เดอะนิวยอร์กไทมส์

เดอะนิวยอร์กไทมส์ (อังกฤษ: The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่น ๆ อีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า Gray Lady (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่าง ๆ ของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.

1851 ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ 95 รางวัล ซึ่งเยอะกว่าหนังสือพิมพ์อื่น ๆ อย่างมาก ถูกเรียกย่อ ๆ ว่า เดอะไทมส์ อย่าสับสนกับหนังสือพิมพ์ เดอะไทมส์ ที่ตีพิมพ์ในลอนดอน หรือหนังสือพิมพ์อื่น ๆ ที่ใช้ชื่อย่อเดียวกัน เช่น เดอะลอสเองเจลิสไทมส์

เดอะนิวยอร์กไทมส์
All the News That's Fit to Print
เดอะนิวยอร์กไทมส์
ประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน
ขนาดBroadsheet
เจ้าของบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์
ผู้ก่อตั้ง
  • เฮนรี จาร์วิส เรย์มอนต์
  • จอร์จ โจนส์
คอลัมนิสต์2,000 คน
ก่อตั้งเมื่อ18 กันยายน 1851; 172 ปีก่อน (1851-09-18)
สำนักงานใหญ่อาคารเดอะนิวยอร์กไทมส์, นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ยอดจำหน่าย
  • ผู้ติดตามข่าว 5,496,000 คน
    • ติดตามทางดิจิทัล 4,665,000 คน
    • ติดตามหนังสือพิมพ์ 831,000 คน
(as of พฤศจิกายน พ.ศ. 2563)
เลขมาตรฐานสากล (ISSN)0362-4331 (พิมพ์)
1553-8095 (เว็บ)
OCLC number1645522
เว็บไซต์

สโลแกนที่โด่งดังของหนังสือพิมพ์นี้คือ "ข่าวทุกข่าวที่เหมาะสมที่จะพิมพ์" ("All the News That's Fit to Print") ตีพิมพ์บนด้านบนซ้ายหน้าแรกของหนังสือพิมพ์

ประวัติ

นิวยอร์กไทมส์ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1851 โดยนักหนังสือพิมพ์และนักการเมืองชื่อ เฮนรี จาร์วิส เรย์มอนด์ และอดีตนายธนาคารชื่อ จอร์จ โจนส์ โดยตอนนั้นมีชื่อว่า นิว-ยอร์ก เดลี่ ไทมส์ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น เดอะนิวยอร์กไทมส์ใน ค.ศ. 1857 ในตอนแรก ๆ หนังสือพิมพ์นี้ตีพิมพ์ทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์ จนกระทั่งช่วงเกิดสงครามกลางเมืองอเมริกา จึงเริ่มตีพิมพ์ฉบับวันอาทิตย์ตั้งแต่นั้นมา

ในช่วงทศวรรษที่ 1880 นิวยอร์กไทมส์เปลี่ยนจากการสนับสนุนพรรครีพับลิกัน มาเป็นหนังสือพิมพ์ที่เป็นกลางทางการเมือง ค.ศ. 1884 นิวยอร์กไทมส์สนับสนุนให้ โกรเวอร์ เคลเวลแลนด์ เป็นประธานาธิบดี ส่งผลให้สูญเสียจำนวนผู้อ่านไปจำนวนหนึ่ง แต่ก็เรียกผู้อ่านกลับมาได้อีกครั้งในเวลาสองถึงสามปีถัดมา

ค.ศ. 1896 Adolph Ochs เข้ามารับช่วงต่อเดอะนิวยอร์กไทมส์ เขาตั้งสโลแกนให้หนังสือพิมพ์ว่า "ข่าวทุกข่าวที่เหมาะสมที่จะพิมพ์" ซึ่งเป็นการตอกหน้าหนังสือพิมพ์ในช่วงนั้นอย่างแรง เพราะหนังสือพิมพ์สมัยนั้นมักได้ชื่อว่าตีพิมพ์ข่าวใส่ร้ายป้ายสีต่าง ๆ ภายใต้การนำของเขา เดอะนิวยอร์กไทมส์ประสบความสำเร็จและได้รับชื่อเสียงจากระดับนานาชาติ

ค.ศ. 1904 เดอะนิวยอร์กไทมส์ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่ถนนที่ 42 และตั้งชื่อให้พื้นที่แถวนั้นว่าไทมส์สแควร์ และเป็นจุดเริ่มต้นของประเพณีการนำลูกบอลไฟลงมาจากตึกของสำนักงานทุก ๆ วันสิ้นปี เก้าปีต่อมา เดอะนิวยอร์กไทมส์ย้ายสำนักงานไปที่ 229 ถนนที่ 43 และดำเนินงานอยู่ที่นั่นจนถึง ค.ศ. 2007 ปัจจุบันสำนักงานนี้ตั้งอยู่ที่ 620 Eigth Avenue

สองทศวรรษถัดมา เดอะไทมส์ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อรับและส่งข่าวให้ผู้อ่านอย่างรวดเร็ว ใน ค.ศ. 1904 เดอะไทมส์รับรายงานเกี่ยวกับการทำลายกองทัพเรือรัสเซียจากเครื่องส่งสัญญาณไร้สายที่ติดอยู่บนเรือรบ

แหล่งข้อมูลอื่น

Tags:

นครนิวยอร์กภาษาอังกฤษรางวัลพูลิตเซอร์ลอนดอนสหรัฐอเมริกาหนังสือพิมพ์เดอะไทมส์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ดวงอาทิตย์ต่าย อรทัยจังหวัดฉะเชิงเทราไพ่แคงมหาวิทยาลัยกรุงเทพกิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ประเทศญี่ปุ่นนิวจีนส์บรูนู ฟือร์นังดึชนารีริษยาสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อนาคามีรายชื่อตัวละครในวันพีซฟุตบอลทีมชาติไทยเมลดา สุศรีพ.ศ. 2565เมืองพัทยาอาตาลันตาแบร์กามัสกากัลโชป๊อกเด้งรายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประเทศตุรกีรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยคลิปวิดีโออุณหภูมิวัชรเรศร วิวัชรวงศ์กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)รอย อิงคไพโรจน์ฮ่องกงสุชาติ ภิญโญอำเภอธนาคารกสิกรไทยสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)ฟุตบอลโลก1กูเกิล แปลภาษาฮันเตอร์ x ฮันเตอร์วอลเลย์บอลกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพFทรานส์ฟอร์เมอร์ส (ภาพยนตร์ชุด)เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยาวิกิพีเดียศุภชัย โพธิ์สุสโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดวันวิสาขบูชาคู่เวรสโมสรฟุตบอลไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียนชาวมอญจังหวัดสระบุรีขันธ์ภาษาในประเทศไทยบุพเพสันนิวาสเอาแล้วไง ยัยแฟนเก่าดันเป็นลูกสาวแม่ใหม่ธนาคารไทยพาณิชย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นพรหมโลกราศีเมษรายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยประเทศออสเตรียสุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตรปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์ธัญญ์ ธนากรนักเรียนประเทศมาเลเซียรายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยปรีชญา พงษ์ธนานิกรกฤษฏ์ อำนวยเดชกรราชกิจจานุเบกษาเบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)เทย์เลอร์ สวิฟต์แบมแบมเพลงสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา🡆 More