เสกสกล อัตถาวงศ์: นักการเมืองชาวไทย

เสกสกล อัตถาวงศ์ (เดิม: สุภรณ์ อัตถาวงศ์) กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการกิจการสัมพันธ์ และกรรมการตรวจสอบ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) อดีตที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ผู้ก่อตั้งและรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคไทยรักไทย และเคยเป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน

เสกสกล อัตถาวงศ์
เสกสกล อัตถาวงศ์: ประวัติ, การอบรม, การทำงาน
เสกสกล ในปี พ.ศ. 2563
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 18 เมษายน พ.ศ. 2565
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 เมษายน พ.ศ. 2507 (60 ปี)
อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
พรรคการเมืองกิจสังคม (2531 - 2533)
ความหวังใหม่ (2533 - 2539)
ประชาธิปัตย์ (2539 - 2542)
ไทยรักไทย (2542 - 2550)
เพื่อไทย (2555 - 2561)
พลังประชารัฐ (2561 - 2565)
เทิดไท (2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2565 - 2566)

ประวัติ

เสกสกล อัตถาวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2507 ที่ตำบลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของนายประวัติ-นางสุ้น อัตถาวงศ์ และเป็นน้องชายของนายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา และพี่ชายนาย ชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์​ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)

การศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนครบุรี จบ มศ.5 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาเอก สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

การอบรม

หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 8 สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า, หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 25 (ปปร.25)  วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า, โครงการพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพของผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (หลักสูตร WiNS) รุ่นที่ 2  กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม และหลักสูตรนักบริหารด้านสิทธิมนุษยชน ระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 1 สถาบันพัฒนาสิทธิมนุษยชน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

การทำงาน

นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ เริ่มทำงานที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าหน้าที่กองหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ และใช้เวลาว่างในการเป็นผู้ช่วยผู้ดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา พรรคกิจสังคม เป็นผู้ช่วยทำงานให้เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ต่อมาจึงได้ย้ายติดตามนายมนตรี ด่านไพบูลย์ มาสังกัดพรรคความหวังใหม่ หลังจากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าอาสาสมัครรณรงค์เลือกตั้งของพรรคความหวังใหม่ ในปี พ.ศ. 2538 และลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งแรกที่จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2539 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 นายสุภรณ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. ครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 74

ต่อมาใน พ.ศ. 2561 นายสุภรณ์ได้ย้ายเข้ามาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ภายหลังเขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี และได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลการแก้ไขปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาลมีราคาแพง

ในปี พ.ศ. 2565 เขาได้ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ และเข้าร่วมพรรครวมไทยสร้างชาติ กระทั่งในเดือนเมษายนของปีเดียวกัน เขาได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยรัฐบาล และยุติบทบาทในพรรครวมไทยสร้างชาติ เนื่องจากกรณีคลิปเสียงเกี่ยวกับการจัดผลประโยชน์ในโควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาล กระทั่งวันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565 นายเสกสกลได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติอย่างเป็นทางการต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ต่อมาในวันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 นายเสกสกลได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคเทิดไท ก่อนจะลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคไปโดยปริยาย และกลับมาเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติอีกครั้ง ก่อนที่ในวันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566 เขาจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี กระทั่งวันที่ 3 ตุลาคม 2566 นายเสกสกลได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองทำให้พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคโดยให้มีผลทันที

การร่วมชุมนุมทางการเมือง

นายสุภรณ์ เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่ม นปช. ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีและร้องเพลง"กตัญญู ทักษิณ" จนกระทั่งรัฐบาลสั่งการปฏิบัติการณ์กระชับวงล้อมในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และแกนนำ นปช. ประกาศสลายการชุมนุมไปเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ที่สี่แยกราชประสงค์ นายสุภรณ์ได้ส่งตัวแทนชี้แจงว่าจะเข้ามอบตัวต่อ ศอฉ. หลังจากยกเลิกเคอร์ฟิว จากนั้นก็หายตัวไปและไม่ติดต่อกลับมาอีก แหล่งข่าวจำนวนหนึ่งอ้างว่านายสุภรณ์ไปหลบซ่อนตัวในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งก็ไม่มีหลักฐานยืนยันแต่ประการใด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

Tags:

เสกสกล อัตถาวงศ์ ประวัติเสกสกล อัตถาวงศ์ การอบรมเสกสกล อัตถาวงศ์ การทำงานเสกสกล อัตถาวงศ์ การร่วมชุมนุมทางการเมืองเสกสกล อัตถาวงศ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์เสกสกล อัตถาวงศ์ อ้างอิงเสกสกล อัตถาวงศ์การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพรรครวมไทยสร้างชาติพรรคไทยรักไทยพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จุลจักร จักรพงษ์ผักกาดหัวอี อารึมนักเตะแข้งสายฟ้าดาวซานถี่ อุบัติการณ์สงครามล้างโลกฟุตบอลทีมชาติจีนลำไย ไหทองคำไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)คิม ซู-ฮย็อนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)จังหวัดพิษณุโลกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยไทยลีกรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานีสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาจังหวัดอุดรธานีเกาะกูดการ์ลัส ปุดจ์ดาโมนชนม์สวัสดิ์ อัศวเหมโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยศุภณัฏฐ์ เหมือนตาบุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567เพื่อน(ไม่)สนิทจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีกรภัทร์ เกิดพันธุ์สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดประเทศเช็กเกียพงษ์สิทธิ์ คำภีร์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรีอินเจนูอิตีหญิงรักร่วมเพศสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ปีนักษัตรลือชัย งามสมวันพีซสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเอเลียส ดอเลาะหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินวิชัย สังข์ประไพฐสิษฐ์ สินคณาวิวัฒน์เศรษฐศาสตร์นิษฐา คูหาเปรมกิจรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)เมแทบอลิซึมอัสซะลามุอะลัยกุมจังหวัดเพชรบูรณ์ทวิตเตอร์สงครามเย็นสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์อวตาร (ภาพยนตร์)บรรดาศักดิ์ไทยมหาวิทยาลัยรามคำแหงโทโยโตมิ ฮิเดโยชิเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีฟุตบอลทีมชาติอังกฤษสงกรานต์เขตพื้นที่การศึกษาสุรสีห์ ผาธรรมจังหวัดภูเก็ตศรีรัศมิ์ สุวะดีเพลงธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตคริสเตียโน โรนัลโดไททานิค (ภาพยนตร์)สายัณห์ สัญญาเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีหอแต๋วแตกกวนอิมจังหวัดชุมพรมาริโอ้ เมาเร่อธงไชย แมคอินไตย์🡆 More