สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์: นักการเมืองชาวไทย

ดร.คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (เกิด 1 พฤษภาคม พ.ศ.

2504) ชื่อเล่น หน่อย เป็นนักการเมืองชาวไทย ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย และประธานมูลนิธิไทยพึ่งไทย อดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีเคยดำรงตำแหน่งสำคัญทั้งในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร และ ชวน หลีกภัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 และเคยร่วมประท้วงในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์: ประวัติ, การเมือง, บทบาททางสังคม
สุดารัตน์ ใน พ.ศ. 2563
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ถัดไปธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้ากร ทัพพะรังสี
ถัดไปสุชัย เจริญรัตนกุล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าสุชาติ ตันเจริญ
ถัดไปอาษา เมฆสวรรค์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการวิชิต สุรพงษ์ชัย
ก่อนหน้าจรัส พั้วช่วย
ถัดไปสมบัติ อุทัยสาง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 58 วัน)
หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 กันยายน พ.ศ. 2565
ก่อนหน้าสอิสร์ โบราณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (62 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังธรรม (2535–2541)
ไทยรักไทย (2541–2550)
เพื่อไทย (2555–2563)
ไทยสร้างไทย (2564–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสมยศ ลีลาปัญญาเลิศ
บุตร

ประวัติ

สุดารัตน์เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 เป็นบุตรของสมพล เกยุราพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา และเรณู เกยุราพันธ์ สุดารัตน์สมรสกับสมยศ ลีลาปัญญาเลิศ นักธุรกิจชาวไทย มีบุตรชาย 2 คน และบุตรหญิง 1 คน ดังนี้

  1. ภูมิภัทร ลีลาปัญญาเลิศ (บอส)
  2. พีรภัทร ลีลาปัญญาเลิศ (เบสท์)
  3. ยศสุดา ลีลาปัญญาเลิศ (จินนี่)

สุดารัตน์จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านการตลาด จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Shi 41) และระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ (MBA จาก GIBA) สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สุดารัตน์ ยังได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์เชิดชูเกียรติคุณ) สาขาวิชาพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม จากสภามหาวิทยาลัยนครพนม และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

การเมือง

สุดารัตน์เข้าสู่แวดวงการเมืองครั้งแรกในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 12 พรรคพลังธรรม (บางเขน, หลักสี่, ดอนเมือง, สายไหม, มีนบุรี, หนองจอก, คลองสามวา) ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งกรุงเทพมหานคร ต่อมาในปลายปีเดียวกันได้มีการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง สุดารัตน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 7 พรรคพลังธรรม (ลาดพร้าว, วังทองหลาง, บางกะปิ, บึงกุ่ม, คันนายาว, สะพานสูง) และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของชวน หลีกภัย สมัยที่ 1 หรือ รัฐบาลชวน 1/1

ในปี พ.ศ. 2537 สุดารัตน์ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคพลังธรรม และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของชวน หลีกภัย หรือรัฐบาลชวน 1/2 ต่อมาได้จัดให้มีการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2538 สุดารัตน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 7 พรรคพลังธรรม (บางกะปิ, บึงกุ่ม, วังทองหลาง, คันนายาว, สะพานสูง) และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา หรือรัฐบาลบรรหาร 1 จนกระทั่งมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรและมีการเลือกตั้งในปีถัดมา

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 สุดารัตน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 7 (บางกะปิ, บึงกุ่ม, วังทองหลาง, คันนายาว, สะพานสูง) โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคพลังธรรม เพียงคนเดียวในสภาฯ ต่อมาเธอได้ลาออกจากพรรคพลังธรรม เพื่อไปจัดตั้ง กลุ่มพลังไทย ซึ่งเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต พ.ศ. 2541 โดยมี สก. ของกลุ่มพลังไทยได้รับเลือกตั้งทั้งหมด 13 คน หลังสิ้นสุดการเลือกตั้ง สุดารัตน์ก็ได้รับเชิญให้ไปสังกัดพรรคไทยรักไทย ของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคในเวลาต่อมา

ใน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 สุดารัตน์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามของพรรคไทยรักไทย นับเป็นครั้งแรกของพรรคที่ได้ลงสนามการเลือกตั้ง หากไม่นับการเลือกตั้งซ่อม สก. โดยสุดารัตน์ได้คะแนนรวมเป็นลำดับสอง พ่ายแพ้ให้กับ สมัคร สุนทรเวช ซึ่งมีคะแนนเสียงมากกว่าเกือบสองเท่า

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สุดารัตน์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดูแลรับผิดชอบงานนโยบายสำคัญของรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น) คือนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้รับเลือกตั้งอีกสมัย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนกระทั่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี (30 พ.ค. 50 - 30 พ.ค. 55) เนื่องจากเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549

ภายหลังพ้นกำหนดถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง สุดารัตน์ได้เข้ารับตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย โดยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 สุดารัตน์เป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย พร้อมกับชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และชัยเกษม นิติสิริ รวมทั้งได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 2 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 สุดารัตน์ลาออกจากพรรคเพื่อไทย โดยระบุเหตุผล 3 ประการ ได้แก่ 1. ความไม่ชัดเจนเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร 2. มีการตั้งกรรมการและอนุกรรมการโดยกีดกันทีมของเธอ และ 3. การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ที่ไม่อนุญาตให้เธอลงพื้นที่ช่วยหาเสียง จากนั้นในปี พ.ศ. 2564 ได้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยสร้างไทย และดำรงตำแหน่งประธานพรรค ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2565 โดยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 สุดารัตน์เป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่อยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคไทยสร้างไทย พร้อมกับสุพันธุ์ มงคลสุธี และศิธา ทิวารี รวมทั้งได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 และได้รับเลือกตั้ง โดยเป็น สส. ระบบบัญชีรายชื่อคนเดียวของพรรคไทยสร้างไทยในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 แต่สุดารัตน์ทำหน้าที่ สส. เพียงแค่ 1 ครั้ง คือในการประชุมครั้งแรกเพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร หลังจากนั้นก็ได้ประกาศลาออกจาก สส. เพื่อเปิดโอกาสให้คนอื่นในพรรคได้ขึ้นมาทำหน้าที่แทน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขต 12 สังกัดพรรคพลังธรรม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขต 7 สังกัดพรรคพลังธรรม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขต 7 สังกัดพรรคพลังธรรม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขต 7 สังกัดพรรคพลังธรรม
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยสร้างไทย

บทบาททางสังคม

สุดารัตน์ ได้จัดตั้งมูลนิธิผู้หญิงเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มผู้หญิงกับการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2536 ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นสถาบันผู้หญิงกับการเมือง (เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงได้มีความรู้ความเข้าใจในการเมือง ที่ถูกต้อง และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองมากขึ้น) และในปี พ.ศ. 2541 ได้จัดตั้งโครงการ “ไทยพึ่งไทย” เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่ตกงานให้สามารถสร้างงานสร้างอาชีพของตนเองได้ในยามที่ประเทศกำลังประสบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ

ปี พ.ศ. 2554 สุดารัตน์ รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโครงการ “หนึ่งใจ...ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และสู้ภัยพิบัติแห่งชาติ” ของมูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประธานกรรมการมูลนิธิไทยพึ่งไทย ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการสถาบันสร้างไทย

รางวัลเชิดชูเกียรติคุณ

  • สภามหาวิทยาลัยนครพนมได้อนุมัติปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์เชิดชูเกียรติคุณ) สาขาวิชาพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม มอบให้ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ถัดไป
วันมูหะมัดนอร์ มะทา สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์: ประวัติ, การเมือง, บทบาททางสังคม  สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์: ประวัติ, การเมือง, บทบาททางสังคม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม.55)
(11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์: ประวัติ, การเมือง, บทบาททางสังคม  ธีระ สูตะบุตร
กร ทัพพะรังสี สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์: ประวัติ, การเมือง, บทบาททางสังคม  สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์: ประวัติ, การเมือง, บทบาททางสังคม 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ครม.54)
(17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548)
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์: ประวัติ, การเมือง, บทบาททางสังคม  สุชัย เจริญรัตนกุล
สอิสร์ โบราณ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์: ประวัติ, การเมือง, บทบาททางสังคม  สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์: ประวัติ, การเมือง, บทบาททางสังคม 
หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย
(9 กันยายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน)
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์: ประวัติ, การเมือง, บทบาททางสังคม  ยังดำรงตำแหน่ง

Tags:

สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประวัติสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ การเมืองสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ บทบาททางสังคมสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รางวัลเชิดชูเกียรติคุณสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ลำดับสาแหรกสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อ้างอิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แหล่งข้อมูลอื่นสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ชวน หลีกภัยทักษิณ ชินวัตรนักการเมืองพรรคเพื่อไทยพรรคไทยสร้างไทยพฤษภาทมิฬสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ประเทศมาเลเซียสโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโนสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดรายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทยระบบวัชรพล ประสารราชกิจญีนา ซาลาสเพลงภาวะโลกร้อนสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)Gศาสนาพุทธพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจิราพร สินธุไพรเอซี มิลานแอน อรดีอาแอ็ส แซ็งเตเตียนองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)กรมสรรพากรพระศรีอริยเมตไตรยศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนาตะเคียนราชกิจจานุเบกษาจุลจักร จักรพงษ์จังหวัดของประเทศเกาหลีใต้เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์เจสัน สเตธัมเดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์จำนวนเฉพาะพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตโป๊กเกอร์ชานน สันตินธรกุลรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยสงครามเย็นเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024ท่าอากาศยานดอนเมืองมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพิ่มพูน ชิดชอบจังหวัดปทุมธานีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลหม่ำ จ๊กมกประเทศเวียดนามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จังหวัดชุมพรสุภาพร มะลิซ้อนอิสระ ศรีทะโรสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาเอลนีโญคนลึกไขปริศนาลับไอแซก นิวตันจังหวัดเลยเบิ้ล ปทุมราช อาร์สยามรายชื่อสัตว์สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)นิวรณ์เกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วยอดนักสืบจิ๋วโคนันรายชื่อบริษัทมหาชนในประเทศไทยจังหวัดตากการ์ตูนหมาลำไย ไหทองคำX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณอชิรญา นิติพน2พระพุทธชินราชลูซิเฟอร์โทกูงาวะ อิเอยาซุนิชคุณ ขจรบริรักษ์ชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์ธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญพวงเพ็ชร ชุนละเอียด🡆 More