จารึกเบฮิสตูน

จารึกเบฮิสตูน (มีทั้งเขียนเป็น Behistun, Bisotun, Bistun หรือ Bisutun; เปอร์เซีย: بیستون, เปอร์เซียโบราณ: Bagastana, หมายความว่า เทวสถาน) เป็นจารึกหลายภาษาโดยใช้อักษรรูปลิ่มและอักษรแอราเมอิกเขียนอยู่บนหน้าผาหุบเขาเบฮิสตูนในจังหวัดเคอร์มานชาห์ ประเทศอิหร่าน มีความสำคัญมากเพราะนักประวัติศาสตร์ใช้ถอดรหัสอักษรรูปลิ่ม

จารึกเบฮิสตูน
จารึกหลากหลายภาษาบนหน้าผาเขาเบฮิสตูนโดยจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช

จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชตราจารึกนี้ขึ้น ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะเวลาตั้งแต่การราชาภิเษกพระองค์เมื่อฤดูร้อนของปีที่ 522 ก่อน ค.ศ. ไปจนถึงการสวรรคตของพระองค์เมื่อฤดูใบไม้ร่วงของปีที่ 486 ก่อน ค.ศ. เนื้อหาเริ่มต้นด้วยอัตชีวประวัติสั้น ๆ ของพระองค์รวมถึงบรรพบุรุษและเชื้อสายของพระองค์ จารึกถัดมาเป็นลำดับเหตุการณ์หลังการสวรรคตของพระเจ้าไซรัสมหาราชและพระเจ้าคัมไบเสสที่ 2 ซึ่งพระเจ้าดาไรอัสทำการรบ 19 ครั้งในช่วงเวลา 1 ปี (สิ้นสุดในเดือนธันวาคม ปีที่ 521 ก่อนคริสตกาล) ได้ปราบกบฏต่างๆลงตลอดทั่วจักรวรรดิเปอร์เซีย กบฏที่ลุกฮือขึ้นนี้เป็นผลมาจากการสวรรคตของพระเจ้าไซรัสมหาราชและพระเจ้าคัมไบเสสที่ 2 พระโอรสของพระองค์ พวกกบฏถูกบงการโดยคนหลอกลวงจำนวนมากและคนสมรู้ร่วมคิดของพวกนั้นในเมืองต่างๆทั่วทั้งจักรวรรดิ ซึ่งแต่ละคนได้ประโคมข่าวถึงสถานะการเป็นกษัตริย์ของพระองค์เป็นโมฆะในช่วงสุญญากาศหลังการสวรรคตของพระเจ้าไซรัสมหาราช

พระเจ้าดาไรอัสมหาราชทรงประกาศถึงชัยชนะของพระองค์ในการรบทั้งหมดในช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั้น โดยอ้างความสำเร็จที่พระองค์เชื่อว่าเป็นพระกรุณาธิคุณของพระอหุระมาซดะ

จารึกเหมือนกันคือเขียนด้วยอักษรคูนิฟอร์ม มีสามรูปแบบคือใช้ภาษาที่แตกต่างกันสามแบบคือ ภาษาเปอร์เซียโบราณ ภาษาอีลาไมต์ และภาษาบาบิโลเนียน จารึกเป็นอักษรรูปลิ่ม จารึกหินโรเซตต้าเป็นอักษรไฮเออโรกลีฟอียิปต์ เอกสารที่สำคัญในการถอดระหัสของจารึกที่ขาดหายไป

จารึกสูงประมาณ 15 เมตร กว้าง 25 เมตร บนหน้าผาหินปูนสูง 100 เมตรจากถนนโบราณเชื่อมต่อเมืองหลวงของอาณาจักรบาลิโนเนียกับเมืองหลวงของอาณาจักรมีเดีย (เมืองบาบิลอนกับเมืองเอ็คบาทานา) ข้อความภาษาเปอร์เซียโบราณมี 414 บรรทัดในห้าคอลัมน์ ข้อความภาษาอีลาไมต์รวม 593 บรรทัดใน 8 คอลัมน์ และข้อความภาษาบาบิโลเนียน 112 บรรทัด จารึกมีรูปประกอบคือรูปสลักนูนต่ำของพระเจ้าดาไรอัสที่ 1 มหาราช ทรงถือคันธนูเป็นสัญลักษณ์แห่งราชอาณาจักร พร้อมด้วยพระบาทซ้ายเหยียบอยู่บนหน้าอกของรูปคนนอนอยู่ บุคคลที่นอนหงายอยู่เป็นที่ทราบกันว่าเป็นเคามาตะผู้อ้างสิทธิแห่งบัลลังก์ พระเจ้าดาไรอัสมีทหารองครักษ์สองคนอยู่ทางซ้ายมือ และบุคคลทั้ง 9 ยืนเรียงกันไปทางขวามือ และมีมือถูกผูกไว้และเชือกผูกคอของพวกเขาเป็นการแสดงถึงชนชาติที่ถูกยึดครอง สัญญลักษ์ ฟาราวาหะระ faravahar ลอยอยู่ข้างบน แสดงการประทานพรแก่พระราชาผู้กำลังขอพร รูปบุคคลผู้หนึ่งปรากฏเหมือนถูกสลักขึ้นภายหลังจากสิ่งอื่นๆสำเร็จแล้ว เช่นเดียวกับพระมัสสุ (เครา) ของพระเจ้าดาไรอัสเป็นบล็อกหินที่แยกกันถูกแนบติดยึดด้วยหมุดเหล็กและตะกั่ว

หลังจากการล้มสลายของราชวงศ์จักรวรรดิอะคีเมนิดและรัชทายาทของจักรวรรดิ และการหมดสิ้นไปของอักขระรูปลิ่มของชาวเปอร์เซียโบราณนำไปสู่การเลิกใช้ไป ธรรมชาติของการเขียนจารึกถูกลืมเลือนและคำอธิบายประหลาดกลายเป็นบรรทัดฐานแทนที่เป็นเวลาหนึ่งศตวรรษ ซึ่งถูกนำมาประกอบกับเรื่องราวของพระเจ้าดาไรอัสที่ 1 มหาราช มันเป็นที่เชื่อกันตั้งแต่รัชกาลของพระเจ้า Khosrau II หนึ่งในบรรดากษัตริย์ราชวงศ์อะคีเมนิดพระองค์สุดท้าย ผู้ที่มีพระชนม์ชีพอยู่ในช่วง 1000 ปีหลังจากยุคของพระเจ้าดาไรอัส ที่ 1 มหาราช

จารึกได้ถูกกล่าวถึงโดยนักปราชญ์ชาวกรีกผู้บรรทึกไว้ช่วงเวลาของมันประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาลและได้กล่าวถึงบ่อน้ำและสวนที่อยู่ข้างใต้จารึก เขาสรุปอย่างไม่ถูกต้องว่าจารึกเพื่อเพื่ออุทศถวายพระเจ้าซุสโดยพระราชินี Semiramis of Babylon นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันชื่อ ทาสิทัส ยังได้กล่าวถึงมันและรวมไปถึงจารึกของบางส่วนของอนุสาวรีย์เสริมที่หายไปนาน ณ ฐานของหน้าผารวมไปถึงแท่นบูชาเทพเฮอคิวลิส เป็นสิ่งที่ถูกนำกลับคืนของพวกมัน รวมไปถึงรูปปั้นที่อุทิศถึงสร้างในปีที่ 148 ก่อนคริสตกาล เป็นของที่อยู่คงทนพร้อมด้วยจารึกของทาสิทัส Diodorus นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกยังได้เขียนถึง Bagistanon และอ้างว่ามันถูกจารึกไว้โดย Semiramis

ในปี ค.ศ.1598 (พ.ศ. 2141) Robert sherley ชาวอังกฤษได้เห็นจารึกในช่วงภาระกิจทางการทูตที่ไปยังเปอร์เซียในฐานะตัวแทนของออสเตรีย และนำไปเสนอแก่นักวิชาการชาวยุโรปตะวันตก คณะของเขาสรุปอย่างไม่ถูกต้องว่า มันเป็นข้อความคัมภีร์ดั้งเดิมของชาวคริสต์ นายพล Gardanne ชาวฝรั่งเศสคิดว่า มันแสดงถึงพระเยซูและอัครสาวกทั้ง 12 คนของเขา และเซอร์ Robert Ker Porte คิดว่า มันแสดงถึงเผ่าพันธุ์ที่หายไปของชาวอิสราเอลและพระเจ้า Shalmaneser ของอัสซีเรีย นักสำรวจชาวอิตาลีชื่อ Pietro della Valle ได้ไปเยี่ยมชมจารึกในกิจกรรมของนักแสวงบุญในราวปี ค.ศ. 1621

Tags:

ประเทศอิหร่านภาษาเปอร์เซียภาษาเปอร์เซียโบราณอักษรรูปลิ่มอักษรแอราเมอิก

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

บยอน อู-ซ็อกเอฟเอคัพอชิรญา นิติพนดาร์วิน นุญเญซอมีนา พินิจเป็นต่อลิซ่า (แร็ปเปอร์)ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถีการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจังหวัดน่านสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตาไอยูวัดไร่ขิงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยสมณะโพธิรักษ์พรรคชาติพัฒนากล้ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ประเทศไทย)รัมมี่ประเทศฝรั่งเศสวอลเลย์บอลดวงจันทร์ราชินีแห่งน้ำตาละหมาดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียประเทศอุซเบกิสถานคนลึกไขปริศนาลับฟุตซอลร่างทรง (ภาพยนตร์)สุพิศาล ภักดีนฤนาถรายชื่อละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 เอชดีจังหวัดลพบุรีวิกิพีเดียสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมธวิน โอภาสเอี่ยมขจรยุทธการที่เซกิงาฮาระเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกเกย์สงครามเวียดนามสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลประเทศลาวหลวงปู่ทวดรัฐฉานเซเรียอา ฤดูกาล 2023–24มณี สิริวรสารรายชื่อตอนในเป็นต่อ (ช่องวัน)พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาธนัท ฉิมท้วมกระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)ท้าวสุรนารีสุทิน คลังแสงคิม ซู-ฮย็อนฮัน กา-อินไพ่แคงประเทศสิงคโปร์ลานีญาเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณีประเทศรัสเซียรายชื่อตัวละครในกังฟูแพนด้าพิศวาสฆาตเกมส์สกีบีดีทอยเล็ตท่าอากาศยานดอนเมืองสาธุ (ละครโทรทัศน์)หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลพระเจ้านันทบุเรงอินสตาแกรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีณัฐวิญญ์ วัฒนกิติพัฒน์เอลนีโญปีนักษัตรกองทัพบกไทยเขตการปกครองของประเทศพม่าหีใบแดงตัวเลขโรมัน🡆 More