สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา

สมเด็จพระสังฆราช (เขมร: សម្តេចព្រះសង្ឃរាជ สมฺเตจพฺระสงฺฆราช; อังกฤษ: Supreme Patriarch) เป็นประมุขของคณะสงฆ์กัมพูชา

สมเด็จพระมหาสังฆราช
ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา
សម្ដេចព្រះមហាសង្ឃរាជ នៃព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (นนท์ แงด ปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺโค)
สมเด็จพระมหาสังฆราชรักษาการ
ตั้งแต่ ค.ศ. 2024-ปัจจุบัน
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์กัมพูชา
วาระตลอดพระชนม์ชีพ
สถาปนาค.ศ. 2006

สมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี เทพ วงศ์ สมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายมหานิกาย แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา สิ้นพระชนม์แล้ว เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2567 เวลา 17.40น. สิริพระชนมายุ 92 ปี 72 พรรษา

สมณศักดิ์ของผู้ดำรงตำแหน่งสังฆราช

ในประเทศกัมพูชา ซึ่งมีคณะสงฆ์เถรวาทอยู่ 2 นิกายหลัก คือ คณะมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย ได้จัดการปกครองให้คณะสงฆ์แต่ละนิกายมีประมุขดำรงตำแหน่งพระสังฆราชของตนเองเป็นเอกเทศ พระสงฆ์ผู้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์นั้นมีสมณศักดิ์ต่างๆ กัน ดังปรากฏตามบัญชีรายพระนามข้างท้ายบทความ แต่ในปัจจุบัน จะทรงมีสมณศักดิ์ดังต่อไปนี้

  • สมเด็จพระสังฆราชคณะสงฆ์มหานิกาย ทรงมีสมณศักดิ์เป็นที่ "สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี" (เขมร: សម្តេចព្រះមហាសុមេធាធិបតី สมฺเตจพฺระมหาสุเมธาธิบตี) คำว่า สุเมธาธิบดี แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในหมู่นักปราชญ์ สมเด็จพระสังฆราชคณะมหานิกายกัมพูชาเกือบทุกพระองค์ดำรงสมณศักดิ์นี้
  • สมเด็จพระสังฆราชคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ทรงมีสมณศักดิ์เป็นที่ "สมเด็จพระสุคนธาธิบดี" (เขมร: សម្តេចព្រះសុគន្ធាធិបតី สมฺเตจพฺระสุคนฺธาธิบตี) คำว่า สุคนธาธิบดี แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ผู้มีกลิ่น คือ ศีล อันหอมฟุ้ง สมณศักดิ์นี้มีที่มาจากสมณศักดิ์ของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติกนิกายกัมพูชาพระองค์แรก คือ สมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปาน ปญฺญาสีโล) แต่ตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้น สมเด็จพระสังฆราชคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายส่วนมากจะดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ "สมเด็จพระสุธรรมาธิบดี" (เขมร: សម្តេចព្រះសុធម្មាធិបតី สมฺเตจพฺระสุธมฺมาธิบตี) ราชทินนามของสมณศักดิ์นี้แปลว่า "ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ผู้มีธรรมอันดีงาม"

ในยุคหลังได้มีการเพิ่มพูนสมณศักดิ์ของสมเด็จพระสังฆราชให้สูงขึ้นเป็น "สมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี" (เขมร: សម្តេចព្រះអគ្គមហាសង្ឃរាជាធិបតី สมเตจพระอคฺคมหาสงฺฆราชาธิบตี) และมีอำนาจปกครองคณะสงฆ์ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ต่อมาได้มีการสถาปนาให้สมเด็จพระสังฆราชคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกายมีสถานะเป็น "มหาสังฆราชาธิบดี" เช่นกัน ในราชทินนาม "สมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี" (เขมร: សម្តេចព្រះអភិសិរីសុគន្ធាមហាសង្ឃរាជាធិបតី สมฺเตจพฺระอภิสิรีสุคนฺธามหาสงฺฆราชาธิบตี) แต่มีอำนาจปกครองเฉพาะคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเท่านั้น

ประวัติ

แต่เดิมมาการปกครองคณะสงฆ์กัมพูชานั้นไม่มีตำแหน่งสกลสังฆปริณายก หรือผู้ปกครองสงฆ์ทั้งหมดทุกนิกายทั่วสังฆมณฑล คณะสงฆ์แต่ละนิกายต่างก็มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นของตนเองและแยกกันปกครอง ไม่ขึ้นแก่กันมาตลอด กระทั่งกองทัพเขมรแดงได้เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศกัมพูชาแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในปี ค.ศ. 1975 การปกครองของคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายในช่วงเวลาดังกล่าวจึงขาดช่วงไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของเขมรแดงมีการกวาดล้างศาสนาและลัทธิความเชื่อต่างๆ ทั่วประเทศ พระสงฆ์ในพุทธศาสนาต้องถูกบังคับสึกให้ออกมาใช้แรงงานหรือถูกสังหารในกรณีที่ไม่ยอมสึก บางส่วนก็ต้องลี้ภัยออกไปยังต่างประเทศ

เมื่อแนวร่วมสามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชาได้โค่นล้มการปกครองของเขมรแดงและจัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาขึ้นแทนที่ในปี ค.ศ. 1979 แล้ว พุทธศาสนาในกัมพูชาจึงค่อยๆ ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ใน ค.ศ. 1981 คณะสงฆ์กัมพูชาได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการปกครองตามอย่างคณะสงฆ์เถรวาทในประเทศเวียดนาม โดยจัดให้มีการปกครองคณะสงฆ์รวมกันเป็นคณะเดียวอยู่ในกำกับของรัฐบาล ไม่แบ่งแยกนิกาย มีตำแหน่งประมุขคณะสงฆ์เรียกว่า ประธานการกสงฆ์ โดยพระเทพ วงศ์ (ទេព វង្ស เทพ วงฺส) ได้รับเลือกเป็นประธานการกสงฆ์ที่ปรับปรุงใหม่

หลังจากกัมพูชาลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส ค.ศ. 1991 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ได้ทรงสถาปนาพระเทพ วงศ์ เป็นสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี สมเด็จพระสังฆราชในคณะมหานิกาย และสถาปนาสมเด็จพระองค์ครู บัวร์ กรี (បួរ គ្រី บัวร กรี) เป็นสมเด็จพระสุคนธาธิบดี สมเด็จพระสังฆราชในคณะธรรมยุติกนิกาย ทำให้การปกครองคณะสงฆ์ประเทศกัมพูชากลับมาแยกกันปกครองเป็น 2 นิกาย และมีผู้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช 2 พระองค์อีกครั้ง ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญกัมพูชายังกำหนดให้สมเด็จพระสังฆราชทั้งสองพระองค์เป็นสมาชิกโดยตำแหน่งของกรมปรึกษาราชบัลลังก์ ซึ่งมีหน้าที่คัดเลือกผู้สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชา

ถึงปี ค.ศ. 2006 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงสถาปนาสมเด็จเทพ วงศ์ เป็นสมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี สมเด็จพระมหาสังฆราชในพระราชอาณาจักรกัมพูชา นับเป็นบุคคลแรกในรอบ 150 ปีที่ได้รับตำแหน่งพิเศษดังกล่าว และสถาปนาพระนนท์ แงด (នន្ទ ង៉ែត) เป็นสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี สมเด็จพระสังฆนายกในคณะมหานิกายมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี ค.ศ. 2007 จึงได้มีการสถาปนาสมเด็จบัวร์ กรี ขึ้นเป็นสมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี (សម្តេចព្រះអភិសិរីសុគន្ធាមហាសង្ឃរាជាធិបតី สมฺเตจพฺระอภิสิรีสุคนฺธามหาสงฺฆราชาธิบตี) สมเด็จพระมหาสังฆราชในคณะธรรมยุติกนิกายในพระราชอาณาจักรกัมพูชา โดยไม่ปรากฏว่ามีการแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆนายกในคณะธรรมยุติกนิกายทดแทนอย่างเช่นในคณะมหานิกาย

รายพระนามประมุขสงฆ์แห่งกัมพูชา

หมายเหตุ: ปีพุทธศักราชในที่นี้ใช้วิธีการคำนวณพุทธศักราชอย่างที่ใช้ในประเทศไทย ซึ่งจะเร็วกว่าพุทธศักราชที่ใช้ในประเทศกัมพูชาอยู่ 1 ปี

สมเด็จพระสังฆราชแห่งคณะมหานิกาย

ลำดับที่ พระรูป พระนาม พระนามเดิม ฉายา สถิต ณ วัด ประสูติ-สิ้นพระชนม์
(ค.ศ./พ.ศ.)
พระชนมายุ (ปี) ดำรงตำแหน่ง
(ค.ศ./พ.ศ.)
รวมระยะเวลา (ปี) หมายเหตุ
1 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระมหาสังฆราช (เนิล เตียง สุวณฺณเกสโร) និល ទៀង
เนิล เตียง, เที่ยง
សុវណ្ណកេសរោ
สุวณฺณเกสโร
วัดอุณาโลม 1823-1913
2366-2456
90 1859-1913
2402-2456
54
2 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระธรรมลิขิต (แก อุก อินฺทตฺเถโร) កែ អ៊ុក
แก อุก
ឥន្ទត្ថេរោ
อินฺทตฺเถโร
วัดอุณาโลม 1851-1936
2394-2479
86 1914-1930
2458-2473
16
3 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ปรัก ฮิน สุธมฺมตฺเถโร) ប្រាក់ ហ៊ិន
ปรัก ฮิน
សុធម្មត្ថេរោ
สุธมฺมตฺเถโร
วัดสาละวัน 1863-1947
2406-2490
84 1930-1947
2473-2490
17
4 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ชวน ณาต โชตญาโณ) ជួន ណាត
ชวน ณาต
ជោតញ្ញាណោ
โชตญาโณ
วัดอุณาโลม 1883-1969
2426-2512
86 1948-1969
2491-2512
21
5 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ฮวต ตาต วชิรปญฺโญ) ហួត តាត
ฮวต ตาต
វជិរបញ្ញោ
วชิรปญฺโญ
วัดอุณาโลม 1892-1975
2435-2518
83 1970-1975
2513-2518
5 ถูกกองทัพเขมรแดงนำตัวไปปลงพระชนม์ที่เมืองอุดงค์มีชัย จังหวัดกำปงสปือ
6 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (เทพ วงศ์ อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคิโก) ទេព វង្ស
เทพ วงศ์
ឧបេក្ខាសម្ពោជ្ឈង្គិកោ
อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคิโก
วัดอุณาโลม 1932-2024
2475-2567
92 1991-2006
2534-2549
15 เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี
7 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (นนท์ แงด ปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺโค) នន្ទ ង៉ែត
นนท์ แงด
បស្សទ្ធិសម្ពោជ្ឈង្គោ
ปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺโค
วัดปทุมวดีราชวราราม 1922-ปัจจุบัน
2465-ปัจจุบัน
97 2006-ปัจจุบัน
2549-ปัจจุบัน
13 สมเด็จพระมหาสังฆราชรักษาการ

ตั้งแต่ ค.ศ. 2024-ปัจจุบัน

สมเด็จพระสังฆราชแห่งคณะธรรมยุติกนิกาย

ลำดับที่ พระรูป พระนาม พระนามเดิม ฉายา สถิต ณ วัด ประสูติ-สิ้นพระชนม์
(ค.ศ./พ.ศ.)
พระชนมายุ (ปี) ดำรงตำแหน่ง
(ค.ศ./พ.ศ.)
รวมระยะเวลา (ปี) หมายเหตุ
1 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปาน ปญฺญาสีโล) ប៉ាន
ปาน
បញ្ញាសីលោ
ปญฺญาสีโล
วัดปทุมวดีราชวราราม 1826-1893
2369-2436
67 1855–1893
2398–2436
38
2 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระมงคลเทพาจารย์ (เอี่ยม ภทฺทคู) អៀម
เอี่ยม
ភទ្ទគូ
ภทฺทคู
วัดปทุมวดีราชวราราม 1849-1922
2392-2465
73 1893-1922
2436-2465
29
3 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระมงคลเทพาจารย์ (สุก ปญฺญาทีโป) ស៊ុក
สุก
បញ្ញាទីបោ
ปญฺญาทีโป
วัดปทุมวดีราชวราราม 1861-1943
2404-2486
82 1923-1943
2466-2485
11
4 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระสุธรรมาธิบดี (อุง สะเรย พุทฺธนาโค) អ៊ុង ស្រី
อุง สะเรย
ពុទ្ធនាគោ
พุทธฺนาโค
วัดปทุมวดีราชวราราม 1870-1956
2413-2498
85 1943-1956
2486-2498
13
5 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระมหาสุธรรมาธิบดี (ภุล เทส อินฺทญาโณ) ភុល ទេស
ภุล เทส
ឥន្ទញាណោ
อินฺทญาโณ
วัดปทุมวดีราชวราราม 1891-1966
2434-2509
75 1956-1966
2498-2509
10
6 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระมหาสุธรรมาธิบดี (เทพ เลือง คนฺธโร) ទេព លឿង
เทพ เลือง
គន្ធរោ
คนฺธโร
วัดปทุมวดีราชวราราม 1883-1975
2426-2518
92 1966-1975
2509-2518
9 สิ้นพระชนม์ก่อนเสียกรุงพนมเปญให้แก่เขมรแดงเพียง 2 วัน
7 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระสังฆราช (ฮี เจีย) ហ៊ី ជា
ฮี เจีย
ไม่ทราบ วัดปทุมวดีราชวราราม ไม่ทราบ-1975
ไม่ทราบ-2518
ไม่ทราบ 1975
2518
ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ รักษาการสมเด็จพระสังฆราชแห่งคณะธรรมยุติกนิกายกัมพูชา ถูกกองทัพเขมรแดงปลงพระชนม์
8 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี (บัวร์ กรี จนฺทคิริโก) បួរ គ្រី
บัวร์ กรี
ចន្ទតិរិកោ
จนฺทคิริโก
วัดปทุมวดีราชวราราม 1940-ปัจจุบัน
2483-ปัจจุบัน
79 1991-ปัจจุบัน
2534-ปัจจุบัน
28 ดำรงสมณศักดิ์เป็น "สมเด็จพระสุคนธาธิบดี" จนถึง พ.ศ. 2550 จึงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสังฆราชในคณะธรรมยุติกนิกาย

ประธานการกสงฆ์กัมพูชา

ประธานการกสงฆ์กัมพูชาเป็นตำแหน่งประมุขของคณะสงฆ์กัมพูชา (ไม่มีการแยกคณะมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย) ในสมัยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา

ลำดับที่ ภาพ นาม ฉายา ดำรงตำแหน่ง
(ค.ศ./พ.ศ.)
รวมระยะเวลา (ปี) หมายเหตุ
1 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  พระวินัยธรเทพ วงศ์ อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคิโก ទេព វង្ស
เทพ วงศ์
ឧបេក្ខាសម្ពោជ្ឈង្គិកោ
อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคิโก
1981–1991
2524-2534
10 ตำแหน่งยุบเลิกไปเนื่องจากมีการจัดการปกครองคณะสงฆ์ใหม่

ประธานคณะสงฆ์กัมพูชาพลัดถิ่น

ในการเลือกพระเทพ วงศ์ เป็นประธานการกสงฆ์กัมพูชาโดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีฮุน เซน นั้น ปรากฏว่าไม่เป็นที่ยอมรับของบรรดาพระสงฆ์กัมพูชาที่ลี้ภัยทางการเมืองอยู่ต่างประเทศ เนื่องจากพระเทพ วงศ์ ด้อยอาวุโสทั้งอายุและพรรษากว่าพระหลายๆ รูปในเวลานั้น และมีข้อครหาในการอิงแอบกับฝ่ายการเมืองของรัฐบาลฮุน เซน คณะสงฆ์ดังกล่าวจึงได้ประชุมกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และคัดเลือกให้สมเด็จพระมหาโฆสานนท์ (วา ยาว) ทำหน้าที่เป็นประธานคณะสงฆ์กัมพูชา โดยไม่ได้เกี่ยวข้องหรือเป็นที่ยอมรับจากรัฐบาลที่พนมเปญแต่อย่างใด

ลำดับที่ ภาพ นาม ฉายา ดำรงตำแหน่ง
(ค.ศ./พ.ศ.)
รวมระยะเวลา (ปี) หมายเหตุ
1 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระมหาโฆสานันท์ (วา ยาว) โฆสานนฺโท
ឃោសានន្ទ
1988–2007
2532-2551
19 สังกัดคณะมหานิกาย ถึงแก่มรณภาพเมื่ออายุ 94 ปี (ชาตะ ค.ศ. 1913 มรณภาพ ค.ศ. 2007)

สมเด็จพระมหาสังฆราชในพระราชอาณาจักรกัมพูชา

ลำดับที่ พระรูป พระนาม พระนามเดิม ฉายา นิกายที่สังกัด ดำรงตำแหน่ง
(ค.ศ./พ.ศ.)
รวมระยะเวลา (ปี) หมายเหตุ
1 สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา  สมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี (เทพ วงศ์ อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคิโก) ទេព វង្ស
เทพ วงศ์
ឧបេក្ខាសម្ពោជ្ឈង្គិកោ
อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคิโก
มหานิกาย 2006-2024
2549-2567
18 สิ้นพระชนม์ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 เวลา 17.40 น.

อ้างอิง

บรรณานุกรม

ดูเพิ่ม

Tags:

สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา สมณศักดิ์ของผู้ดำรงตำแหน่งสังฆราชสมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา ประวัติสมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา รายพระนามประมุขสงฆ์แห่งกัมพูชาสมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา อ้างอิงสมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา บรรณานุกรมสมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา ดูเพิ่มสมเด็จพระสังฆราชกัมพูชาภาษาอังกฤษภาษาเขมร

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

รายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 7HDหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตอำเภอโชเซ มูรีนโยมหาวิทยาลัยมหิดลกรภัทร์ เกิดพันธุ์หน้าหลักจังหวัดร้อยเอ็ดราศีเมษศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารอักษรไทยเขตการปกครองของประเทศพม่ากังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)ชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวชณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลจังหวัดฉะเชิงเทราชาคริต แย้มนามคณะองคมนตรีไทยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวทานิกา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยาสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดประเทศเนเธอร์แลนด์รายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่รัสมุส ฮอยลุนด์คือเรารักกันแอทลาสจังหวัดพะเยาฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2022เจริญ สิริวัฒนภักดีประเทศอินเดียนริลญา กุลมงคลเพชรฮ่องกงFBพีรวัส แสงโพธิรัตน์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวีสโมสรฟุตบอลฟีออเรนตีนาไดโนเสาร์ประเทศออสเตรเลียเอสเธอร์ สุปรีย์ลีลาสกูบี้-ดูอริยสัจ 4มาสค์ไรเดอร์ซีรีส์บีบีซี เวิลด์นิวส์จังหวัดจันทบุรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฮันเตอร์ x ฮันเตอร์บาท (สกุลเงิน)รายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)กฤษณภูมิ พิบูลสงครามวินทร์ เลียววาริณภาษาในประเทศไทยคริสเตียโน โรนัลโดพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาอาตาลันตาแบร์กามัสกากัลโชสโมสรฟุตบอลเซนิตเซนต์ปีเตอส์เบิร์กเสรีพิศุทธ์ เตมียเวสองศาเซลเซียสโอมเนื้อหนังมังผีอิษยา ฮอสุวรรณโยโกฮามะ เอ็ฟ มารินอสการ์ตูนอาทิตยา ตรีบุดารักษ์ประเทศฝรั่งเศสสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศไต้หวันเมตาดัง พันกรมหาสงครามพิภพวานรยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับภาพยนตร์รายชื่อรัฐวิสาหกิจไทยภาษาญี่ปุ่นรณิดา เตชสิทธิ์เครือเจริญโภคภัณฑ์ประเทศซาอุดีอาระเบียกูเกิล แผนที่🡆 More