หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์

อำมาตย์เอก หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ (12 มิถุนายน พ.ศ.

2439 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2473) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ประสูติแต่หม่อมเฮียะ ไชยันต์ ณ อยุธยา

หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์
หม่อมเจ้า ชั้น 4
หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์
ประสูติ12 มิถุนายน พ.ศ. 2439
สิ้นชีพตักษัย12 มิถุนายน พ.ศ. 2473 (34 ปี)
ชายาหม่อมเจ้าประโลมจิตร ไชยันต์
พระบุตร7 คน
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลไชยันต์
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
พระมารดาหม่อมเฮียะ ไชยันต์ ณ อยุธยา

พระประวัติ

ปฐมวัย

หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ประสูติแต่หม่อมเฮียะ ไชยันต์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยุกตะเสวี) เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2439 ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีโสทรกนิษฐภคินีองค์เดียว คือ หม่อมเจ้าหญิงวิมลอรรถ ไชยันต์ (1 มีนาคม พ.ศ. 2441 – 9 กันยายน พ.ศ. 2518)

เมื่อมีชันษาได้ 6 เดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระนามว่า "ตระนักนิธิผล" ดังพระราชหัตถเลขาพระราชทานนาม ความว่า

"ขอตั้งนามหม่อมเจ้าชาย ในกรมหมื่นมหิศรราชหฤไทย ให้มีนามว่า "หม่อมเจ้าชายตระนักนิธิผล" นาคนาม ขอจงเจริญอายุวรรณศุขพลปรฏิภาณ คุณสารสมบัติสรรพศิริสวัสดิมงคลทุกปรการเทีญ นามนี้ตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ รัตนโกสินทรศก ๑๑๕ ๚"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ประชวรหนักใกล้สิ้นพระชนม์ ทรงห่วงพระโอรส คือ หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ซึ่งยังมีชันษาเพียง 11 ปีเท่านั้น เกรงว่าจะไม่มีผู้ดูแลเกื้อหนุน จึงตรัสฝากฝังพระโอรสไว้กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จึงทรงรับหม่อมเจ้าตระนักนิธิผลไปทรงดูแลทีวังท่าพระ ประดุจพระโอรสอีกองค์หนึ่ง ประกอบกับพระโอรสของพระองค์คือหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ มีชันษาไล่เลี่ยกัน จึงเป็นเพื่อนเล่นกันมาตั้งแต่นั้น

การศึกษา

เมื่อเจริญชันษา ทรงเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนราชวิทยาลัย เมื่อทรงสำเร็จการศึกษา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จึงทรงส่งหม่อมเจ้าตระนักนิธิผล พระภาติยะ ไปทรงศึกษาในสาขากฎหมาย ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และประทับร่วมกับหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ ณ วิทยาลัยมอดจ์ลีน หลังจากทรงสำเร็จวิชากฎหมายแล้ว ทรงศึกษาต่อในระดับเนติบัณฑิต ครั้นสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษแล้ว จึงได้เสด็จกลับมารับราชการในกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย ตามลำดับดังนี้

ตำแหน่ง

  • พ.ศ. 2462 ได้เข้ารับราชการเป็นพนักงานอัยการ ประจำกรมอัยการ รับพระราชทานยศเป็นรองอำมาตย์เอก
  • พ.ศ. 2467 เป็นอำมาตย์ตรี
  • พ.ศ. 2468 เป็นอัยการมณฑลนครศรีธรรมราช
  • พ.ศ. 2469 เป็นพนักงานอัยการประจำกรมอัยการ แล้วรับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์โท
  • พ.ศ. 2471 รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์เอก พนักงานอัยการประจำกรมอัยการ

เสกสมรส

หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล เสกสมรสกับหม่อมเจ้าประโลมจิตร ไชยันต์ (ราชสกุลเดิม จิตรพงศ์; พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์) มีโอรสและธิดาด้วยกัน 7 คน คือ

  1. หม่อมราชวงศ์เอก ไชยันต์ (ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์)
  2. หม่อมราชวงศ์หญิงทวี พิชัยศรทัต (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2464)
  3. หม่อมราชวงศ์สำพันธ์ ไชยันต์ (เกิด 28 ธันวาคม พ.ศ. 2465)
  4. หม่อมราชวงศ์หญิงวิสาขา ไชยันต์ (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2468)
  5. หม่อมราชวงศ์เฉลิม ไชยันต์
  6. หม่อมราชวงศ์สาฎก ไชยันต์ (2470-2511) สมรสกับมนูญศิริ ไชยันต์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ลักษณสุต) มีบุตร-ธิดา คือ
    1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หม่อมหลวงหญิงศิริพัสตร์ ไชยันต์
    2. หม่อมหลวงอนุวาต ไชยันต์
  7. หม่อมราชวงศ์หญิงยิ่งวัน ไชยันต์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จตา เป็นผู้ประทานนามให้พระนัดดาทั้ง 7 คนนี้ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายทั้งสิ้น เช่น หม่อมราชวงศ์วิสาขา เนื่องจากเกิดในวันวิสาขบูชาปี พ.ศ. 2468 หรือหม่อมราชวงศ์สาฎก เนื่องจากเกิดในวันที่พระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลที่ 4 ทรงบำเพ็ญพระกุศลถวายผ้าวัสสาสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน) ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

สิ้นชีพิตักษัย

หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ ประชวรเป็นพระยอด (ฝี) เม็ดเล็ก สิ้นชีพตักษัยในวันคล้ายวันประสูติ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2473 สิริชันษา 34 ปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สัสสุระ ทรงตั้งศพไว้ที่วังท่าพระ และนำไปฝังไว้ที่วัดนรนาถสุนทริการาม และพระราชทานเพลิงศพที่วัดนั้น เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2479 โดยเมรุที่ใช้ในงานพระราชทานเพลิงศพนี้ สัสสุระทรงออกแบบประทานชามาดาเป็นครั้งสุดท้ายด้วยพระองค์เอง มีลักษณะเป็น 'ปะรำใบไม้' ใช้โครงสร้างไม้ไผ่เป็นหลัก ประดับด้วยพรรณไม้หลากชนิด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

อ้างอิง

Tags:

หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ พระประวัติหม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ พงศาวลีหม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ อ้างอิงหม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

อวตาร (ภาพยนตร์)สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกญี่ปุ่นพ.ศ. 2553รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยากรมการปกครองครูพิเศษจอมป่วน รีบอร์น!ฝรั่งเศสลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลการอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่หนึ่งสถานีกลางบางซื่อจังหวัดนครราชสีมามาร์ก ซักเคอร์เบิร์กอาณาจักรอยุธยาข้อมูลประเทศเกาหลีใต้ไมเคิล แจ็กสันจิรภพ ภูริเดชทวิตเตอร์ความตกลงมิวนิกฟุตซอลโลกธิษะณา ชุณหะวัณพรรคก้าวไกลไททานิค (ภาพยนตร์)เดอะพาวเวอร์พัฟฟ์เกิลส์ฟุตซอลไทยลีก ฤดูกาล 2566ซิลลี่ ฟูลส์สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกดาบจังหวัดสมุทรปราการสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลบางระจันจังหวัดอุดรธานีเอเปค 2022วิตามินซีรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองไพ่แคงสโมสรฟุตบอลเชลซีศาสนาอิสลามอเล็กซานเดอร์มหาราชไกรศักดิ์ ชุณหะวัณจิรายุ ตั้งศรีสุขท้องที่ตำรวจสมณศักดิ์ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ประเทศคาซัคสถานรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่องวัน 310โลก (ดาวเคราะห์)ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียณัฐธิชา นามวงษ์ฟุตซอลทีมชาติไทยประเทศพม่าเจษฎ์ โทณะวณิกการสมรสเพศเดียวกันต่อศักดิ์ สุขวิมลเมตาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระสุตตันตปิฎกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ประเทศไทย)การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีอี โด-ฮย็อนผู้หญิง 5 บาปการยอมจำนนของญี่ปุ่นเกาหลีเหนือทาสสุดแกร่งแห่งหน่วยป้องกันอสูรรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูFโป๊กเกอร์การบัญชียูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2016–17 รอบแบ่งกลุ่มศาสนาไอซ์แลนด์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทเกิดชาตินี้พี่ต้องเทพ🡆 More