ซิมอน โบลิบาร์

พลตรี ซิมอน โฮเซ อันโตนิโอ เด ลา ซานติซิมา ตรินิดัด โบลิบาร์ ปอนเต อี ปาลาซิโอส บลังโก (สเปน: Simón José Antonio de la Santísima Trinidad Bolívar Ponte y Palacios Blanco, ออกเสียง:  ( ฟังเสียง); 24 กรกฎาคม ค.ศ.

1783 – 17 ธันวาคม ค.ศ. 1830) เป็นนายทหารชาวเวเนซุเอลาและเป็นผู้นำทางการเมืองที่นำประเทศโคลอมเบีย, เวเนซุเอลา, เอกวาดอร์, ปานามา, เปรู และโบลิเวีย ประกาศอิสรภาพจากเจ้าอาณานิคมอย่างจักรวรรดิสเปน ทำให้ตัวเขาเป็นที่รู้จักกันในนาม ผู้ปลดปล่อย หรือ ผู้ปลดปล่อยแห่งลาตินอเมริกา

ผู้ปลดปล่อย
ซิมอน โบลิบาร์
ซิมอน โบลิบาร์
ภาพเสมือนโบลิบาร์ วาดโดยโฆเซ โตโร โมเรโน ป. ค.ศ. 1922
ตำแหน่งทางการเมือง
ประธานาธิบดีแห่งกรันโกลอมเบีย คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1819 – 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1830
รองประธานาธิบดีฟรันซิสโก เด เปาลา ซันตันเดร์
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปโดมิงโก ไกเซโด
ประธานาธิบดีโบลิเวียคนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
12 สิงหาคม ค.ศ. 1825 – 29 ธันวาคม ค.ศ. 1825
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปอันโตนิโอ โฮเซ เด ซูเกร
ประธานาธิบดีเปรู คนที่ 6
ดำรงตำแหน่ง
10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1824 – 28 มกราคม ค.ศ. 1827
ก่อนหน้าโฆเซ เบร์นาร์โด เด ตาเกล
ถัดไปอันเดรส เด ซานตา กรุซ
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเวเนซุเอลาที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
ตุลาคม ค.ศ. 1817 – 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1819
ก่อนหน้าตนเอง
ถัดไปโฆเซ อันโตนิโอ ปาเอซ
(ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา)
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเวเนซุเอลาที่สอง
ดำรงตำแหน่ง
7 สิงหาคม ค.ศ. 1813 – 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1814
ก่อนหน้าฟรันซิสโก เด มิรันดา
(เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเวเนซุเอลาที่ 1)
ถัดไปตนเอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 กรกฎาคม ค.ศ. 1783(1783-07-24)
การากัส เขตผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งเวเนซุเอลา จักรวรรดิสเปน
เสียชีวิต17 ธันวาคม ค.ศ. 1830(1830-12-17) (47 ปี)
ซานตามาร์ตา กรันโกลอมเบีย
(ปัจจุบันคือ ประเทศโคลอมเบีย)
ที่ไว้ศพมหาวิหารแพนธีออนแห่งชาติเวเนซุเอลา
เชื้อชาติสเปน (จนถึง ค.ศ. 1810) โคลอมเบีย (ค.ศ. 1810–1830)
เวเนซุเอลา (ค.ศ. 1813–1819)
คู่อาศัยมานูเอลา ซาเอนซ์
คู่สมรสมาริอา เตเรซา โรดริเกซ เดล โตโร อี อาไลซา (สมรส 1802; เสียชีวิต 1803)
ลายมือชื่อซิมอน โบลิบาร์

โบลิบาร์เป็นชาวการากัสมาแต่กำเนิด ตัวเขาเกิดในครอบครัวของชนชั้นสูงที่ร่ำรวย และตามปกติสำหรับทายาทของครอบครัวชนชั้นสูงในสมัยนั้น ทำให้เขาถูกส่งตัวไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเริ่มต้นอาศัยอยู่ที่สเปนตั้งแต่อายุ 16 ปี และต่อมาได้ย้ายไปที่ฝรั่งเศส ขณะที่เขาอาศัยอยู่ในยุโรป เขาได้รับแนวคิดที่เกี่ยวกับอิทธิพลของยุคเรืองปัญญาเป็นอย่างมาก นั่นเองจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้โบลิบาร์ต้องการที่จะล้มล้างการปกครองของสเปนในอาณานิคมลาตินอเมริกา จากความวุ่นวายภายในสเปนในช่วงสงครามคาบสมุทร โบลิบาร์จึงเริ่มรณรงค์เพื่อเอกราชของอเมริกาใน ค.ศ. 1808 การรณรงค์เพื่อเอกราชของโคลอมเบีย (กรันโกลอมเบีย)—ต่อมานิวกรานาดาถูกควบรวมด้วย เนื่องจากชัยชนะที่ยุทธการที่โบยากาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1819 เขาประกาศจัดตั้งสภาคองเกรสแห่งชาติขึ้น แม้จะมีอุปสรรคมากมาย รวมถึงการมาถึงของกองกำลังสำรวจสเปนขนาดใหญ่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แต่บรรดานักปฏิวัติก็มีชัยเหนือสเปนในที่สุด ภายหลังการได้รับชัยชนะที่ยุทธการที่การาโบโบใน ค.ศ. 1821 ซึ่งทำให้เวเนซุเอลาเป็นประเทศเอกราชอย่างสมบูรณ์

หลังจากชัยชนะเหนือราชาธิปไตยสเปน โบลิบาร์ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการสถาปนาสหภาพแห่งแรกของประเทศเอกราชในลาตินอเมริกา โดยเขาได้เป็นประธานาธิบดีแห่งกรันโกลอมเบียตั้งแต่ ค.ศ. 1819 จนถึง ค.ศ. 1830 ผ่านการรณรงค์ทางทหาร เขาได้ขับไล่ผู้ปกครองชาวสเปนออกจากเอกวาดอร์, เปรู และโบลิเวีย เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีหลายประเทศแถบลาตินอเมริกา ได้แก่ กรันโกลอมเบีย (ปัจจุบันคือ เวเนซุเอลา, โคลอมเบีย, ปานามา และเอกวาดอร์), เปรู และโบลิเวีย แต่ไม่นานหลังจากนั้น อันโตนิโอ โฮเซ เด ซูเกร รองผู้บังคับบัญชาของเขา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดีแห่งโบลิเวีย โบลิบาร์มีความตั้งใจที่จะสร้างความแข็งแกร่งและสร้างความสามัคคีภายในอาณานิคมอเมริกาของสเปน เพื่อที่จะสามารถป้องกันภัยคุกคามที่หลงเหลืออยู่จากสเปนและเหล่าพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ในยุโรป รวมถึงมหาอำนาจแห่งใหม่อย่างสหรัฐอเมริกาด้วย ในช่วงที่เขามีอำนาจถึงขีดสุด โบลิบาร์ได้ปกครองดินแดนตั้งแต่อาร์เจนตินาจนถึงบริเวณทะเลแคริบเบียน

โบลิบาร์ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติในประเทศส่วนใหญ่ของอเมริกาใต้สมัยใหม่ และถือเป็นหนึ่งในวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของขบวนการอิสรภาพในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ร่วมกับโฆเซ เด ซาน มาร์ติน, ฟรันซิสโก เด มิรันดา และคนอื่น ๆ จวบจนบั้นปลายชีวิตของเขา โบลิบาร์สิ้นหวังกับสถานการณ์ภายในประเทศบ้านเกิดของเขา ด้วยคำพูดที่มีชื่อเสียงว่า "ทุก ๆ คน ที่มีส่วนร่วมในการปฏิวัติ กำลังทำเพียงไถท้องทะเล" หรือในการปราศรัยต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบีย โบลิบาร์กล่าวว่า "พลเมืองทั้งหลาย! ฉันอายที่กล่าวแบบนี้: อิสรภาพเป็นผลประโยชน์เพียงอย่างเดียวที่เราได้รับ เพื่อสร้างความเสียหายให้กับส่วนที่เหลือทั้งหมด"

ภูมิหลังครอบครัว

ชีวิตวัยเด็ก

รับราชการทหาร

ผู้กู้อิสรภาพ

โบลิบาร์เป็นนักการเมืองที่ต่อสู้เพื่อความอิสระให้ประเทศเวเนซุเอลา โคลอมเบีย เอกวาดอร์ เปรู ปานามา และโบลิเวีย เป็นอิสระจากอาณานิคมสเปน เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม "ผู้กู้อิสรภาพ"

ชีวิตส่วนตัว

ในปี พ.ศ. 2345 โบลิบาร์ได้แต่งงานกับ "มาริอา เตเรซา โรดริเกซ เดล โตโร อี อาไลซา" เธอเสียชีวิตเพราะโรคไข้เหลืองในปีต่อมา และโบลิบาร์ไม่แต่งงานกับใครอีก

วาระสุดท้ายและความตาย

ซิมอน โบลิบาร์ 
ภาพโบลิบาร์เสียชีวิต โดยอันโตนิโอ เอร์เรรา โตโร จิตรกรชาวเวเนซุเอลา

เขากล่าวว่า "ทุก ๆ คน ที่มีส่วนร่วมในการปฏิวัติ กำลังทำเพียงไถท้องทะเล" ท้ายที่สุดแล้ว โบลิบาร์ได้ลาออกจากการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1830 โดยเขาได้ตั้งใจที่จะออกจากประเทศและลี้ภัยตนเองไปที่ยุโรป

ซิมอน โบลิบาร์ 
ภาพร่างโบลิบาร์ในวัย 47 ปี โดยโฆเซ มาริอา เอสปิโนซา ใน ค.ศ. 1830

เมื่อ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1830 โบลิบาร์ได้เสียชีวิตลงด้วยวัณโรคในวัย 47 ปี ณ กินตาเดซานเปโดรอาเลฮันดริโน ในเมืองซานตามาร์ตา ประเทศกรันโกลอมเบีย (ประเทศโคลอมเบียในปัจจุบัน) โดยโบลิบาร์ได้ขอให้นายพลแดเนียล เอฟ. โอเลียรี เผาจดหมาย งานเขียน และเอกสารที่เกี่ยวกับสุนทรพจน์ของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม โอเลียรีไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของโบลิบาร์และยังคงเก็บเอกสารเหล่านั้นไว้ และยังให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาและความคิดแบบเสรีนิยมของโบลิบาร์แก่นักประวัติศาสตร์มากมาย ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับชีวประวัติส่วนตัวของเขา เช่น เรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ ของเขากับมานูเอลา ซาเอนซ์ ใน ค.ศ. 1856 ซาเอนซ์ได้มอบจดหมายจากโบลิวาร์ที่เขาได้มอบให้เธอให้แก่โอเลียรีในไม่นานก่อนที่เธอจะเสียชีวิต

ซิมอน โบลิบาร์ 
การเคลื่อนย้ายร่างของโบลิบาร์จากซานตามาร์ตาไปการากัส

ร่างของโบลิบาร์ถูกฝังไว้ที่อาสนวิหารในเมืองซานตามาร์ตาเป็นเวลากว่า 12 ปี ก่อนที่ใน ค.ศ. 1842 ตามคำร้องขอของประธานาธิบดีโฮเซ อันโตนิโอ ปาเอซ ที่ต้องการให้ย้ายร่างของเขาจากซานตามาร์ตาไปที่การากัส และนำร่างของเขาไปฝังไว้ที่อาสนวิหารแห่งการากัสร่วมกับภรรยาและพ่อแม่ของเขา ในปี ค.ศ. 1876 ร่างของโบลิบาร์ถูกย้ายไปที่มหาวิหารแพนธีออนแห่งชาติเวเนซุเอลา และเมื่อปี ค.ศ. 2010 ร่างของมานูเอลา ซาเอนซ์ก็ถูกฝังอยู่ในมหาวิหารแพนธีออนแห่งชาติเวเนซุเอลาร่วมกับโบลิบาร์ด้วย

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 อูโก ชาเบซ ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา ได้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบขึ้น เพื่อสืบสวนทฤษฎีที่ว่าโบลิบาร์ตกเป็นเหยื่อของการลอบสังหาร หลายครั้งที่ชาเบซอ้างว่าความจริงแล้วโบลิบาร์ถูกวางยาพิษโดย "ผู้ทรยศแห่งนิวกรานาดา" ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 พอล ออแวร์เตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อได้ศึกษาบันทึกอาการของโบลิบาร์และสรุปได้ว่าโบลิบาร์อาจได้รับพิษจากสารหนูเรื้อรัง แต่ทั้งทฤษฎีการได้รับพิษเฉียบพลันและการฆาตกรรมไม่มีความเป็นไปได้ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 ร่างของโบลิบาร์ได้รับคำสั่งให้ขุดขึ้นมาเพื่อดำเนินการสืบสวนต่อไป ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชระหว่างประเทศได้ออกรายงาน โดยอ้างว่าไม่มีหลักฐานการได้รับสารพิษหรือสาเหตุการเสียชีวิตที่ผิดธรรมชาติอื่น ๆ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • Arana, Marie. Bolivar: American Liberator. New York: Simon & Schuster, 2013.
  • Reza, German de la. "La invención de la paz. De la república cristiana del duque de Sully a la sociedad de naciones de Simón Bolívar", México, Siglo XXI Editores, 2009. ISBN 978-607-03-0054-7
  • Bushnell, David. The Liberator, Simón Bolívar. New York: Alfred A. Knopf, 1970.
  • Bushnell, David (ed.) and Fornoff, Fred (tr.), El Libertador: Writings of Simón Bolívar, Oxford University Press, 2003. ISBN 978-0-19-514481-9
  • Bushnell, David and Macaulay, Neill. The Emergence of Latin America in the Nineteenth Century (Second edition). Oxford and New York: Oxford University Press, 1994. ISBN 978-0-19-508402-3
  • Ducoudray Holstein, H.L.V. Memoirs of Simón Bolívar. Boston: Goodrich, 1829.
  • Harvey, Robert. "Liberators: Latin America's Struggle For Independence, 1810–1830". John Murray, London (2000). ISBN 978-0-7195-5566-4
  • Lynch, John. Simón Bolívar and the Age of Revolution. London: University of London Institute of Latin American Studies, 1983. ISBN 978-0-901145-54-3
  • Lynch, John. The Spanish American Revolutions, 1808–1826 (Second edition). New York: W. W. Norton & Co., 1986. ISBN 978-0-393-95537-8
  • Madariaga, Salvador de. Bolívar. Westport: Greenwood Press, 1952. ISBN 978-0-313-22029-6
  • Marx, Karl. "Bolívar y Ponte" in The New American Cyclopaedia: A Popular Dictionary of General Knowledge, Vol. III. New York: D. Appleton & Co., 1858.
  • Mijares, Augusto. The Liberator. Caracas: North American Association of Venezuela, 1983.
  • O'Leary, Daniel Florencio. Bolívar and the War of Independence/Memorias del General Daniel Florencio O'Leary: Narración (Abridged version). Austin: University of Texas, [1888] 1970. ISBN 978-0-292-70047-5
  • Bastardo-Salcedo,JL (1993) Historia Fundamental de Venezuela UVC,Caracas.

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:ประธานาธิบดีโบลิเวีย แม่แบบ:ประธานาธิบดีเปรู แม่แบบ:ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา

Tags:

ซิมอน โบลิบาร์ ภูมิหลังครอบครัวซิมอน โบลิบาร์ ชีวิตวัยเด็กซิมอน โบลิบาร์ ผู้กู้อิสรภาพซิมอน โบลิบาร์ ชีวิตส่วนตัวซิมอน โบลิบาร์ วาระสุดท้ายและความตายซิมอน โบลิบาร์ ดูเพิ่มซิมอน โบลิบาร์ อ้างอิงซิมอน โบลิบาร์ หนังสืออ่านเพิ่มซิมอน โบลิบาร์ แหล่งข้อมูลอื่นซิมอน โบลิบาร์Es-Simon Bolivar.ogaจักรวรรดิสเปนปานามาภาษาสเปนเปรูเวเนซุเอลาเอกวาดอร์โคลอมเบียโบลิเวียไฟล์:Es-Simon Bolivar.oga

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

จ๊ะ นงผณีเข็มอัปสร สิริสุขะประเทศแอฟริกาใต้จังหวัดร้อยเอ็ดนกกะรางหัวขวานจังหวัดสมุทรปราการกาจบัณฑิต ใจดีวชิรวิชญ์ ชีวอารีตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจนกว่าจะได้รักกันจักรทิพย์ ชัยจินดา4 KINGS 2จังหวัดพิษณุโลกสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกองทัพ พีครายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDตัวเลขโรมันรถถัง จิตรเมืองนนท์กรงกรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาธนินท์ เจียรวนนท์รางวัลนาฏราชจังหวัดเชียงรายเซเรียอา ฤดูกาล 2023–24คือเรารักกันมุฮัมมัดทุเรียนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพรอยรักรอยบาปรายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตประวัติศาสตร์จีนเอฟเอคัพGenwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่รัสมุส ฮอยลุนด์ณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์มหาวิทยาลัยสวนดุสิตทวิตเตอร์สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนามธุรสโลกันตร์เทย์เลอร์ สวิฟต์ภาคกลาง (ประเทศไทย)ศาสนาพุทธสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ศุกลวัฒน์ คณารศแฮร์รี แมไกวร์รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีจักรพรรดิยงเจิ้งพระเจ้าบุเรงนองพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567มหาวิทยาลัยศิลปากรพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดอมีนา พินิจลิโอเนล เมสซิเบบีมอนสเตอร์ประเทศอินโดนีเซียรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยณฐพร เตมีรักษ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจีเฟรนด์ปรมาจารย์ลัทธิมาร (ละครโทรทัศน์)รหัสมอร์สสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกดาวิกา โฮร์เน่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พิชัย ชุณหวชิรก็อตซิลลาจิรายุ ตั้งศรีสุขโบรูโตะไลแคน (บอยแบนด์)Iกองบัญชาการตำรวจนครบาลวรินทร ปัญหกาญจน์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจักรพงษ์ แสงมณี🡆 More