ดินสอ

ดินสอ เป็นอุปกรณ์ในการเขียน หรือสื่อทางศิลปะ มักทำจากเนื้อรงควัตถุแข็งและแคบอยู่ภายในเปลือกที่ปกป้องเนื้อดินสอไม่ให้หักหรือทิ้งรอยไว้บนมือขณะใช้งาน

ดินสอ
ดินสอแกรไฟต์ขนาดเอชบี
ดินสอ
ดินสอสี (ผลิตโดยบริษัท Caran d'Ache).

ดินสอสร้างรอยโดยการขีดเขียน ทิ้งรอยวัสดุเนื้อดินสอแข็ง ๆ ติดกับกระดาษ หรือพื้นผิวอื่น ๆ ไว้ ดินสอแตกต่างจากปากกา ที่จะกระจายรอยของของเหลวหรือหมึกเจลติดลงบนกระดาษ

เนื้อดินสอส่วนมากจะทำจากแกรไฟต์ผสมกับดินเหนียวที่จะทิ้งรอยสีเทาหรือดำไว้และทำให้ลบออกง่าย ดินสอที่ทำจากแกรไฟต์ใช้สำหรับเขียนและวาดเส้น และทำให้เกิดรอยที่ทนทาน แม้ว่ามันจะใช่ยางลบลบออกง่าย แต่ดินสอจะทนต่อความชื้น สารเคมี รังสีอัลตราไวโอเลต และอายุการใช้งาน ดินสอที่เนื้อทำจากวัสดุอื่นนั้นมีใช้กันน้อยกว่า เช่น ดินสอที่ทำจากถ่านไม้ ที่ส่วนมากจิตรกรจะใช้วาดภาพและร่างภาพ ดินสอสีบางครั้งมีไว้สำหรับครูหรือบรรณาธิใช้แก้ไขข้อความ แต่ก็จัดว่าเป็นอุปกรณ์ศิลปะเช่นกัน โดยเฉพาะชนิดที่มีเนื้อทำจากขี้ผึ้งที่จะติดลงบนกระดาษแทนที่จะลบออก ดินสอน้ำมันจะนุ่มกว่า มีเนื้อดินสอทำจากขี้ผึ้งคล้ายสีเทียนที่ทิ้งรอยบนผิวราบเรียบ เช่น กระจก หรือเครื่องลายคราม

เปลือกดินสอโดยทั่วไปทำจากไม้ขนาดบาง ปกติเป็นทรงหกเหลี่ยมด้านเท่าแต่บางครั้งก็เป็นทรงกระบอก พันรอบเนื้อดินสอถาวร เปลือกดินสออาจทำจากวัสดุอื่น เช่น พลาสติก หรือกระดาษ ก็ได้ ในการใช้ดินสอ เปลือกจะต้องถูกสลักหรือปอกออกเพื่อให้ส่วนปลายของดินสอแหลมคม ดินสอกดมีเปลือกที่ละเอียดอ่อนมากกว่าซึ่งช่วยประคองชิ้นส่วนของเนื้อสีให้สามารถขยายหรือหดผ่านปลายแท่งหรือเปลือกดินสอตามที่ต้องการ

ประวัติ

ในสมัยอดีต การเขียนเรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็นแบบแผนทางวัฒนธรรม ตำรา หรือการวาดรูป มนุษย์ในสมัยก่อนใช้อุปกรณ์ที่เป็นแปรงหรือกิ่งไม้เล็กๆ และเหล็กที่มีปลายแหลม นำไปเผาไฟจุ่มลงในน้ำหมึกเพื่อใช้ในการขีดเขียน ( ภาษาโรมันเรียกแปรงหรือเหล็กแหลมนี้ว่า " Pencillus " หรือ " Little tail " ซึ่งต่อมากลายเป็นคำว่า " Pencil " มีความหมายว่า " หางน้อย " ) ส่วน " ปากไก่ หรือ ปากกาขนห่าน " เริ่มมีการประดิษฐ์ขึ้นใช้ในทวีปยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 6

การผลิต

ในปัจจุบัน ดินสอผลิตโดยการใส่แกรไฟต์กับผงถ่าน เติมน้ำลงไป ผสมแล้วทำให้เป็นแท่งยาวคล้ายของที่มีลักษณะแหลม เผาในเตาให้แข็ง จากนั้นจุ่มในน้ำมันหรือขี้ผึ้ง เพื่อให้เขียนได้ง่ายขึ้น จากนั้นประกอบเข้ากับไม้ที่เจาะรูไว้ให้เป็นแท่งดินสอ

ดินสอส่วนใหญ่ โดยเฉพาะดินสอที่ใช้ในงานศิลปะ จะระบุความเข้มของดินสอเอาไว้ด้วยตามระบบยุโรป โดยใช้อักษร "H" (hardness - ความแข็ง) "B" (blackness - ความดำ) และ "F" (fine point - เนื้อละเอียด) ดินสอสำหรับศิลปะจะมีความเข้มหลายขนาดให้เลือกใช้ เพื่อให้มีความเข้ม ความสวยงาม และให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่ดินสอที่แข็งและสีอ่อน ไปจนถึงสีเข้มมาก โดยมักเรียงตามลำดับต่อไปนี้

9H 8H 7H 6H 5H 4H 3H 2H H F HB B 2B 3B 4B 5B 6B 7B/EB 8B/EE 9B
อ่อนที่สุด ปานกลาง เข้มที่สุด

ในคริสต์ศักราช 1970 ,STAEDTLER ได้กำหนดใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร EB และ EE ในผลิตภัณฑ์ของตน

ในปัจจุบันนี้ได้ยกเลิกการใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร EB และ EE แต่ถูกแทนที่ด้วย 7B และ 8B โดยEE นั้นย่อมาจาก Extra Extra

อย่างไรก็ตามสัญลักษณ์ตัวอักษร EE ยังคงปรากฏในผลิตภัณฑ์ชื่อ STAEDTLER Mars Lumograph ของ STAEDTLER ในประเทศไทย


นอกจากนี้แล้วยังมีระบบอเมริกันที่ใช้ตัวเลขเพียงอย่างเดียว โดยสามารถเทียบประมาณกับระบบยุโรปได้ดังนี้

สี อเมริกา ยุโรป
#1 = B
#2 = HB
#2 ½ * = F
#3 = H
#4 = 2H

* อาจพบความเข้ม 2 4/8, 2.5, 2 5/10 แล้วแต่ชนิด

ดินสอที่เขียนกันโดยทั่วไป มีความเข้มระดับ HB และดินสอสำหรับระบายกระดาษคอมพิวเตอร์ ต้องใช้ความเข้มระดับ 2B ขึ้นไป

รูปร่างของดินสอ

ดินสอส่วนใหญ่จะมีหน้าตัดเป็นรูปหกเหลี่ยม เนื่องจากสามารถจับได้ถนัด สบายมือ และเมื่อกลิ้งจะสามารถหยุดได้ (หากกลมจะมีโอกาสกลิ้งตกโต๊ะไปมากกว่า) ดินสอสำหรับช่างไม้จะเป็นรูปร่างแบน ซึ่งไม่กลิ้งเช่นกัน และสามารถกะระยะของเส้นได้เที่ยงตรงกว่า

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • Petroski, Henry (1990). The Pencil: A History of Design and Circumstance. New York: Alfred A. Knopf. ISBN 0-394-57422-2; ISBN 0-679-73415-5.
  • Petroski, Henry. H. D. Thoreau, Engineer. American Heritage of Invention and Technology, Vol. 5, No. 2, pp. 8-16.

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

ดินสอ ประวัติดินสอ การผลิตดินสอ รูปร่างของดินสอ ดูเพิ่มดินสอ อ้างอิงดินสอ แหล่งข้อมูลอื่นดินสอรงควัตถุ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ญีนา ซาลาสสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์รายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สจังหวัดสกลนครสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีพรหมลิขิตรายชื่อตัวละครในวันพีซหมายเลขโทรศัพท์ในประเทศไทยประเทศเนเธอร์แลนด์สุจาริณี วิวัชรวงศ์ญาณี จงวิสุทธิ์จังหวัดสระบุรีภูวินทร์ ตั้งศักดิ์ยืนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติอินสตาแกรมอาลิง โฮลันนามสกุลพระราชทานอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)จังหวัดของประเทศเกาหลีใต้รายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชาจักรพรรดินโปเลียนที่ 1สหราชอาณาจักรลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่หนึ่งในร้อยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีเฌอปราง อารีย์กุลกาจบัณฑิต ใจดีแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)สโมสรฟุตบอลอัลอะฮ์ลีอัสซะอูดีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษานรวิชญ์ ฐิติเจริญรักษ์ดวงอาทิตย์รายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานครปาณัสม์ กิตติภาณุวงศ์สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลจังหวัดขอนแก่นพล ตัณฑเสถียรชาบี อาลอนโซจังหวัดพิษณุโลกไทยมหัพภาคโลจิสติกส์สำราญ นวลมาธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญรายชื่อค่ายทหารในสังกัดกองทัพบกไทยไอยูเปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2536)อแมนด้า ออบดัมณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ประเทศสเปนอุณหภูมิสหประชาชาติบาท (สกุลเงิน)ราชกิจจานุเบกษาโยฮัน ไกรฟฟ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชยูเอสเอส ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ (CVN-71)กัญญาวีร์ สองเมืองเดือนICD-10ราณี แคมเปนการบินไทยเกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยามหาเวทย์ผนึกมารสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีทศศีลศรัณยู ประชากริชเขตการปกครองของประเทศพม่าคาราบาวหมากรุกไทยจังหวัดเพชรบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสประเทศไต้หวัน🡆 More