ภาษาเขมร

ภาษาเขมร (เขมร: ភាសាខ្មែរ, ออกเสียง ) ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของประเทศกัมพูชา เป็นหนึ่งในภาษาหลักของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก และได้รับอิทธิพลหลาย ๆ ประการมาจากภาษาสันสกฤตและภาษาบาลี พอสมควร ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้เข้ามาผ่านศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู ในขณะที่อิทธิพลจากภาษาอื่น ๆ โดยมากเป็นคำยืม เช่น จากภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม เป็นผลมาจากการติดต่อกันทางด้านภาษาและความใกล้ชิดกันในทางภูมิศาสตร์ และภาษาจีนจากการอพยพ ภาษาฝรั่งเศสจากการตกเป็นอาณานิคมช่วงเวลาหนึ่ง และภาษามลายูจากความสัมพันธ์ในอดีตและการที่เคยมีอาณาจักรจามปาในตอนกลางของประเทศเวียดนาม

ภาษาเขมร
ภาษากัมพูชา
ភាសាខ្មែរ, ខេមរភាសា
ภาษาเขมร
วลี "ภาษาเขมร" ในอักษรเขมร
ออกเสียง [pʰiəsaː kʰmae]
[kʰeːmarapʰiəsaː]
ประเทศที่มีการพูดกัมพูชา
ไทย (ภาคตะวันออกและภาคอีสาน)
เวียดนาม (ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงและภาคตะวันออกเฉียงใต้)
ชาติพันธุ์ชาวเขมร
จำนวนผู้พูด16 ล้านคน  (2007)
ตระกูลภาษา
ออสโตรเอเชียติก
  • เขมร
    • ภาษาเขมร
รูปแบบก่อนหน้า
เขมรดั้งเดิม
ระบบการเขียนอักษรเขมร
อักษรเบรลล์เขมร
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการภาษาเขมร กัมพูชา
ภาษาเขมร อาเซียน
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในภาษาเขมร ไทย
ภาษาเขมร เวียดนาม
รหัสภาษา
ISO 639-1km
ISO 639-2khm
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
khm – ภาษาเขมรกลาง
kxm – ภาษาเขมรถิ่นไทย
Linguasphere46-FBA-a
ภาษาเขมร
  บริเวณที่มีการใช้ภาษาเขมร
ผู้พูดภาษาเขมร

ภาษาเขมรแปลกไปจากภาษาในประเทศเพื่อนบ้าน (ภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเวียดนาม) เนื่องจากไม่มีเสียงวรรณยุกต์

สัทวิทยา

ระบบสัทอักษรด้านล่างเป็นเสียงภาษาพูดแบบมาตรฐาน มีเสียงสระและพยัญชนะดังต่อไปนี้ (เขียนตาม IPA)

พยัญชนะ

ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก m n ɲ ŋ
ระเบิด ไม่ก้อง p (pʰ) t (tʰ) c (cʰ) k (kʰ) ʔ
ก้อง ɓ ~ b ɗ ~ d
เสียดแทรก s (ç) h
เหลว โรติก r
ข้างลิ้น l
เปิด ʋ ~ w j

ปรากฏในตำแหน่งพยัญชนะท้ายได้ 13 หน่วยเสียงคือ p t c k ʔ h m n ɲ ŋ w j l นอกจากนี้ ในคำยืมบางคำปรากฏเสียงพยัญชนะ f/ฟ จากภาษาไทย จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ เวียดนาม และ ʃ, z , และ g ในคำยืมจากภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ

สระ

นักเขียนหลายคนเสนอระบบสระภาษาเขมรต่างกัน ตารางด้านล่างมาจาก Huffman (1970)

ภาษาเขมร 
แผนภาพเสียงสระ (สระเดี่ยว)
สระเดี่ยวของภาษาเขมร
หน้า กลาง หลัง
สั้น ยาว สั้น ยาว สั้น ยาว
ปิด i ɨ ɨː u
กลางปิด e ə əː o
กลางเปิด ɛː ɔː
เปิด a ɑ ɑː
สระประสมของภาษาเขมร
หน้า กลาง หลัง
สั้น centering ĕə ŏə, ŭə
ยาว centering ɨə ɔə,
mid closing ei əɨ ou
open closing ae ao

พยางค์และคำ

คำในภาษาเขมรมักจะประกอบด้วย 1 หรือ 2 พยางค์ มีเสียงอักษรควบจากพยัญชนะ 2 ตัวอยู่ที่ปรากฏที่ต้นพยางค์อยู่ 85 เสียง และมีอักษรควบจากจาก พยัญชนะ 3 ตัวอยู่ 2 เสียง ดังตาราง

p ɓ t ɗ c k ʔ m n ɲ ŋ j l r s h ʋ t+h k+h t+r k+r
p pʰt- - pʰc- pʰk- - pʰn- pʰɲ- pʰŋ- pʰj- pʰl- pr- ps- -
t tʰp- - tʰk- - tʰm- tʰn- tʰŋ- tʰj- tʰl- tr- - tʰʋ-
c cʰp- - - cʰk- - cʰm- cʰn- cʰŋ- cʰl- cr- - cʰʋ-
k kʰp- - kʰt- - kʰc- - kʰm- kʰn- kʰɲ- - kʰj- kʰl- kr- ks- - kʰʋ-
s sp- - st- - sk- - sm- sn- - - sl- sr- - stʰ- str- skr-
ʔ ʔʋ-
m mt- - mc- - mn- - ml- mr- ms- mh-
l lp- - lk- - lm- - lh- - lkʰ-

แต่ละพยางค์จะเริ่มต้นด้วยพยัญชนะหรือพยัญชนะควบกล้ำ ตามด้วยเสียงสระ แต่ละพยางค์สามารถจะมีเสียงพยัญชนะต่อไปนี้ลงท้าย เมื่อใช้เสียงสระสั้น จะต้องลงท้ายด้วยพยัญชนะ

โครงสร้างของคำในภาษาเขมรที่มีมากที่สุดเป็นพยางค์เต็มตามที่อธิบายไว้ข้างบน ต่อหน้าด้วยพยางค์สั้นที่มีโครงสร้าง CV-, CɽV-, CVN- หรือ CɽVN- (C เป็นพยัญชนะ V เป็นสระ N เป็น m/ม, n/น, ɲ หรือ ŋ/ง). สระในพยางค์สั้นเหล่านี้มักจะออกเสียงเป็น ə ในภาษาพูด การงดออกเสียงบางเสียงในพยางค์แรกของคำสองพยางค์ทำให้ภาษาเขมรโดยเฉพาะภาษาพูดกลายเป็นคำพยางค์ครึ่ง (sesquisyllable)

คำต่าง ๆ สามารถประกอบด้วย 2 พยางค์เต็มได้

คำที่มี 3 พยางค์ขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส หรือ ภาษาอื่น ๆ

ภาษาถิ่น

ภาษาถิ่นมีการแสดงอย่างชัดเจนในบางกรณี มีข้อแตกต่างที่สังเกตเห็นได้ระหว่างคนพูดจากเมืองพนมเปญ (เมืองหลวง) และเมืองพระตะบองในชนบท โดยภาษาเขมรจะแบ่งเป็นภาษาถิ่นได้ 5 ถิ่น ได้แก่

ลักษณะของสำเนียงในพนมเปญ คือการออกเสียงอย่างไม่เคร่งครัด โดยที่บางส่วนของคำจะนำมารวมกัน หรือตัดออกไปเลย เช่น "พนมเปญ" จะกลายเป็น "อึม.เปญ" อีกลักษณะหนึ่งของสำเนียงในพนมเปญ ปรากฏในคำที่มีเสียง r/ร เป็นพยัญชนะที่ 2 ในพยางค์แรก กล่าวคือ จะไม่ออกเสียง r/ร ออกเสียงพยัญชนะตัวแรกแข็งขึ้น และจะอ่านให้มีระดับเสียงตก เช่นเดียวกับวรรณยุกต์เสียงโท ตัวอย่างเช่น "trej" ("เตรย" แปลว่า "ปลา") อ่านเป็น "เถ็ย" (โดย d จะกลายเป็น t และมีสระคล้ายเสียง "เอ" และเสียงสระจะสูงขึ้น) อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คำว่า "ส้ม" ออกเสียงว่า kroic โกรจ ในชนบท ส่วนในเมืองออกเสียงเป็น khoic" โขจ

ไวยากรณ์

ตามแบบลักษณ์ภาษา ชนิดของคำในภาษาเขมรจัดอยู่ในกลุ่มสองกลุ่ม คือภาษาคำโดดและภาษาคำติดต่อ คำส่วนใหญ่เป็นคำโดด แต่มีการสร้างคำจากการเติมหน้าคำและการเติมภายในคำซึ่งเป็นลักษณะของภาษาคำติดต่อก็มีมาก ส่วนโครงสร้างประโยคพื้นฐานเป็น ประธาน-กริยา-กรรม และคำขยายมักจะอยู่ด้านหลังของคำหลัก ยกเว้นคำขยายกริยาสามารถปรากฏหน้าหรือหลังของคำกริยาได้โดยมีความหมายเดียวกัน ภาษาเขมรมีลักษณนาม มีคำลงท้ายประโยคที่แสดงทัศนคติหรืออารมณ์ ส่วนลักษณะบางประการทางไวยากรณ์ของภาษาเขมรใกล้เคียงกับไวยากรณ์ในภาษาไทยและภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะส่วนภาคพื้นทวีป

อักษรเขียน

ภาษาเขมรเขียนด้วยอักษรเขมร และเลขเขมร (มีลักษณะเหมือนเลขไทย) ใช้กันทั่วไปมากกว่าเลขอาหรับ ชาวเขมรได้รับตัวอักษรและตัวเลขจากอินเดียฝ่ายใต้ อักษรเขมรนั้นมีด้วยกัน 2 แบบ

  • อักษรเชรียง (อักซอเจรียง) หรืออักษรเอน หรืออักษรเฉียง เป็นตัวอักษรที่นิยมใช้ทั่วไป เดิมนั้นนิยมเขียนเป็นเส้นเอียง แต่ภายหลังเมื่อมีระบบการพิมพ์ ได้ประดิษฐ์อักษณแบบเส้นตรงขึ้น และมีชื่ออีกอย่างว่า อักษรยืน (อักซอโฌ) อักษรเอนนี้เป็นตัวยาว มีเหลี่ยม เขียนง่าย ถือได้ว่าเป็นอักษรแบบหวัด
  • อักษรมูล หรืออักษรกลม เป็นอักษรที่ใช้เขียนบรรจง ตัวกว้างกว่าอักษรเชรียง นิยมใช้เขียนหนังสือธรรม เช่น คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา หรือการเขียนหัวข้อ ที่ต้องการความโดดเด่น หรือการจารึกในที่สาธารณะ
  • อักษรโรมัน เขียนภาษาเขมรด้วยอักษรโรมัน

ในสมัยก่อน มีผู้นิยมใช้อักษรเขมรเขียนภาษาไทย หรือภาษาบาลี ด้วย เรียกอักษรอย่างนี้ว่า อักษรขอมไทย

อิทธิพลของภาษาเขมรในภาษาไทย

ภาษาขอมมีอิทธิพลในภาษาไทยมาช้านาน ทางด้าน ๑ รูปลักษณะตัวอักษร ๒ คำยืม ๓ รูปแบบไวยากรณ์บางประการ ๔ การเปลี่ยนแปลงเสียงบางประการจากเสียงเดิมในภาษาบาลีสันสกฤต เช่น ป>บ ต>ด โดยมีหลักฐานชัดเจนย้อนหลังไปอย่างน้อยในสมัยสุโขทัย (จารึกหลักที่หนึ่ง) โดยปรากฏในปริบทต่าง ๆ ดังนี้

  • ในวรรณคดี (เช่น ลิลิตยวนพ่าย, โคลงกำสรวล, คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง) ได้แก่ เพ็ญ, พร, ไถง, ผกา, ผอูน, แข, อัญขยม, ฉนำ, จำรัส ฯลฯ
  • ในภาษาพูดทั่วไป เช่น จมูก, ถนน, อาจ, อำนาจ ฯลฯ
  • ในอาชีพต่าง ๆ เช่น เสมียน, ตำรวจ, ฯลฯ
  • ในราชาศัพท์ เช่น ขนง, โขนง, เขนย, บรรทม, เสด็จ ฯลฯ
  • ในชื่อบุคคล เช่น สมพร, สมาน ฯลฯ
  • ในชื่อสถานที่ เช่น ฉะเชิงเทรา, อำนาจเจริญ, เกาะเกร็ด, สตึก ฯลฯ

อิทธิพลของภาษาไทยในภาษาเขมร

คำยืมภาษาไทย

ในภาษาเขมรนั้นมีการยืมคำภาษาไทยมาใช้เป็นจำนวนมาก โดยติดมากับการค้าขาย โดยคำที่ยืมมาจะมีหลักสังเกตได้ง่าย เช่น ในภาษาเขมรแท้ ๆ จะไม่มีหน่วยเสียง /f/ (เสียง ฝ ฟ) พยัญชนะเขมรจึงไม่มีการประดิษฐ์อักษรที่แทนหน่วยเสียงนี้โดยชัดเจน แต่จะใช้ตัว ហ ซ้อนกับเชิงของ វ เป็น ហ្វ แทนเสียง /f/ ที่เป็นคำยืมในภาษาต่างๆ โดยเฉพาะภาษาไทย

คำยืมภาษาไทยที่เป็นการนับเลข

เลขเขมร ตั้งแต่เลข 30 40 50 60 70 80 90 จะเรียกว่า ซามเซ็บ แซ็ยเซ็บ ฮาเซ็บ ฮกเซ็บ เจ็ดเซ็บ แปดเซ็บ เกาเซ็บ ตามลำดับ สังเกตได้ว่าเป็นคำยืมการนับเลขจากภาษาไทย และสังเกตว่านับมาได้ช้านานแล้ว

ภาษาเขมรในประเทศไทย

ภาษาเขมรในประเทศไทยพบผู้พูดกระจายอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพบจำนวนผู้พูดกระจุกตัวอยู่มากที่สุด ในภาคกลางของประเทศไทยมีประวัติว่ามีผู้พูดภาษาเขมรในราชบุรี สุพรรณบุรี แต่มีผู้พูดน้อยแล้ว ในกรุงเทพมหานครยังมีชุมชนแขกบ้านครัวที่เป็นชาวเขมรและชาวจามอพยพมาจากพระตะบอง คนสูงวัยบางคนยังจำภาษาเขมรได้บ้างไม่กี่คำ

ตัวอย่าง

เสียงอ่านปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในภาษาเขมร

ข้อความด้านล่างมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 1

เขมร មនុស្សទាំងអស់កើតមកមានសេរីភាពនិងភាពស្មើៗគ្នាក្នុងសិទ្ធិ និងសេចក្ដីថ្លៃថ្នូរ ។ មនុស្សគ្រប់រូបសុទ្ធតែមានវិចារណញ្ញាណនិងសតិសម្បជញ្ញៈ ហើយត្រូវប្រព្រឹត្ដចំពោះគ្នាទៅវិញទៅមកក្នុងស្មារតីរាប់អានគ្នាជាបងប្អូន ។
สัทอักษรสากล /mɔnuh tĕaŋ ɑh kaət mɔːk miən seːrəjpʰiəp nɨŋ pʰiəp smaəsmaə kniə knoŋ sət nɨŋ seːckɗəj tʰlaj tʰnou. mɔnuh krup ruːp sot tae miən vicaːranaɲiən nɨŋ satəsampacŏəɲɲeaʔ haəj trouʋ prɑprɨt cɑmpŭəh kniə tɨw ʋɨɲ tɨw mɔːk knoŋ smaːrɔːɗəj rŏəp ʔaːn kniə ciə ɓɑːŋ pʔoun/.

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ภาษาเขมร สัทวิทยาภาษาเขมร ภาษาถิ่นภาษาเขมร ไวยากรณ์ภาษาเขมร อักษรเขียนภาษาเขมร อิทธิพลของในภาษาไทยภาษาเขมร อิทธิพลของภาษาไทยใน[4]ภาษาเขมร ในประเทศไทยภาษาเขมร ตัวอย่างภาษาเขมร อ้างอิงภาษาเขมร แหล่งข้อมูลอื่นภาษาเขมรตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกประเทศกัมพูชาภาษาบาลีภาษาลาวภาษาสันสกฤตภาษาเวียดนามภาษาไทยศาสนาพุทธศาสนาฮินดู

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จิราพร สินธุไพรข้อมูลชาคริต แย้มนามหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตจีรนันท์ มะโนแจ่มมหาเวทย์ผนึกมารการโฆษณาสโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์จังหวัดบึงกาฬสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)ฟุตซอลทีมชาติไทยแบตเตอรี่ไททานิค (ภาพยนตร์)ประเทศอาร์มีเนียช่อง 8ธนนท์ จำเริญคริสเตียโน โรนัลโดสงครามโลกครั้งที่สองพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพเอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนอาณาจักรสุโขทัยภาสวิชญ์ บูรณนัติFBพัชราภา ไชยเชื้อสังคหวัตถุ 4จังหวัดภูเก็ตประเทศนิวซีแลนด์โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทลีกเอิงเครือเจริญโภคภัณฑ์โฟร์อีฟเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒินาฬิกาหกชั่วโมงลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยเดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข ในรัชกาลที่ 5โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์พงษ์สิทธิ์ คำภีร์สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเจมส์ มาร์โลก (ดาวเคราะห์)ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์โชติกา วงศ์วิลาศข่าวช่อง 7HDจังหวัดจันทบุรีจังหวัดยโสธรพวงเพ็ชร ชุนละเอียดรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ประเทศโมนาโกโชกุนป๊อกเด้งสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันคาราบาวฉัตรชัย เปล่งพานิชประเทศรัสเซียเมาริซิโอ โปเชติโนรายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันมหาวิทยาลัยพะเยาเอฟเอคัพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพิศวาสฆาตเกมส์จังหวัดปทุมธานีพรรคเพื่อไทยรายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรช้อปปี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโบรูโตะฟุตซอลโลก 2024รายชื่อยุทโธปกรณ์ในกองทัพบกไทยโบอิง 747สงครามครูเสดรางวัลนาฏราช🡆 More