เขตปกครองสามัญ

เขตปกครองสามัญ (เยอรมัน: Generalgouvernement, โปแลนด์: Generalne Gubernatorstwo, ยูเครน: Генеральна губернія) ยังถูกเรียกอีกอย่างว่า เขตปกครองสามัญสำหรับภูมิภาคโปแลนด์ที่ถูกยึดครอง (เยอรมัน: Generalgouvernement für die besetzten polnischen Gebiete) เป็นเขตยึดครองของเยอรมนีที่ถูกจัดตั้งขึ้นหลังการรุกรานโปแลนด์โดยนาซีเยอรมนี สโลวาเกีย และสหภาพโซเวียต เมื่อเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สอง สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ที่เพิ่งถูกยึดครองมาใหม่ ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนเขตปกครองสามัญอยู่ตรงกลาง, ดินแดนของโปแลนด์ที่ถูกผนวกโดยนาซีเยอรมนีอยู่ด้านตะวันตก และดินแดนของโปแลนด์ที่ถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียตอยู่ด้านตะวันออก ดินแดนแห่งนี้ถูกขยายไปออกอย่างมากใน ค.ศ.

1941 ภายหลังการรุกรานสหภาพโซเวียตโดยเยอรมนี รวมทั้งอำเภอใหม่แห่งกาลิเซีย

เขตปกครองสามัญ

Generalgouvernement  (เยอรมัน)
Generalne Gubernatorstwo  (โปแลนด์)
ค.ศ. 1939–ค.ศ. 1945
เขตปกครองสามัญในปี ค.ศ. 1942
เขตปกครองสามัญในปี ค.ศ. 1942
สถานะรัฐองค์ประกอบการปกครองตนเอง
ของ นาซีเยอรมัน
เมืองหลวงลิสมันท์ชทัดท์ (Litzmannstadt) (12 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939)
กรากุฟ (4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939–1945)
ภาษาทั่วไปเยอรมัน (เป็นทางการ)
โปแลนด์
ยูเครน
ยิดดิช
การปกครองเขตการปกครองทางทหาร
ผู้สำเร็จราชการทั่วไป 
• 1939–1945
ฮันส์ ฟรังค์
เลขานุการแห่งรัฐ 
• 1939–1941
อาร์ทัวร์ ไซส์-อินควาร์ท
• 1941–1945
โยเซ็ฟ บือเลอร์
ยุคประวัติศาสตร์การบุกครองโปแลนด์ในสงครามโลกครั้งที่สอง
12 ตุลาคม ค.ศ. 1939
• เพิ่มอำเภอกาลิเซีย
1 สิงหาคม ค.ศ. 1941
• โปแลนด์ประกาศฟื้นฟูรัฐ
22 กรกฎาคม ค.ศ. 1944
17 มกราคม ค.ศ. 1945
• ล่มสลาย
19 มกราคม ค.ศ. 1945
พื้นที่
193995,000 ตารางกิโลเมตร (37,000 ตารางไมล์)
1941142,000 ตารางกิโลเมตร (55,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1941
12000000
สกุลเงินซวอตือ
ไรชส์มาร์ค
ก่อนหน้า
ถัดไป
เขตปกครองสามัญ ค.ศ. 1939:
การปกครองโปแลนด์ทางทหารของเยอรมนี
เขตปกครองสามัญ ค.ศ. 1941:
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน
รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ เขตปกครองสามัญ
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเขตปกครองสามัญ โปแลนด์
เขตปกครองสามัญ สโลวาเกีย
เขตปกครองสามัญ ยูเครน

พื้นฐานสำหรับการจัดตั้งเขตปกครองสามัญ คือ "ภาคผนวกกฤษฎีกาเกี่ยวกับการบริหารของดินแดนยึดครองโปแลนด์" ถูกประกาศโดยฮิตเลอร์ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1939 เขาได้ยืนยันว่ารัฐบาลโปแลนด์ถูกยุบลงโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุผลนี้ได้ถูกนำมาใช้โดยศาลฎีกาเยอรมนีในการกำหนดตัวตนของชาวโปแลนด์ทั้งหมดในฐานะบุคคลไร้สัญชาติ กับการยกเว้นกลุ่มชาวเยอรมันของโปแลนด์ในช่วงสงคราม ชื่อนามเพียงหนึ่งเดียวที่ถูกต้องตามกฎหมายของไรช์ที่สาม โดยไม่คำนึงถึงกฎหมายระหว่างประเทศ

เขตปกครองสามัญถูกดำเนินการโดยนาซีเยอรมนี ในฐานะหน่วยบริหารที่ถูกแยกออกจากกัน เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการส่งกำลังบำรุง เมื่อกองกำลังแวร์มัคท์รุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 (ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา) ดินแดนของเขตปกครองสามัญถูกขยายใหญ่ขึ้น โดยการรวมภูมิภาคของโปแลนด์ ที่เคยถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียตในก่อนหน้านี้ ภายในไม่กี่วัน อำเภอกาลิเซียตะวันออกก็ถูกรุกรานและถูกรวมเข้ากับอำเภอกาลิเซีย จนถึง ค.ศ. 1945 เขตปกครองสามัญประกอบไปด้วยดินแดนของโปแลนด์ในภาคกลาง, ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ ภายในพรมแดนก่อนเกิดสงคราม (และรวมไปถึงภาคตะวันตกของยูเครนในปัจจุบัน) รวมไปถึงเมืองสำคัญของโปแลนด์อย่างวอร์ซอ, กรากุฟ, ลวุฟ (ในปัจจุบันนี้คือลวิว, ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น แลมแบร์ก), ลูบลิน (ดูที่: การสงวนลูบลิน), ตาร์โนโปอล (ดูที่: ประวัติศาสตร์ของตาร์โนโปอลเกตโต), สตาญิสวุฟ (ในปัจจุบันนี้คืออีวาโน-ฟรันคีวัฟ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น สตันนีสเลา; ดูที่: สตาญิสวุฟเกตโต), โดรโคเบ็สค์ และซัมบวอร์ (ดูที่: โดรโคเบ็สค์และซัมบวอร์เกตโต) และอื่น ๆ สถานที่ทางภูมิศาสตร์ก็ถูกเปลื่ยนชื่อเป็นภาษาเยอรมัน

การบริหารงานของเขตปกครองสามัญจะประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ของเยอรมนีทั้งหมด โดยมีเจตนารมณ์ที่จะให้ดินแดนแห่งนี้ตกเป็นที่ตั้งรกรากโดยผู้ตั้งถิ่นฐานชาวเยอรมัน ผู้ที่จะลดประชากรชาวโปแลนด์ให้เหลืออยู่ในระดับทาส ก่อนที่จะถูกกำจัดทางชีวภาพในที่สุด ผู้ปกครองของเขตปกครองสามัญ (Generalgouvernement) ของนาซีเยอรมนี ไม่มีเจตนารมณ์ที่จะแบ่งปันการปกครองกับคนท้องถิ่นตลอดช่วงสงคราม โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและทิศทางทางการเมือง เจ้าหน้าที่มักจะไม่เอ่ยถึงคำว่า โปแลนด์ ในความสอดคล้องทางกฎหมาย ยกเว้นเพียงแต่กรณีเดียว คือ โรงพิมพ์ธนบัตรในโปแลนด์ของเขตปกครองสามัญ (โปแลนด์: Bank Emisyjny w Polsce, เยอรมัน: Emissionbank in Polen)

หมายเหตุ

อ้างอิง

This article uses material from the Wikipedia ไทย article เขตปกครองสามัญ, which is released under the Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 license ("CC BY-SA 3.0"); additional terms may apply (view authors). เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 4.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น Images, videos and audio are available under their respective licenses.
®Wikipedia is a registered trademark of the Wiki Foundation, Inc. Wiki ไทย (DUHOCTRUNGQUOC.VN) is an independent company and has no affiliation with Wiki Foundation.

Tags:

การรุกรานโปแลนด์นาซีเยอรมนีปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาภาษายูเครนภาษาเยอรมันภาษาโปแลนด์สงครามโลกครั้งที่สองสหภาพโซเวียตสาธารณรัฐสโลวักที่ 1สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกธนาคารกสิกรไทยหลวงปู่ทวดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนิพัทธ์ ทองเล็กจังหวัดตากสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาบอดี้สแลมฟุตซอลโลก 2012กองทัพอากาศไทยกวนอิมประเทศอิหร่านประเทศอินโดนีเซียปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลพระคเณศฟุตซอลโลกจักรพรรดิยงเจิ้งFชลน่าน ศรีแก้วสะดุดรักยัยแฟนเช่าคดีพรหมพิรามอริยสัจ 4พิศวาสฆาตเกมส์ดาวิกา โฮร์เน่ภาคเหนือ (ประเทศไทย)แอน อรดีไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์อนุทิน ชาญวีรกูลฮัน กา-อินพิจักขณา วงศารัตนศิลป์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากรพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลปราโมทย์ ปาทานมหาวิทยาลัยมหาสารคามสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์รอย อิงคไพโรจน์เอลนีโญรายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแฮร์รี่ พอตเตอร์มธุรสโลกันตร์รายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลานีญาพิชญ์นาฏ สาขากรดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ช่องวัน 31พ.ศ. 2565รายการรหัสไปรษณีย์ไทยวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยกฤษณภูมิ พิบูลสงครามภาคตะวันออก (ประเทศไทย)ICD-10สำราญ นวลมาวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024ราชินีแห่งน้ำตามหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2022กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)ไททานิค (ภาพยนตร์)ไพรวัลย์ วรรณบุตรเศรษฐศาสตร์ชวลิต ยงใจยุทธฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียทุเรียนรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยเมธวิน โอภาสเอี่ยมขจรจังหวัดสกลนครเรวัช กลิ่นเกษรมหาวิทยาลัยนเรศวรสุรเชษฐ์ หักพาลสินจัย เปล่งพานิชธี่หยด🡆 More