พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย

นายพันเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาห่วง เมื่อวันอังคาร เดือน 3 ขึ้น 14 ค่ำ ปีฉลูสัปตศก จ.ศ.

1227 ตรงกับวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2409

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ดำรงตำแหน่ง26 สิงหาคม พ.ศ. 2439 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2449
เสนาบดีกระทรวงวัง
ดำรงตำแหน่ง1 กันยายน พ.ศ. 2439 - 18 กันยายน พ.ศ. 2441
ประสูติ30 มกราคม พ.ศ. 2409
สิ้นพระชนม์15 เมษายน พ.ศ. 2450 (41 ปี)
ภรรยาชายา
หม่อมเจ้าสุภางค์ภักตร์ ไชยันต์
หม่อม
หม่อมน้อย
หม่อมกลีบ
หม่อมเฮียะ
หม่อมส้วน
พระบุตร13 องค์
ราชสกุลไชยันต์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาห่วง ในรัชกาลที่ 4
ลายพระอภิไธยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
รับใช้กองทัพบกสยาม
ชั้นยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พันเอก

พระประวัติ

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล ทรงเริ่มต้นรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งนายร้อยเอก ราชองครักษ์ เมื่อปี พ.ศ. 2431ต่อมาในปี พ.ศ. 2438 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมวัง เสนาบดีกระทรวงวัง และกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

อีกทั้งยังทรงเป็นกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร โดยทรงดำรงตำแหน่งเป็นสภานายก ปฏิคม และบรรณารักษ์

เมื่อ พ.ศ. 2449 ทรงก่อตั้งธนาคารแห่งแรกที่ดำเนินการโดยคนไทย ใช้ชื่อว่า บุคคลัภย์ (Book Club) ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้จดทะเบียนตั้งเป็นธนาคารได้ถูกต้องตามกฎหมาย ใช้ชื่อว่า บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด (Siam Commercial Bank Co.) ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล ทรงได้รับการยกย่องเป็น พระบิดาแห่งวงการธนาคารไทย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรควัณโรคเมื่อวันจันทร์ เดือน 6 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะแมนพศก จ.ศ. 1269 ตรงกับวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2450 สิริพระชันษา 41 ปี 75 วัน ทรงเป็นต้นราชสกุลไชยันต์ มีพระราชพิธีการพระเมรุพระศพ ในระหว่างวันที่ 8 ถึง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2451 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระโกศจากพระโกศกุดั่นใหญ่ เป็นพระโกศทองน้อย และเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงพระศพ นายพันเอกพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2451

พระโอรสและธิดา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เป็นองค์ต้นราชสกุลไชยันต์ มีชายา 1 องค์ และมีหม่อม 4 คน ได้แก่

  1. หม่อมเจ้าสุภางค์ภักตร์ (ราชสกุลเดิม จรูญโรจน์) พระธิดาในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ กับหม่อมเจ้าโถมนา (ราชสกุลเดิม วัชรีวงศ์)
  2. หม่อมน้อย (สกุลเดิม ยุกตะเสวี)
  3. หม่อมกลีบ (สกุลเดิม ฌูกะวิโรจน์)
  4. หม่อมเฮียะ (สกุลเดิม ยุกตะเสวี)
  5. หม่อมส้วน (สกุลเดิม ยุกตะเสวี)

มีพระโอรส พระธิดารวมทั้งหมด 13 องค์ เป็นชาย 5 องค์ และหญิง 8 องค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  1. หม่อมเจ้าหญิงสุภาภรณ์ (ท่านหญิงใหญ่) ที่ 1 ในหม่อมน้อย 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 4 สิงหาคม พ.ศ. 2501
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  2. หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ที่ 1 ในหม่อมกลีบ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2426 7 เมษายน พ.ศ. 2483 หม่อมหลวงคลอง (สนิทวงศ์)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  3. หม่อมเจ้าหญิงประสงค์สม ที่ 2 ในหม่อมกลีบ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2429 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ไฟล์:หม่อมเจ้าภิรมย์สงวน.JPG 4. หม่อมเจ้าหญิงภิรมย์สงวน (ท่านหญิงกลาง) ที่ 2 ในหม่อมน้อย 25 สิงหาคม พ.ศ. 2430 15 ตุลาคม พ.ศ. 2520
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  5. หม่อมเจ้าหญิงประมวญทรัพย์ (ท่านหญิงเล็ก) ที่ 3 ในหม่อมน้อย 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 19 ธันวาคม พ.ศ. 2467
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  6. หม่อมเจ้าหญิงประดับศักดิ์ ที่ 3 ในหม่อมกลีบ 5 มกราคม พ.ศ. 2435 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  7. หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล (ท่านชายถึก) ที่ 1 ในหม่อมเฮียะ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2439 12 มิถุนายน พ.ศ. 2473 หม่อมเจ้าประโลมจิตร (จิตรพงศ์)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  8. หม่อมเจ้าหญิงวิมลอรรถ ที่ 2 ในหม่อมเฮียะ 1 มีนาคม พ.ศ. 2441 9 กันยายน พ.ศ. 2518
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  9. หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย
(พ.ศ. 2493: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย)
หม่อมส้วน 29 เมษายน พ.ศ. 2442 22 สิงหาคม พ.ศ. 2503 หม่อมราชวงศ์หญิงชวลิต (สนิทวงศ์)
หม่อมเจ้าหญิงพัฒน์คณนา (กิติยากร)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  10. หม่อมเจ้าหญิงอำไพสุวรรณ ที่ 1 ในหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์ภักตร์ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2444 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  11. หม่อมเจ้าจันทรจุฑา ที่ 2 ในหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์ภักตร์ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2445 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  12. หม่อมเจ้ามหาฤกษ์ ที่ 3 ในหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์ภักตร์ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 กรกฎาคม พ.ศ. 2449
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  13. หม่อมเจ้าหญิงสุขาวดี ที่ 4 ในหม่อมเจ้าหญิงสุภางค์ภักตร์ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 พ.ศ. 2487

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล (30 มกราคม พ.ศ. 2409 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 5 เมษายน พ.ศ. 2438)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (5 เมษายน พ.ศ. 2438 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  อิตาลี : พ.ศ. 2439 - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  เครื่องราชอิสริยาภรณ์มอรีสแอนด์ลัสรัส ชั้นที่ 1

พระสมัญญานาม

  • พระบิดาแห่งการธนาคารไทย

พระยศ

พระยศทหาร

  • พ.ศ. 2431 นายร้อยเอก
  • 16 กันยายน พ.ศ. 2435 นายพันโท
  • 14 มิถุนายน พ.ศ. 2441 นายพันเอก

พงศาวลี

อ้างอิง

ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
(26 สิงหาคม พ.ศ. 2439 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2449)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย  พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)

Tags:

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระโอรสและธิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระเกียรติยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พงศาวลีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย อ้างอิงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จังหวัดน่านมหาวิทยาลัยขอนแก่นภาษาญี่ปุ่นบุญชัย เบญจรงคกุลอาร์เจนตินารายชื่อตัวละครในเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้วพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดหนองคายตราประจำพระองค์ในประเทศไทยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีเดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์28 มีนาคมซาอุดีอาระเบียเอกซ์เจแปนประเทศอินโดนีเซียรายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้มิวซิกมูฟโรนัลโดมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์เรวัช กลิ่นเกษร69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)ประเทศเกาหลีใต้ดาบรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเฮย์จูดบริตนีย์ สเปียส์แอทลาสพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ธฤษณุ สรนันท์ประเทศญี่ปุ่นมหาวิทยาลัยมหาสารคามชวินโรจน์ ลิขิตเจริญสกุลเมตาอาหารดัดแปรพันธุกรรมฟิลิปปินส์ดอนัลด์ ทรัมป์อินสตาแกรมไทยสาธารณรัฐจีนธงประจำพระองค์ซิลลี่ ฟูลส์สุรเชษฐ์ หักพาลอาเลฆันโดร การ์นาโชมยุรา เศวตศิลาจังหวัดร้อยเอ็ดเด่นคุณ งามเนตรประเทศเกาหลีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)จังหวัดของประเทศเกาหลีใต้อุรัสยา เสปอร์บันด์พลังงานนิวเคลียร์เกียรติศักดิ์ เสนาเมืองจังหวัดราชบุรีคิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัสอัมรินทร์ นิติพนทวีปอเมริกาใต้บรมวุฒิ หิรัญยัษฐิติจังหวัดมุกดาหารยศทหารและตำรวจไทยปิยวดี มาลีนนท์เอก อังสนานนท์คาราบาวการฆ่าตัวตายฟุตซอลทีมชาติไทยติ๊กต็อกรายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยเอลวิส เพรสลีย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอ็กซูม่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชราชินีแห่งน้ำตาคงกะพัน แสงสุริยะรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีนาคมชวลิต ยงใจยุทธ🡆 More