ประเทศกรันโกลอมเบีย

กรันโกลอมเบีย (สเปน: Gran Colombia, เสียงอ่านภาษาสเปน:  ( ฟังเสียง); แปลว่า โคลอมเบียใหญ่) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐโคลอมเบีย (สเปน: República de Colombia) เป็นชื่อที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกรัฐ (ซึ่งในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า โคลอมเบีย) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของอเมริกาใต้และตอนใต้ของอเมริกากลางระหว่าง ค.ศ.

1819–1831 รัฐนี้รวมดินแดนของโคลอมเบีย เอกวาดอร์ ปานามา และเวเนซุเอลาในปัจจุบัน และบางส่วนของภาคเหนือของเปรูและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของบราซิล ชื่อ กรันโกลอมเบีย ใช้ในเชิงประวัติศาสตร์เพื่อแยกความแตกต่างจาก สาธารณรัฐโคลอมเบีย ในปัจจุบัน ซึ่งยังเป็นชื่อทางการของรัฐในอดีตด้วย

สาธารณรัฐโคลอมเบีย

República de Colombia (สเปน)
1819–1831
ตราแผ่นดิน (ค.ศ. 1819–1831)ของกรันโกลอมเบีย
ตราแผ่นดิน
(ค.ศ. 1819–1831)
กรันโกลอมเบีย; ดินแดนที่อ้างกรรมสิทธิ์แต่ไม่ได้ควบคุม แสดงเป็นสีเขียวอ่อน
กรันโกลอมเบีย; ดินแดนที่อ้างกรรมสิทธิ์แต่ไม่ได้ควบคุม แสดงเป็นสีเขียวอ่อน
เมืองหลวงโบโกตา
ภาษาทั่วไปภาษาสเปน
ศาสนา
โรมันคาทอลิก
การปกครองสหพันธ์สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
ประธานาธิบดี 
• 1819–1830
ซิมอน โบลิบาร์
• 1830, 1831
โดมิงโก ไกเซโด
• 1830, 1831
โฮอากิน โมสเกรา
• 1830–1831
ราฟาเอล อูร์ดาเนตา
รองประธานาธิบดี 
• 1819–1820
ฟรันซิสโก อันโตนิโอ เซอา
• 1820–1821
ฮวน เฮร์มัน โรซิโอ
• 1821
อันโตนิโอ นาริญโญ อี อัลบาเรซ
• 1821
โฮเซ มาริอา เดล กัสติโย อี ราดา
• 1821–1827
ฟรันซิสโก เด เปาลา ซันตันเดร์
• 1830–1831
โดมิงโก ไกเซโด
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
• สภาสูง
วุฒิสภา
• สภาล่าง
สภาผู้แทนราษฎร
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
17 ธันวาคม 1819
• รัฐธรรมนูญแห่งกูกูตา
30 สิงหาคม 1821
• สงครามโคลอมเบีย–เปรู
1828–1829
• สิ้นสุด
19 พฤศจิกายน 1831
พื้นที่
18222,172,609 ตารางกิโลเมตร (838,849 ตารางไมล์)
18252,519,954 ตารางกิโลเมตร (972,960 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1822
2469000
• 1825
2583799
สกุลเงินเปียสตรา
ก่อนหน้า
ถัดไป
ประเทศกรันโกลอมเบีย เขตอุปราชแห่งนิวกรานาดา
ประเทศกรันโกลอมเบีย เขตผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งเวเนซุเอลา
ประเทศกรันโกลอมเบีย สมาพันธรัฐอเมริกาแห่งเวเนซุเอลา
สาธารณรัฐนิวกรานาดา ประเทศกรันโกลอมเบีย
รัฐเวเนซุเอลา ประเทศกรันโกลอมเบีย
เอกวาดอร์ ประเทศกรันโกลอมเบีย
บริติชเกียนา ประเทศกรันโกลอมเบีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกรันโกลอมเบีย โคลอมเบีย
ประเทศกรันโกลอมเบีย เวเนซุเอลา
ประเทศกรันโกลอมเบีย ปานามา
ประเทศกรันโกลอมเบีย เอกวาดอร์
ประเทศกรันโกลอมเบีย กายอานา

ในช่วงเวลาของการก่อตั้ง กรันโกลอมเบียเป็นประเทศที่ทรงเกียรติภูมิสูงสุดในฮิสแปนิกอเมริกา จอห์น ควินซี แอดัมส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ (ต่อมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ) กล่าวอ้างว่ากรันโกลอมเบียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก เกียรติภูมินี้ (ซึ่งสมทบเข้ากับความสำเร็จส่วนตัวของซิมอน โบลิบาร์) ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชในคิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน และปวยร์โตรีโกที่ปรารถนาจะสร้างรัฐสมทบกับสาธารณรัฐนี้

แต่การรับรองความชอบธรรมของรัฐกรันโกลอมเบียในระดับนานาชาติสวนทางกับจุดยืนของยุโรปที่คัดค้านเอกราชของรัฐในทวีปอเมริกา ออสเตรีย ฝรั่งเศส และรัสเซียจะรับรองเอกราชของรัฐในทวีปอเมริกาก็ต่อเมื่อรัฐใหม่เหล่านั้นยอมรับพระมหากษัตริย์จากราชวงศ์ยุโรปเท่านั้น นอกจากนี้ กรันโกลอมเบียและมหาอำนาจระหว่างประเทศยังไม่ลงรอยกันในเรื่องการขยายดินแดนและพรมแดนของกรันโกลอมเบีย

กรันโกลอมเบียได้รับการประกาศจัดตั้งผ่านกฎหมายพื้นฐานแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบียซึ่งตราขึ้นระหว่างการประชุมใหญ่แห่งอังโกสตูรา (ค.ศ. 1819) แต่ยังไม่มีผลบังคับจนกระทั่งการประชุมใหญ่แห่งกูกูตา (ค.ศ. 1821) ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งกูกูตา

กรันโกลอมเบียได้รับการจัดตั้งเป็นรัฐเดี่ยวแบบรวมศูนย์อำนาจปกครอง ตลอดการดำรงอยู่ของสาธารณรัฐมีร่องรอยความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนรัฐบาลแบบรวมศูนย์ที่มีระบบประธานาธิบดีเข้มแข็งกับผู้สนับสนุนรัฐบาลแบบสหพันธรัฐที่มีการกระจายอำนาจ ในขณะเดียวกันยังเกิดความแตกแยกทางการเมืองระหว่างผู้สนับสนุนรัฐธรรมนูญแห่งกูกูตา กับอีกสองกลุ่มที่พยายามให้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเพื่อสนับสนุนการแตกกรันโกลอมเบียออกเป็นสาธารณรัฐที่เล็กกว่า หรือเพื่อสนับสนุนการคงสหภาพไว้แต่ให้มีระบบประธานาธิบดีที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ฝ่ายที่สนับสนุนการปกครองตามรัฐธรรมนูญมีรองประธานาธิบดีฟรันซิสโก เด เปาลา ซันตันเดร์ เป็นผู้นำ ในขณะที่ฝ่ายที่สนับสนุนการสร้างระบบประธานาธิบดีที่เข้มแข็งมีประธานาธิบดีซิมอน โบลิบาร์ เป็นผู้นำ ทั้งสองเคยเป็นพันธมิตรกันในสงครามต่อต้านการปกครองของสเปน แต่เมื่อถึง ค.ศ. 1825 ความเห็นต่างของพวกเขาได้กลายเป็นเรื่องสาธารณะและเป็นส่วนสำคัญของความไม่มั่นคงทางการเมืองนับจากปีนั้นเป็นต้นมา

กรันโกลอมเบียถูกยุบเลิกใน ค.ศ. 1831 เนื่องจากความแตกต่างทางการเมืองที่เกิดขึ้นระหว่างผู้สนับสนุนระบอบสหพันธรัฐกับผู้สนับสนุนระบบศูนย์รวมอำนาจปกครอง เช่นเดียวกับความตึงเครียดในระดับภูมิภาคในหมู่ประชาชาติที่รวมกันเป็นสาธารณรัฐ กรันโกลอมเบียแตกออกเป็นรัฐผู้สืบสิทธิ์โคลอมเบีย เอกวาดอร์ และเวเนซุเอลา ส่วนปานามาแยกตัวจากโคลอมเบียใน ค.ศ. 1903 เนื่องจากกรันโกลอมเบียมีอาณาเขตส่วนใหญ่สอดคล้องกับเขตอำนาจดั้งเดิมของอดีตเขตอุปราชแห่งนิวกรานาดา กรันโกลอมเบียจึงอ้างกรรมสิทธิ์เหนือชายฝั่งโมสกิโตซึ่งเป็นชายฝั่งแคริบเบียนของนิการากัว

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Bushnell, David (1970). The Santander Regime in Gran Colombia. Westport, CT: Greenwood Press. ISBN 0-8371-2981-8. OCLC 258393.
  • Gibson, William Marion (1948). The Constitutions of Colombia. Durham, NC: Duke University Press. OCLC 3118881.
  • Lynch, John (2006). Simón Bolívar: a Life. New Haven and London: Yale University Press. ISBN 0-300-11062-6.

แหล่งข้อมูลอื่น

4°39′N 74°03′W / 4.650°N 74.050°W / 4.650; -74.050

Tags:

ประเทศกรันโกลอมเบีย ดูเพิ่มประเทศกรันโกลอมเบีย อ้างอิงประเทศกรันโกลอมเบีย บรรณานุกรมประเทศกรันโกลอมเบีย แหล่งข้อมูลอื่นประเทศกรันโกลอมเบียES-pe - Gran Colombia.oggบราซิลปานามาภาษาสเปนอเมริกากลางอเมริกาใต้เปรูเวเนซุเอลาเอกวาดอร์โคลอมเบียไฟล์:ES-pe - Gran Colombia.ogg

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวข่าวช่อง 7HDกรุณพล เทียนสุวรรณจังหวัดศรีสะเกษในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566หลับตาฝัน ถึงชื่อเธอปรภัสสร วรสิรินดาจังหวัดนครสวรรค์ปรีดี พนมยงค์อาตาลันตาแบร์กามัสกากัลโชเว็บไซต์จังหวัดตากในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566เป็นต่อภัณฑิรา พิพิธยากรสารหนูลัดดาแลนด์ (ภาพยนตร์)พงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญปลาวัวไททันเปรม ติณสูลานนท์ศรัณย์ ศิริลักษณ์มาสค์ไรเดอร์ซีรีส์หลิว อี้เฟย์ผ่าพิภพไททันทุเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยสาวิกา ไชยเดชช่องวันมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2023สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาราชวงศ์ชิงวิโรจน์ ลักขณาอดิศรอีเอฟแอลแชมเปียนชิปประเทศไต้หวันจังหวัดสุรินทร์ประเทศมัลดีฟส์ฟุตบอลโลก 2022สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐมรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557ยุรนันท์ ภมรมนตรีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475อุรัสยา เสปอร์บันด์อาเลฆันโดร การ์นาโชจังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566มหาวิทยาลัยรามคำแหงสุรพงษ์ สืบวงศ์ลีรายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้ไพ่แคงฆาตกรต่อเนื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกดาวิกา โฮร์เน่เดือนสนธิ บุญยรัตกลินประเทศซูดานใต้จังหวัดเพชรบุรีอสมทธีร์ วณิชนันทธาดาหลัว ยฺหวินซีสังโยชน์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่นราชการส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย)รังสิมันต์ โรมจังหวัดบุรีรัมย์รวมพันธุ์นักสู้พิทักษ์จักรวาลจังหวัดนครราชสีมาพรรคไทยรักษาชาติวอลเลย์บอลชิงแชมป์สโมสรเอเชียสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์เซียนแปะโรงสีแทททูคัลเลอร์ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์รัฐภูมิ โตคงทรัพย์พระพุทธโสธรสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ดสมเด็จพระสังฆราชไทยโรงเรียนเตรียมทหารประเทศซูดานบุญบั้งไฟผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี🡆 More