ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์

ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (อังกฤษ: hydrogen peroxide) มีสูตรทางเคมีว่า H2O2 เป็นสารประกอบเพอร์ออกไซด์ (สารที่ประกอบด้วยออกซิเจนสองตัวและเชื่อมกันด้วยพันธะเดี่ยว) รูปแบบที่ง่ายที่สุด มีสภาพเป็นของเหลวใส หนืดกว่าน้ำเล็กน้อย มีรสขม ไม่อยู่ตัว ซึ่งสามารถสลายตัวเป็นออกซิเจนกับน้ำ เมื่อเจือจางจะเป็นสารละลายไม่มีสี เนื่องจากไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สามารถสลายตัวเป็นน้ำได้เมื่อถูกแสงและความร้อน จึงควรเก็บรักษาสารชนิดนี้ไว้ในภาชนะทึบแสง

ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
ขวด 100 มิลลิลิตรที่มีไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 3%
ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
แบบจำลอง Ball-and-stick ของโมเลกุลไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
สูตรโครงสร้างของไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
สูตรโครงสร้างของไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
space filling model of the hydrogen peroxide molecule
space filling model of the hydrogen peroxide molecule
ชื่อ
IUPAC name
Hydrogen peroxide
ชื่ออื่น
Dioxidane
Oxidanyl
Perhydroxic acid
0-hydroxyol
Dihydrogen dioxide
Oxygenated water
Peroxaan
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ChEBI
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.028.878 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 231-765-0
IUPHAR/BPS
KEGG
RTECS number
  • MX0900000 (สารละลาย >90%)
    MX0887000 (สารละลาย >30%)
UNII
UN number 2015 (สารละลาย >60%)
2014 (สารละลาย 20–60%)
2984 (สารละลาย 8–20%)
CompTox Dashboard (EPA)
InChI
  • InChI=1S/H2O2/c1-2/h1-2H checkY
    Key: MHAJPDPJQMAIIY-UHFFFAOYSA-N checkY
  • InChI=1/H2O2/c1-2/h1-2H
    Key: MHAJPDPJQMAIIY-UHFFFAOYAL
SMILES
  • OO
คุณสมบัติ
H2O2
มวลโมเลกุล 34.0147 g/mol
ลักษณะทางกายภาพ ของเหลวสีน้ำเงินจางมาก
กลิ่น ฉุนเล็กน้อย
ความหนาแน่น 1.11 g/cm3 (20 °C, ผสมสารละลาย 30%)
1.450 g/cm3 (20 °C, บริสุทธิ์)
จุดหลอมเหลว −0.43 องศาเซลเซียส (31.23 องศาฟาเรนไฮต์; 272.72 เคลวิน)
จุดเดือด 150.2 องศาเซลเซียส (302.4 องศาฟาเรนไฮต์; 423.3 เคลวิน) (แตกตัว)
ผสมเข้ากันได้
ความสามารถละลายได้ ละลายได้ในอีเทอร์ แอลกอฮอล์
ละลายไม่ได้ในปิโตรเลียมอีเทอร์
log P -0.43
ความดันไอ 5 mmHg (30 °C)
pKa 11.75
Magnetic susceptibility (χ)
−17.7·10−6 cm3/mol
1.4061
ความหนืด 1.245 cP (20 °C)
Dipole moment
2.26 D
อุณหเคมี
1.267 J/(g·K) (แก๊ส)
2.619 J/(g·K) (ของเหลว)
Std enthalpy of
formation fH298)
−187.80 kJ/mol
เภสัชวิทยา
A01AB02 (WHO) D08AX01, D11AX25, S02AA06
ความอันตราย
GHS labelling:
Pictograms
GHS03: OxidizingThe corrosion pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)The exclamation-mark pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
Signal word
อันตราย
Hazard statements
H271, H302, H314, H332, H335, H412
Precautionary statements
P280, P305+P351+P338, P310
NFPA 704 (fire diamond)
จุดวาบไฟ ไม่วาบไฟ
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC):
LD50 (median dose)
1518 mg/kg[ต้องการอ้างอิง]
2000 mg/kg (ปาก, หนูเมาส์)
LC50 (median concentration)
1418 ppm (หนู, 4 ฃั่วโมง)
LCLo (lowest published)
227 ppm (หนูเมาส์)
NIOSH (US health exposure limits):
PEL (Permissible)
TWA 1 ppm (1.4 mg/m3)
REL (Recommended)
TWA 1 ppm (1.4 mg/m3)
IDLH (Immediate danger)
75 ppm
เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) ICSC 0164 (สารละลาย >60%)
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
น้ำ
โอโซน
ไฮดราซีน
ไฮโดรเจนไดซัลไฟด์
ไดออกซิเจนไดฟลูออไรด์
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

คุณสมบัติ

โดยปกติไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์จะสลายตัวไปเองอย่างช้า ๆ ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำและแก๊สออกซิเจน แสงสว่างและความร้อนจะช่วยเร่งให้เกิดการสลายตัวเร็วขึ้น ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์มีปฏิกิริยาการสลายตัวดังนี้

      ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 

นอกจากนี้ หากมีส่วนผสมของโลหะ โดยเฉพาะเหล็ก แมงกานีส ทองแดง จะทำให้เกิดการสลายตัวเร็วยิ่งขึ้น

วิธีการเก็บรักษาไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ให้เก็บไว้ในที่มืด หรือในภาชนะสีน้ำตาลเข้ม ภาชนะทึบแสง และในที่เย็น นอกจากนี้อาจเติมสารบางชนิดลงไปเล็กน้อย เช่น แอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันไม่ให้สลายตัวเร็วเกินไป

ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ยังมีคุณสมบัติเป็นสารไวไฟ ซึ่งภาชนะบรรจุสารอาจระเบิดได้เมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิสูง ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ให้ใช้น้ำฉีดเป็นฝอย หรืออาจใช้ผงเคมีแห้ง โฟม หรือคาร์บอนไดออกไซด์

การเตรียม

ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สามารถเตรียมได้ จากปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมเพอร์ออกไซด์กับกรดซัลฟิวริกเจือจางที่เย็นจัด ดังสมการ

      ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 

หรือเตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างแบเรียมเพอร์ออกไซด์กับกรดซัลฟิวริกเจือจางที่เย็นจัด ดังสมการ

      ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 

ประโยชน์

ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 
ถังบรรจุไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เพื่อใช้ในการขนส่ง

โดยทั่วไปไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์จะอยู่ในรูปสารละลายความเข้มข้นตั้งแต่ 3–90% มักใช้เป็นสารฟอกสีในอาหาร สารทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อ ใช้ฆ่าเชื้อโรคบนผิวหนัง ใช้ล้างภาพสีน้ำมันเก่า ๆ ให้สดใสขึ้น ทำน้ำยาบ้วนปาก และไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เข้มข้น 90% สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนจรวด

การใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ล้างแผล จะใช้ในฐานะยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อน ๆ เฉพาะที่ เช่น บาดแผลเล็ก ๆ แต่อาจเกิดผลข้างเคียงจากความเป็นพิษ (Cytotoxic) ซึ่งรบกวนการสมานแผล ทำให้แผลแสบ และระคายเคือง ดังนั้นจึงควรใช้สารชนิดนี้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น

ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สามารถใช้ฟอกเส้นผม โดยการนำสารชนิดนี้ไปผสมกับสารชนิดอื่น จนให้สารละลายผสมมีฤทธิ์เป็นด่าง แล้วนำมาฟอกผม จะทำให้เส้นผมมีสีอ่อนลง ง่ายต่อการเปลี่ยนสีผม และยังทำให้สีที่ต้องการย้อมติดกับผมได้ ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ยังมีส่วนผสมอยู่ในน้ำยาโกรกผม ซึ่งในยาย้อมผมไม่ควรมีไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เกิน 6% แต่ที่พบในท้องตลาดมีตั้งแต่ 3–40% ซึ่งหากใช้โดยไม่มีการเจือจางจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองหนังศีรษะ และเส้นผมอาจถูกทำลายได้

นอกจากนี้ยังใช้เป็นสารฟอกขาวในภาคอุตสาหกรรมฟอกย้อม ซึ่งสามารถใช้ได้ดีกับเส้นใยเกือบทุกชนิด พร้อมทั้งเกิดอันตรายต่อเส้นใยน้อยที่สุด ทำให้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ตัวฟอกขาวสากล" (Universal bleaching agent) การฟอกขาวด้วยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ต้องใช้โซเดียมซิลิเกต (Na2SiO3) ควบคุมการสลายตัว นอกจากใช้ฟอกเส้นใยแล้ว ยังใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ฟอกงาช้าง และขนนก และอาจใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เป็นสารแอนติคลอร์ (อังกฤษ: antichlor) ซึ่งใช้ทำลายคลอรีนที่ตกค้างบนเส้นใยหลังผ่านการใช้คลอรีนฟอกขาว มีสมการดังนี้

      ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 

อันตรายต่อสุขภาพอนามัย

เนื่องจากไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์มีฤทธิ์กัดกร่อน การหายใจเอาสารชนิดนี้เข้าไป อาจทำให้เกิดอาการเจ็บคอ ไอ หายใจติดขัด เมื่อสัมผัสผิวหนัง อาจเกิดผื่นแดง รู้สึกปวดแสบปวดร้อน เมื่อรับประทานเข้าไป จะเกิดอาการเจ็บคอ ปวดท้อง และอาเจียนได้ และเมื่อสัมผัสถูกดวงตา จะก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ตาแดง ปวดตา สายตาอาจพร่ามัวได้

    การปฐมพยาบาล

หากได้รับสารโดยการหายใจเข้าไป ให้ผู้ป่วยออกไปอยู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ แต่ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจนช่วย แล้วนำส่งไปพบแพทย์ หากสัมผัสถูกผิวหนังให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก หากสัมผัสดวงตาให้ใช้นิ้วถ่างแยกเปลือกตาออก แล้วฉีดน้ำเย็นล้างตาทันทีเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที แต่ถ้าหากเกิดรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก ให้นำส่งไปพบแพทย์ทันที

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ คุณสมบัติไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ การเตรียมไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ประโยชน์ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ อันตรายต่อสุขภาพอนามัยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ อ้างอิงไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ แหล่งข้อมูลอื่นไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ความหนืดน้ำพันธะเดี่ยวภาษาอังกฤษสูตรเคมีออกซิเจนไฮโดรเจน

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

โลก (ดาวเคราะห์)กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์พระมหากษัตริย์ไทยสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์สุลักษณ์ ศิวรักษ์จังหวัดสมุทรสาครรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ประเทศพม่าตัวเลขโรมันหม่ำ จ๊กมกกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครสงกรานต์ในประเทศไทยเจริญ สิริวัฒนภักดีเปรม ติณสูลานนท์หญิงรักร่วมเพศยูทูบหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินกวนอิมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีรัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรชา อึน-อูจังหวัดมหาสารคามร็อดดี ไพเพอร์ร่มเกล้า ธุวธรรมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเดนิส เจลีลชา คัปปุนภาษาเขมรคิม มิน-แจ (นักฟุตบอล)ธี่หยดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสัปเหร่อ (ภาพยนตร์)ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาฟุตซอลทีมชาติไทยหัวใจไม่มีปลอมคลิปวิดีโอประวัติศาสตร์จีนสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดเงินตราจังหวัดราชบุรีจังหวัดปราจีนบุรีจีเมลตารางธาตุช่อง 3 เอชดีไทยลีกจูด เบลลิงงัมการฆ่าตัวตายพิจักขณา วงศารัตนศิลป์ตี๋ เหรินเจี๋ยจังหวัดระยองจังหวัดของประเทศเกาหลีใต้สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกรายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตงูเขียวพระอินทร์พิศณุ นิลกลัดโช กยู-ซ็องเกริกพล มัสยวาณิชสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเอสเธอร์ สุปรีย์ลีลาบรูโน มาส์สุรเชษฐ์ หักพาลรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยอาณาจักรล้านนาเครื่องคิดเลขอาณาจักรธนบุรีประเทศแคนาดาสาปซ่อนรักประวัติศาสตร์ไทยรายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/กสกูบี้-ดูกังฟูแพนด้า 4ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)เสรีพิศุทธ์ เตมียเวสจังหวัดหนองบัวลำภูรายชื่อตอนในเป็นต่อ2🡆 More