โรคพร่องเอนไซม์ G-6-Pd

โรคพร่องเอนไซม์ G6PD (อังกฤษ: Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) เป็นโรคทางพันธุกรรมของกระบวนการสร้างและสลายโรคหนึ่งซึ่งทำให้เม็ดเลือดแดงแตกเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นบางอย่าง ในช่วงเวลาปกติผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ แต่หากได้รับสิ่งกระตุ้นจะมีอาการ ตัวเหลือง ปัสสาวะเข้ม หายใจหอบเหนื่อย และอ่อนเพลียได้ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยได้แก่อาการซีด และอาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ผู้ป่วยบางรายไม่เคยมีอาการใดๆ เลยตลอดชีวิต

โรคพร่องเอนไซม์ G-6-PD
(Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency)
ชื่ออื่นโรคถั่วฟาวา (Favism)
โรคพร่องเอนไซม์ G-6-Pd
เอนไซม์ กลูโคส-6-ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส (G-6-PD)
สาขาวิชาพันธุกรรมทางการแพทย์
อาการผิวกายเหลือง, ปัสสาวะสีเข้ม, หายใจลำบาก
ภาวะแทรกซ้อนภาวะเลือดจาง, ดีซ่านแรกเกิด
การตั้งต้นภายในสองสามวันหลังถูกกระตุ้
สาเหตุพันธุกรรม (เอกซ์ลิงก์รีเซสซีฟ)
ปัจจัยเสี่ยงหากถูกกระตุ้นด้วยการติดเชื้อ, ยาบางชนิด, ความเครียด, อาหารเช่น ถั่วฟาวา
วิธีวินิจฉัยขึ้นอยู่กับอาการ, ตรวจเลือด, การทดสอบพันธุกรรม
โรคอื่นที่คล้ายกันภาวะเอนไซม์ไพรูเวตคิเนสบกพร่อง, สเฟอโรไซทอซิสทางพันธุกรรม, ภาวะเชือดจางซิกเคิลเซลล์
การรักษาหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น, ทานยาต้านการติดเชื้อ, การหยุดทานยาที่ส่งผล, การถ่ายเลือด
ความชุก400 ล้าน
การเสียชีวิต33,000 (2015)

โรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดผ่านโครโมโซมเอ็กซ์แบบลักษณะด้อย ทำให้เกิดความบกพร่องในเอนไซม์ Glucose-6-phosphate dehydrogenase สิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการมีหลายชนิด ตัวอย่างเช่น การติดเชื้อ ยาบางชนิด ความเครียด อาหารบางชนิด เช่น ถั่วปากอ้า ความรุนแรงมีหลากหลายขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดการกลายพันธุ์ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากอาการ การตรวจเลือด และการตรวจพันธุกรรม

การรักษาที่สำคัญที่สุดคือการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เมื่อมีอาการกำเริบแต่ละครั้งแพทย์อาจให้การรักษาการติดเชื้อ หยุดยาที่เป็นสาเหตุ และอาจให้เลือดหากมีความจำเป็น กรณีทารกแรกเกิดที่มีอาการตัวเหลืองอาจต้องรักษาด้วยการส่องไฟหรือถ่ายเลือด ในยาบางชนิดจะมีแนวทางปฏิบัติกำหนดให้ต้องตรวจผู้ป่วยที่จะใช้ยาว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ เช่นในกรณียาไพรมาควิน เป็นต้น

มีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 400 ล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะในแอฟริกา เอเชีย เมดิเตอร์เรเนียน และในตะวันออกกลาง ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ข้อมูลปี ค.ศ. 2015 ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 33,000 คน การมีอัลลีลกลายพันธุ์ของโรคนี้อาจเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้คนคนนั้นมีโอกาสติดเชื้อมาลาเรียน้อยลงได้

อาการ

อาการของโรคก็คือ Acute hemolytic anemia (ภาวะซีดจากการที่เม็ดเลือดแดงแตกอย่างฉับพลัน) โดยในเด็กทารกจะพบว่ามีอาการดีซ่านที่ยาวนานผิดปกติ ส่วนในผู้ใหญ่นั้นจะพบว่า ปัสสาวะมีสีดำ ถ่ายปัสสาวะน้อยจนอาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute renal failure) ได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลให้การควบคุมสมดุลของ Electrolytes (สารเกลือแร่ต่างๆในร่างกาย) ของร่างกายเสียไปด้วย โดยเฉพาะการเกิดภาวะ Hyperkalemia (โพแทสเซียมในเลือดสูง)

สาเหตุ

โรคพร่องเอนไซม์ G-6-Pd 
แผนภาพกระบวนการเมทาบอลิสซึมวิถี Pentose Phosphate Pathway

โรคนี้เกิดจากภาวะที่พร่องเอนไซม์ G6PD (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase) ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึม ในวิถี Pentose Phosphate Pathway (PPP.) ของน้ำตาลกลูโคส ที่จะเปลี่ยน NADP ไปเป็น NADPH ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ Glutathione reductase และ Glutathione peroxidase ต่อไป ส่งผลให้เกิดการทำลายสารอนุมูลอิสระ (Oxidants) ต่าง ๆ เช่น H2O2 ที่เป็นพิษต่อเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดง

ดังนั้นเอนไซม์ G6PD จึงเป็นเอนไซม์ที่ช่วยป้องกันเม็ดเลือดแดงจากการทำลายของสารอนุมูลอิสระ (Oxidants) คนที่เกิดภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้แล้วจะทำให้เกิดอาการเม็ดเลือดแดงแตก (Heamolysis) ได้ง่าย สาเหตุของการพร่องเอนไซม์ G6PD เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมแบบ X-linked recessive โรคนี้จึงพบในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง

พยาธิสรีรวิทยา

G6PD เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีบทบาทในวิถีเพนโทสฟอสเฟต ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมปริมาณของ โคเอนไซม์ NADPH ในสถานะรีดิวซ์ ซึ่งจะช่วยให้เซลล์มี glutathione ในสถานะรีดิวซ์เพียงพอที่จะเก็บกวาดอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ โดย G6PD จะมีหน้าที่ในขั้นตอนของการเปลี่ยนสาร glucose-6-phosphate ไปเป็น 6-phosphoglucono-δ-lactone ซึ่งเป็นขั้นตอนกำหนดอัตราปฏิกิริยาของวิถีเมตาบอลิซึมวิถีนี้

วิถีเมตาบอลิซึมที่อาศัย G6PD และ NADPH นี้ เป็นวิธีเดียวที่จะสร้าง glutathione ในสถานะรีดิวซ์ให้กับเซลล์เม็ดเลือดแดง ในขณะที่เม็ดเลือดแดงมีหน้าที่สำคัญในการขนถ่ายออกซิเจน ซึ่งเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน การมี G6PD, NADPH, และ glutathione ที่จะช่วยป้องกันความเสียหายนี้จึงสำคัญกับเม็ดเลือดแดงมาก

ผู้ป่วยภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดเลือดจางจากการแตกสลายของเม็ดเลือดแดงได้เมื่อต้องเจอกับแรงกดดันจากการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidative stress) ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ หรือจากการได้รับสารเคมีจากยาและอาหารบางชนิด ถั่วปากอ้ามีสารไวซีน ไดไวซีน คอนไวซีน และไอโซยูรามิล ในปริมาณสูง สารเหล่านี้สามารถทำให้เกิดตัวออกซิไดซ์ได้

เมื่อ glutathione ในสถานะรีดิวซ์ถูกใช้หมดไป เอนไซม์และโปรตีนอื่นๆ (รวมถึงฮีโมโกลบินด้วย) จะถูกตัวออกซิไดซ์ทำให้เสียหายผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยทำให้เกิดพันธะเชื่อมส่วนต่างๆ ของโปรตีนเข้าด้วยกัน เกิดการตกตะกอนขึ้นในเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดแดงที่เสียหายจะถูกกลืนกินและทำลายที่ม้าม ฮีโมโกลบินที่ถูกปล่อยออกมาจากเซลล์จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการสร้างและสลายกลายเป็นบิลิรูบิน ซึ่งหากมีปริมาณมากจะทำให้เกิดภาวะดีซ่าน โดยทั่วไปแล้วในกรณีนี้เม็ดเลือดแดงจะไม่แตกสลายขณะอยู่ในหลอดเลือด จึงไม่ทำให้ฮีโมโกลบินถูกขับผ่านไต แต่ในกรณีที่เป็นรุนแรงก็อาจเกิดขึ้นได้ และอาจทำให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้

การวินิจฉัย

การย้อมเซลล์เม็ดเลือดแดง (Completed Blood Count - CBC)

ในคนที่เป็นโรคนี้ ถ้าย้อมพิเศษจะเห็นลักษณะที่เป็น “Heinz body” ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของฮีโมโกลบินที่ไม่คงตัว มักพบร่วมกับภาวะต่างๆ ที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก หรือ มีการทำลายเม็ดเลือดแดงและมีปฏิกิริยา Oxidation เกิดขึ้นกับฮีโมโกลบินภายในเม็ดเลือดแดง เมื่อเม็ดเลือดแดงที่มี Heinz body ผ่านไปที่ตับหรือม้าม เม็ด Heinz body จะถูกกำจัดออกจนเม็ดเลือดแดงมีลักษณะเป็น Bite cell หรือ Defected spherocyte ซึ่งสามารถเห็นได้ใน CBC ปกติ

Haptoglobin

Haptoglobin เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในพลาสมา ซึ่งในภาวะปกติ Haptoglobin จะจับกับฮีโมโกลบินอิสระ (Free hemoglobin) โดยค่า Haptoglobin จะมีค่าลดลงในคนที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolysis)

Beutler fluorescent spot test

เป็นการทดสอบที่บ่งบอกถึงภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD โดยตรง ซึ่งจะแสดงให้เห็นปริมาณ NADPH ที่ผลิตได้จากเอนไซม์ G6PD โดยผ่านรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ถ้าไม่มีการเรืองแสงภายใต้ UV แสดงว่าบุคคลนั้นเป็นมีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ

  1. อาหาร โดยเฉพาะ ถั่วปากอ้า (Fava beans, Feva beans, Broad beans) ซึ่งมีสาร Vicine, Devicine, Convicine และ Isouramil ซึ่งเป็นสารอนุมูลอิสระ (Oxidants)
  2. การติดเชื้อโรคต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาว หลั่งสารอนุมูลอิสระ (Oxidants) มากขึ้น
  3. การเป็นโรคเบาหวานที่ทำให้เกิดกรด (Diabetic ketoacidosis)
  4. การได้รับยาต่าง ๆ ดังนี้

กลุ่มยาแก้ปวด ลดไข้ (Analgesics/Antipyretics)

  • Acetanilid
  • Acetophenetidin (Phenacetin)
  • Amidopyrine (Aminopyrine)
  • Antipyrine
  • Aspirin
  • Phenacetin
  • Probenicid
  • Pyramidone

กลุ่มยารักษาโรคมาลาเรีย (Antimalarial drugs)

  • Chloroquine
  • Hydroxychloroquine
  • Mepacrine (Quinacrine)
  • Pamaquine
  • Pentaquine
  • Primaquine
  • Quinine
  • Quinocde

กลุ่มยารักษาโรคหัวใจ (Cardiovascular drugs)

  • Procainamide
  • Quinidine

กลุ่มยา Sulfonamides/Sulfones

  • Dapsone
  • Sulfacetamide
  • Sulfamethoxypyrimidine
  • Sulfanilamide
  • Sulfapyridine
  • Sulfasalazine
  • Sulfisoxazole

กลุ่มยาปฏิชีวนะ (Cytotoxic/Antibacterial drugs)

  • Chloramphenicol
  • Co-trimoxazole
  • Furazolidone
  • Furmethonol
  • Nalidixic acid
  • Neoarsphenamine
  • Nitrofurantoin
  • Nitrofurazone
  • Para-amino salicylic acid (PAS)

ยาอื่นๆ

  • Alpha-methyldopa
  • Ascorbic acid
  • Dimercaprol (BAL)
  • Hydralazine
  • Mestranol
  • Methylene blue
  • Nalidixic acid
  • Naphthalene
  • Niridazole
  • Phenylhydrazine
  • Pyridium
  • Quinine
  • Toluidine blue
  • Trinitrotoluene
  • Urate oxidase
  • Vitamin K (Water soluble)

การรักษา

สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาผู้ป่วยภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกส์พีดี (Glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) คือการป้องกันและหลีกเลี่ยงยาและอาหารที่ทำให้มีการสลายของเม็ดเลือดแดง การได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่พบบ่อยบางชนิด (เช่น ไวรัสตับอักเสบ เอ และบี) อาจช่วยป้องกันเหตุเม็ดเลือดแดงสลายที่เกิดจากการติดเชื้อนั้นๆ ได้

ในระยะเฉียบพลันของการสลายของเม็ดเลือดแดง ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับเลือด หรือต้องรับการชำระเลือด (dialysis) หากมีภาวะไตวายเฉียบพลันเกิดขึ้น การให้เลือดเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาอาการ เนื่องจากเม็ดเลือดแดงในเลือดที่ได้รับนั้นโดยทั่วไปจะไม่พร่องเอนไซม์จีซิกส์พีดี ดังนั้นจะมีอายุขัยปกติในร่างกายของผู้รับเลือด

ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการดีขึ้นจากการตัดม้าม เนื่องจากม้ามเป็นแหล่งทำลายเม็ดเลือดแดงของร่างกาย กรดโฟลิกจะช่วยได้ในกรณีที่มีการทำลายและสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่มาก ในขณะที่วิตามินอีและซีลีเนียมนั้นแม้จะมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันแต่ก็ไม่ช่วยลดความรุนแรงของภาวะพร่อมเอนไซม์จีซิกส์พีดีแต่อย่างใด

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Tags:

โรคพร่องเอนไซม์ G-6-Pd อาการโรคพร่องเอนไซม์ G-6-Pd สาเหตุโรคพร่องเอนไซม์ G-6-Pd พยาธิสรีรวิทยาโรคพร่องเอนไซม์ G-6-Pd การวินิจฉัยโรคพร่องเอนไซม์ G-6-Pd สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการโรคพร่องเอนไซม์ G-6-Pd การรักษาโรคพร่องเอนไซม์ G-6-Pd อ้างอิงโรคพร่องเอนไซม์ G-6-Pd แหล่งข้อมูลอื่นโรคพร่องเอนไซม์ G-6-PdHemolysisความผิดปกติแต่กำเนิดของกระบวนการสร้างและสลายดีซ่านภาษาอังกฤษอ่อนเพลียโรคทางพันธุกรรม

🔥 Trending searches on Wiki ไทย:

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิประเทศจีนสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชรัฐฉานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอยูพระไตรปิฎกพระศรีอริยเมตไตรยพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคธี่หยดเซลล์ (ชีววิทยา)สล็อตแมชชีน (วงดนตรี)ทายาทไหทองคำงูกะปะสหราชอาณาจักรพรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์ณราวิชญ์ เลิศรัตน์โกสุมภ์เซเว่น อีเลฟเว่นรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสสหประชาชาติอินดอร์ สเตเดียม หัวหมากประเทศเนเธอร์แลนด์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารวัดพระศรีรัตนศาสดารามจักรทิพย์ ชัยจินดาคริสเตียโน โรนัลโดเปป กวาร์ดิโอลายูทูบรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน)รายชื่อสกุลญี่ปุ่นที่ใช้มากที่สุดสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดประเทศเกาหลีใต้สโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์จ๊ะ นงผณีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพประเทศญี่ปุ่นปริญ สุภารัตน์รายชื่ออำเภอของประเทศไทยสโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโนธนาคารแห่งประเทศไทยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชตินภคปภา นาคประสิทธิ์รายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครวิกิพีเดียชาวมอญจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่จังหวัดสุรินทร์ไทใหญ่คู่เวรความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยดาบพิฆาตอสูรเข็มอัปสร สิริสุขะสูตรลับตำรับดันเจียนรายชื่อสัตว์สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเฟซบุ๊กรายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตธนภพ ลีรัตนขจรธนวรรธน์ วรรธนะภูติกรรชัย กำเนิดพลอยเอสเธอร์ สุปรีย์ลีลาสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ดเปาบุ้นจิ้น (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2536)อะพอลโล 13จังหวัดลำปางรายชื่อตัวละครในเกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้ววัดโสธรวรารามวรวิหารจังหวัดชุมพรเซเรียอา ฤดูกาล 2023–24จุลจักร จักรพงษ์มาริโอ้ เมาเร่อ🡆 More