รัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย

รัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย (รัสเซีย: Временное правительство России, อักษรโรมัน: Vremennoye pravitel'stvo Rossii) เป็นรัฐบาลชั่วคราวที่จัดตั้งขึ้นในเปโตรกราดภายหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ในช่วงการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.

1917 ภายในรัฐบาลประกอบด้วยคณะรัฐมนตรีที่ต่อเนื่องกันหลายชุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแนวร่วมระหว่างนักการเมืองเสรีนิยมและนักสังคมนิยมสายกลาง โดยพยายามแก้ไขปัญหาร้ายแรงที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอันไม่เป็นที่นิยม รัฐบาลชั่วคราวดำรงอยู่เป็นเวลาแปดเดือน จนกระทั่งการยึดอำนาจของบอลเชวิคในเดือนพฤศจิกายน (เดือนตุลาคมตามปฏิทินเก่า) ซึ่งเป็นกลุ่มฝ่ายซ้ายหัวรุนแรงของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียในการปฏิวัติเดือนตุลาคม

รัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย

Временное правительство России  (รัสเซีย)
ค.ศ. 1917
เพลงชาติ
Рабочая Марсельеза
ราโบชายา มาร์เซลเยซา

"มาร์แซแยซของกรรมกร"
Гимн Свободной России
กริมน์ สโวบอดนอย รอสซี
"เพลงสรรเสริญรัสเซียเสรี" (ไม่ทางการ)
ตราประทับรัฐบาล:
รัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย
สีเขียวเข้ม: ดินแดนรัสเซียใน ค.ศ. 1917 สีเขียวอ่อน: พื้นที่อิทธิพลของจักรวรรดิรัสเซีย
สีเขียวเข้ม: ดินแดนรัสเซียใน ค.ศ. 1917
สีเขียวอ่อน: พื้นที่อิทธิพลของจักรวรรดิรัสเซีย
เมืองหลวงเปโตรกราด
ภาษาทั่วไปรัสเซีย
การปกครองรัฐบาลชั่วคราว
ประธานรัฐมนตรี 
• มีนาคม-กรกฎาคม
ค.ศ. 1917
เกออร์กี ลวอฟ
• กรกฎาคม-กันยายน
ค.ศ. 1917
อะเลคซันดร์ เคเรนสกี
สภานิติบัญญัติสภาชั่วคราว
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
8–16 มีนาคม 1917
• เหตุการณ์คอร์นีลอฟ
10–13 กันยายน 1917
• จัดตั้งสาธารณรัฐ
14 กันยายน 1917
สกุลเงินรูเบิล
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซีย
สาธารณรัฐรัสเซีย รัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย

แต่เดิมสมาชิกภายในคณะรัฐมนตรีชุดแรกมีเพียงนักการเมืองสายเสรีนิยมเท่านั้น ยกเว้นอะเลคซันดร์ เคเรนสกี จากพรรคปฏิวัติสังคมนิยม ที่เข้าร่วมรัฐบาลเพราะความสามารถส่วนตัว คณะรัฐมนตรียังคงเป็นเช่นนี้กระทั่งเกิดวิกฤตการณ์เดือนเมษายนในอีกสองเดือนต่อมา ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างนักสังคมนิยมและสมาชิกสายอนุรักษนิยม ทำให้หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรีจึงประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นทั้งนักการเมืองเสรีนิยมและนักสังคมนิยมสายกลาง เจ้าชายลวอฟยังคงดำรงตำแหน่งประธานรัฐมนตรีของรัฐบาลชั่วคราวต่อไป จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งต่าง ๆ ทั้งความล้มเหลวของการรุกเคเรนสกี วิกฤตการณ์รัฐบาลที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างพรรคประชาธิปัตย์รัฐธรรมนูญ (KD หรือ kadets) ความตึงเครียดระหว่างกลุ่มชาตินิยมในยูเครน และการจราจลเดือนกรกฎาคม ทำให้เคเรนสกีได้รับสืบทอดตำแหน่งประธานรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลชั่วคราว คณะรัฐบาลเคเรนสกีดำเนินการปฏิรูปทางการเมืองอย่างท่วมท้น แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้แก้ปัญหาสำคัญหลายอย่าง เช่น การถอนตัวออกจากสงคราม การปฏิรูปเกษตรกรรม การแก้ปัญหาของกลุ่มคนงานทั้งในเมืองต่าง ๆ และปัญหาชนกลุ่มน้อย เป็นต้น

ข้อตกลงใหม่ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์รัฐธรรมนูญและรัฐบาลได้เกิดขึ้นหลังจากการเจรจาหลายครั้ง นำไปสู่การยุติวิกฤตการณ์รัฐบาลในช่วงฤดูร้อน อย่างไรก็ตามความขัดแย้งระหว่างทั้งสองยังคงอยู่และการปฏิรูปสังคมและเศรษฐกิจไม่มีความคืบหน้า อีกทั้งยังไม่มีการดำเนินการถอนตัวออกจากสงคราม ส่งผลให้สถานการณ์ในรัสเซียทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในขณะที่ฝ่ายขวามองหาบุคคลที่มีอำนาจเพื่อกำหนดสั่งการ ยุติวิกฤตการณ์ และกลับมาทำสงครามอีกครั้งด้วยความเข้มแข็ง ฝ่ายซ้ายได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจและสังคมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น จากการขาดการดำเนินการของรัฐบาล และความล้มเหลวของการรัฐประหารโดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพบก ทำให้ฝ่ายขวาและรัฐบาลเริ่มอ่อนแอลง และได้เพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ฝ่ายซ้าย กลุ่มหัวรุนแรง และอื่น ๆ เพื่อความปรารถนาที่จะยึดอำนาจของสภาโซเวียต

ในช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง สถานการณ์ร้ายแรงและความอ่อนแอของรัฐบาลนำไปสู่การอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลและการก่อตัวของกลุ่มสังคมนิยมหัวรุนแรง ในขณะที่สภาโซเวียตเร่งปฏิรูปเกษตรกรรมในชนบทและได้ถอนตัวเป็นอิสระจากการบริหารส่วนกลาง ในเมืองต่าง ๆ มีการสนับสนุนกลุ่มหัวรุนแรงฝ่ายซ้ายเพิ่มขึ้น เมื่อบอลเชวิคตัดสินใจทำการยึดอำนาจผ่านสภาโซเวียตจากการประชุมสภาคองเกรสครั้งที่สองในการปฏิวัติเดือนตุลาคม รัฐบาลชั่วคราวจึงเป็นอันสิ้นสุดลงและบอลเชวิคได้ก่อตั้งคณะกรรมการราษฎรขึ้นมาบริหารประเทศ

การก่อตั้ง

รัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย 
นักการเมืองเสรีนิยมเกออร์กี ลวอฟ ผู้เป็นประธานรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลชั่วคราวภายหลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์

คณะกรรมการชั่วคราวแห่งสภาดูมาได้เชิญชวนคณะกรรมการบริหารแห่งสภาโซเวียตเปโตรกราดเข้าร่วมการอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1917 [ตามปฎิทินเก่า: 1 มีนาคม] และจัดการประชุมขึ้นในบ่ายของวันเดียวกัน ในระหว่างการประชุม คณะกรรมการบริหารของโซเวียตตัดสินใจที่จะไม่เข้าร่วมรัฐบาลใหม่ (ในตอนนั้นการยึดอำนาจยังไม่ได้รับการพิจารณา) การประชุมอย่างจริงใจระหว่างสมาชิกเมนเชวิค นีโคไล ชเฮอิดเซ, นีโคไล ซูฮานอฟ, และนีโคไล โซโคลอฟ และนักเสรีนิยมปาเวล มิลยูคอฟ, อะเลคซันดร์ กุชคอฟ, และเกออร์กี ลวอฟ โดยเมนเชวิคเต็มใจที่จะมอบอำนาจให้กับฝ่ายเสรีนิยมและไม่รับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีใหม่ เพื่อแลกกับการสนับสนุนจากฝ่ายสังคมนิยม อีกทั้งพวกเขาได้เรียกร้องให้มีการประกาศใช้สิทธิพลเมือง (เช่น การรวมกลุ่มสมาคม การจัดตั้งพรรคการเมือง และการให้เสรีภาพสื่อ เป็นต้น) ต้องมีการนิรโทษกรรมนักโทษทางการเมืองทั้งหมด ขอบเขตของสิทธิพลเมืองควรขยายไปถึงกลุ่มทหาร และให้มีการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยเร็วที่สุด เพื่อจัดการเลือกตั้งตามแบบสากล โดยตรง เสมอภาค และเป็นความลับ และเพื่อกำหนดรัฐธรรมนูญพร้อมกับรูปแบบการปกครองของประเทศ (ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1917 [ตามปฎิทินเก่า: 3 มีนาคม] เป็นเวลาเพียงหนึ่งวันหลังการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่)

สภาโซเวียตเปโตรกราดสนับสนุนรัฐบาลใหม่อย่างเปิดเผย ตราบใดที่รัฐบาลยังปฏิบัติตามข้อเรียกร้องที่ตกลงไว้ เพียงแต่สภาโซเวียตยังคงปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกับรัฐบาล คณะกรรมการบริหารของโซเวียตปฏิเสธข้อเสนอของผู้แทนจากสภาดูมาที่จะรวมชเฮอิดเซและเคเรนสกีไว้ในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ แม้ว่าเคเรนสกีจะยินยอมเข้าร่วมด้วยตนเองก็ตาม และท้ายที่สุดเขาก็ได้รับการสนับสนุนจากการประชุมครบชุดของสภาในวันถัดไป ทางสภาโซเวียตเปโตรกราดพิจารณาว่าการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์เป็นการปฏิวัติของชนชั้นนายทุนและด้วยเหตุนี้ฝ่ายสังคมนิยมจึงไม่ควรเข้าร่วมกับรัฐบาล ทำให้ตอนนี้คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชั่วคราวจึงประกอบด้วยฝ่ายเสรีนิยม กลุ่มอนุรักษนิยมสายกลาง และเคเรนสกีซึ่งเป็นฝ่ายสังคมนิยม

รัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย 
คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชั่วคราวในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1917

เมื่อซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1917 [ตามปฎิทินเก่า: 2 มีนาคม] และพระอนุชาของพระเจ้าซาร์แกรนด์ดยุกมีฮาอิล ปฏิเสธการสืบราชบัลลังก์ในวันต่อมา รัฐบาลชั่วคราวจึงเริ่มเข้ามาปกครองรัสเซียอย่างเป็นทางการ แต่อำนาจของรัฐบาลชั่วคราวนั้นมีอยู่อย่างจำกัดเนื่องจากอำนาจที่เพิ่มขึ้นของสภาโซเวียตเปโตรกราด

รัฐบาลใหม่ได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นในช่วงแรก รวมถึงบุคคลที่มีแนวคิดโดดเด่นที่สุดในบรรดาฝ่ายเสรีนิยมของรัฐบาลด้วย เช่น นายกรัฐมนตรีเกออร์กี ลวอฟ ผู้เป็นนักการเมืองก้าวหน้าและเป็นที่เคารพนับถือของเซมสต์วอ (Zemstvo) และปาเวล มิลยูคอฟ ผู้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และสมาชิกหลักของคณะรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์รัฐธรรมนูญ (KD) อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีชุดใหม่นั้นอ่อนแอและมีอำนาจหน้าที่จำกัดในพื้นที่บางส่วนของประเทศและในเมืองหลวงเท่านั้น เนื่องจากการก่อตัวของลัทธิชาตินิยมในพื้นที่ของจักรวรรดิ การแบ่งแยกภายในฝ่ายสังคมนิยม และความขัดแย้งระหว่างสังคมนิยมและเสรีนิยมได้บ่อนทำลายอำนาจของรัฐบาล ในเปโตรกราดนั้นถูกควบคุมโดยสภาโซเวียตเมืองหลวง ความปรารถนาของประชากรก็ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การปฏิรูปทางการเมืองเท่านั้น แต่รวมถึงมาตรการทางสังคมและเศรษฐกิจด้วย นอกจากนี้ความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างฝ่ายเสรีนิยมกับฝ่ายสังคมนิยม และการเข้าร่วมสงครามอันไม่เป็นที่นิยม ยังเป็นอุปสรรคต่อความเข้าใจกันระหว่างทั้งสองฝ่าย คตินิยมของรัฐบาลชั่วคราวที่เชื่อมั่นว่ามีเพียงสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากเลือกตั้งโดยระบอบประชาธิปไตยแบบสากลเท่านั้นที่จะสามารถตัดสินประเด็นพื้นฐานทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจได้ แต่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ภายในรัฐบาล ทำให้การปฏิรูปครั้งสำคัญถูกเลื่อนออกไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน

รายนามประธานรัฐมนตรี

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

This article uses material from the Wikipedia ไทย article รัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย, which is released under the Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 license ("CC BY-SA 3.0"); additional terms may apply (view authors). เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 4.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น Images, videos and audio are available under their respective licenses.
®Wikipedia is a registered trademark of the Wiki Foundation, Inc. Wiki ไทย (DUHOCTRUNGQUOC.VN) is an independent company and has no affiliation with Wiki Foundation.

Tags:

รัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย การก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย รายนามประธานรัฐมนตรีรัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย อ้างอิงรัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย บรรณานุกรมรัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย แหล่งข้อมูลอื่นรัฐบาลชั่วคราวรัสเซียการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์การปฏิวัติเดือนตุลาคมจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียบอลเชวิคพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียภาษารัสเซียรัฐบาลชั่วคราวสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเซนต์ปีเตอส์เบิร์กเสรีนิยม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดขอนแก่นพระคเณศประเทศอียิปต์ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์เอ็กซ์โอเอ็กซ์โอเอนเตอร์เทนเมนต์กรมราชเลขานุการในพระองค์สุธิตา ชนะชัยสุวรรณจังหวัดสระบุรีจัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)เจริญ สิริวัฒนภักดีธีรเทพ วิโนทัยจังหวัดเชียงใหม่ทัศน์พล วิวิธวรรธน์รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือโดราเอมอนหลานม่าวินัย ไกรบุตรภาษาในประเทศไทยดาบพิฆาตอสูรการ์ตูนประวัติศาสตร์โอดะ โนบูนางะเด่นคุณ งามเนตรความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยมุกดา นรินทร์รักษ์รายชื่อเครื่องดนตรีพรีเมียร์ลีกนามสกุลพระราชทานกระทรวงในประเทศไทยจังหวัดฉะเชิงเทราหมากรุกไทยรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครจังหวัดเพชรบุรีหัวใจไม่มีปลอมภาคกลาง (ประเทศไทย)ข้าราชการส่วนท้องถิ่นโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยสมณศักดิ์ประเทศสิงคโปร์งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ประเทศสเปนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าเมตาเดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์ตี๋ เหรินเจี๋ยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาลือชัย งามสมสงครามเวียดนามเกรซ มหาดำรงค์กุลเฟร์นันโด ตอร์เรสจักรภพ ภูริเดชรายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากรกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 39ศาสนาพุทธนิวรณ์ราชวงศ์จักรีรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโทกูงาวะ อิเอยาซุภาคใต้ (ประเทศไทย)ธี่หยดโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยรายชื่อบัญชีอินสตาแกรมที่มียอดผู้ติดตามมากที่สุด28 มีนาคมรายชื่อนามสกุลที่ใช้กันมากประเทศจอร์เจียสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเอฟเอคัพสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ประชาธิปไตยจิรายุ ตั้งศรีสุขร่างทรง (ภาพยนตร์)กองทัพอากาศไทยเปรม ติณสูลานนท์พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปริญ สุภารัตน์🡆 More