ศิลปะอยุธยา: ศิลปะไทย

ศิลปะอยุธยา‎ เป็นศิลปะที่เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.

1893 จนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พ.ศ. 2310 นักประวัติศาสตร์ศิลปะมักแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ยุคที่หนึ่งนับตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1893–1990 ยุคนี้นิยมศิลปะลพบุรี ยุคที่สองนับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ. 2171 ยุคนี้กลับไปนิยมศิลปะสุโขทัยอันเนื่องจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นกษัตริย์ที่มีเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย ยุคที่สามนับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2173 ถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ พ.ศ. 2251 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงโปรดศิลปกรรมแบบเขมร ยุคที่สี่นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. 2275 ถึงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พ.ศ. 2310

ศิลปะอยุธยา: สถาปัตยกรรม, ประติมากรรม, จิตรกรรม
วัดหน้าพระเมรุ
ศิลปะอยุธยา: สถาปัตยกรรม, ประติมากรรม, จิตรกรรม
กลุ่มปรางค์หน้าวัดไชยวัฒนาราม ได้รับอิทธิพลศิลปะขอม
ศิลปะอยุธยา: สถาปัตยกรรม, ประติมากรรม, จิตรกรรม
วิหารพระมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ศิลปะอยุธยา: สถาปัตยกรรม, ประติมากรรม, จิตรกรรม
พระนอนวัดโลกยสุธาราม ศิลปะยุคกลาง
ศิลปะอยุธยา: สถาปัตยกรรม, ประติมากรรม, จิตรกรรม
พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ เป็นพระพุทธรูปยุคปลาย พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพระมหากษัตริย์
ศิลปะอยุธยา: สถาปัตยกรรม, ประติมากรรม, จิตรกรรม
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี

สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมยุคที่หนึ่งนับตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยานิยมสร้างปรางค์เป็นหลักประธานของวัด มีพระวิหารอยู่หน้าปรางค์ มีระเบียงคดล้อมรอบปรางค์ สถาปัตยกรรมยุคนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่มีช่องลมแบบซี่ลูกกรงที่เรียกว่า เสามะหวด หรือบางแห่งทำแบบสันเหลี่ยมมีอกเลา

ยุคที่สองนิยมสร้างสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย โดยเฉพาะการสร้างเจดีย์ทรงกลม ที่เรียกว่า ทรงลังกา การสร้างอุโบสถ วิหาร มีความบึกบึน กว้างใหญ่ มีการยกฐานสูง นิยมมีพาไลด้านข้าง เช่น วัดหน้าพระเมรุ

ยุคที่สาม สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงโปรดศิลปกรรมแบบเขมร ศิลปกรรมยุคนี้เริ่มมีหน้าต่างเปิดปิดได้ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบยุโรป มีการก่อสร้างซุ้มประตูหน้าต่างโค้งแหลมแบบกอทิก เช่น วัดกุฎีดาว อาคารต่าง ๆ เริ่มนิยมทำเป็นเส้นโค้งที่ฐานและหลังคา คงเป็นลักษณะสืบเนื่องมาแต่ครั้งศิลปะสมัยสุโขทัย การมุงกระเบื้องใช้กระเบื้องชนิดหางตัดและกระเบื้องชนิดกาบ มีกระเบื้องเชิงชายประกอบ มีการใช้กระเบื้องเคลือบครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา ยุคนี้ยังมีเจดีย์ที่เป็นแบบฉบับเรียกว่า เจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง

ยุคที่สี่เป็นยุคที่มีการซ่อมแซมมากกว่าสร้างขึ้นใหม่ สถาปัตยกรรมนิยมเส้นฐานและเส้นหลังคาอ่อนโค้งเป็นแนวขนาน

ประติมากรรม

ศิลปะอยุธยายุคต้นสืบต่อจากศิลปะอู่ทองตอนปลาย รูปประติมากรรมมีทั้งรูปเทพเจ้าและพระพุทธรูป ลักษณะส่วนใหญ่เข้มแข็ง บึกบึน มีลักษณะผสมทั้งลพบุรี อู่ทองและสุโขทัย พระพุทธรูปมีพระวรกายทั้งหนาและบาง มีลักษณะท่าทางขึงขัง บัวรองฐานทำเป็นฐานแอ่นโค้ง

พระพุทธรูปยุคกลางได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย มักทำวงพระพักตร์และพระรัศมีตามแบบสุโขทัย แต่มีไรพระศกเส้นเล็ก ๆ ทำสังฆาฏิขนาดใหญ่ ชายสังฆาฏิตัด ป็นเส้นตรง พระพุทธรูปทำจากปูนปั้น สลักหิน และหล่อด้วยโลหะ ส่วนมากนิยมทำพระพุทธรูปปางมารวิชัย และพระอิริยาบถแบบต่าง ๆ ตามแบบสุโขทัย

พระพุทธรูปยุคปลายมีการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพระมหากษัตริย์ โดยมีอยู่ 2 แบบคือ พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ และพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย ศิลปะการสลักไม้และปั้นปูนประดับพุทธสถานของสมัยอยุธยายุคปลาย มีความงามสูงสุด ลวดลายทำเป็นลายกระหนก อ่อนพลิ้วซ้อนกัน ปลายกนกสะบัดปลาย บิดไปมาราวกับธรรมชาติของเถาไม้และใบไม้ที่อ่อนไหว ลวดลายต่าง ๆ เริ่มประดิษฐ์เป็นแบบแผนเฉพาะตัวของไทยมากขึ้น

จิตรกรรม

จิตรกรรมสะท้อนความเชื่อทางพุทธศาสนา วาดไว้บนฝาผนังอุโบสถ วิหาร และสมุดภาพ ใช้สีฝุ่นผสมกาว ระบายเรียบ และตัดเส้น ในระยะแรกใช้สีในวรรณะเอกรงค์ ต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับต่างประเทศ ทำให้มีสีต่าง ๆ เพิ่มเข้ามา นิยมเขียนเรื่องอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก เทพชุมนุมและภาพลวดลายต่าง ๆ มีการปิดทองที่ภาพสำคัญและทำลายดอกไม้ร่วงที่พื้นหลังภาพ ลักษณะโดยรวมของงานจิตรกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้นคือ ยังคงใช้สีไม่มากนัก เทคนิคการเขียนสีลงบนรองพื้นสีขาว ระบายพื้นหลังตัวภาพด้วยสีแดง ตัวภาพมีการระบายสีขาว สีเนื้อและปิดทองคำเปลว ตัดเส้นด้วยสีดำหรือสีแดง

ในสมัยอยุธยาตอนกลาง มีการพัฒนาเทคนิควิธีการเขียนภาพจิตรกรรม เริ่มใช้สีที่มีความหลากหลายขึ้น การปิดทองคำเปลว และตัดเส้นด้วยสีแดง จิตรกรรมยุคหลังแตกต่างจากยุคแรกที่นิยมเขียนซุ้มเรือนแก้วมาเป็นภาพเล่าเรื่อง มีสีเพิ่มมากขึ้น

อ้างอิง


Tags:

ศิลปะอยุธยา สถาปัตยกรรมศิลปะอยุธยา ประติมากรรมศิลปะอยุธยา จิตรกรรมศิลปะอยุธยา อ้างอิงศิลปะอยุธยาราชวงศ์สุโขทัยศิลปะลพบุรีศิลปะสุโขทัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสมเด็จพระเจ้าท้ายสระสมเด็จพระเจ้าปราสาททองสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

69 (ท่วงท่าเพศสัมพันธ์)จังหวัดสุราษฎร์ธานีโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทกาจบัณฑิต ใจดีเศรษฐศาสตร์พรรษา วอสเบียนพิชญ์นาฏ สาขากรรายชื่อช่องที่มียอดติดตามสูงสุดในยูทูบอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนากังฟูแพนด้า (แฟรนไชส์)มหาวิทยาลัยมหิดลภรภัทร ศรีขจรเดชาพรรคชาติพัฒนากล้าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรกันต์ กันตถาวรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภาคใต้ (ประเทศไทย)จังหวัดนครปฐมศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์บิ๊กแอสธนนท์ จำเริญวันวิสาขบูชารายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย)เมียวดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเกย์ICD-10ยูเอสเอส ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ (CVN-71)โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพจรินทร์พร จุนเกียรติกองทัพเรือไทยมุฮัมมัดจิรายุ ตั้งศรีสุขประเทศสเปนยากูซ่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566มาริโอ้ เมาเร่อสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลประเทศฟิลิปปินส์บิลลี ไอลิชรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยภูมิภาคของประเทศไทยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนิษฐา คูหาเปรมกิจกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย)สมณศักดิ์จังหวัดกาญจนบุรีแมนสรวงศาสนาอิสลามเพลิงพรางเทียนป๊อกเด้งจักรทิพย์ ชัยจินดาอารยา เอ ฮาร์เก็ตวัชรเรศร วิวัชรวงศ์ดาบพิฆาตอสูรโรงเรียนเตรียมทหารกรภัทร์ เกิดพันธุ์หนุมานสุภาพบุรุษจุฑาเทพพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)พระโคตมพุทธเจ้ามรรคมีองค์แปดปานปรีย์ พหิทธานุกรจนกว่าจะได้รักกันยูฟ่ายูโรปาลีกภาคกลาง (ประเทศไทย)กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ประเทศออสเตรียอาลิง โฮลันจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดปราจีนบุรี🡆 More