เอมีล ฟิชเชอร์: นักเคมีชาวเยอรมัน (ค.ศ. 1852–1919)

แฮร์มัน เอมีล ลูอี ฟิชเชอร์ (เยอรมัน: Hermann Emil Louis Fischer FRS FRSE FCS; 9 ตุลาคม ค.ศ.

1852 – 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1919) เป็นนักเคมีชาวเยอรมันและผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน ค.ศ. 1902 เขาค้นพบเอสเทอริฟิเคชันของฟิชเชอร์ นอกจากนี้เขายังพัฒนาฟิชเชอร์โพรเจกชันซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำหรับการวาดอะตอมของคาร์บอนที่ไม่สมมาตร เขาไม่เคยใช้ชื่อตัวชื่อแรก (แฮร์มัน) และเป็นที่รู้จักมาตลอดชีวิตในชื่อเอมีล ฟิชเชอร์

เอมีล ฟิชเชอร์
เอมีล ฟิชเชอร์: นักเคมีชาวเยอรมัน (ค.ศ. 1852–1919)
เกิดแฮร์มัน เอมีล ลูอี ฟิชเชอร์
9 ตุลาคม ค.ศ. 1852(1852-10-09)
อ็อยส์เคียร์เชิน เขตไรน์
เสียชีวิต15 กรกฎาคม ค.ศ. 1919(1919-07-15) (66 ปี)
เบอร์ลิน เยอรมนี
สัญชาติเยอรมัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยบ็อน
มหาวิทยาลัยสทราซบูร์
มีชื่อเสียงจากการศึกษาน้ำตาลและพิวรีน
รางวัล
  • เหรียญรางวัลเดวี (1890)
  • ภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน (1899)
  • รางวัลโนเบลสาขาเคมี 1902)
  • รางวัลฟาราเดย์เลกเจอร์ชิป (1907)
  • เหรียญรางวัลเอลเลียต เครสสัน (1913)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมี
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยมิวนิก (1875–1881)
มหาวิทยาลัยแอร์ลังเงิน (1881–1888)
มหาวิทยาลัยเวือทซ์บวร์ค (1888–1892)
มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (1892–1919)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกอาด็อล์ฟ ฟ็อน ไบเออร์
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอกอัลเฟรท ชต็อค
อ็อทโท ดีลส์
อ็อทโท รุฟ
วอลเทอร์ เอ. เจคอบส์
ลูทวิช คนอร์
อ็อสคาร์ พีโลที
ยูลีอุส ทาเฟิล

ช่วงต้น

ฟิชเชอร์เกิดที่เมืองอ็อยส์เคียร์เชิน ใกล้กับโคโลญ เป็นลูกของเลาเร็นทซ์ ฟิชเชอร์ นักธุรกิจ และยูเลีย เพินส์เกิน ภรรยาของเขา หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาต้องการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ แต่พ่อของเขาบังคับให้เขาทำงานในธุรกิจของครอบครัวจนกระทั่งเห็นว่าลูกชายของเขาไม่เหมาะ ต่อมาฟิชเชอร์เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยบ็อนใน ค.ศ. 1871 แต่ย้ายไปที่มหาวิทยาลัยสทราซบูร์ใน ค.ศ. 1872 เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกใน ค.ศ. 1874 จากการศึกษาเกี่ยวกับเทลิอีน (phthalein) ภายใต้การดูแลของอาด็อล์ฟ ฟ็อน ไบเออร์ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในมหาวิทยาลัย

การวิจัย

ฟิชเชอร์เป็นที่รู้จักเป็นพิเศษจากผลงานที่เกี่ยวกับน้ำตาล: ในบรรดาผลงานอื่น ๆ การสังเคราะห์ D-(+)-กลูโคส และพิวรีน (รวมถึงการสังเคราะห์กาเฟอีนครั้งแรก)

ฟิชเชอร์ยังมีบทบาทในการค้นพบบาร์บิเชอริต ซึ่งเป็นยาระงับประสาทที่ใช้สำหรับการนอนไม่หลับ โรคลมชัก ความวิตกกังวล และการระงับความรู้สึก เขามีส่วนช่วยในการเปิดตัวยากล่อมประสาทบาร์บิเชอริตเป็นครั้งแรกร่วมกับโยเซ็ฟ ฟ็อน เมริง แพทย์ชาวเยอรมัน ใน ค.ศ. 1904

อ้างอิง

Tags:

ภาษาเยอรมันรางวัลโนเบลสาขาเคมีราชสมาคม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวชวน หลีกภัยโรงเรียนนายร้อยตำรวจพรรครวมไทยสร้างชาติอแมนด้า ออบดัมรายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวงกองทัพ พีคพิจักขณา วงศารัตนศิลป์กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)0สาธุ (ละครโทรทัศน์)บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยมประเทศบรูไนรายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยสีขาวสำราญ นวลมาแอน อรดีอาทิวราห์ คงมาลัยรายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูรจังหวัดนครสวรรค์จังหวัดกระบี่วัดพระศรีรัตนศาสดารามสถานีกลางบางซื่อเจ้าชายอับดุล มาตีนแห่งบรูไนณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์รหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศจังหวัดอุทัยธานีลำไย ไหทองคำธงประจำพระองค์การแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)ภูเขาฟูจิแมวรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดี (พ.ศ. 2560–2567)ศาสนาฮินดูธีรเดช เมธาวรายุทธไชยา พรหมารายชื่ออักษรย่อของโรงเรียนในประเทศไทย/สกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์ธีรเทพ วิโนทัยหิรัญกฤษฎิ์ ช่างคำสโมสรฟุตบอลเซบิยาบิลลี ไอลิชชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนาเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสกว่างโจวพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยพ.ศ. 2567รายชื่อประเทศและเขตการปกครองเรียงตามขนาดพื้นที่ทั้งหมดมหาวิทยาลัยรังสิตประเทศไทยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่า...รักดวงใจเทวพรหมจังหวัดกาฬสินธุ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโฟร์อีฟจิรวรรตน์ สุทธิวณิชศักดิ์ศุภวุฒิ เถื่อนกลางวอลเลย์บอลประเทศไต้หวันลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลจังหวัดชลบุรีศิริลักษณ์ คองศุกลวัฒน์ คณารศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2536)สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์คณะวิชาบัวขาว บัญชาเมฆไทยลีกสภาผู้แทนราษฎรไทยท่าอากาศยานดอนเมืองจักรพรรดิโชวะ🡆 More