การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2547

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ.

2547 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 55 และมีขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช และรองประธานาธิบดีดิก ชีนีย์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน ถูกรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง โดยเอาชนะจอห์น เคร์รี สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐแมสซาชูเซตส์ และจอห์น เอ็ดเวิร์ด สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐนอร์ทแคโรไลนา ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตไปได้ นี่เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งสุดท้ายตั้งแต่ปี 2531 ที่ผู้สมัครพรรครีพับลิกันชนะคะแนนมหาชน (และครั้งสุดท้ายที่ผู้สมัครพรรคเดโมแครตแพ้คะแนนมหาชน) และเป็นครั้งสุดท้ายตั้งแต่ปี 2527 ที่ประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่จากพรรครีพับลิกันถูกรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง เนื่องจากผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งมีจำนวนสูงขึ้น ผู้สมัครทั้งสองพรรคทำลายสถิติคะแนนมหาชนของเรแกนเมื่อยี่สิบปีก่อน ในขณะนั้น บุชได้รับ 62,040,610 เสียง ซึ่งเป็นคะแนนมหาชนที่มากที่สุดในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ก่อนสถิติจะถูกทำลายโดยบารัก โอบามาในสี่ปีถัดมา บุชเป็นเพียงประธานาธิบดีคนเดียวที่ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมัยที่สองหลังจากแพ้คะแนนมหาชนในสมัยแรก

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2004
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2547
← ค.ศ. 2000 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 ค.ศ. 2008 →
ผู้ใช้สิทธิ60.1% (มีสิทธิเลือกตั้ง)
  การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2547 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2547
ผู้ได้รับเสนอชื่อ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช จอห์น เคร์รี
พรรค พรรครีพับลิกัน พรรคเดโมแครต
รัฐเหย้า รัฐเท็กซัส รัฐแมสซาชูเซตส์
คู่สมัคร ดิก เชนีย์ จอห์น เอ็ดวาร์ด
คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 286 251
รัฐที่ชนะ 31 19 + ดี.ซี.
คะแนนเสียง 62,040,610 59,028,444
% 50.7% 48.3 %

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2547
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี
สีแดง แสดงถึงรัฐที่บุช/เชนีย์ ชนะ
สีน้ำเงิน แสดงถึงรัฐที่เคร์รี/เอ็ดวาร์ดชนะ

ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาก่อนการเลือกตั้ง

จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
พรรครีพับลิกัน

ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
พรรครีพับลิกัน

บุชและชีนีย์ถูกเลือกให้เป็นแคนดิเดตโดยไม่มีผู้ท้าชิง อดีตผู้ว่ารัฐเวอร์มอนต์ ฮาวเวิร์ด ดีน เป็นตัวเต็งในช่วงแรกของการเลือกตั้งไพรมารี่ของพรรคเดโมแครต แต่เคร์รีชนะการเลือกตั้งไพรมารีในหลายรัฐในเดือนมกราคม และชนะการเลือกตั้งไพรมารี่ของพรรคเดโมแครตในเดือนมีนาคมหลังชนะในหลายไพรมารี่มาเรื่อย ๆ เคร์รีเลือกเอ็ดเวิร์ดที่ลงสมัครในการเลือกตั้งไพรมารี่เหมือนกันเป็นแคนดิเดตรองประธานาธิบดี

ความนิยมของบุชพุ่งสูงขึ้นหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายนในปี 2544 แต่ก็ลดลงอย่างมากจนถึงปี 2548 นโยบายการต่างประเทศเป็นประเด็นหลักในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากสงครามต่อต้านการก่อการร้ายและการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 ของรัฐบาลบุช บุชสร้างภาพลักษณ์ให้ตัวเองเป็นผู้นำเด็ดขาดและโจมตีเคร์รีว่าเป็นพวก "จุดยืนเอนไปมา" ("flip-flopper") เคร์รีวิจารณ์การทำสงครามอิรักของบุช (ถึงแม้ว่าเคร์รีจะโหวตให้บุชบุกอิรักก็ตาม) ประเด็นต่าง ๆ ภายในประเทศมีการดีเบตเช่นกัน ซึ่งมีประเด็นเศรษฐกิจและงาน ระบบสาธารณสุข การทำแท้ง การสมรสเพศเดียวกัน และการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนมนุษย์

บุชชนะไปอย่างฉิวเฉียดในคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง และได้รับคะแนนมหาชน 50.7% บุชชนะในรัฐทางใต้และในรัฐภูเขาทั้งหมด และชนะในรัฐ swing state อย่างโอไฮโอ ไอโอวา และนิวเม็กซิโก (โดยไอโอวาและนิวเม็กซิโกโหวตให้พรรคเดโมแครตเมื่อสี่ปีก่อน) ถึงแม้ว่าเคร์รีพลิกเอาชนะรัฐนิวแฮมป์เชอร์ได้ บุชก็ยังชนะการเลือกตั้งและได้รับคะแนนคณะผู้เลือกตั้งและคะแนนมหาชนมากกว่าเมื่อปี 2543 นี่เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรกตั้งแต่ปี 2531 ที่แคนดิเดตได้รับคะแนนมหาชนเกิน 50% มีบางประเด็นในกระบวนการการเลือกตั้งที่ดูมีปัญหา แต่ก็ไม่หนักเท่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2543 บุชชนะในรัฐฟลอริด้าไป 5% (บุช 52.10% เคร์รี่ 47.09%) ซึ่งทำได้ดีกว่าเมื่อสี่ปีก่อนที่ชนะไปแค่ 0.009% (บุช 48.847% กอร์ 48.838% - มีการฟ้องร้องต่อศาลซึ่งทำให้ผลการเลือกตั้งต้องถูกตัดสินโดยศาลสูงสุดสหรัฐใน Bush v. Gore) บุชเป็นรีพับลิกันคนสุดท้ายที่ชนะในรัฐโคโลราโด เนวาดา นิวเม็กซิโก และเวอร์จิเนีย ในขณะที่เคร์รีเป็นแคนดิเดตที่แพ้คนสุดท้ายที่ชนะในรัฐมิชิแกน เพนซิลเวเนีย และวิสคอนซินในการเลือกตั้งประธานาธิบดี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Official candidate websites

Election maps and analysis

State-by-state forecasts of electoral vote outcome

Controversies

Election campaign funding

Campaign ads

Tags:

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2547 อ้างอิงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2547 แหล่งข้อมูลอื่นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2547en:John Edwardsen:United States Senateen:United States presidential electionen:Vice presidentการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2527การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2531จอร์จ ดับเบิลยู. บุชจอห์น เคร์รีดิก ชีนีย์บารัก โอบามาประธานาธิบดีสหรัฐพรรคริพับลิกัน (สหรัฐ)พรรคเดโมแครต (สหรัฐ)รัฐนอร์ทแคโรไลนารัฐแมสซาชูเซตส์

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

ค็อบบี ไมนูจังหวัดกาญจนบุรีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์พฤษภาคมโฟร์อีฟประเทศลาวลำไย ไหทองคำรายชื่อประเทศในทวีปเอเชียเรียงตามประชากรอุณหภูมิภาษาไทยถิ่นเหนือจังหวัดจันทบุรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทัศน์พล วิวิธวรรธน์ดวงจันทร์ประวัติศาสตร์สหรัฐเกิดชาตินี้พี่ต้องเทพหัวใจไม่มีปลอมพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคเอ็กซูม่าประเทศเกาหลีเหนือการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475จีนรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลืองเมืองพัทยาโรคซึมเศร้าการสมรสเพศเดียวกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อริสมันต์ พงศ์เรืองรองบาลงดอร์โซคูลบุญชัย เบญจรงคกุลเจนี่ อัลภาชน์จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลประเทศบรูไนการโฆษณาบัญญัติ 10 ประการหอแต๋วแตกหม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุลพ.ศ. 2566หมากรุกไทยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมหาเวทย์ผนึกมารแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพรรคเพื่อไทยศาสนาอิสลามจอร์จ วอชิงตันโอซากะฟุตซอลโลกกูเกิล โครมลิทัวเนียอาร์เจนตินาจังหวัดชุมพรประเทศโปรตุเกสอิตาลีสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ปีนักษัตรโชกุนอี โด-ฮย็อนภัณฑิรา พิพิธยากรบียอนเซ่แอนาฟิแล็กซิสเขตบริหารพิเศษฮ่องกงเมตาสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ไทใหญ่อริยสัจ 4กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกออธิชาติ ชุมนานนท์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยFBกรมการปกครองวินัย ไกรบุตร🡆 More