โซมาลีแลนด์

9°45′N 45°58′E / 9.750°N 45.967°E / 9.750; 45.967

สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์

Jamhuuriyadda Soomaaliland (โซมาลี)
ตราแผ่นดินของโซมาลีแลนด์
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติ"ซาโมกูวาร์"
      ดินแดนที่ควบคุม       ดินแดนที่อ้างสิทธิ์แต่ไม่ได้ควบคุม
      ดินแดนที่ควบคุม
      ดินแดนที่อ้างสิทธิ์แต่ไม่ได้ควบคุม
ที่ตั้งของ โซมาลีแลนด์  (เขียวอ่อน) ในแอฟริกา  (ฟ้า)
ที่ตั้งของ โซมาลีแลนด์  (เขียวอ่อน)

ในแอฟริกา  (ฟ้า)

สถานะรัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง; สหประชาชาติรับรองว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโซมาเลียโดยนิตินัย
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ฮาร์เกย์ซา
9°33′N 44°03′E / 9.550°N 44.050°E / 9.550; 44.050
ภาษาราชการโซมาลี
ภาษาที่สองอาหรับ, อังกฤษ
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐในระบบประธานาธิบดี
Muse Bihi Abdi
• รองประธานาธิบดี
Abdirahman Saylici
• ประธานสภาผู้แทนราษฎร
Abdirisak Khalif
• ประธานศาลสูงสุด
Adan Haji Ali
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
House of Elders
สภาผู้แทนราษฎร
ความเป็นอิสระที่ไม่ได้รับรอง 
• อาณาจักรก่อนอิสลามที่หนึ่ง
ป. 2500 ปีก่อน ค.ศ.
• รัฐสุลต่านอิสลามที่หนึ่ง
1185
• รัฐสุลต่านอิซาอัก
1750–1884
• การจัดตั้งบริติชโซมาลีแลนด์
1884
• รัฐโซมาลีแลนด์เป็นเอกราช
26 มิถุนายน 1960
1 กรกฎาคม 1960
• ประกาศอิสรภาพ
18 พฤษภาคม 1991
พื้นที่
• รวม
177,000 ตารางกิโลเมตร (68,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• 2020 ประมาณ
4,171,898 (อันดับที่ 113)
28.27 ต่อตารางกิโลเมตร (73.2 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2018 (ประมาณ)
• รวม
2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
675 ดอลลาร์สหรัฐ
สกุลเงินชิลลิงโซมาลีแลนด์
เขตเวลาUTC+3 (เวลาแอฟริกาตะวันออก)
รูปแบบวันที่ว/ด/ปป (ค.ศ.)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+252 (โซมาเลีย)

โซมาลีแลนด์ (อังกฤษ: Somaliland; โซมาลี: Soomaaliland; อาหรับ: صوماليلاند, أرض الصومال) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ (อังกฤษ: Republic of Somaliland; โซมาลี: Jamhuuriyadda Soomaaliland; อาหรับ: جمهورية صوماليلاند) เป็นรัฐโดยพฤตินัยในจะงอยแอฟริกา ซึ่งนานาชาติถือเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโซมาเลีย โซมาลีแลนด์ตั้งอยู่ที่จะงอยแอฟริกาซึ่งอยู่ทางใต้ของอ่าวเอเดน มีชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับจิบูตี ทางใต้และตะวันตกติดกับเอธิโอเปีย และทางตะวันออกติดกับบริเวณที่ไม่มีข้อพิพาทของโซมาเลีย ดินแดนที่อ้างสิทธิ์นี้มีพื้นที่ 176,120 ตารางกิโลเมตร (68,000 ตารางไมล์) และพลเมืองประมาณ 5.7 ล้านคนใน ค.ศ. 2021 ดินแดนนี้มีฮาร์เกย์ซาเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด รัฐบาลโซมาลีแลนด์ถือตนเองเป็นรัฐสืบทอดจากบริติชโซมาลีแลนด์ซึ่งเป็นรัฐโซมาลีแลนด์ที่เป็นเอกราชช่วงหนึ่งแล้วรวมเข้ากับดินแดนในภาวะทรัสตีโซมาเลีย (อดีตอิตาเลียนโซมาลีแลนด์) ใน ค.ศ. 1960 ก่อให้เกิดสาธารณรัฐโซมาลี

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1991 ดินแดนนี้ได้รับการบริหารจากรัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งตามหลักประชาธิปไตยที่ต้องการการยอมรับจากนานาชาติในฐานะรัฐบาลสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ รัฐบาลกลางยังคงความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการกับรัฐบาลต่างชาติบางประเทศที่ส่งคณะผู้แทนไปที่ฮาร์เกย์ซา เอธิโอเปียยังคงมีสำนักงานการค้าในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีประเทศใดหรือองค์การนานาชาติใด ๆ ยอมรับคำประกาศเอกราชของโซมาลีแลนด์อย่างเป็นทางการ ดินแดนนี้เป็นสมาชิกองค์การชาติและประชาชนที่ไม่มีผู้แทนซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนที่มีสมาชิกประกอบด้วยชนเผ่าพื้นเมือง ชนกลุ่มน้อย และดินแดนที่ถูกยึดครองหรือไม่ได้รับการรับรอง

ประวัติศาสตร์

สิ่งประดิษฐ์มนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศคือ ภาพเขียนที่ถ้ำ Laas Geel เมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่การเกษตร ชาวมุสลิม ได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในบริเวณนี้เมื่อศตวรรษที่ 7-10 และรัฐอาหรับเล็ก ๆ ก็ถูกก่อตั้งขึ้น ใน ค.ศ. 1548 อาณาจักรออตโตมัน ได้เข้ายึดครองบริเวณโซมาลีแลนด์ตะวันตกในปัจจุบัน หลังการลงนามสนธิสัญญาที่ต่อเนื่องกับการพิพากษาแล้วภาษาโซมาลี Sultans เช่น Mohamoud Ali ไชร์ของรัฐสุลต่าน อังกฤษก่อตั้งดินแดนนี้ เรียกว่า บริติชโซมาลีแลนด์

การเมือง

การเมืองปกครองภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ ปกครองแบบระบอบสาธารณรัฐ

พรรคการเมือง

  • พรรคสหประชาธิปไตย
  • พรรคสันติภาพ สามัคคี และการพัฒนา
  • พรรคความยุติธรรมและการพัฒนา

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

โซมาลีแลนด์ ได้ทำการสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ เช่น เอธิโอเปีย จิบูตี เบลเยียม ฝรั่งเศส กานา เคนยา แอฟริกาใต้ สวีเดน สหราชอาณาจักร และไต้หวัน เป็นต้น

การแบ่งเขตการปกครอง

โซมาลีแลนด์ 
แผนที่สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์

สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 แคว้น ได้แก่ เอาดัล, ซาฮิล, Maroodi Jeeh, Togdheer, ซะนากและซูล แคว้นเหล่านี้แบ่งออกเป็น 18 เขต

แคว้นและอำเภอ

แคว้นด้านล่างนี้นำข้อมูลจาก Michael Walls: State Formation in Somaliland: Bringing Deliberation to Institutionalism ใน ค.ศ. 2011 Somaliland: The Strains of Success ใน ค.ศ. 2015 และ ActionAID องค์กรมนุษยชนที่ดำเนินกิจการในโซมาลีแลนด์

แคว้น พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) เมืองหลัก เขต
โซมาลีแลนด์ 
เอาดัล 16,294 Borama Baki, Borama, Zeila, Lughaya
ซาฮิล 13,930 Berbera Sheikh, Berbera
Maroodi Jeeh 17,429 Hargeisa Gabiley, Hargeisa, Salahlay, Baligubadle
Togdheer 30,426 Burao Oodweyne, Buhoodle, Burao
ซะนาก 54,231 Erigavo Garadag, El Afweyn, Erigavo, Lasqoray
ซูล 39,240 Las Anod Aynabo, Las Anod, Taleh, Hudun

ภูมิศาสตร์

โซมาลีแลนด์ 
ภูเขาคัล มาดาว (Cal Madow)

อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโซมาเลีย ละติจูดที่ 08°00' – 11°30' ลองจิจูดที่ 42°30' – 49°00' มีชายฝั่งยาว 740 กิโลเมตร พื้นที่ 137,600 ตารางกิโลเมตร ฤดูกาลในโซมาลีแลนด์ ได้แก่ ฤดูแล้ง และ ฤดูฝน ภาคเหนือเป็นหุบเขา สูง 900-2,100 จากระดับน้ำทะเล

เศรษฐกิจ

โซมาลีแลนด์ใช้เงินทั้งสกุลชิลลิงโซมาลีแลนด์ (อังกฤษ: Somaliland shilling, โซมาลี: Soomaaliland shilin) ซึ่งประเทศอื่นโดยส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับเงินสกุลนี้ และเงินสกุลชิลลิงโซมาเลีย ที่ได้รับการยอมรับนอกประเทศมากกว่า

ประชากร

ประชากรในอดีต
ปีประชากร±%
1899246,000—    
1960650,000+164.2%
19972,000,000+207.7%
20063,500,000+75.0%
20134,500,000+28.6%
20215,700,000+26.7%
ข้อมูล: หลายแหล่ง

ดินแดนนี้ไม่มีสำมะโนอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่สำมะโนโซมาเลียใน ค.ศ. 1975 โดยข้อมูลสำมะโน ค.ศ. 1986 ยังไม่ได้รับการเผยแพร่เป็นสาธารณสมบัติ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติจัดการประมาณการประชากรใน ค.ศ. 2014 โดยประมาณการว่ามีประชากรในโซมาลีแลนด์ที่ 3.5 ล้านคน รัฐบาลโซมาลีแลนด์ระบุจำนวนประชากรโดยประมาณที่ 5.7 ล้านคนใน ค.ศ. 2021

นอกจากนี้ยังมีผู้พลัดถิ่นจากโซมาลีแลนด์ประมาณ 600,000 ถึงล้านคน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในยุโรปตะวันตก ตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือ และประเทศในแอฟริกาหลายแห่ง

ศาสนา

โซมาลีแลนด์ 
แผ่นกุรอาน

ชาวโซมาลีในโซมาลีแลนด์และที่อื่น ๆ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่อยู่ในนิกายซุนนีและสำนักชาฟิอี

วัฒนธรรม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

โซมาลีแลนด์ ประวัติศาสตร์โซมาลีแลนด์ การเมืองโซมาลีแลนด์ การแบ่งเขตการปกครองโซมาลีแลนด์ ภูมิศาสตร์โซมาลีแลนด์ เศรษฐกิจโซมาลีแลนด์ ประชากรโซมาลีแลนด์ วัฒนธรรมโซมาลีแลนด์ อ้างอิงโซมาลีแลนด์ แหล่งข้อมูลอื่นโซมาลีแลนด์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

โอลิมปิกฤดูร้อน 2024รัฐของสหรัฐสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลวันวิสาขบูชาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวชวน หลีกภัยพรหมลิขิตยงวรี อนิลบลจังหวัดจันทบุรีอแมนด้า ออบดัมสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรมัณฑนา หิมะทองคำโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)ลุค อิชิกาวะ พลาวเดนกองทัพ พีคคนลึกไขปริศนาลับดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทวิทยุเสียงอเมริกาทายาทไหทองคำสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติบริษัทณฐพร เตมีรักษ์สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีชลิตา ส่วนเสน่ห์พระมหากษัตริย์ไทยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพอได้เกิดใหม่เป็นองค์ชายลําดับที่เจ็ด ก็เพื่อเรียนเวทให้สนุกโหราศาสตร์ไทยภาคกลาง (ประเทศไทย)แมวสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเดนิส เจลีลชา คัปปุนธนวรรธน์ วรรธนะภูติเครื่องคิดเลขรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยบาปเจ็ดประการประวัติศาสนาคริสต์รายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครนิภาภรณ์ ฐิติธนการปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ธนภพ ลีรัตนขจรลองของฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ประเทศไทยมหาวิทยาลัยขอนแก่นเร็ว..แรงทะลุนรก 10จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เศรษฐศาสตร์ภาพอาถรรพณ์พ.ศ. 2565วันพีซวรันธร เปานิลประชาธิปไตยศรัณยู ประชากริชกกสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาแอน อรดีธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญพระศิวะวชิรวิชญ์ ชีวอารีตระกูลบุนนาคภาคตะวันออก (ประเทศไทย)สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีณัฐภัสสร สิมะเสถียรลานีญาX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)บัตเตอร์ฟลาย (วงดนตรี)สหรัฐองศาเซลเซียสประเทศฝรั่งเศสสโมสรฟุตบอลไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียนพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ26 เมษายนก็อตซิลลา🡆 More