ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ (เกิด 4 มิถุนายน พ.ศ.

2518) ชื่อเล่น เต้น เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวไทย อดีตผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เลขาธิการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์พีทีวี อดีตผู้ดำเนินรายการความจริงวันนี้ และอดีตรองโฆษกพรรคไทยรักไทย

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
ณัฐวุฒิ ใน พ.ศ. 2553
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(1 ปี 206 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการบุญทรง เตริยาภิรมย์
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
ก่อนหน้าภูมิ สาระผล
ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์
ถัดไปอภิรดี ตันตราภรณ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
18 มกราคม – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
(0 ปี 273 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการธีระ วงศ์สมุทร
ยุคล ลิ้มแหลมทอง
ก่อนหน้าพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
7 ตุลาคม – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 56 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าวิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์
ถัดไปปณิธาน วัฒนายากร
ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
15 มิถุนายน พ.ศ. 2565 – 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 67 วัน)
หัวหน้าครอบครัวแพทองธาร ชินวัตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 มิถุนายน พ.ศ. 2518 (48 ปี)
ไทย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551—2561, 2565—2566)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ชาติพัฒนา (2541—2544)
ไทยรักไทย (2546—2550)
พลังประชาชน (2550—2551)
ไทยรักษาชาติ (2561—2562)
นปช. (2549–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสิริสกุล ใสยเกื้อ
บุตรนปก ใสยเกื้อ
ชาดอาภรณ์ ใสยเกื้อ

ประวัติ

ณัฐวุฒิเกิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรคนสุดท้อง ของสำเนา และปรียา ใสยเกื้อ มีพี่ชายคือเจตนันท์ ใสยเกื้อ ชื่อเล่น เต้น ส่วนคุณปู่ชื่อเปี่ยม ใสยเกื้อ และคุณตาชื่อชอบ นาคแก้ว

ณัฐวุฒิจบการศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ เมื่อปี พ.ศ. 2530 ระดับมัธยม ที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. 2536 จบปริญญาตรีนิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต จากนั้นสำเร็จการศึกษาปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชนสำหรับผู้บริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เมื่อ พ.ศ. 2548

ชีวิตครอบครัว ณัฐวุฒิสมรสกับ สิริสกุล ใสสะอาด ชื่อเล่น แก้ม มีบุตรชายหนึ่งคนคือ นปก (นะ-ปก) ซึ่งแปลว่า "ฟ้าคุ้มครอง" แต่มีที่มาจากชื่อย่อของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ คือ นปก. และบุตรสาวอีกหนึ่งคนคือ ชาดอาภรณ์ ซึ่งแปลว่า "เสื้อแดง"

วงการโทรทัศน์

นักพูดและรายการสภาโจ๊ก

ณัฐวุฒิเริ่มมีชื่อเสียงในวงการนักพูด ด้วยการเป็นนักโต้วาทีผู้แทนโรงเรียน จนเป็นแชมป์รายการโต้คารมมัธยมศึกษา ทางไทยทีวีสีช่อง 3 โดยในรอบรองชนะเลิศ พบกับทีมโรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งมีสุพจน์ พงษ์พรรณเจริญ ชื่อเล่น ทุเรียน และสมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ ชื่อเล่น เสนาลิง ร่วมแข่งขันด้วย ต่อมาจึงเริ่มต้นอาชีพนักพูด โดยเป็นนักอบรมการพูด กับบริษัท อดัมกรุ๊ป จำกัด ของอภิชาติ ดำดี จากนั้นก็ร่วมโต้วาทีในรายการทีวีวาที ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.เป็นบางโอกาส และต่อมาเป็นดารา ประจำรายการสภาโจ๊ก และรัฐบานหุ่น ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี โดยเป็นเงาเสียงของไตรรงค์ สุวรรณคีรี

ผู้บริหารพีทีวี-ผู้ดำเนินรายการความจริงวันนี้

เมื่อปี พ.ศ. 2549 ณัฐวุฒิร่วมกับวีระ มุสิกพงศ์ จตุพร พรหมพันธุ์ จักรภพ เพ็ญแข ก่อแก้ว พิกุลทอง และอุสมาน ลูกหยี ก่อตั้งบริษัท เพื่อนพ้องน้องพี่ จำกัด เพื่อดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีทีวี โดยเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานีฯ นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ร่วมดำเนินรายการ "เพื่อนพ้องน้องพี่ พีทีวีเพื่อประชาชน" ร่วมกับวีระ จตุพร และจักรภพด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ณัฐวุฒิเป็นผู้ร่วมดำเนินรายการความจริงวันนี้ ซึ่งผลิตโดย บจก.เพื่อนพ้องน้องพี่ และออกอากาศสดทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ร่วมกับวีระ และจตุพร แต่เมื่อรัฐบาลสมชาย มอบหมายให้ณัฐวุฒิ เข้าดำรงตำแหน่งโฆษกรัฐบาล ก่อแก้ว พิกุลทองจึงเข้ามาเป็นผู้ดำเนินรายการแทน แต่เมื่อพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 แล้ว ณัฐวุฒิก็กลับมาดำเนินรายการอีกครั้ง จนต้องยุติการดำเนินรายการทางเอ็นบีที เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปีเดียวกัน จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 รายการนี้กลับมาออกอากาศอีกครั้ง ทางสถานีประชาธิปไตย (19 มกราคม – 25 มีนาคม) และสถานีประชาชน (15 กรกฎาคม – 12 มีนาคม พ.ศ. 2553) ตามลำดับ

ฝ่าวงล้อม ทางเอเชียอัปเดต

หลังการประกันตัวจากข้อกล่าวหาก่อการร้าย ที่ได้รับจากช่วงการชุมนุมเดือนมีนาคม–พฤษภาคม พ.ศ. 2553 แล้ว ณัฐวุฒิเข้าเป็นผู้ดำเนินรายการ "ฝ่าวงล้อม" (30 มีนาคม – 21 เมษายน) ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเชียอัปเดต จนกระทั่งมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร เขาจึงยุติรายการนี้ เพื่อไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

เข้าใจตรงกันนะ ทางพีซทีวี

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ณัฐวุฒิเข้าเป็นผู้ร่วมดำเนินรายการ "เข้าใจตรงกันนะ" ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีซทีวี โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557 ในทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 21:00-22:00 น. (ต่อมา หลังจากมีคำสั่งศาลปกครองให้พีซทีวีออกอากาศต่อไปได้หลังเพิกถอนใบอนุญาต รายการก็ปรับเวลามาเป็น วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 18:20-19:10 น. แทนที่รายการมองไกลของนายจตุพร พรหมพันธุ์) โดยระยะแรกจะเป็นการสนทนาโดยมีพิธีกรทำหน้าที่ดำเนินรายการ ต่อมาในต้นปี พ.ศ. 2558 ได้ปรับรูปแบบโดยณัฐวุฒิดำเนินรายการด้วยตนเอง โดยเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ข่าวสารในแต่ละวัน โดยบางครั้ง นายณัฐวุฒิจะดำเนินรายการผ่านทางโทรศัพท์โดยมีพิธีกรทำหน้าที่ในห้องส่งในบางวัน หรือบางครั้งจะจัดรายการสดจากบ้านพักของนายณัฐวุฒิผ่านทางหน้าเพจเฟซบุ๊กส่วนตัวและนำมาออกอากาศในช่วงเวลาของรายการ จนกระทั่งยุติรายการลงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ตามนโยบายลดรายการวิจารณ์การเมืองของสถานีฯเพื่อให้สอดรับกับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2562

ช่วงต้นปี พ.ศ. 2559 นายณัฐวุฒิได้จัดตั้งโครงการ "ด้วยรักและแบ่งปัน" เพื่อช่วยเหลือเยาวชนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนส่งภาพถ่ายและเรื่องราวชีวิตมายังอีเมลและไปรษณีย์ โดยนายณัฐวุฒินำเรื่องราวของเยาวชนเหล่านี้รวมถึงข่าวจากสื่อมวลชนที่นำเสนอความเดือดร้อนของเยาวชนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ มาอ่านออกอากาศในรายการเข้าใจตรงกันนะวันละ 2 เรื่อง (ภายหลังเพิ่มเป็น 3 เรื่อง) รวมถึงนำเสนอผ่านเพจเฟซบุ๊กส่วนตัวของนายณัฐวุฒิอีกด้วย โดยทุกเรื่องที่ส่งเข้ามาและได้รับการเผยแพร่จะได้รับทุนการศึกษามูลค่า 5,000 บาท ผ่านบัญชีธนาคาร และเปิดโอกาสให้ร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว

งานทอล์กโชว์ "ด้วยรักและแบ่งปัน : ครั้งนี้พี่ขอ"

เมื่อมีเยาวชนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ขอรับการช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก นายณัฐวุฒิมีแนวคิดจะระดมทุนช่วยเหลือ โดยเตรียมการจัดทอล์กโชว์ระดมทุนขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "ด้วยรักและแบ่งปัน : ครั้งนี้พี่ขอ" ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 โดยแรกเดิมจะจัดที่หอประชุมกองทัพอากาศ แต่ต่อมา พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ออกมาตำหนิการจัดงานดังกล่าวโดยอ้างว่ากองทัพอากาศไม่อนุญาตให้จัดกิจกรรมทางการเมืองในพื้นที่ของกองทัพอากาศ นายณัฐวุฒิจึงได้ชี้แจงกับฝ่ายความมั่นคงผ่านเวทีปรองดอง ณ กระทรวงกลาโหม ถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรม และเปลี่ยนสถานที่จัดงานเป็นชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าอิมพิเรียลสำโรง ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ แต่กำหนดการจัดยังคงเดิม โดยงานก็สามารถจัดได้อย่างเรียบร้อย โดยไม่มีการขัดขวางจากเจ้าหน้าที่รัฐแต่อย่างใด และมีการออกอากาศเทปบันทึกภาพในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ทางช่อง พีซทีวี ในช่วงเวลาของรายการ "พีซทีวีเวทีทัศน์"

ศิลปินและแขกรับเชิญ

บทบาททางการเมือง

พรรคชาติพัฒนา

ณัฐวุฒิเริ่มเล่นการเมือง โดยเข้าสังกัดพรรคชาติพัฒนา และลงสมัครรับเลือกตั้ง ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 จากการชักชวนของธีรศักดิ์ นาคแก้ว ผู้เป็นน้าชาย แต่ได้คะแนนเป็นอันดับสอง โดยพ่ายแพ้คู่แข่งจากพรรคประชาธิปัตย์เพียง 4,000 เสียง

พรรคไทยรักไทย

ต่อมา ณัฐวุฒิเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทย โดยร่วมทีมปราศรัยล่วงหน้าของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะทำงานโฆษกพรรคไทยรักไทย ต่อมา พรรคคัดเลือกให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 และได้รับเลือกเป็น ส.ส. แต่เกิดการรัฐประหาร 19 กันยายนขึ้นเสียก่อน

แกนนำ นปช.

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 
ณัฐวุฒิบนเวทีปราศรัยของ นปช. บริเวณแยกราชประสงค์

เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 ณัฐวุฒิ ร่วมกับวีระ มุสิกพงศ์ และจตุพร พรหมพันธุ์ เดินทางมาพบกันยังที่ทำการพรรคไทยรักไทย เพื่อแถลงข่าวต่อต้านการรัฐประหาร ต่อมาช่วงต้นปี พ.ศ. 2550 สถานีโทรทัศน์พีทีวีถูกปิดกั้นสัญญาณดาวเทียม จนไม่สามารถออกอากาศได้ ผู้บริหารและผู้จัดรายการจึงออกมาปราศรัยที่ท้องสนามหลวง จนกระทั่งร่วมกับหลายองค์กรประชาธิปไตยภาคประชาชน จัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรหลักภายใต้ชื่อ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ในเวลาต่อมา โดยณัฐวุฒิเข้ารับตำแหน่งเป็นแกนนำคนหนึ่ง และขึ้นปราศรัยต่อต้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มาโดยตลอด

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ราวกลางปี พ.ศ. 2550 ณัฐวุฒิเข้าสังกัดพรรคพลังประชาชน พร้อมลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ระบบสัดส่วน กลุ่มที่ 8 พื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จากนั้นจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลที่นำโดยสมัคร สุนทรเวช และหลังจากที่สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ณัฐวุฒิก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลชุดนี้

เลขาธิการและโฆษก นปช.แดงทั้งแผ่นดิน

หลังจากรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์สิ้นสุดลง นปก.จึงเปลี่ยนชื่อองค์กรใหม่เป็น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ และเปลี่ยนชื่อย่อเป็น นปช. โดยณัฐวุฒิยังเป็นแกนนำอยู่ตามเดิม และหลังเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี พ.ศ. 2552 ซึ่งณัฐวุฒิถูกควบคุมตัว พร้อมกับวีระ มุสิกพงศ์ นายแพทย์เหวง โตจิราการ และแกนนำคนอื่นๆ ในข้อหาก่อการร้าย

พรรคเพื่อไทย (รอบที่ 1)

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ณัฐวุฒิได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในสังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นที่คาดหมายว่าจะได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ดูแลสื่อมวลชน) แต่ในการแต่งตั้งรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม กลับไม่มีชื่อของณัฐวุฒิในตำแหน่งใด ๆ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 19

รัฐมนตรี

ณัฐวุฒิได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (2) เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 แทนนายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)

พรรคไทยรักษาชาติ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 7 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง

พรรคเพื่อไทย (รอบที่ 2)

ในปี พ.ศ. 2565 เขาได้ย้ายกลับมาร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย โดยแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัว ได้จัดงานเปิดตัวณัฐวุฒิที่ The Jam Factory เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน โดยมีบทบาทสำคัญคือการทำหน้าที่ผู้ช่วยหาเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ซึ่งขึ้นปราศรัยโจมตีพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติมาโดยตลอด แต่หลังจากพรรคเพื่อไทยนำพรรครวมไทยสร้างชาติเข้าร่วมรัฐบาล ณัฐวุฒิได้ประกาศยุติบทบาทผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย ในรายการกรรมกรข่าวคุยนอกจอ ของสรยุทธ สุทัศนะจินดา เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

  • วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 ชมรมคนนครศรีธรรมราช และสมาคมศิษย์เก่า โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช ดำเนินการล่ารายชื่อ เพื่อขอให้โรงเรียนลบชื่อณัฐวุฒิ ออกจากการเป็นศิษย์เก่า เนื่องจากกลุ่มบุคคลดังกล่าว ไม่เห็นด้วยที่ณัฐวุฒิ เข้าร่วมเป็นแกนนำ นปช.
  • วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553 ณัฐวุฒิกล่าวปราศรัยบนเวทีราชประสงค์ว่า หากทหารเข้ามาสลายการชุมนุม อาจทำให้ผู้ชุมนุมเกิดอาการตกใจ จนทรัพย์สินรอบบริเวณอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ กลุ่มตรงข้ามกับฝ่ายผู้ชุมนุม และการ์ตูนล้อการเมืองในเครือข่ายสังคม ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า หากทหารเกิดอาการตกใจ ยิงผู้ที่ทำให้ทรัพย์สินเสียหายบ้าง จะเป็นอย่างไร
  • วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หลังจากเกิดเหตุความรุนแรงท่ามกลางการประท้วงในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) กล่าวว่า การที่ณัฐวุฒิแถลงว่า ขอให้ทหารหยุดยิง เพื่อให้ผู้ชุมนุมที่รวมตัวกันอยู่ในพื้นที่รอบการชุมนุม สามารถกลับเข้าสู่การชุมนุมที่ราชประสงค์เพียงจุดเดียว ถือว่าณัฐวุฒิเป็นผู้ก่อการร้ายตัวใหญ่ ที่สั่งให้กลุ่มผู้ก่อการร้าย ออกไปสร้างความรุนแรงในพื้นที่ต่างๆ โดยแกนนำไม่สามารถปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็นได้
  • วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอการปราศัยของแกนนำคนเสื้อแดงจำนวน 7 คลิป โดยมีคลิปของณัฐวุฒิจำนวน 2 คลิป คลิปแรกเป็นการปราศัยที่เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ว่า "ถ้าพวกคุณยึดอำนาจพวกผมเผาทั่วประเทศ เผาไปเลยพี่น้องผมรับผิดชอบเอง แล้วใครจะจับใครจะอะไรมาเอากับผมนี่ ถ้าคุณยึดอำนาจ เผา" คลิปที่สองเป็นการปราศัยที่สี่แยกราชประสงค์ว่า "อย่างที่ผมบอกไงครับ ว่าคนเสื้อแดงขี้ตกใจ ถ้ามายิงตู้มๆๆ คนเสื้อแดงวิ่งเข้าเกษร (วิลเลจ) วิ่งเข้าพารากอน วิ่งเข้าเซ็นทรัลเวิลด์ วิ่งเข้าโรงแรมแถวนี้ (สี่แยกราชประสงค์) แล้วเท่าที่ผมเช็คกระแสอาการตกใจแนวโน้มที่จะเป็นมีหลายอาการครับ บางคนตกใจแล้วชอบวิ่งไปหากระเป๋าแบรนด์เนม ก็มี บางคนเวลาตกใจชอบวิ่งไปหาร้านเครื่องประดับ ร้านเครื่องทองเครื่องเพชร ก็มี บางคนเวลาตกใจ ชอบขับรถเข้าไปในห้างก็มี บางคนเวลาตกใจ จุดไฟขึ้นมาดื้อๆ ก็มี" โดยพันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด ได้วิเคราะห์ว่าคลิปปราศัยเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้อาคารหลายแห่งหลังจากยุติการชุมนุม และมีผู้สั่งการทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ผลงานหนังสือ

ไฟล์:Chok Kham Loon.jpg
ชกข้ามรุ่น
  • ชกข้ามรุ่น

ผลงานเพลง

ประพันธ์เนื้อร้องและขับร้อง

  • รักสาวเสื้อแดง (แปลงมาจากเพลง รักสาวเสื้อลาย ของแสงสุรีย์ รุ่งโรจน์​)
  • แดงเสรีชน
  • ขอบคุณ
  • เพื่อนตาย
  • โชห่วย โชว์สวย - กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดทำเพลงและมิวสิกวิดีโอ เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์โครงการ "โชห่วย โชว์สวย ทั่วไทย รวมใจช่วยสังคม" โดยณัฐวุฒิเป็นผู้แต่งเนื้อร้อง จากนั้นมีผู้ท้วงติงว่า อาจละเมิดลิขสิทธิ์ทำนองเพลงของต่างประเทศ ต่อมาจึงลบออกจากยูทูบ
  • อภิวันท์ วิริยะชัย - เพลงพิเศษของสถานีโทรทัศน์พีซทีวี จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยและเชิดชูพันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย หลังการเสียชีวิตของพันเอก อภิวันท์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557
  • โรฮิงญา - ณัฐวุฒิประพันธ์เพลงนี้ขึ้นมาและเผยแพร่ในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 เพื่อสะท้อนปัญหาชนกลุ่มน้อยโรฮีนจาในประเทศไทย
  • แหล่ประชามติ - เพลงพิเศษของพีซทีวี เนื่องในโอกาสการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559
  • น้ำท่วมใต้ - เพลงพิเศษของสถานีโทรทัศน์พีซทีวี จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความห่วงใยและให้กำลังใจต่อผู้ประสบอุทกภัยในภาคใต้ช่วงต้นปี พ.ศ. 2560 เป็นเพลงแรกของณัฐวุฒิที่ขับร้องด้วยสำเนียงใต้
  • ฝากดาว - ณัฐวุฒิประพันธ์เพลงนี้ขึ้นมาและเผยแพร่ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 เพื่อสะท้อนความรู้สึกและความห่วงใยต่อญาติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุการณ์การชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2553
  • ห้อง 7 แดน 2 - ณัฐวุฒิประพันธ์เพลงนี้ขึ้นมาในขณะที่ต้องโทษในเรือนจำช่วงปี พ.ศ. 2563 และเผยแพร่ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 หลังได้รับการประกันตัวออกมา เพื่อบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความทรงจำในการต่อสู้ร่วมกับมวลชนคนเสื้อแดง

ประพันธ์เนื้อร้อง

  • อีสาระภา - เพลงดังอัลบั้มบังใบ้ (ขับร้องโดยวงมาลีฮวนน่า) เป็นเพลงที่พร่ำเพ้อถึงคนรักที่จากไปพูดถึงงานชักพระ อันการสท้อนวัฒนธรรมประเพณีของปักษ์ใต้ซึ่งเป็นบ้านเกิด
  • เพลงกล่อมพ่อ - เป็นบทเพลงไว้อาลัยคุณพ่อสำเนา ใสยเกื้อ โดยเพลงนี้แต่งที่ใต้ถุนศาลขณะคุณเต้นถูกจำคุก (ขับร้องโดย คฑาวุธ ทองไทย หรือ อ.ไข่ มาลีฮวนน่า
  • พีทีวี - เพลงประจำสถานีโทรทัศน์พีทีวี (ร้องโดย ชาย อิสรชน (พัฒน์ เพลงไพร)
  • ไทยรักษาชาติ - เพลงประจำพรรคไทยรักษาชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ถัดไป
ภูมิ สาระผล
ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ  ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
(27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ  อภิรดี ตันตราภรณ์
พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ  ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(18 มกราคม พ.ศ. 2555 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ  ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์
ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
พลตำรวจโท ดร.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ  ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ  รองศาสตราจารย์ ดร.ปณิธาน วัฒนายากร

Tags:

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ประวัติณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ วงการโทรทัศน์ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ บทบาททางการเมืองณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ข้อวิพากษ์วิจารณ์ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผลงานหนังสือณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผลงานเพลงณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อ้างอิงณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แหล่งข้อมูลอื่นณัฐวุฒิ ใสยเกื้อคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 58คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60ความจริงวันนี้ชาวไทยพรรคเพื่อไทยพรรคไทยรักไทยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อนพ้องน้องพี่ (บริษัท)แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

รายชื่อตัวละครในวันพีซปวีณ พงศ์สิรินทร์สโมสรกีฬาลัตซีโยสมเด็จพระเพทราชาสมณศักดิ์เอกซ์เอกซ์เอกซ์เทนเทสซิยอนสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาอริยบุคคลวันชนะ สวัสดีรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลสงครามเย็นปฏิจจสมุปบาทเพิ่มพูน ชิดชอบไอลิทนักเตะแข้งสายฟ้าคริสเตียโน โรนัลโดยิ่งลักษณ์ ชินวัตรณภศศิ สุรวรรณรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรีภาษาอังกฤษปักหมุดรักฉุกเฉินรายชื่อตัวละครในกังฟูแพนด้าจังหวัดน่านตระกูลจิราธิวัฒน์ธงประจำพระองค์ปรีชญา พงษ์ธนานิกรซิลลี่ ฟูลส์สงครามโลกครั้งที่หนึ่งตะเคียนมหาวิทยาลัยกรุงเทพจังหวัดตรังพระพุทธชินราชเอราวัณ การ์นิเยร์อาทิตยา ตรีบุดารักษ์วัชรเรศร วิวัชรวงศ์จังหวัดนครนายกนาฬิกาหกชั่วโมงชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์ราชกิจจานุเบกษาสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรจ้าว ลี่อิ่งประเทศเวียดนามคิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัสประเทศเยอรมนีครัวคุณต๋อยสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์กกอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพเทศน์ เฮนรี ไมรอนบาป 7 ประการและสิ่งสุดท้ายสี่อย่างพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัววัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารณฐพร เตมีรักษ์มรรคมีองค์แปดชาคริต แย้มนามพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ก็อตซิลลาจัน ดารา (ภาพยนตร์ทวิภาค)วิทยุเสียงอเมริกาฟุตบอลโลกพระเจ้าบุเรงนองพระคเณศฉัตรชัย เปล่งพานิชรายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทยประเทศออสเตรเลียหน้าหลักทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีศิริลักษณ์ คองสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซีโมเน อินซากีประชาธิปไตย🡆 More