พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์

มหาอำมาตย์โท นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้บังคับการกรมทหารรักษาพระองค์ อัครราชทูตพิเศษประจำกรุงปารีส และข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ทรงเป็นต้นราชสกุลวัฒนวงศ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์
ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2438 - พ.ศ. 2446
ถัดไปพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)
ประสูติ27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406
สิ้นพระชนม์5 เมษายน พ.ศ. 2466 (59 ปี)
หม่อมหม่อมเชื้อสาย วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา
หม่อมนุ่ม วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา
หม่อมชุ่ม วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา
พระบุตร7 พระองค์
ราชสกุลวัฒนวงศ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาบัว ในรัชกาลที่ 4

พระประวัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 63 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว (ธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)) ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 7 ขึ้น 10 ค่ำ ปีกุนเบญจศก จ.ศ. 1225 ตรงกับวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 พระองค์มีศักดิ์เป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทางฝั่งพระมารดา มีพระเชษฐา พระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดา 5 พระองค์ ได้แก่

  1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ (ประสูติ พ.ศ. 2398 พระชันษา 2 ปี)
  2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ (พ.ศ. 2400-2453)
  3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา (พ.ศ. 2402-2449)
  4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (พ.ศ. 2406-2466)
  5. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์ (ประสูติ พ.ศ. 2407 พระชันษา 3 ปี)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ทรงศักดินา 15000 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114)

วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เลื่อนขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ทรงศักดินา 15000

พระตำหนักของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมรุพงศ์ศิริพัฒน์ ตั้งอยู่ท้ายเกาะลอย เรียกว่าตำหนักตะพานเกลือ เนื่องมีวัดตะพานเกลือ หรือ สะพานเกลือเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ในละแวกนั้น (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยต่อเรือพระนครศรีอยุธยา)

วังของพระองค์ ปัจจุบันคือ โรงเรียนเบญจมราชาลัย โดยพระองค์ได้ทรงอุทิศให้รัฐบาลเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ ประชวรพระวักกะพิการมานาน อาการทรงและทรุดเรื่อยมาจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2466 เวลา 01:45 น. สิริพระชันษา 59 ปี 313 วัน เวลา 18:00 น. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานตั้งพระลองบนแว่นฟ้า 2 ชั้น แล้วประกอบพระโกศกุดั่นน้อย ตั้งเครื่องยศมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง

การทรงงาน

พระองค์ทรงรับราชการดังนี้

  • พ.ศ. 2430 รับพระราชทานพระยศนายพันโท
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 ดำรงตำแหน่งองคมนตรีในรัชกาลที่ 5
  • วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2432 รับพระราชทานพระยศนายพันเอก
  • วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2434 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นราชองครักษ์ ทรงรับราชการในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภราชองครักษ์
  • พ.ศ. 2434 ทรงรับตำแหน่งอัครราชทูตประจำกรุงปารีส กรุงโรม กรุงมาดริด และกรุงลิสบอน
  • 24 กันยายน พ.ศ. 2434 ทรงเข้ากราบถวายบังคมลา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ได้รับพระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์และทรงเจิม
  • 27 กันยายน พ.ศ. 2434 เสด็จประทับเรือกลไฟใหญ่ออกจากกรุงเทพมหานคร และเสด็จกลับถึงพระนคร เมื่อ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2438
  • 28 มกราคม พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับตำแหน่งรัฐมนตรี (คือกรรมการกฤษฎีกาในปัจจุบัน) ทรงดำรงตำแหน่งจนถึง 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122)
  • พ.ศ. 2440 ได้รับพระราชทานพระยศนายพลตรี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ภายใต้ดูแลของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้รวมเอา 8 หัวเมือง คือ กรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี อินทบุรี (ปัจจุบันคืออำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี) พรหมบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี) พระพุทธบาท (ปัจจุบันคืออำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี) และสิงห์บุรีเข้าเป็นมณฑลกรุงเก่า และตั้งที่ว่าการมณฑลที่มณฑลกรุงเก่า เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลของมณฑลกรุงเก่าพระองค์แรก

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจีณบุรีแทนพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ ที่ลาออกจากตำแหน่ง

นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ เป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่า และมณฑลปราจีณบุรีในคราวเดียวกัน จนเมือ พ.ศ. 2449 (ร.ศ. 125) พระองค์ได้ทรงขอพระราชทานพ้นจากตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า เพื่อปกครองมณฑลปราจีณบุรีแต่เพียงมณฑลเดียว โดยทรงดำรงตำแหน่งถึงปี พ.ศ. 2458

พระโอรสและธิดา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ทรงเป็นต้นราชสกุลวัฒนวงศ์ มีหม่อม 3 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมเชื้อสาย (สกุลเดิม: บุนนาค) ธิดาพระยาราชพงษานุรักษ์ (ชม บุนนาค)
  2. หม่อมนุ่ม (สกุลเดิม: บุนนาค)
  3. หม่อมชุ่ม

โดยมีพระโอรสพระธิดารวมทั้งหมด 7 พระองค์ ดังนี้

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์  1. หม่อมเจ้าสุวัฒนวิสัย ที่ 1 ในหม่อมเชื้อสาย พ.ศ. 2439 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์  2. หม่อมเจ้าเกรียงไกรมรุพล ที่ 2 ในหม่อมเชื้อสาย กันยายน พ.ศ. 2441 5 มกราคม พ.ศ. 2464
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์  3. หม่อมเจ้าหญิงสุวคนธ์ประทุม ที่ 3 ในหม่อมเชื้อสาย พ.ศ. 2444 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2448
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์  4. หม่อมเจ้าหญิงจงกลนี ที่ 4 ในหม่อมเชื้อสาย 10 เมษายน พ.ศ. 2452 1 มิถุนายน พ.ศ. 2508
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์  5. หม่อมเจ้าตรีอนุวัตน์ ที่ 1 ในหม่อมนุ่ม 23 มกราคม พ.ศ. 2457 12 กันยายน พ.ศ. 2491 หม่อมนิดาภา (ปุณฑริก)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์  6. หม่อมเจ้าหญิงรัตนกมล หม่อมชุ่ม 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 1 กันยายน พ.ศ. 2550
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์  7. หม่อมเจ้าวัตนานุวัฒน์ (ท่านชายนิด) ที่ 2 ในหม่อมนุ่ม 7 มีนาคม พ.ศ. 2464 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 หม่อมประทุม (ศิริทรัพย์)
ไฟล์:พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์.jpg
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ 
หม่อมเชื้อสาย วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2438)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (29 มีนาคม พ.ศ. 2438 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 - ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระยศ

นายพลตรี นายกองตรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์
รับใช้กองทัพบกสยาม
กองเสือป่า
ชั้นยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์  พลตรี
นายกองตรี

พระยศทหาร

  • 27 เมษายน พ.ศ. 2432: นายพันเอก
  • 24 มกราคม พ.ศ. 2450: นายพลตรี

พระยศพลเรือน

  • มหาอำมาตย์โท

พระยศเสือป่า

  • นายหมู่ใหญ่
  • นายกองตรี
  • นายกองโท

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พงศาวลี

อ้างอิง

    เชิงอรรถ
    บรรณานุกรม
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 74. ISBN 978-974-417-594-6

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง

Tags:

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ การทรงงานพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พระโอรสและธิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พระเกียรติยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พระยศพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พงศาวลีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ อ้างอิงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ แหล่งข้อมูลอื่นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมณฑลกรุงเก่าองคมนตรี

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

การบินไทยดวงใจเทวพรหมสโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโรบุพเพสันนิวาสเดือนเบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดชลบุรีประเทศไต้หวันบูมเมอแรง (ประเทศไทย)พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567กูเกิลหอแต๋วแตก (ภาพยนตร์ชุด)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีจิตวิทยาพิมประภา ตั้งประภาพรสุธิตา ชนะชัยสุวรรณอุณหภูมิเมษายนกอล์ฟ-ไมค์สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ICD-10ญีนา ซาลาสพงษ์สิทธิ์ คำภีร์สงครามโลกครั้งที่หนึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยอันดับโลกฟีฟ่ายูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2016–17 รอบแบ่งกลุ่มรายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนันสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)กรงกรรมอาณาจักรล้านนาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชรัฐของสหรัฐสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาราชินีแห่งน้ำตาไทยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกองทัพเรือไทยยิ่งลักษณ์ ชินวัตรสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดพรรคภูมิใจไทยณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาวิทยุเสียงอเมริกาข้าราชการส่วนท้องถิ่นคิม จี-ว็อน (นักแสดง)กฤษฏ์ อำนวยเดชกรอินทิรา โมราเลสพฤษภาคมจำนวนเฉพาะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่หม่ำ จ๊กมกชาคริต แย้มนามจัน ดารา (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2544)โรนัลโดประวัติศาสตร์จีนวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยเกาะกูดประเทศเกาหลีเหนือบิลลี ไอลิชธัชทร ทรัพย์อนันต์ธิษะณา ชุณหะวัณประเทศสิงคโปร์คิม มิน-แจ (นักฟุตบอล)สีประจำวันในประเทศไทยวชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาลประเทศบราซิลฟุตบอลโลกโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)ธงประจำพระองค์ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนยุโรปประเทศอิสราเอลอี คัง-อินโรงเรียนชลราษฎรอำรุง🡆 More