ลตา มังเคศกร

ลตา มังเคศกร (มราฐี: लता मंगेशकर,  ( ฟังเสียง); ชื่อเกิด เหมา มังเคศกร; 28 กันยายน ค.ศ.

1929 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022) เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงชาวอินเดีย เธอได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในนักร้องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดในอินเดีย เธอมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมดนตรีอินเดียเป็นเวลาแปดทศวรรษ ซึ่งทำให้เธอได้รับฉายาต่าง ๆ เช่น "ราชินีแห่งเสียงเพลง", "ไนติงเกลแห่งอินเดีย" และ "เสียงแห่งสหัสวรรษ"

ลตา มังเคศกร
ลตา มังเคศกร
มังเคศกรใน ค.ศ. 2013
เกิดเหมา มังเคศกร
28 กันยายน ค.ศ. 1929(1929-09-28)
อินดอร์ รัฐอินดอร์ หน่วยงานกลางอินเดีย บริติชราช
(ปัจจุบันคือรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย)
เสียชีวิต6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022(2022-02-06) (92 ปี)
มุมไบ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย
ชื่ออื่นราชินีแห่งเสียงเพลง
ไนติงเกลแห่งอินเดีย
เสียงแห่งสหัสวรรษ
อาชีพ
  • นักร้อง Playback
  • นักแต่งเพลง
  • ผู้ผลิตภาพยนตร์
ปีปฏิบัติงานค.ศ. 1942–2022
บิดามารดา
  • Deenanath Mangeshkar (บิดา)
ญาติตระกูล Mangeshkar-Hardikar-Abhisheki
รางวัล
  • National Film Awards
  • BFJA Awards
  • Filmfare Award for Best Female Playback Singer
  • Filmfare Special Awards
  • Filmfare Lifetime Achievement Award
เกียรติยศ
สมาชิกรัฐสภา ราชยสภา
เขตเลือกตั้งเข้าชิง (Arts)
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ลายมือชื่อ
ลตา มังเคศกร

ลตาบันทึกเสียงเพลงในภาษาอินเดียมากกว่า 36 ภาษา และภาษาต่างชาติบางภาษา ส่วนใหญ่บันทึกในภาษามราฐี ฮินดี และเบงกอล ส่วนภาษาต่างชาติ ได้แก่อังกฤษ รัสเซีย ดัตช์ เนปาล และสวาฮีลี เธอได้รับรางวัลและเครื่องอิสริยาภรณ์หลายตำแหน่ง โดยใน ค.ศ 1989 รัฐบาลอินเดียได้ให้รางวัล Dadasaheb Phalke Award แก่เธอ จากนั้นใน ค.ศ. 2001 เธอได้รับรางวัลภารตรัตนะ รางวัลพลเมืองชั้นสูงสุดของอินเดีย โดยเป็นสตรีคนที่สองที่ได้รับรางวัลนี้ (คนแรกที่ได้รับคือ M. S. Subbulakshmi) ทางฝรั่งเศสได้ให้เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ชั้นเจ้าพนักงานแก่เธอใน ค.ศ. 2007

เธอได้รับรางวัล National Film Awards 3 รางวัล, Bengal Film Journalists' Association Awards 15 รางวัล, Filmfare Best Female Playback Award 4 รางวัล, Filmfare Special Award 2 รางวัล, Filmfare Lifetime Achievement Award และอื่น ๆ ใน ค.ศ. 1974 เธอเป็นหนึ่งในนักร้อง playback ชาวอินเดียคนแรกที่แสดงในรอยัลอัลเบิร์ตฮอลล์ในลอนดอน สหราชอาณาจักร เพลงบันทึกสุดท้ายของเธอคือ "Saugandh Mujhe Is Mitti ki" ที่เผยแพร่ในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2019 เพื่ออุทิศแด่กองทัพบกและชาติอินเดีย

ณ จุดหนึ่ง ทางบันทึกสถิติโลกกินเนสส์จัดให้เธอเป็นศิลปินที่มีการบันทึกเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ช่วง ค.ศ. 1948 ถึง 1987

อาชีพนอกจากการร้องเพลง

นักแต่งเพลง

ลตา มังเคศกรแต่งเพลงครั้งแรกใน ค.ศ. 1955 ให้กับภาพยนตร์ภาษามราฐี Ram Ram Pavhane จากนั้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 เธอได้แต่งเพลงในภาพยนตร์ภาษามราฐีหลายเรื่องภายใต้นามแฝง Anand Ghan

  • 1950 – Ram Ram Pavhana
  • 1963 – Maratha Tituka Melvava
  • 1963 – Mohityanchi Manjula
  • 1965 – Sadhi Manase
  • 1969 – Tambadi Mati

เธอได้รับรางวัลผู้กำกับเพลงดีเด่นในภาพยนตร์ Sadhi Manase จากรัฐบาลรัฐมหาราษฏระ ส่วนเพลง "Airanichya Deva Tula" จากภาพยนตร์เดียวกันก็ได้รับรางวัลเพลงดีเด่น

ผู้ผลิต

ลตา มังเคศกรผลิตภาพยนตร์สี่เรื่อง:

  • 1953 – Vaadal (มราฐี)
  • 1953 – Jhaanjhar (ฮินดี) ร่วมกับ ซี. รามจันทรา
  • 1955 – Kanchan Ganga (ฮินดี)
  • 1990 – Lekin... (ฮินดี)


ป่วยและเสียชีวิต

ณ วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2022 มังเคศกรมีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก พร้อมกับอาการไม่รุนแรง และถูกส่งตัวไปรักษาในโรงพลาบาลบรีช แคนดีที่มุมไบ เธอยังคงอยู่ในห้องแผนกผู้ป่วยหนัก พร้อมกับสัญญาณที่ "ดีขึ้นเล็กน้อย" จากนั้นในวันที่ 28 มกราคม คุณหมอถอดเครื่องช่วยหายใจ หลังสุขภาพของเธอ "ดีขึ้นเล็กน้อย" อย่างไรก็ตาม เธอกลับต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอีกครั้งในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ หลังสุขภาพเธอแย่ลง และอยู่ภายใต้ "การบำบัดเชิงรุก"

ลตา มังเคศกร 
พิธีศพของมังเคศกรใน ค.ศ. 2022

มังเคศกรเสียชีวิตจากกลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2022 ด้วยอายุ 92 ปี เธอได้รับการรักษาจากโรคปอดอักเสบกับโควิด-19 อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 28 วัน

ลตา มังเคศกร 
นายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมที พบปะกับ Asha Bhosle หลังเดินทางไปเยี่ยมศพลตา มังเคศกรที่มุมไบ

รัฐบาลอินเดียประกาศไว้อาลัยเป็นเวลาสองวัน และลงธงชาติครึ่งเสาในวันที่ 6 ถึง 7 กุมภาพันธ์ทั่วประเทศ จากนั้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 Usha ผู้เป็นน้องสาว กับ Adinath Mangeshkar ผู้เป็นหลานชาย แช่อัฐิของมังเคศกรในแม่น้ำโคทาวรีที่ Ramkund นาศิก

ข้อโต้แย้ง

ใน ค.ศ. 1974 บันทึกสถิติโลกกินเนสส์จัดให้ลตา มังเคศกรเป็นศิลปินที่มีการบันทึกเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยระบุว่า เธอรายงานว่าบันทึก "เพลงเดี่ยว เพลงคู่และประสานเสียงมากกว่า 25,000 เพลงในภาษาอินเดีย 20 ภาษา" ในช่วง ค.ศ. 1948 ถึง 1974 Mohammad Rafi โต้แย้งสถิติของเธอ โดยอ้างว่าเขาร้องเพลงประมาณ 28,000 เพลง หลังการเสียชีวิตของ Rafi บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ฉบับ ค.ศ. 1984 ระบุชื่อเธอว่า "บันทึกเสียงมากที่สุด" แต่ก็ระบุข้ออ้างของ Rafi ด้วย บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ฉบับภายหลังระบุว่าเธอร้องเพลงไม่น้อยกว่า 30,000 เพลงในช่วง ค.ศ. 1948 ถึง 1987

บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ฉบับ ค.ศ. 1991 ยกเลิกหมวดนี้โดยไม่อธิบายสาเหตุ ในขณะที่ข้อมูลบางส่วนยังคงอ้างว่าเธอบันทึกเพลงพันกว่าเพลง โดยมีการประมาณการจำนวนเพลงสูงถึง 50,000 เพลง อย่างไรก็ตาม แม้แต่ข้ออ้าง 25,000 เพลง (ช่วง ค.ศ. 1948 ถึง 1974) ของกินเนสส์ ก็มีคนอื่นบางส่วนพิพาทและอ้างว่าจำนวนเพลงที่เธอร้องในภาพยนตร์ภาษาฮินดีจนถึง ค.ศ. 1991 มีเพียง 5,025 เพลง มังเคศกรกล่าวว่าเธอไม่ได้บันทึกจำนวนเพลงที่เธอร้องบันทึกไว้ และเธอไม่รู้ว่าทางบันทึกสถิติโลกกินเนสส์เอาข้อมูลมาจากไหน ใน ค.ศ. 2011 ทางกินเนสส์ได้ฟื้นฟูหมวดนี้ โดยให้เครดิต Asha Bhosle น้องสาวของเธอ เป็นศิลปินที่มีการบันทึกเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ "ด้วยเพลงเดี่ยว เพลงคู่และประสานเสียงสูงถึง 11,000 เพลงในภาษาอินเดียมากกว่า 20 ภาษาตั้งแต่ ค.ศ. 1947" นับตั้งแต่ ค.ศ. 2016 สถิติปัจจุบันตกเป็นของ P. Susheela ด้วยบันทึกเพลงอย่างน้อย 17,695 เพลงใน 6 ภาษา ซึ่งไม่รวมบันทึกช่วงแรกที่สูญหาย

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Bichu, Dr. Mandar (2011). Lata — Voice of the Golden Era. Popular Prakashan. ISBN 978-81-7991-625-4.
  • Bhimani, Harish (1995). In search of Lata Mangeshkar. Indus. ISBN 978-81-7223-170-5.
  • Bharatan, Raju (1995). Lata Mangeshkar: A Biography. UBS Publishers Distributors. ISBN 978-81-7476-023-4.
  • Kabir, Nasreen Munni (2009). Lata Mangeshkar: In Her Own Voice. Niyogi Books. ISBN 978-81-89738-41-9.
  • Lata, Mangeshkar (1995). Madhuvanti Sapre; Dinkar Gangal (บ.ก.). In search of Lata Mangeshkar (ภาษามราฐี). HarperCollins/Indus. ISBN 978-81-7223-170-5. A collection of articles written by Lata Mangeshkar since 1952.
  • Nerurkar, Vishwas. Lata Mangeshkar Gandhar Swaryatra (1945–1989) (ภาษาฮินดี). Mumbai: Vasanti P. Nerukar.
  • Bichhu, Mandar V. (1996). Gaaye Lata, Gaaye Lata (ภาษาฮินดี). Sharjah: Pallavi Prakashan. ISBN 978-81-7223-170-5. A collection of articles written by Lata Mangeshkar since 1952.
  • Verma, Sunanda (2018). Namaste, Lata Mangeshkar! Her voice touches at least a billion hearts. Singapore: The Indologist. ISBN 978-9814782111.
  • Bhawana Somaaya (2006). "Lata Mangeshkar". ใน Malvika Singh (บ.ก.). Freeing the Spirit: The Iconic Women of Modern India. New York. ISBN 978-0-14-310082-9.

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ลตา มังเคศกร อาชีพนอกจากการร้องเพลงลตา มังเคศกร ป่วยและเสียชีวิตลตา มังเคศกร ข้อโต้แย้งลตา มังเคศกร อ้างอิงลตา มังเคศกร อ่านเพิ่มลตา มังเคศกร แหล่งข้อมูลอื่นลตา มังเคศกรLata Mageshkar.oggภาษามราฐีไฟล์:Lata Mageshkar.ogg

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ประชาธิปไตยGจังหวัดสงขลาภัทรานิษฐ์ ลิ้มปติยากรรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยอมีนา พินิจแบตเตอรี่ประเทศรัสเซียสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระปีนักษัตรฟุตซอลโลก 2012ภาษาไทยเดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์รางวัลนาฏราชอาเลฆันโดร การ์นาโชสโมสรฟุตบอลเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คกรุงเทพมหานครนรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์จังหวัดสกลนครมหาวิทยาลัยมหาสารคามรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่องวัน 31โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยสุจาริณี วิวัชรวงศ์ประเทศอิตาลีจ๊ะ นงผณีรายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)ปราชญา เรืองโรจน์เบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)เพลิงพรางเทียนเครือเจริญโภคภัณฑ์ระบบสุริยะบอดี้สแลมสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดกก5ณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังประเทศเนเธอร์แลนด์กาก้าศรีรัศมิ์ สุวะดีภาษาไทยถิ่นเหนืออารยา เอ ฮาร์เก็ตณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์จิรวัฒน์ สอนวิเชียรจังหวัดสุพรรณบุรีฟุตบอลทีมชาติไทย69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)นักเรียนเปรม ติณสูลานนท์นิวจีนส์กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์เกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วเดนิส เจลีลชา คัปปุนชลน่าน ศรีแก้วสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์โดราเอมอนสฤษดิ์ ธนะรัชต์กันต์ กันตถาวรกูเกิล แผนที่รามาวดี นาคฉัตรีย์รายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)สโมสรฟุตบอลวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ดวงจันทร์มหาศึกชิงบัลลังก์ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)ต่าย อรทัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เมตาตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเอเรอดีวีซีเพลงอัสซะลามุอะลัยกุมเมลดา สุศรีจังหวัดตากจังหวัดสุโขทัยไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทานสมชาย แสวงการ🡆 More