ไมก์ เพนซ์

ไมเคิล ริชาร์ด เพนซ์ (อังกฤษ: Michael Richard Pence) หรือเรียกอย่างง่ายว่า ไมก์ เพนซ์ (Mike Pence) นักการเมืองชาวอเมริกันสังกัดพรรคริพับลิกัน อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 48 ระหว่าง ค.ศ.

2017–2021 อดีตผู้ว่าการรัฐอินดีแอนาระหว่าง ค.ศ. 2013–2017 และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ

ไมก์ เพนซ์
ไมก์ เพนซ์
เพนซ์ ใน ค.ศ. 2017
รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 48
ดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม ค.ศ. 2017 – 20 มกราคม ค.ศ. 2021
ประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์
ก่อนหน้าโจ ไบเดิน
ถัดไปกมลา แฮร์ริส
ผู้ว่าการรัฐอินดีแอนา คนที่ 50
ดำรงตำแหน่ง
14 มกราคม ค.ศ. 2013 – 9 มกราคม ค.ศ. 2017
รักษาการแทน
  • ซู เอลส์เพอร์มันน์
  • เอริค โฮลโคมบ์
ก่อนหน้ามิทช์ แดเนียลส์
ถัดไปเอริค โฮลโคมบ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ
จาก รัฐอินดีแอนา
ดำรงตำแหน่ง
3 มกราคม ค.ศ. 2001 – 3 มกราคม ค.ศ. 2013
ก่อนหน้าเดวิด เอ็ม. แมคอินทอช
ถัดไปลุค เมสเซอร์
เขตเลือกตั้ง
  • เขต 2 (2001 – 2003)
  • เขต 6 (2003 – 2013)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ไมเคิล ริชาร์ด เพนซ์

7 มิถุนายน พ.ศ. 2502 (64 ปี)
โคลัมบัส รัฐอินดีแอนา สหรัฐอเมริกา
ศาสนาโปรแตสแตนท์
พรรคการเมืองริพับลิกัน
คู่สมรสแคเรน แบทเทน (สมรส 1985)
บุตร3
ลายมือชื่อไมก์ เพนซ์

เขาเกิดและโตในเมืองโคลัมบัส รัฐอินดีแอนา จบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จากวิทยาลัยแฮโนเวอร์ และเข้าศึกษาต่อด้านกฎหมายที่วิทยาลัยกฎหมายแม็กคินนีย์แห่งมหาวิทยาลัยอินดีแอนา รอเบิร์ต เฮช. ต่อมาหลังพ่ายแพ้ในการชิงตำแหน่งเป็นตัวแทนผู้ลงสมัครเป็นสมาชิกรัฐสภาใน ค.ศ. 1988 และ 1990 เขากลายเป็นนักจัดรายการวิทยุและพิธีกรทอล์กโชว์ระหว่าง ค.ศ. 1994 ถึง ค.ศ. 1999 เพนซ์ได้เข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระหว่าง ค.ศ. 2001 ถึง ค.ศ. 2013 โดยเป็นผู้แทนจากรัฐอินดีแอนาเขต 2 และ 6 เพนซ์ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการรัฐอินดีแอนาในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2013 เขาได้ลดอัตราภาษีในรัฐอินดีแอนาลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่มงบประมาณด้านการศึกษา และเริ่มใช้นโยบายการคลังแบบเกินดุล และยังลงนามในกฎหมายต้านการทำแท้ง นอกจากนี้เขายังมีชื่อเสียงจากการประกาศใช้รัฐบัญญัติฟื้นฟูศาสนาอย่างเสรี ซึ่งกลายเป็นข้อขัดแย้งกับสมาชิกระดับกลางในพรรคริพับลิกัน เขายังประกาศใช้รัฐบัญญัติคุ้มครองเพศหลากหลายอีกด้วย หลังจากที่ประกาศตัวใน ค.ศ. 2016 ว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการสมัยถัดไป เขาออกเดินสายหาเสียงกับดอนัลด์ ทรัมป์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยทรัมป์ได้ประกาศว่าหากเขาชนะจะให้เพนซ์เป็นรองประธานาธิบดีซึ่งทั้งคู่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง

ในฐานะรองประธานาธิบดี เพนซ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานสภาอวกาศแห่งชาติ และเป็นหนึ่งในคณะทำงานเฉพาะกิจของทำเนียบขาวในการรับมือการระบาดทั่วของโควิด-19 ทรัมป์และเพนซ์แพ้การเลือกตั้งสมัยที่สองให้แก่ โจ ไบเดิน และ กมลา แฮร์ริส แม้จะมีการเรียกร้องให้มีการนับคะแนนใหม่ รวมถึงการยื่นฟ้องร้องโดยทรัมป์เพื่อพยายามพลิกผลการเลือกตั้งซึ่งเป็นชนวนไปสู่เหตุจราจลในการบุกเข้าอาคารรัฐสภา ทว่าเพนซ์ได้ยอมรับผลดังกล่าว ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างทรัมป์และเพนซ์แย่ลงนับจากนั้น เขาเริ่มวิจารณ์กลุ่มผู้สนับสนุนของทรัมป์จากเหตุจราจลอย่างตรงไปตรงมา รวมถึงวิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของทรัมป์ ในเดิอนมิถุนายน ค.ศ. 2023 เพนซ์ประกาศลงแข่งขันเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 2024 แต่ได้ถอนตัวในช่วงปลายเดือนตุลาคม

ประวัติ

ไมก์ เพนซ์ 
ภาพถ่ายของเพนซ์ในขณะศึกษาที่โรงเรียนมัธยมโคลัมบัส รัฐอินดีแอนา ค.ศ. 1977

เพนซ์เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1952 ในเมืองโคลัมบัส รัฐอินดีแอนา เป็นลูกหนึ่งในหกคนของแอน เจน "แนนซี" คอว์ลีย์ และเอ็ดเวิร์ด โจเซฟ เพนซ์ จูเนียร์ ซึ่งเป็นผู้บริหารปั๊มน้ำมัน บิดาของเขารับราชการในฐานะทหารกองทัพสหรัฐในช่วงสงครามเกาหลี และได้รับเหรียญทองแดงเชิดชูเกียรติใน ค.ศ. 1953 ซึ่งเพนซ์ได้นำเหรียญดังกล่าวจัดแสดงในห้องทำงานของเขาตลอดอาชีพของเขา พร้อมด้วยจดหมายชมเชยจากรัฐบาลสหรัฐและรูปถ่ายของบิดา บิดาของเขามีเชื้อสายเยอรมันและไอริช ในขณะที่มารดามีเชื้อสายไอริช ปู่ของเขา เอ็ดเวิร์ด โจเซฟ เพนซ์ ซีเนียร์ ทำงานในฟาร์มปศุสัตว์ในชิคาโก

เพนซ์สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมัธยมโคลัมบัส นอร์ท ก่อนจะจบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จากวิทยาลัยแฮโนเวอร์ ค.ศ. 1981 และเข้าศึกษาต่อด้านกฎหมายที่วิทยาลัยกฎหมายแม็กคินนีย์แห่งมหาวิทยาลัยอินดีแอนา รอเบิร์ต เฮช. กระทั่งสำเร็จการศึกษาใน ค.ศ. 1986 เพนซ์ยังเคยเป็นเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาในการเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยอินดีแอนาระหว่าง ค.ศ. 1981–83 เพนซ์เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับวูดดี แฮร์เรลสัน นักแสดงผู้โด่งดัง แฮร์เรลสันเคยให้สัมภาษณ์ในการออกรายการของจิมมี คิมเมล ว่าตนค่อนข้างชอบเพนซ์ในเวลานั้น

เพนซืเคยนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และเคยเป็นสมาชิกพรรคเดโมแครตเช่นเดียวกับสมาชิกคนอื่นในครอบครัว เพนซ์ลงคะแนนให้กับจิมมี คาร์เตอร์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 1980 แรงบันดาลใจในการเข้าสู่แวดวงการเมืองของเพนซ์คืออดีตประธานาธิบดีอย่างจอห์น เอฟ. เคนเนดี และ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ มุมมองทางการเมืองของเขาเริ่มเปลี่ยนไปในเวลาต่อมา โดยให้ความศรัทธาในความเป็นอนุรักษฺนิยมและการเมืองฝ่ายขวา โดยได้แรงบันดาลใจจากประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน

อาชีพในช่วงแรก

ไมก์ เพนซ์ 
เพนซ์ (ขวามือ) ถ่ายคู่กับโรนัลด์ เรแกน ณ ทำเนียบขาว ค.ศ. 1988

หลังจากสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยกฎหมายใน ค.ศ. 1986 เพนซ์เริ่มต้นเป็นทนายความอิสระใน ค.ศ. 1988 ต่อมา เพนซ์ลงสมัครชิงตำแหน่งสภาคองเกรสเพื่อต่อต้านฟิลิป ชาร์ป ผู้ดำรงตำแหน่งจากพรรคเดโมแครต แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เขาลงแข่งกับชาร์ปอีกครั้งในปี 1990 โดยลาออกจากงานเพื่อมาทำงานเต็มเวลาในแคมเปญนี้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอีกครั้ง ในระหว่างการลงสมัครเพื่อแข่งขัน เพนซ์นำเงินบริจาคจากผู้สนับสนุนเพื่อชำระค่าจำนองบ้านของเขา รวมถึงบัตรเครดิตส่วนตัว และค่าธรรมเนียมเพื่อลงแข่งกอล์ฟและค่าใช้จ่ายทางรถยนต์ของภรรยา

ในระหว่างการหาเสียงใน ค.ศ. 1990 เพนซ์ได้ลงโฆษณาทางโทรทัศน์เพื่อเสียดสีชาร์ป ซึ่งเนื้อหามีนักแสดงคนหนึ่งสวมชุดคลุมและผ้าโพกศีรษะ และพูดด้วยสำเนียงตะวันออกกลางที่หนักแน่น กล่าวขอบคุณชาร์ป คู่ต่อสู้ของเขาที่ไม่ทำอะไรเลยเพื่อให้สหรัฐเลิกนำเข้าน้ำมันในฐานะประธานของคณะอนุกรรมการสภาด้านพลังงานและพลังงาน ซึ่งได้รับการวิจารณ์อย่างหนัก จนในเวลาต่อมาเขาต้องกล่าวขอโทษชาร์ปผ่านงานเขียนส่วนตัวในชื่อ "Confessions of a Negative Campaigner"

ไม่นานหลังเปิดตัวเพื่อลงชิงตำแหน่งใน ค.ศ. 1988 สถานีวิทยุ WRCR-FM ในรัชวิลล์ ได้ว่าจ้างเพนซ์ให้จัดรายการวิทยุประจำสัปดาห์ในชื่อ "Washington Update with Mike Pence" ในปี 1992 เพนซ์เริ่มจัดรายการทอล์คโชว์รายวันทาง WRCR, The Mike Pence Show นอกเหนือจากรายการวันเสาร์ทาง WNDE ในอินเดียแนโพลิส เขากลายเป็นนักจัดรายการวิทยุและพิธีกรทอล์กโชว์ระหว่าง ค.ศ. 1994 ถึง ค.ศ. 1999 ตั้งแต่ปี 1995 เพนซ์ยังเป็นเจ้าภาพจัดรายการทีวีประชาสัมพันธ์สุดสัปดาห์ในชื่อ The Mike Pence Show ทางสถานีโทรทัศในอินเดียแนโพลิส เพนซ์ยุติอาชีพทางรายการวิทยุเพื่อมุ่งเน้นไปที่การหาเสียงการรณรงค์หาเสียงเข้าสู่สภาคองเกรสในปี 2000 ซึ่งเขาได้รับชัยชนะในที่สุด

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2001–2013)

ไมก์ เพนซ์ 
เพนซ์ขณะเยี่ยมทหารสหรัฐในสงครามอิรัก ค.ศ. 2006

เพนซ์ลงสมัครรับตำแหน่งสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาอีกครั้งใน ค.ศ. 2000 เขาได้รับที่นั่งในเขตรัฐสภาที่ 2 ของรัฐอินดีแอนา หลังจากที่เดวิด เอ็ม. แมคอินทอช ดำรงตำแหน่งเป็นเวลาหกปี เลือกลงสมัครรับตำแหน่งผู้ว่าการรัฐอินเดียนาแทน เขตที่ 2 (เปลี่ยนชื่อเป็นเขตที่ 6 ใน ค.ศ. 2000) ประกอบด้วยทั้งหมดหรือบางส่วนของ 19 มณฑลในรัฐอินดีแอนาตะวันออก ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่ เพนซ์นำสโลแกนที่เขาใช้ในวิทยุ โดยบรรยายคุณสมบัติตนเองว่าเป็น "คริสเตียน อนุรักษ์นิยม และรีพับลิกัน ตามลำดับ" ในปี 2016 ประธานสภาผู้แทนราษฎร พอล ไรอัน อธิบายว่าเพนซ์เป็น "ผู้มีหลักการอนุรักษ์นิยม"

ในช่วงแรก เพนซ์ต่อต้านร่างกฎหมาย No Child Left Behind Act ของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช เพนซ์ชนะการเลือกตั้งอีกสี่ครั้งด้วยคะแนนขาดลอยใน ค.ศ. 2006, 2008 และ 2010 เอาชนะคู่แข่งจากเดโมแครตอย่างแบร์รี เวลล์ ตั้งแต่ ค.ศ. 2005 เพนซ์ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการศึกษาของพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นกลุ่มพรรครีพับลิกันในสภาอนุรักษ์นิยม ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 เพนซ์ได้รับเลือกให้เป็นประธานการประชุมของพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้นำของพรรครีพับลิกันสูงสุดเป็นอันดับสามในขณะนั้น เป็นรองผู้นำเสียงข้างน้อยอย่าง จอห์น โบห์เนอร์ และเอริค คันทอร์ เขาเป็นตัวแทนคนแรกจากรัฐอินดีแอนาที่ดำรงตำแหน่งผู้นำสภาผู้แทนราษฎรนับตั้งแต่ปี 1981 ในช่วงสิบสองปีในการดำรงตำแหน่งของเพนซ์ในสภา เขาได้เสนอร่างกฎหมายกว่า 90 ฉบับแต่ไม่มีฉบับใดผ่านร่างกฎหมาย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ไมก์ เพนซ์ ถัดไป
โจ ไบเดิน ไมก์ เพนซ์  ไมก์ เพนซ์ 
รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ คนที่ 48
(20 มกราคม ค.ศ. 2017 - 20 มกราคม ค.ศ. 2021)
ไมก์ เพนซ์  กมลา แฮร์ริส

Tags:

ไมก์ เพนซ์ ประวัติไมก์ เพนซ์ อาชีพในช่วงแรกไมก์ เพนซ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2001–2013)ไมก์ เพนซ์ อ้างอิงไมก์ เพนซ์ แหล่งข้อมูลอื่นไมก์ เพนซ์พรรคริพับลิกัน (สหรัฐ)ภาษาอังกฤษรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริการัฐอินดีแอนาสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

สงครามโลกครั้งที่สอง4 KINGS 2จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอสบีโอเบทพลังงานนิวเคลียร์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารมาร์ก ซักเคอร์เบิร์กวันเมษาหน้าโง่คงกะพัน แสงสุริยะไทยลีกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาธนพล จารุจิตรานนท์ไตรลักษณ์เบ็นเท็น (ซีรีส์โทรทัศน์ พ.ศ. 2548)ลิโอเนล เมสซิรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์สงครามโลกครั้งที่ 2ชิตพล ลี้ชัยพรกุลเวียดนามเนลสัน แมนเดลาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว0ฟุตบอลทีมชาติไทยกองทัพสหรัฐเยอรมนีรายชื่อตัวละครในวันพีซX-เม็น (ภาพยนตร์ชุด)อสมทสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดแบตเตอรี่กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอรามาวดี นาคฉัตรีย์โรคซึมเศร้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สหรัฐอเมริกากูเกิล แปลภาษาประเทศอินโดนีเซียเจมส์ มาร์จังหวัดจันทบุรีสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีจักริน กังวานเกียรติชัยศิรพันธ์ วัฒนจินดาเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์จังหวัดราชบุรีรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยฟุตซอลทีมชาติไทยข้าราชการไทยสุวัฒน์ แจ้งยอดสุขเซี่ยงไฮ้ศิริลักษณ์ คองเด่นคุณ งามเนตรเทรเชอร์การยอมจำนนของญี่ปุ่นณัฐวรรธน์ จิโรชน์ธิกุลทัศน์พล วิวิธวรรธน์ละหมาดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเมลดา สุศรีบรูโน มาส์ลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุลพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาไททานิค (ภาพยนตร์)จารุพงศ์ เรืองสุวรรณสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)ไพ่แคงAอินเทอร์เน็ตไอลิทการแพทย์ทางเลือกชมรมรัก คลับมหาสนุกโชกุน (ละครโทรทัศน์ปี 2024)อชิรญา นิติพนรายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ)🡆 More