กรมขุนวิมลพัตร

กรมขุนวิมลพัตร หรือ กรมขุนวิมวัต เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และเป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์ถูกกวาดต้อนไปประทับ ณ พระราชวังหลวงอังวะจนกระทั่งสวรรคต

กรมขุนวิมลพัตร
พระอัครมเหสีกรุงศรีอยุธยา
ก่อนหน้ากรมหลวงพิพิธมนตรี
ถัดไปกรมหลวงบาทบริจา
พระราชสวามีสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
พระราชบุตรเจ้าฟ้าสิริจันทรเทวี
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระราชมารดาเจ้าจอมมารดาศรี

พระราชประวัติ

พระชนม์ชีพช่วงต้น

กรมขุนวิมลพัตรมีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าแมงเม่า บางแห่งออกพระนามว่า เม้า หรือเมาฬี "บัญชีพระนามเจ้านาย" ในคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่าพระองค์เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศรี มีพระเชษฐาและพระภคินีร่วมพระชนกชนนีคือ พระองค์เจ้าหญิงผอบ, พระองค์เจ้าชายสถิต, พระองค์เจ้าชายพงศ์ และพระองค์เจ้าชายแตง

พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า หลังสงครามพระเจ้าอลองพญาในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ สมเด็จพระอนุชาธิราชให้สึกพระองค์เจ้าแมงเม่าจากชี นำมาถวายเป็นบาทบริจาริกาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อมาจึงทรงยกเจ้าแมงเม่าเป็นพระอัครมเหสี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็นกรมขุนวิมลพัตร แต่ในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมระบุว่าได้สถาปนาเป็นกรมหมื่นพิมลภักดี และทรงให้มเหสีอื่น ๆ มียศถาบรรดาศักดิ์เสมอกัน ส่วนบันทึกของบาทหลวงปีแยร์ บรีโก (Pierre Brigot) บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ระบุว่า "...ตั้งแต่สมัยก่อน ๆ มา พระราชโองการของพระเจ้าแผ่นดินเท่ากับเป็นกฎหมายในเมืองนี้ ครั้งมาในบัดนี้ เจ้านายผู้หญิงทุกองค์ก็มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดินและข้าราชการก็ต้องเปลี่ยนกันอยู่เสมอ..." สอดคล้องกับพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียนได้ระบุว่าสมเด็จพระอนุชาธิราชมีพระราชดำรัสให้พระองค์เจ้าแมงเม่าสึกจากชีแล้วตั้งให้เป็นพระอัครมเหสีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความว่า "...แลสมเดจ์พระราชอนุชาเสดจ์ขึ้นเฝ้าพระเชษฐ์าอยู่เนือง ๆ ดำหรัสให้พระองค์จ้าวแมงเม่า ซึ่งทรงผนวดเปนชีอยู่นั้นลาผนวดออกมาเปนพระอัคะมเหษีพระเชษฐ์าธิราช"

กรมขุนวิมลพัตรมีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือเจ้าฟ้าหญิงสิริจันทรเทวี บางแห่งออกพระนามเป็นศรีจันทเทวี (คำให้การขุนหลวงหาวัด), ศิริจันทาเทวี (คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม) หรือเจ้าฟ้าน้อย (คำให้การชาวกรุงเก่า) หลังประสูติกาลมีการประโคมดนตรีสามครั้งตามโบราณราชประเพณี

พระราชอำนาจ

พระนางมีบทบาททางการเมืองระดับหนึ่ง ดังที่ปีแยร์ บรีโก บาทหลวงฝรั่งเศสได้เขียนจดหมายเหตุบันทึกไว้ว่า "... บ้านเมืองแปรปรวน เพราะฝ่ายใน [พระราชชายา] ได้มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดินผู้มีความผิดฐานกบฏ ฆ่าคนตายเอาไฟเผาบ้านเรือนจะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่ความโลภของฝ่ายในให้เปลี่ยนเป็นริบทรัพย์สิน ริบได้ก็ตกเป็นของฝ่ายในทั้งสิ้น พวกข้าราชการเห็นความโลภของฝ่ายใน ก็แสวงหาผลประโยชน์กับผู้ต้องหาคดีให้ได้มากที่สุดที่จะหาได้ จะได้แบ่งเอาบ้าง ความเดือดร้อนลำเค็ญก็ยิ่งทับถมราษฎรมากขึ้น..." และบาทหลวงคนนี้ยังสรุปว่าการที่ฝ่ายในมีอำนาจนี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้อาณาจักรอ่อนแอ และเป็นแบบอย่างให้เหล่าข้าราชการทำตาม

ปลายพระชนม์

หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์, กรมขุนวิมลพัตร และเจ้านายพระองค์อื่น ๆ ต่างพากันหลบหนีพม่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์เสด็จสวรรคต พม่าตามจับกรมขุนวิมลพัตรพระมเหสี พระราชบุตร และพระบรมวงศานุวงศ์อื่น ๆ กวาดต้อนไปยังกรุงอังวะ โดยพระเจ้ามังระโปรดให้พระองค์รวมทั้งเจ้านายฝ่ายในพระองค์อื่นประทับอยู่ภายในพระราชวังหลวงอังวะ พระองค์ประทับอยู่ที่นั่นจนกระทั่งเสด็จสวรรคต

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

กรมขุนวิมลพัตรเป็นตัวละครในละครโทรทัศน์เรื่อง นิราศสองภพ รับบทโดยดวงหทัย ศรัทธาทิพย์เมื่อ พ.ศ. 2545 ละครโทรทัศน์ ฟ้าใหม่ รับบทโดยปิยะดา เพ็ญจินดาเมื่อ พ.ศ. 2547 ภาพยนตร์ซีรีส์ ศรีอโยธยา รับบทโดยรัดเกล้า อามระดิษเมื่อ พ.ศ. 2560 และเป็นตัวละครในนวนิยายเรื่อง หนึ่งด้าวฟ้าเดียว ของวรรณวรรธน์ ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2557 และถูกดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ในปี พ.ศ. 2561 รับบทโดยจินตหรา สุขพัฒน์

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

    เชิงอรรถ
    บรรณานุกรม
  • นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพระราชพงศาวดารพม่า. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2550. 1136 หน้า. ISBN 978-974-7088-10-6
  • ศานติ ภักดีคำ. พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน. พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2558. 558 หน้า. หน้า (35)-(50). ISBN 978-616-92351-0-1 [จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงศพพระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ.๔)]
  • ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9

Tags:

กรมขุนวิมลพัตร พระราชประวัติกรมขุนวิมลพัตร ในวัฒนธรรมร่วมสมัยกรมขุนวิมลพัตร ลำดับสาแหรกกรมขุนวิมลพัตร อ้างอิงกรมขุนวิมลพัตรการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพระศิวะประวิตร วงษ์สุวรรณประเทศฝรั่งเศสบิลลี ไอลิชสะดุดรักยัยแฟนเช่ามิถุนายนจังหวัดเพชรบุรีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเขตการปกครองของประเทศพม่าดาบพิฆาตอสูรชลิตา ส่วนเสน่ห์จังหวัดเชียงรายอุรัสยา เสปอร์บันด์รัสมุส ฮอยลุนด์เสกสรรค์ ศุขพิมายณฐพร เตมีรักษ์วชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาลอวตาร (ภาพยนตร์)มหาวิทยาลัยนเรศวรอีเอฟแอลแชมเปียนชิปแบมแบมอีเอฟแอลคัพมิตร ชัยบัญชาพิศวาสฆาตเกมส์พรหมโลกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยวันมูหะมัดนอร์ มะทาสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดธนาคารไทยพาณิชย์วอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024พระโคตมพุทธเจ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมหาวิทยาลัยมหิดลความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยทุเรียนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถปฏิจจสมุปบาทภูธเนศ หงษ์มานพวินทร์ เลียววาริณสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสุภาพบุรุษจุฑาเทพสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลวิดีโอองศาเซลเซียสสมเด็จพระนารายณ์มหาราชศุภวุฒิ เถื่อนกลางสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากรชาลิดา วิจิตรวงศ์ทองรายชื่อตอนในโปเกมอนกองทัพอากาศไทยปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์รัตนวดี วงศ์ทองพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์หม่ำ จ๊กมกเจนนิเฟอร์ คิ้มข้าราชการพลเรือนสามัญพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฟุตซอลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรละหมาดโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)นินจาคาถาโอ้โฮเฮะจังหวัดมหาสารคามยุทธการที่เซกิงาฮาระกรรชัย กำเนิดพลอยสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)จัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)แอทลาสอารยา เอ ฮาร์เก็ตโหราศาสตร์ไทยจีเอ็มเอ็มทีวีรายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตสำนักพระราชวัง🡆 More