทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต พร้อมกับให้บทพิสูจน์ที่ใช้เลขคณิตมอดุลาร์

บทประยุกต์

รูปแบบบัญญัติของจำนวนเต็มบวก

ทุกจำนวนเต็มบวก n > 1 สามารถเขียนได้ในรูปของผลคูณของจำนวนเฉพาะเพียงแบบเดียว

    ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต 

เมื่อ p1 < p2 < ... < pk เป็นจำนวนเฉพาะ และ ni เป็นจำนวนเต็มบวก การเขียนเช่นนี้อาจขยายไปสำหรับทุกจำนวนเต็มบวกได้โดยรวม 1 โดยอาศัยข้อกำหนดที่ว่า ผลคูณว่างจะเท่ากับ 1 (ผลคูณว่างคือกรณีเมื่อ k = 0)

การเขียนแบบนี้เรียกว่ารูปแบบบัญญัติ (canonical representation) ของ n หรือรูปแบบมาตรฐาน (standard form) ของ n ตัวอย่างเช่น

    999 = 33×37,
    1000 = 23×53,
    1001 = 7×11×13.

สามารถเพิ่มตัวประกอบ p0 = 1 โดยไม่เปลี่ยนค่าของ n (ตัวอย่างเช่น 1000 = 23×30×53) ยิ่งไปกว่านั้นทุกจำนวนเต็มสามารถเขียนได้ในรูปของผลคูณอนันต์ของจำนวนเฉพาะบวก

    ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต 

โดยมี ni เพียงจำกัดจำนวนเท่านั้นที่เป็นจำนวนเต็มบวก ที่เหลือมีค่าเป็นศูนย์

หากยอมให้เลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มลบจะได้รูปแบบบัญญัติของจำนวนตรรกยะ

การดำเนินการทางเลขคณิต

รูปแบบบัญญัติของผลคูณ, ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ของจำนวนเต็มบวกสองจำนวนสามารถเขียนได้ในเทอมของรูปแบบบัญญัติของจำนวนเต็มทั้งสอง

    ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต 

อย่างไรก็ตาม การแยกตัวประกอบจำนวนเต็ม นั้นยากกว่าการหาผลคูณ, ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ของจำนวนเต็มบวกสองจำนวน

ฟังก์ชันเลขคณิต

ฟังก์ชันเลขคณิตจำนวนมากนิยามผ่านรูปแบบบัญญัติข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าของฟังก์ชันเลขคณิตที่เป็นฟังก์ชันแยกบวก หรือเป็นฟังก์ชันแยกคูณขึ้นอยู่กับค่าของมันสำหรับกำลังของจำนวนเฉพาะ

การพิสูจน์

การพิสูจน์ด้านล่างจประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรก เราจะพิสูจน์ให้เห็นว่าจำนวนทุกจำนวน สามารถเขียนอยู่ในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะได้ จากนั้นจะพิสูจน์ว่าการเขียน 2 แบบใด ๆ จะเหมือนกันเสมอ

การมีอยู่

สมมติว่ามีจำนวนเต็มบวกที่มากกว่า 1 ที่ไม่สามารถเขียนในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะได้ ดังนั้นจะต้องมีจำนวนที่น้อยสุดในจำนวนพวกนั้นโดยหลักการจัดอันดับดี ให้จำนวนนั้นคือ ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  จะเห็นได้ว่า ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  ไม่สามารถเป็นจำนวนเฉพาะได้เพราะ ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  คือผลคูณของตัวมันเองตัวเดียวซึ่งเป็นจำนวนเฉพาะ ดังนั้น ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  จะต้องเป็นจำนวนประกอบ จะได้

    ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต 

เมื่อ ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  และ ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  เป็นจำนวนเต็มบวกที่น้อยกว่า ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  แต่ ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  เป็นจำนวนที่น้อยที่สุดที่ทำให้ทฤษฎีบทไม่จริง ดังนั้น ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  และ ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  ต้องเขียนในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะได้ ทำให้ได้ว่า

    ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต 

ฉะนั้น ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  เขียนในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะได้ เกิดข้อขัดแย้ง

การเขียนได้แบบเดียว

เราจะใช้บทตั้งของยุคลิดที่ว่า ถ้าจำนวนเฉพาะ p หารผลคูณ ab ลงตัวแล้ว มันจะหาร a ลงตัว หรือหาร b ลงตัว เป็นบทตั้งในการพิสูจน์

พิจารณาการแยก ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  ให้อยู่ในรูปผลคูณของจำนวนเฉพาะ ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  และ ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  สองแบบ

    ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต 

จะเห็นว่า ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  จะหาร ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  ลงตัว จากบทตั้งของยุคลิด ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต จะต้องหารตัวประกอบ ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  ในผลคูณ ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  ลงตัวอย่างน้อย 1 ตัว โดยไม่เสียนัยทั่วไปให้เป็น ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  แต่ตัวประกอบเป็นจำนวนเฉพาะทั้งหมด ดังนั้น ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  จะต้องเท่ากับ ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  ดังนั้นเราจึงตัด ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต  และ ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต ออกจากทั้งสองผลคูณได้ จะได้ว่า

    ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต 

และทำซ้ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะเห็นว่าตัวประกอบเฉพาะของผลคูณสองผลคูณจะจับคู่กันเสมอจนหมด

หมายเหตุ

อ้างอิง

หนังสือ Disquisitiones Arithmeticae ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน

The two monographs Gauss published on biquadratic reciprocity have consecutively numbered sections: the first contains §§ 1–23 and the second §§ 24–76. Footnotes referencing these are of the form "Gauss, BQ, § n". Footnotes referencing the Disquisitiones Arithmeticae are of the form "Gauss, DA, Art. n".

  • Gauss, Carl Friedrich (1828), Theoria residuorum biquadraticorum, Commentatio prima, Göttingen: Comment. Soc. regiae sci, Göttingen 6
  • Gauss, Carl Friedrich (1832), Theoria residuorum biquadraticorum, Commentatio secunda, Göttingen: Comment. Soc. regiae sci, Göttingen 7

These are in Gauss's Werke, Vol II, pp. 65–92 and 93–148; German translations are pp. 511–533 and 534–586 of the German edition of the Disquisitiones.

  • Euclid (1956), The thirteen books of the Elements, vol. 2 (Books III-IX), Translated by Thomas Little Heath (Second Edition Unabridged ed.), New York: Dover, ISBN 978-0-486-60089-5
  • Hardy, G. H.; Wright, E. M. (2008) [1938], An Introduction to the Theory of Numbers, Revised by D. R. Heath-Brown and J. H. Silverman. Foreword by Andrew Wiles. (6th ed.), Oxford: Oxford University Press, ISBN 978-0-19-921986-5, MR 2445243, Zbl 1159.11001
  • Long, Calvin T. (1972), Elementary Introduction to Number Theory (2nd ed.), Lexington: D. C. Heath and Company, LCCN 77-171950.
  • Pettofrezzo, Anthony J.; Byrkit, Donald R. (1970), Elements of Number Theory, Englewood Cliffs: Prentice Hall, LCCN 77-81766.
  • Riesel, Hans (1994), Prime Numbers and Computer Methods for Factorization (second edition), Boston: Birkhäuser, ISBN 0-8176-3743-5
  • Weil, André (2007) [1984], Number Theory: An Approach through History from Hammurapi to Legendre, Modern Birkhäuser Classics, Boston, MA: Birkhäuser, ISBN 978-0-817-64565-6

ดูเพิ่ม

ลิงก์เชื่อมโยงภายนอก

Tags:

ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต ประวัติทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต บทประยุกต์ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต การพิสูจน์ทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต หมายเหตุทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต อ้างอิงทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต ดูเพิ่มทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิต ลิงก์เชื่อมโยงภายนอกทฤษฎีบทมูลฐานของเลขคณิตคณิตศาสตร์จำนวนเฉพาะจำนวนเต็มทฤษฎีจำนวนภาษาอังกฤษ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ทวิตเตอร์ฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์แปลก พิบูลสงครามมหาวิทยาลัยนเรศวรรหัสมอร์สจังหวัดพิษณุโลกคิม ซู-ฮย็อนวัดไร่ขิงรายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรรายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดรัสมุส ฮอยลุนด์1กรมราชเลขานุการในพระองค์วัลลภ เจียรวนนท์โหราศาสตร์ไทยสโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดภูมิภาคของประเทศไทยแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตทายาทไหทองคำฟุตซอลโลกเกาะเสม็ดจังหวัดนครสวรรค์หมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพระศิวะฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024พิธา ลิ้มเจริญรัตน์จ๊ะ นงผณีสามก๊กจังหวัดชุมพรตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประเทศอิหร่านเอาแล้วไง ยัยแฟนเก่าดันเป็นลูกสาวแม่ใหม่ประเทศออสเตรเลียรายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัวรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โป๊กเกอร์หีรายชื่อตัวละครในกังฟูแพนด้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงจิรภพ ภูริเดชประเทศไต้หวันโชกุนณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์เฌอปราง อารีย์กุลกรุงเทพมหานครและปริมณฑลหลานม่าภาคเหนือ (ประเทศไทย)เขตการปกครองของประเทศพม่าฮัน กา-อินประเทศเกาหลีใต้เมษายนรายการรหัสไปรษณีย์ไทยรายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยชลน่าน ศรีแก้วหม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุลประเทศจีนจังหวัดเพชรบุรีพ.ศ. 2565ประเทศเยอรมนีโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทประเทศญี่ปุ่นประเทศฝรั่งเศสภาคใต้ (ประเทศไทย)จีเฟรนด์รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDฟุตซอลโลก 2024ญาณี จงวิสุทธิ์วอลเลย์บอลIวัดพระศรีรัตนศาสดารามณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์บาท (สกุลเงิน)X-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)🡆 More